king_jaa
นางสาว กิ่งกาญ จิตต์กะวาน

วิจัยเรื่องที่ 3


สรุปวิจัย

ชื่อเรี่อง    การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1

ผู้วิจัย       กำพล  แช่มสา

ปีที่วิจัย     2550

วัตถุประสงค์  1.เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1

                     2. เพื่อเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1  โดยจำแนกตาม ประเภทโรงเรียนและวุฒิการศึกษาของผู้บริหาร

วิธีการวิจัย   เชิงสำรวจ

กลุ่มตัวอย่าง  ครูผู้สอนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1 จำนวน 327 คน

เครื่องมือ   แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 

วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล 

1. ขอหนังสือรับรองจากภาควิชาบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา ถึงผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1  เพื่อขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

2.จัดส่งแบบสอบถามจำนวน 327 ฉบับ ไปยังโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1  และเก็บรวบรวมแบบสอบถามด้วยตนเอง

3. นำแบบสอบถามที่เก็บคืนได้  327  ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100  ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม

วิธีวิเคราะห์ผล 

                 สถิติพื้นฐาน ค่าคะแนนเฉลี่ย , ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                 สถิติอ้างอิง  การทดสอบค่าที  (t-test)  และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( One – Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1  โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย  ได้แก่ ความมีบารมี การดลใจ การมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายบุคคล  และการกระตุ้นการใช้ปัญญา  ตามลำดับ

 2. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1  จำแนกตาม ประเภทโรงเรียนโดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  ( p <.05)

3. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระแก้วเขต  1  จำแนกตามวุฒิการศึกษาของผู้บริหารโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 

 

หมายเลขบันทึก: 253460เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2009 22:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาชม

ในมุมคิดดีมีสาระนะครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • ขอให้เกิดผลจากการวิจัยค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท