(๒) จิตอาสา “บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์-ต้นกล้าแห่งจิตใจ” ; การพัฒนาเครือข่ายเด็กและเยาวชน


ต่อจากความเดิม...

ความรู้สึกที่ปรากฏขึ้น ณ ปัจจุบัน

                                  

  • รู้สึกภูมิใจและดีใจมากที่ได้มาทำจิตอาสาในครั้งนี้ได้ทำอะไรหลายอย่างที่ไม่เคยทำและมีความสุขกับงานที่ได้ทำในจิตอาสาครั้งนี้มากค่ะ
  • การทำจิตอาสามีความรู้สึกดีใจและภูมิใจมากเพราะได้ทำอะไรหลายอย่างได้รู้จักกับคนนั้นคนนี้มากมายถือเป็นประสบการณ์ในชีวิตที่มีค่ามาก
  • การมาจิตอาสานี้ก็รู้สึกสนุกสนานเห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็นและยังสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันอีกด้วยค่ะพี่หนุ่ย  พี่หนิง  พี่ดร. กะปุ๋ม   ฯลฯ  ก็เป็นกันเองทั้งหมด
  • การมาทำจิตอาสานี้รู้สึกสนุกสนานในการทำงานและได้ไปประเมินโรคซึมเศร้าและได้เห็นพี่หนุ่ย  พี่หนิง  และพี่ดร.กะปุ๋ม  ได้ประเมินผู้ป่วยที่นัดมา  พี่ๆทุกคนน่ารักและใจดีเป็นกันเองค่ะ
  • ความรู้สึกดีภาคภูมิในตัวเองในการช่วยเหลือผู้ป่วยเหมือนเราได้บุญได้ความรู้ได้ประสบการณ์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

  • รู้สึกดีมากและประทับใจในตัวเองในการทำจิตอาสาเพราะได้ช่วยเหลือผู้ป่วยอาจมีปัญหาอยู่แต่สามารถแก้ปัญหาได้และรู้สึกประทับใจพี่ๆที่จิตเวชมาก  ที่คอยบอกคอยสอนในเรื่องที่เราไม่รู้  ขอบคุณค่ะ
  • ดังนั้นการมาจิตอาสาในครั้งนี้จึงรู้สึกว่าถ้าตัดสินใจไม่มาตั้งแต่แรกคงเสียใจมากเพราะคงไม่ได้รู้จักพี่ๆไม่ได้เรียนรู้อะไรเลย
  • และรู้สึกภูมิใจในงานที่ทำถึงจะเป็นงานเล็กๆน้อยๆแต่ถ้าเราทำแล้วรู้สึกว่ามันมีค่ามากจริงถึงจะไม่ทำให้เราได้ผลตอบแทนแต่มันก็ทำให้เรามีความสุขกับสิ่งที่เราใฝ่ฝันอยากจะมาทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม

 

ถอดบทเรียน...

 

ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ... ความต่อเนื่องของการเกิด “จิตอาสา” เป็นการบอกต่อจากรุ่นสู่รุ่น รุ่นพี่บอกต่อรุ่นน้อง น้องๆ เห็นพี่ทำ ... ไม่มีค่าจ้าง ไม่มีใครบังคับ แต่มาด้วยความสมัครใจ ไม่ได้จัดทำเป็นโครงการที่มาจากนโยบาย และพี่ๆ ที่งานจิตเวช ก็ไม่ได้ปฏิบัติต่อน้องตามนโยบาย แต่ทำด้วย "หัวใจ" แห่งความเป็นมนุษย์

 

แต่เป็นปฏิบัติต่อกันภายใต้คำว่า “โอกาสและการแบ่งปันประสบการณ์” ... น้องหนุ่ย – คุณสุภาพร จันทร์สาม เป็นกำลังสำคัญทีเดียวที่พาน้องๆ ตลุยเข้าสู่การค้นหาภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยและผู้ยังไม่ป่วย เป็นการสนับสนุนน้องๆ ให้ได้เกิดการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริง (Authentic Learning) ให้น้องๆ ได้เข้าใจในมิติความลึกซึ้งด้วยตนเอง ผ่านการสัมพันธ์กับผู้ป่วย ผู้ที่เราถือว่าเป็น “ครู” ของเรา

หนุ่ยทำงานด้าน..."ภาวะซึมเศร้าและการเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย"... ตลอดจนงานวิกฤตสุขภาพจิต การที่ได้น้องๆ จิตอาสามาร่วมในการทำงาน ทำให้น้องได้เรียนรู้ไปถึงการเพิ่มคุณค่าทางจิตใจ อันเป็นเสมือนวัคซีนใจที่ ณ วันหนึ่ง น้องๆ อาจได้เจอสภาวะที่คุกคามทางจิตใจ... วัคซีนใจนี้แหละที่เราวาดหวังว่าจะเป็นเสมือนน้ำหล่อเลี้ยงจิตใจนำพาน้องๆ ให้ผ่านต่อปัญหาและทุกข์ทางใจไปได้ในวันข้างหน้า

 

ทุกๆ วัน... ภายใต้ปฏิสัมพันธ์ที่ผ่านถ่าย “ความรักความเข้าใจ และความเอื้ออาทร” จากพี่ๆ สู่น้องๆ...ข้าพเจ้ามองว่าเป็นเสมือนมือที่คอยประคอง “เมล็ดพันธุ์” พร้อมทั้งร่วมกันรดน้ำ พรวนดิน...เมล็ดพันธุ์อันดีงามที่มีอยู่ในจิตใจของน้องๆ ให้เติบโตและงอกเงย สู่สภาวะที่เข้าใกล้ชีวิตที่เรียกว่า... “สู่ความอุดม >>> Transformation at the base”

 

การที่ถอดความอยาก ความต้องการ และความปรารถนาทางลาภ ยศ เกียรติ และสุข..กลับทำให้เกิดเป็นปรากฏการณ์แห่งความสุขเกิดขึ้นในจิตใจ ปรากฏการณ์นี้ข้าพเจ้ามักจะนึกถึงภาพที่ว่า เรากำลังรดน้ำ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย “พลังด้านบวก” ให้กับหน่อเนื้อแห่งความดี สำหรับเด็กและเยาวชน

 

 

 

 

ถอดบทเรียนตอนที่หนึ่ง

พลังอันงดงามจาก "ต้นกล้าเล็กๆ"

มีนาคม 2552

 

หมายเลขบันทึก: 252796เขียนเมื่อ 2 เมษายน 2009 16:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท