สังคมสงเคราะห์:ศาสตร์และศิลป์ในการบำบัดเยียวยาให้เห็นคุณค่าความเป็นมนุษย์


สังคมสงเคราะห์คือศาสตร์และศิลป์ แต่รู้สึกว่าเป็นนามธรรมไม่เห็นภาพไม่เข้าใจ แต่วันนี้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมว่า ความเป็นศาสตร์คือต้องใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และความรู้เทคนิคทักษะต่างๆๆมากมายในการช่วยเหลือคน เป็นศิลป์ในการบูรณาการ และนำศาสตร์มาใช้ให้เหมาะเจาะ ถูกที่ถูกเวลา ใช้อย่างลงตัว ที่สำคัญที่สุด คือ เรียนรู้ถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง

เมื่อประมาณช่วงวันที่ 26 มีนาคม ถึง 3 เมษายน 2552 ที่ผ่านมา   ได้มีโอกาสในการเป็นอาจารย์ฝึกภาคปฏิบัติของนักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยหัวเฉียวฯ จำนวน 5 คน ในการศึกษาดูงาน และฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับงานสังคมสงเคราะห์ในการช่วยเหลือ     ผู้ป่วยยาเสพติด ซึ่งในวิธีการปฏิบัติงานจะมีทั้งการทำ CASE WORK คือการให้คำปรึกษารายบุคคลและGROUP WORK คือการให้คำปรึกษารายกลุ่ม    มีอยู่วันนึง ในการทำ GROUP WORK ได้ดำเนินกิจกรรมกลุ่มบำบัดทางสังคมกับผู้ป่วยที่ใช้สารเสพติดกลุ่มกระตุ้นประสาท เช่น ไอซ์ ยาบ้า.....วันนี้สมาชิกที่เข้ากลุ่มทุกคนไม่ปรากฏอาการขาดยาเสพติด ( Withdrawal ) ที่รุนแรง Cognitive ก็เริ่มดี สามารถคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ ....... กระบวนการกลุ่มก็ดำเนินไปตามขั้นตอน  ในช่วงขั้นของการเริ่มต้น ก็มีการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย    พร้อมขออนุญาต เจ้าของกลุ่มก็คือผู้ป่วยในการให้นักศึกษาสังเกตการทำกิจกรรม ( ผู้ป่วยยินดี )   มีการชี้แจงวัตถุประสงค์ ตกลงบริการและการสร้างความมั่นคงปลอดภัยของกลุ่มโดยการรักษาความลับ...มีการพูดคุย และให้ผู้ป่วยเล่าเรื่องสั้นๆจากการตั้งคำถามของนักบำบัด ซึ่งในวันนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จะพูดถึงสาเหตุที่มารักษา บางคนก็มาเพื่อตนเอง บางคนก็มาเพื่อผู้อื่น เพื่อพ่อ   แม่ ครอบครัว หรือเพราะกฎหมายบังคับ บางคนก็รู้สึกแย่กับการที่ตนเองติดยา  บางคนรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า บางคนก็ขาดเป้าหมายและไม่เห็นคุณค่าของชีวิต  นักบำบัดจึงนำเรื่อง " เป้าหมายและคุณค่าของชีวิต " แต่ใช้ชื่อกิจกรรมว่า  " ถ้าฉันเป็นนก "  มาเป็นประเด็นในการดำเนินกิจกรมในวันนี้  ในขั้นดำเนินกิจกรรมเราเริ่มต้นการทำกิจกรรมด้วยการสอนให้ผู้ป่วยพับนกกระดาษ วิธีการนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยมีสมาธิกับสิ่งที่เรากำลังจะคุยกัน หยุดการคิดเรื่องต่างๆไว้ชั่วคราว และประโยชน์ที่ตามมาก็คือ ฝึกการใช้กล้ามเนื้อของมือ ฟื้นฟูระบบประสามสัมผัสของผู้ป่วย และเมื่อผู้ป่วยพับสำเร็จก็จะชื่นชมว่าเขาสามารถทำได้ถ้ามีความตั้งใจและพยายาม  เมื่อได้นกแล้วก็ให้ผู้ป่วยตั้งชื่อนกของเขา แล้วเราก็จะคุยกับนกทีละตัว ( นักบำบัดบอกกับผู้ป่วยว่าวันนี้จะคุยกับนก ซึ่งนกเป็นตัวแทนของผู้ป่วย....) วิธีการนี้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยเปิดใจและกล้าเล่าเรื่องราวต่างๆๆมากขึ้น เพราะผู้ป่วยกำลังเล่าเรื่องของนกแต่ไม่ใช่เล่าเรื่องของตัวเขา (ซึ่งความจริงเรื่องของนกก็คือเรื่องของผู้ป่วยนั่นเอง ) คล้ายๆกับเวลาที่เราไม่สบายใจแล้วไปขอคำปรึกษากับผู้อื่น...แต่บอกเพื่อนว่าเป็นเรื่องของคนอื่นอีกที โดยแท้จริงแล้วเป็นเรื่องของตนเอง แต่ไม่อยากบอกหรือไม่กล้าบอกตรงๆๆ.....นั่นเอง....กิจกรรมในวันนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่ (เกือบทุกคน ) มักเล่าว่านกของเขากำลังเจอกับมรสุมร้าย พายุหนัก ที่ทำให้นกของเขากำลังบาดเจ็บ  นั่นก็คือ ยาเสพติด ที่ทำลายทุกๆอย่างในชีวิต ทำร้ายจิตใจของคนที่เขารัก ทำลายโอกาส ความสัมพันธ์ที่ดี ความเชื่อใจหรือเสียโอกาสในหลายๆเรื่อง การเรียน  การงาน...สะท้อนให้เห็นว่ายาเสพติดจะเป็นอุปสรรคขัดขวาง สัมพันธภาพที่ดี รวมถึงเป้าหมายในชีวิตที่ผู้ป่วยวางไว้นักบำบัดทำหน้าที่สะท้อน Freedback  ข้อมูล ความรู้สึก และให้ผู้ป่วยได้ทบทวนตนเอง แท้จริงแล้วไม่มีใครตั้งใจติดยา ทุกคนเข้าสู่วงจรด้วยเหตุผลที่ต่างกัน อาจเป็นเพราะอยากลอง  เพื่อนชวน  ไม่สบายใจ ช่วยงานอาชีพ (หากรวบรวมเหตุผลคงได้มากกว่า 70 ข้อ )  แต่ยาเสพติดมีอิทธิพลต่อสมองมาก มันสามารถเปลี่ยนพฤติกรรม สัญชาตญาณของสิ่งมีชีวิตได้  ดังนั้นจึงไม่มีใครที่ตั้งใจติดยาจริงๆ   สะท้อนให้ผู้ป่วยคิดว่าจริงๆแล้วแต่ละคนไม่ได้เลวร้าย ไม่ได้เป็นคนไม่ดี   แต่อาจเคยพลาดทำสิ่งที่ไม่ดีลงไป ฝึกให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะให้อภัยต่อผู้อื่น และที่สำคัญที่สุดคือ ให้อภัยตนเอง  ยอมรับและแก้ไข      โดยเริ่มจากเป้าหมายเล็กๆๆแต่สำคัญที่สุด นั่นคือ การหยุดยาและเลิกยาให้ได้ บรรยากาศในวันนั้นเต็มไปด้วยความซาบซึ้งและเริ่มมีความหวังของผู้ป่วยแต่ละคน มีการสะท้อนความรู้สึก และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ มีกำลังใจให้ซึ่งกันและกันระหว่างผู้ป่วยด้วยกันเองและนักบำบัด สัมผัสได้ถึงพลังที่เรียกว่า Empowerment และสรุปกิจกรรมกลุ่มที่ทำ ผู้ป่วยสามารถสรุปได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้แล้วก็นัดหมายกันทำกิจกรรมครั้งต่อไปก่อนเลิกกลุ่ม.....เมื่อเลิกกลุ่มแล้ว ก็มาคุยแลกเปลี่ยนกับนักศึกษาว่า ได้เรียนรู้อะไร และเห็นเทคนิคทักษะอะไรในการทำกิจกรรม..( ปกติก็ถามทุกครั้ง )  นักศึกษาก็แสดงความคิดเห็นแต่ที่ประทับใจมากๆๆ  ก็คือ มีนักศึกษาท่านนึงร้องไห้( ด้วยความซาบซึ้ง) บอกว่าตั้งแต่ปี 1 ได้ยินมาตลอด  จากเวลาที่อาจารย์บรรยายบอกว่า สังคมสงเคราะห์คือศาสตร์และศิลป์ แต่รู้สึกว่าเป็นนามธรรมไม่เห็นภาพไม่เข้าใจ แต่วันนี้นักศึกษาได้เรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรมว่า ความเป็นศาสตร์คือต้องใช้ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และความรู้เทคนิคทักษะต่างๆๆมากมายในการช่วยเหลือคน เป็นศิลป์ในการบูรณาการ และนำศาสตร์มาใช้ให้เหมาะเจาะ ถูกที่ถูกเวลา ใช้อย่างลงตัว ที่สำคัญที่สุด คือ เรียนรู้ถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง เรียนรู้ว่าผู้ติดสารเสพติด ไม่ได้น่ากลัว ไม่ได้น่ารังเกียจ ไม่ได้เป็นคนไม่ดี ...เรียนรู้ว่าไม่มีใครตั้งใจให้เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นกับชีวิต แต่ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้น เป็นเพราะอิทธิพลของยาที่ควบคุมสมอง และร่างกาย อารมณ์ ความคิด ส่งผลต่อพฤติกรรมเสพติดให้เกิดขึ้น  ..ได้เรียนรู้ว่าทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงตนเองได้ถ้าเราเข้าใจ และมุ่งมั่น พยายาม ในการเปลี่ยนแปลงนั้นๆๆ....วันนี้ก็เป็นอีกหนึ่งวันที่เหนื่อย และใช้พลังในการถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก การทำให้เกิด Empowerment ของกลุ่ม การทำ Support self efficacy แต่รู้สึกดีเหลือเกินที่อย่างน้อยเราทำให้มีคนที่เคารพและเห็นคุณค่าในชีวิตเพิ่มขึ้น...

หมายเลขบันทึก: 253560เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2009 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาชม

น่าสนใจที่ว่า..เรียนรู้ถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์อย่างแท้จริง

ขอขอบพระคุณอาจารย์อุทัยคะ

ที่เข้ามาอ่านและมาชม

จริงๆแล้วไม่ค่อยได้มีโอกาสมาเขียน

blog มากนัก แต่ตอนนี้รู้สึกดีและ

มีกำลังใจในการเขียนมากขึ้น

ขอบพระคุณอาจารย์อีกครั้งคะ

พนัส ศรีไชยบาล นักศึกษาคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิยาลัยธรรมศาสตร์

อ่านบทความแล้ว! ยิ่งทำให้เราอยากไปสัมผัส!

เราจะเกิดความรู้สึกอย่างที่รุ่นพี่เราไปฝึกงานหรือเปล่าน่ะ!

ไม่ผิดเลยที่เราเลือกสถาบันธัญญารักษ์เป็นหน่วยงานศึกษาดูงาน

เจอกันน่ะครับพี่ "รัชนีกร" เตรียมต้อนรับพวกผมด้วย!

มือใหม่กำลังฝึกหัดดูงาน!

อ่านแล้วเห็นภาพการทำงาน

และรู้สึกประทับใจเช่นเดียวกับนักศึกษา

ขอบคุณมากนะค่ะ

หากผู้ป่วยสามารถเลิกยา กลับมามีชีวิตปกติเหมือนคนทั่วไปอีกครั้ง สังคมเราก็จะน่าอยู่ขึ้นอีก

ขอเ้ป็นกำลังใจให้ทั้งผู้ที่ทำงานช่วยเหลือผู้ป่วย และผู้ที่กำลังเลิกยาด้วยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท