หนังสือดี ๆ (1) : ไอน์สไตน์พบ พระพุทธเจ้าเห็น


เราจะทำให้มนุษย์ที่เปรียบเสมือนบัวเหล่าต่าง ๆ ในยุคโลกาภิวัฒน์หันมาสนใจและเข้าถึง "พุทธธรรม" ได้อย่างไร ?

 

            เมื่อหลายเดือนก่อน ตอนที่พาญาติผู้ใหญ่ไปตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาล ระหว่างที่นั่งรอเป็นเวลาหลายชั่วโมงนั้น ผมได้อ่านหนังสือ "ไอน์สไตน์พบพระพุทธเจ้าเห็น" ที่เขียนโดย ทันตแพทย์สม สุจีรา ผมได้หนังสือเล่มนี้มาจากกัลยาณมิตรท่านหนึ่งนานแล้ว  ผมนำติดรถ ติดกระเป๋าไปด้วยหลายครั้ง ถึงแม้จะเปิดอ่านหลายต่อหลายครั้ง แต่ก็ไม่เคยเข้าถึง แต่การอ่านที่โรงพยาบาลครั้งนั้นแตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง ประเด็นสำคัญที่หนังสือเล่มนี้มีต่อผมก็คือ เป็นเสมือนกุญแจที่เปิดประตูใจของผมให้ก้าวข้ามเข้าสู่ห้องความรู้ห้องใหม่ ด้วยความจริงกับคณิตศาสตร์ง่าย ๆ ที่เข้าใจยาก ประมาณนี้ครับ...

 

  • ถ้าเราอยู่บนยานอวกาศที่มีความเร็วมาก ๆ เวลาจะเดินช้าลง 
  • ผู้โดยสารที่ที่เดินทางด้วยเครื่องคองคอร์ดอยู่เป็นประจำหลาย ๆ เที่ยว รวม ๆ แล้วจะแก่ช้ากว่าคนบนพื้นโลก 
  • ในอนาคตสามารถสร้างยานที่มีความเร็วสูงมาก ๆ เป็นไปได้ว่า ถ้าเราส่งคนขึ้นไปกับยานโคจรด้วยความเร็วสูงในอวกาศสักหนึ่งปี เมื่อกลับมาบนพื้นโลกอีกครั้ง เวลาบนพื้นโลกผ่านไปแล้ว 20 ปี เพื่อนฝูงรุ่นเดียวกันแก่ไปหมด แต่นักบินอวกาศลงมาจากยานแก่ไปเพียงหนึ่งปี  
  • เวลาในจักรวาลแต่ละจุดไม่เท่ากัน

 

จริง ๆ แล้วในหนังสือเขียนเป็นขั้นเป็นตอนละเอียดกว่าที่ผมนำเสนอเอาไว้มาก สำหรับตัวผมแล้วชีวิตกว่า 80% เติบโตมาในซีกกลุ่มวิทยาศาสตร์ แต่ในช่วง 5 ปีหลังนี้ ชีวิตได้ก้าวเข้ามาเรียนรู้ในซึกที่แตกต่างออกไป และได้เข้ามาสัมผัส "พุทธธรรม"

คล้าย ๆ บุญมีแต่กรรมบัง ด้วยวิถีชีวิตแบบวิทยาศาสตร์ที่มีมากกว่า ทำให้ฐานชีวิตเน้นที่กายภาพต้องมีเหตุมีผลพิสูจน์ได้ถึงจะยอมเชื่อและยอมเข้าใจ ก็เป็นทั้งข้อดีและข้อด้อยอยู่ในตัว กล่าวคือ เมื่อเรียนรู้สิ่งใหม๋ ๆ อย่างเช่นมิติด้านจิตใจ ด้านพุทธศาสนา จะเกิดข้อสงสัยโต้แย้งและหาทางพิสูจน์อยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่เป็นเครื่องกั้นทำให้เข้าถึงเรื่องในหลายเรื่องได้ช้า ได้ยาก หรือเข้าไม่ถึงเลย

แต่หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเล่มแรก ๆ ที่ผมได้อ่านเกี่ยวกับ ธรรมะพิสุจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์

จนเมื่อเช้านี้นั่งเขียนงานวิจัยอยู่ว่า และเกิดคำถามขึ้นมาว่า เราจะทำให้มนุษย์ที่เปรียบเสมือนบัวเหล่าต่าง ๆ ในยุคโลกาภิวัฒน์หันมาสนใจและเข้าถึง "พุทธธรรม" ได้อย่างไร ?

โอม ! หนังสือ "ไอน์สไตน์พบพระพุทธเจ้าเห็น" ก็เป็นกุญแจดอกสำคัญอีกดอกหนึ่งครับ...

กล่าวคือ หนังสือเล่มนี้อาจทำให้ท่านเข้าใจตามไอน์สไตน์ที่ว่า ...เวลายืดหดและสามารถย้อนกลับได้...

ถ้าท่านเข้าใจตามนั้นแล้ว ก็จะเป็นกุญแจนำท่านไปสู่ ความเข้าใจใหม่ใน "มิติที่ 4" คือ มิติกาลเวลา

ความยากในลำดับถัดมา คือ การเข้าใจเรื่องบางเรื่องหน้า 162-164 แล้วจะทำให้ท่านเข้าใจเนื้อหาในหน้า 145 ลึกซึ้งยิ่ง ๆ ขึ้นครับ (เนื้อหาค่อนข้างมาก จึงไม่ได้นำมาลงเอาไว้ ต้องรบกวนให้ไปศึกษาเองนะครับ)

 

หมายเลขบันทึก: 253333เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2009 14:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียน ท่านอาจารย์ อริยสัจสี่ นี่ เสมือน ตั้วประเด็นวิจัย ที่ใช้ Fact Management เลยครับ

เรียนท่านอาจารย์

P

1. JJ

 

  • อริยสัจสี่ เห็นได้ได้ยากมากครับท่านอาจารย์ แต่ก็จะพยายามต่อไปครับ
  • ขอบพระคุณครับ

มีอีกหลายแง่มุมของหนังสือเล่มนี้ที่ต้องใส่ใจนะครับ เหตุเนื่องมาจากมีการบิดเบือนในหลายแง่มุมทางวิทยาศาสตร์ ติดตามได้ที่

http://gotoknow.org/blog/science/192799

สวัสดีครับ

P

 

  • ขอบคุณมากครับอาจารย์ที่ แนะนำให้พบกับข้อมูลเชิงลึกและประเด็นที่น่าสนใจยิ่งเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ 
  • พอตามไปอ่าน http://gotoknow.org/blog/science/192799  และบันทึกที่เกี่ยวเนื่องกัน ด้วยความมีเวลาน้อย แว๊บแรก! ผมตั้งใจว่า จะปิดบันทึกนี้เป็นการชั่วคราวไว้ก่อน จนกว่าจะได้ข้อเท็จจริง
  • ก่อนที่จะปิดบันทึกนี้ไป ผมได้กลับไปทวนอ่านอีกรอบหนึ่ง พบว่า ประเด็นที่นำเสนอนั้น เป็นประเด็นที่ผมคิดว่า มีประโยชน์อยู่ไม่น้อย อีกทั้งมีความคิดเห็นที่โยงไปยังมุมมองที่ต่างออกไปที่  http://gotoknow.org/blog/science/192799 ไว้ให้ผู้อ่านพิจารณาเพิ่มเติม อันจะนำไปสู่การประเทืองปัญญามากยิ่งขึ้น
  • ผมจึงเห็นว่า  ควรจะคงบันทึกนี้ไว้เพื่อเป็นอีกแรงของการต่อยอดภูมิปัญญาต่อไป...

 

 

 

 

 

อ่านแล้วรู้สึกดี...มีข้อคิดเห็นที่น่าสนใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท