การวิจัยเชิงนิรนัย


เมื่อวานนี้ผมได้เสนอความคิดเกี่ยวกับประเภทของการวิจัยใหม่เพิ่มขึ้น  ชื่อ  การวิจัยเชิงอุปนัย (Inductive  Research )   โดยปรกติ  ถ้ามีประเภทหนึ่งแล้วก็ต้องมีอีกประเภทหนึ่ง  เป็นฝ่ายตรงข้าม  ดังนั้น  วันนี้ผมจะขอเสนอประเภทของการวิจัยอีกประเภทหนึ่ง  และให้ชื่อว่า  " การวิจัยเชิงนิรนัย "  และให้ใช้ภาษาอังกฤษว่า  " Deductive  Research "  ลักษณะของการวิจัยประเภทนี้มีดังนี้

การใช้ความรู้จาก "ส่วนใหญ่" ที่เรารู้แล้ว  ไปยัง "ส่วนย่อย" ที่เรายังไม่รู้  เช่น  เจ้าของบ่อบอกเราว่าเขาเลี้ยงปลาดุกในบ่อนี้ทั้งบ่อ (เป็นความรู้ส่วนใหญ่ที่เรารู้แล้ว)  เราจึงทายว่า  "ถ้าเราตกเบ็ดแล้วจะได้ปลาดุกและเมื่อตกเบ็ดก็ได้ปลาดุกจริงๆ" (ส่วนย่อยหรือข้อเท็จจริงที่เราไม่รู้มาก่อน เรารู้ภายหลังจากที่เราได้รู้ส่วนใหญ่หรือความรู้สรุปแล้ว)

เป็นการวิจัยที่เริ่มจากสิ่งที่รู้แล้ว หรือ  Known  ไปสู่สิ่งที่ยังไม่รู้  หรือ  Unknown  เช่น  "คนทุกคนต้องตาย"  เป็น "หลักที่รู้แล้ว" ลงความเห็นไปยัง "ข้อเท็จริงที่เรายังไม่รู้ชัดเจนกับนายแดงซึ่งเป็นคนว่า  นายแดงต้องตาย" (ส่วนย่อย  หรือข้อเท็จจริง )

ในการเลือกตั้งครั้งก่อนๆได้ข้อสรุปว่า  พรรคประชาธิปัตย์ได้รับการเลือกตั้งมา  30 %  (สมมุติ) นอกนั้นเป็นของพรรคอื่นๆอีกหลายพรรค (นี่ก็เป็นความรู้ที่เรารู้แล้ว)  จากความรู้นี้เราเลือกกลุ่มตัวอย่างมา 1000 คน  จากทั่วประเทศโดยวิธีสุ่ม  และ พยากรณ์ว่า  จากกลุ่มตัวอย่างนั้น พรรคประชาธิปัตย์จะต้องได้เสียงใกล้ๆ  30% (เดาถึงสิ่งที่เรายังไม่รู้ หรือข้อเท็จจริง ) เป็นการทายจากประชากร(ที่เรารู้แล้ว)  ไปสู่กลุ่มตัวอย่าง(ที่เรายังไม่รู้)

ทฤษฎี  ก.  กล่าวว่า " ...........  "  (สิ่งที่เรารู้ล่วงหน้าจากคำกล่าวชองทฤษฎี)  เราจึงใช้ความรู้จากที่รู้ล่วงหน้าแล้วนี้  พยากรณ์ว่า  " กลุ่มตัวอย่างที่เราเลือกมาก็จะต้องเป็นอย่างนั้นด้วย" (ข้อเท็จจริงที่เรายังไม่รู้หรือไม่มั่นใจว่ารู้ถูกต้องตามที่ทฤษฎีกล่าว)

ฯลฯ

การวิจัยประเภทนี้เราจะพบมากจากการวิจัยแบบทำ  Poll การเลือกตั้ง   การวิจัยทางการตลาด  การวิจัยที่พยากรณ์ไปจากคำอธิบายของทฤษฎี  หรือการวิจัยประเภททดสอบทฤษฎี

คำว่า "นิรนัย" หรือ  Deduce  หรือ  Deduction  เป็นศัพท์ทางตรรกศาสตร์  แต่ก็มีความหมายสอดคล้องกับคำทั่วๆไปเหล่านี้  "พยากรณ์ว่า "  "ทำนายว่า "  " อธิบายได้ว่า"  "สันนิษฐานได้ว่า"   "ลงความเห็นได้ว่า" ซึ่งในการวิจัยเรานิยมใช้คำเหล่านี้แทน  แต่จะใช้คำว่า "นิรนัย"  ก็ได้

ดังนั้น  บัดนี้  เราได้ประเภทของการวิจัยเพิ่มขึ้นอีกสองประเภท คือ  การวิจัยเชิงอุปนัย (Inductive Research)  และ การวิจัยเชิงนิรนัย (Deductive Research)

 

หมายเลขบันทึก: 253521เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2009 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กำลังเรียนและทำแบบฝึกหัดเรื่องนี้พอดีเลยค่ะ ช่วยให้เข้าใจขึ้นอีกเยอะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอให้ได้เกรดงามๆ และจบเร็วๆนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท