“เจ้าป๊อก” พระนักพัฒนาด้านการกีฬาและเยาวชนกับบทบาทของพระสงฆ์ในสังคมไทย


บทบาทของพระสงฆ์ในสังคมไทย

เจ้าป๊อก พระนักพัฒนาด้านการกีฬาและเยาวชน

กับบทบาทของพระสงฆ์ในสังคมไทย

 

บาว นาคร*

เมื่อวันเสาร์ที่ 7 มีนาคม 2552 นั้น ได้นั่งชมรายการทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส เป็นรายการ ตัวตนคนจริง ได้นำเสนอเรื่องราวของบุคคลที่ใช้กีฬาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจในการดำเนินชีวิต และฝันที่จะก้าวไปสู่ความสำเร็จทั้งเวทีชีวิตและเวทีการแข่งขัน ตลอดจนได้มีตีแผ่เรื่องราวของดาวรุ่งที่จะเป็นซุปเปอร์สตาร์ในอนาคต เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ใครอีกหลายคน ที่ต้องการดำเนินชีวิตโดยมีกีฬาเป็นหัวใจหลัก ซึ่งจะนำเสนอในรูปแบบสารคดีเชิงเรียลลิตี้ที่ไม่เคยถูกเปิดเผยมาก่อน ซึ่งวันนั้นเป็นการนำเสนอ เรื่องราวเกี่ยวกับพระสงฆ์กับการพัฒนาทางด้านกีฬาฟุตบอลด้วยการส่งเสริมเด็กและเยาวชนในจังหวัดพังงา  ซึ่งหลายคนอาจจะสงสัยในหัวข้อของบทความที่นำเสนอ ว่า เจ้าป๊อก พระนักพัฒนาด้านการกีฬาและเยาวชน นั้นอาจฟังดูแล้วแปล่งๆหรือ อาจจะส่งสัยว่าพระสงฆ์จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับกีฬาได้อย่างไร ถ้าได้ติดตามชมรายการ ตัวตนคนจริง จะพอทราบประวัติคร่าวๆของ พระสงฆ์รูปหนึ่งที่ได้เป็นเสียสละและเป็นผู้ส่งเสริมการกีฬาแก่เด็กและเยาวชนในชุมชน

ตามการดำเนินเรื่องของรายการคือ ณ วัดป่าท่านุ่น ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ได้มีพระนักพัฒนารูปหนึ่ง คือ พระสมุห์โกศล ญาณวโร หรือ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า เจ้าป๊อก ซึ่งคำว่า เจ้า นั้นเป็นภาษาที่ใช้เรียกพระสงฆ์ในเขตจังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ต และสถานที่วัดป่าท่านุ่นนั้นเป็นหมู่บ้านที่มีทั้งชุมชนที่มีความหลากหลายทางด้านศาสนา คือคนในชุมชนได้นับถือศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม แต่ว่ามีความสงบสุขอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความเข้าใจต่อกัน เอื้ออาทรต่อกัน ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างศาสนา

เจ้าป๊อก ได้ถือว่าเป็นผู้จุดประกายทางด้านการกีฬาให้แก่เด็กและเยาวชนในชุมชนคือกีฬาฟุตบอล และได้นำกีฬาฟุตบอลเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้ห่างไกลจากยาเสพติดซึ่งเป็นปัญหาที่ได้สั่งสมมาอย่างต่อเนื่องและเป็นปัญหาของสังคมไทย นอกจากนั้นยังถือว่าเป็นผู้ที่สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนภายในชุมชน คือระหว่างผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามและผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ ทำให้เกิดเป็นจุดรวมใจ ณ วัดป่าท่านุ่นและที่สำคัญได้มีการสร้างสนามฟุตบอล ณ บริเวณวัดชื่อสนามลานนกเอี้ยง ซึ่งเป็นชื่อของอดีตนักฟตบอลหญิงทีมชาติไทยที่เป็นผลผลิตจากการส่งเสริมการกีฬาฟุตบอลของกลุ่มยุวธรรมภาค 17 ที่ได้เสียชีวิตในเหตุการณ์สึนามิ จึงได้สร้างสนามฟุตบอลเพื่อเป็นเกียรติแก่อดีตนักฟุตบอลหญิงและเพื่อเป็นสนามสำหรับฝึกซ้อมและใช้ในการแข่งขันฟุตบอลภายในชุมชนด้วย

จากเรื่องราวที่ผู้คนในสังคมไม่ค่อยได้ให้ความสนใจมากนักในเรื่องนี้ บางคนคิดว่า เรื่องนี้เป็นกิจของสงฆ์หรือไม่ และได้รับคำตอบจากเจ้าป๊อกว่า ถ้าหากพระสงฆ์ที่อยู่ในชุมชนไม่ได้ทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม มัวแต่ปฏิบัติกรรมฐานหรือนั่งหลับตาอยู่ โดยไม่สนใจปัญหาของชุมชนหรือสังคมนั้น เป็นสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ ปฏิบัติเพื่อบรรลุนิพพาน แต่ว่าสังคมในชุมชนเกิดปัญหามากมายเช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาการทะเลาะวิวาทของเด็กและเยาวชน ดังนั้น เจ้าป๊อกจึงได้มีแนวความคิดที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนโดยการใช้กีฬาฟุตบอลเป็นสื่อกลาง  นอกจากนั้นยังได้มีบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการส่งเสริมกีฬาฟุตบอลได้แก่ นายสมควร อุดมผล โค้ชพิการขา นั่งรถเข็นสอนฟุตบอลให้เด็กๆ รวมทั้งส่งเสริมจัดแข่งขันฟุตบอลบ่อยครั้ง โดยไม่เกี่ยงว่าเป็นเด็กไทยพุทธ หรือไทยมุสลิม และอีกคนหนึ่งคือเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามเป็นผู้คอยรับส่งเด็กและเยาวชนในการไปแข่งขันฟุตบอลในที่ต่างๆด้วย จากการที่ได้รับชมรายการตัวตนคนจริงในวันนั้น ทำให้เกิดแนวคิดเรื่องกระบวนการพัฒนาที่เริ่มต้นจากจุดเล็กๆ หรือเริ่มต้นจากเรื่องที่อยู่ภายในชุมชนก่อน และขยายออกเป็นเครือข่ายการพัฒนาและที่สำคัญสื่อมวลชนหรือกระบวนการสื่อสารหรือการตีแผ่ผู้ที่สร้างคุณงามความดีให้ผู้คนในสังคมได้รับรู้และร่วมกันยกย่องและส่งเสริมผู้ทำคุณประโยชน์ต่อสังคมต่อไป

กระบวนการพัฒนาชุมชนหรือสังคม ซึ่งเกิดจากการตกผลึกทางความคิด ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการลองผิดลองถูก หรือกระบวนการที่เรียกว่า การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ทางความคิด ถือว่าเป็นกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางด้านจิตวิญญาณ ทำให้เกิดจิตที่อาสาหรือจิตที่เป็นสาธารณะ ส่งผลทำให้เกิดการทำประโยชน์แก่ชุมชนหรือสังคม ดังเช่น กรณีปราชญ์ท้องถิ่น หรือปราชญ์ชาวบ้านทั่วประเทศที่ได้รับการยกย่องแล้ว ส่วนใหญ่ได้ผ่านกระบวนการเรียนรู้และเกิดปัญญาจากการลงมือปฏิบัติและอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญซึ่งถือว่าเป็นทุนทางสังคมที่อยู่อยู่ในสังคมไทยได้แก่ภูมิปัญญาทางด้านศาสนาได้แก่ พุทธศาสนา และปรัชญาทางด้านศาสนาอื่นๆที่มีอยู่ในสังคมไทยและทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีทุนทางสังคมที่สั่งสมมาอย่างนาน แต่ขาดการส่งเสริมและการนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนผ่านมาจนถึงปัจจุบันนั้น คนไทยและสังคมไทยได้มีบทเรียนรู้อย่างมากมาย แต่ขาดการสังเคราะห์และนำมาใช้กับสังคมไทยอย่างจริงจัง

บทบาทของพระสงฆ์ในฐานะที่เป็นศูนย์กลางกระบวนการเรียนรู้และการถ่ายทอดศิลปะวิทยาแก่คนในชุมชนในอดีตนั้นและทำให้ได้ลดบทบาทในกระบวนการพัฒนาไป ทำอย่างไรจะส่งเสริมสนับสนุนและให้การยกย่องเชิดชูให้เป็นตัวอย่างสำหรับผู้คนในสังคมให้ได้รับการรับรู้ว่า ได้มีพระสงฆ์นักพัฒนาอีกมากที่ได้ทำประโยชน์แก่ชุมชนและสังคมไทย แต่ไม่ได้รับการเผยแพร่หรือผ่านการสื่อสารถ่ายทอดให้ผู้คนในสังคมได้รับรู้และเพื่อทำให้พระสงฆ์ได้มีบทบาทกระบวนการพัฒนาชุมชนและสังคมไทยอย่างในอดีตที่ผ่านมา



* บุญยิ่ง ประทุม . [email protected]

หมายเลขบันทึก: 252938เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2009 00:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 00:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท