การสืบค้นเอกสารสิทธิบัตรนานาชาติ


สิทธิบัตรสร้างชาติ

          จากการทำงานด้านการศึกษา การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
สิ่งที่พบเห็นบ่อยครั้ง ในการจัดการเรียนการสอนของครู คือการมอบหมายให้นักเรียนทำโครงงาน
ทั้งโครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงงานอาชีพ ซึ่งจะพบเห็นงานที่ทำซ้ำกันต่อจากรุ่นพี่ เช่นเทียนสปา
เทียนสมุนไพร ฯ ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ พบเห็นได้ตามงานแสดงสินค้า และตามตลาดนัดชุมชน
    ทำอย่างไร ? เราจึงจะให้นักเรียนได้มีวิธีการคิดทำโครงงานที่มีความใหม่ ที่มีศักยภาพ แสดงออกถึงทักษะการคิด ของนักเรียน
     ทางออกที่ไม่ยากเย็นเลย คือต้องให้นักเรียนได้เห็น ตัวอย่างที่ดี มีความแปลกใหม่ เพื่อให้เกิดวิสัยทัศน์ และเกิดทักษะการคิดต่อยอด เหมือนกับการจัดดอกไม้ในแจกัน ถ้าเราเพียงแต่เพิ่มเติม เสริมแต่ง
ต่อยอดชิ้นงาน ให้มีความสวยงาม มากขึ้น ก็จะสารถสร้างนิสัยในการพัฒนาผลงานโครงงาน
การประดิษฐ์  ของนักเรียนได้
      "สิทธิบัตร สร้างชาติ" ขึ้นคำไว้ถึงสิทธิบัตร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าจะพัฒนาให้นักเรียนได้เรียนรู้ เป็นอย่างยิ่ง
โดยเฉพาะ เรื่องที่เกี่ยวข้อง ลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้ใหญ่ (บางท่าน) ยังแยกไม่ออกว่า มีความแตกต่างกันอย่างไร
         สิทธิบัตร ช่วยสร้างชาติได้อย่างไร ต้องทราบก่อนว่า สิทธิบัตร คือการคุ้มครองผลงานสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่มีกำหนดเวลา โดยให้สิทธิเจ้าของได้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งจะคุ้มครองเป็นเวลา
20 ปี แต่ต้องแลกกับการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้อื่นสามารถดูรายละเอียดสิ่งประดิษฐ์ได้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ซึ่งระบบสิทธิบัตรทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด เพราะนักประดิษฐ์ทั้งหลายต่าง พยายามคิดค้นสิ่งใหม่ เพราะไม่ต้องการลอกเลียนแบบสิ่งประดิษฐ์ที่มีอยู่ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำซ้ำ
          การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ที่จะสามารถจดสิทธิบัตรได้นั้น จะต้องเป็นสิ่งใหม่ ใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น และสามารถใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
           หากคุณครูสอนให้นักเรียนรู้จักการสืบค้นเอกสารสิทธิบัตรได้ ก็เสมือนว่า คุณครูได้พานักเรียน
เข้าไปท่องอุทยานความคิดของนักประดิษฐ์ทั่วโลก ที่มีหลากหลายรูปแบบและหลากสาขาอาชีพ
          สพท.พิษณุโลก เขต 1 ได้จัดทำคู่มือครูในการจัดการเรียนการสอนการสืบค้นเอกสารสิทธิบัตรเพื่อพัฒนานวัตกรรมและโครงงานต่อยอดเทคโนโลยีจากเอกสารสิทธิบัตร และเอกสารประกอบการเรียนรู้เรื่องการสืบค้นเอกสารสิทธิบัตร และสำรวจความพึงพอใจพบว่า ทั้งครูและนักเรียน มีความพึงพอใจระดับมาก
          จึงเห็นว่า ถ้าเรานำความรู้ที่มีอยู่ในระบบเครือข่ายสารสนเทศ จากสำนักสิทธิบัตรทั่วโลก มาให้
นักเรียนเข้าไปสืบค้น เรียนรู้ น่าจะเป็นแนวทางพัฒนาทักษะ นักเรียนให้ รู้จักพัฒนาทักษะการสืบเสาะหาความรู้ รู้จัก คิดต่อยอด คิดสร้างสรรค์ โครงงานใหม่ ๆ โดยไม่ต้องเริ่มนับ หนึ่ง แต่คิดต่อยอดจากงานสิทธิบัตรระดับนานาชาติ ก็น่าจะเป็นวิธีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อีกทางหนึ่ง
           เพราะในเอกสารสิทธิบัตร จะบอกถึงลักษณะของสิ่งประดิษฐ์ ภูมิหลังความเป็นมาของ
งานประดิษฐ์  ข้อถือสิทธิ  และรูปภาพ ซึ่งจะเป็นแบบอย่างในการพัฒนาความคิดให้นักเรียนได้
ต่อยอดความคิด และพัฒนารูปแบบโครงงานให้แตกต่างจากโครงงานที่พบเห็น ซ้ำ ๆ อยู่ได้ครับ
           ในช่วงนี้ถ้าคุณครูท่านใด สนใจ ก็สามารถเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์
www.toryod.com นะครับ แล้วจะมาขยาย แนวคิดต่อในโอกาสต่อไปครับ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 252797เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2009 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท