คุณธรรมจริยธรรมผู้บริหาร


คุณธรรมจริยธรรมผู้บริหารในยุคคิดใหม่ทำใหม่/ดร.สุทิน ลี้ปิยะชาติ

ข้าราชการมืออาชีพ  หรืออาชีพข้าราชการ

          ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้กล่าวถึงข้าราชการว่า  จำแนกออกเป็น 2 จำพวก คือ ข้าราชการอาชีพและอาชีพข้าราชการ   และได้ให้คำจำกัดความไว้ชัดเจนว่า

          ข้าราชการอาชีพ    คือ  ข้าราชการที่ทำงานด้วยความซื่อสัตย์   สุจริต  เสียสละ และจงรักภักดี อุทิศตน อุทิศเวลา อุทิศเรื่องส่วนตัวให้แก่หน่วยงานของตนอย่างเต็มที่ โดยไม่มีข้อแม้  เห็นความสำคัญ และเกียรติแห่งความเป็นข้าราชการ ฉลาดแต่ไม่โกง  เคารพผู้บังคับบัญชาอย่างจริงใจ  ประพฤติตนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาตลอดเวลา

          อาชีพข้าราชการ  คือ  ข้าราชการที่เข้ามารับราชการเพียงเพื่อเงินเดือน สำหรับเลี้ยงชีพ
อย่างเดียว ไม่มีความสำนึกของข้าราชการ ไม่อุทิศตนให้กับหน่วยงาน ทำงานแบบเช้าชามเย็นชาม ใช้เวลาว่าง หรือแม้แต่เวลาราชการไปหากินส่วนตัว และบางคนหากินส่วนตัวด้วยการกระทำที่ผิดกฎหมาย

          ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ  ผู้เขียนหวังและเชื่อว่าทุกท่านที่เป็นข้าราชการจะใช้สิทธิอันชอบธรรมของท่านเลือกที่จะเป็นข้าราชการมืออาชีพ และเมื่อท่านเลือกเป็นข้าราชการที่ทำงานแบบมืออาชีพแล้ว ก็ถือว่ามีความตั้งใจอย่างเต็มเปี่ยมที่จะทำงานและบริหารงานเพื่อส่วนรวม ประชาชน สังคม และประเทศชาติ  ดังนั้น เรื่อง คุณธรรม จริยธรรมผู้บริหารในยุคคิดใหม่ ทำใหม่ซึ่งเป็นหัวข้อเรื่องในครั้งนี้ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ จำเป็นอย่างยิ่ง แบบที่เรียกว่า ขาดไม่ได้เลยทีเดียว

 

คุณธรรมผู้นำเพื่อส่วนรวม :

          คิดใหม่ ทำใหม่ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมือง  และสังคมที่ดี

          ผู้นำมีบทบาทสำคัญยิ่งในการขับเคลื่อนภารกิจขององค์กร ซึ่งจะต้องทำหน้าที่ทั้งในการวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การแต่งตั้งบุคลากร (Staffing) การอำนวยการ (Directing)  การควบคุม  (Controlling) การประเมินผล (Evaluation) โดยผู้นำจะต้องมีปัญญา มองการณ์ไกล   (จักขุมา Conceptual Skill) สามารถจัดการธุระได้ดีและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (วิธูโร Technical Skill)  และพึ่งพาอาศัยคนอื่นได้เพราะมีมนุษยสัมพันธ์ดี (นิสสยสัมปันโน  Human Relation Skill) 

          ผู้นำแต่ละท่านบริหารงานในหลาย ๆ  รูปแบบ โดยทั่ว  ๆ ไปแล้ว  ประมวลสรุปสั้น ๆ ได้ 3 รูปแบบ คือ

          รูปแบบที่ 1  บริหารงานแบบอัตตาธิปไตย  คือ การถือตนเอง ความคิดเห็นหรือวิธีการของตนเองเป็นใหญ่ ถือว่าตนเองฉลาดหรือเก่งกว่าใคร บริหารงานแบบเผด็จการ

          รูปแบบที่ 2  บริหารงานแบบโลกาธิปไตย  คือ การถือคนอื่นเป็นใหญ่ ไม่มีจุดยืนของตนเอง ขาดความเชื่อมั่น และไม่กล้าตัดสินใจ

          รูปแบบที่ 3  บริหารงานแบบธรรมาธิปไตย  คือ  การถือธรรมหรือหลักการและเหตุผลเป็นสำคัญ ทำงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ยึดเอาความสำเร็จของงานส่วนรวมเป็นที่ตั้ง (RBM : Result Based Management) ยินดีรับฟังคำแนะนำจากทุกฝ่าย ผู้นำที่มีคุณธรรมตามรูปแบบที่ 3 ดังกล่าว ควรจะต้องเพียบพร้อมทั้งคุณงามความดี ศักยภาพองคาพยพ และสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ไร้พรมแดน หรือโลกแห่งยุคไอทีนี้ ผู้นำที่ดีควรต้องเรียนรู้แนวคิดและวิธีการใหม่ ๆ แล้วนำไปเสริมกับแนวคิดและวิธีการที่ดีงาม  ที่มีและปฏิบัติอยู่แล้วในการบริหารงานเพื่อส่วนรวม  ควรมีแนวความคิดพัฒนาการสร้างวิสัยทัศน์ (Rethinking the Future) หรือ คิดใหม่ ทำใหม่ โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance) ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี พ..2542  หรือชื่อที่บางท่านเรียกว่า ธรรมรัฐ  หรือธรรมาภิบาล   ซึ่งประกอบด้วยหลักสำคัญอย่างน้อย 6 ประการ ได้แก่

                   ประการแรก  หลักนิติธรรม (Rule of Law)  ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายในกฎหมาย มิใช่ตามอำเภอใจ หรืออำนาจของตัวบุคคล

                   ประการที่สอง หลักคุณธรรม (Virtue) ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริตเป็นนิสัยประจำชาติ

ประการที่สาม  หลักความโปร่งใส  (Transparency)   ได้แก่   การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใสอย่างตรงไปตรงมา ด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้อง ชัดเจนได้

                   ประการที่สี่  หลักความมีส่วนร่วม (Participation)  ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้ และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไ่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ  การประชาพิจารณ์  การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ

                   ประการที่ห้า หลักความรับผิดชอบ (Accountability) ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมือง และการกระตือรือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตนเอง

                   ประการที่หก  หลักความคุ้มค่า (Value of Money) ได้แก่ การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

          การที่จะดำเนินการ      หรือบริหารงานโดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี
ดังกล่าวให้บรรลุประโยชน์สุขสูงสุดแก่ส่วนร่วมได้นั้น ผู้บริหารจำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองในหลาย ๆ ด้าน อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ยกตัวอย่างเช่น ทักษะในการคิด องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับงาน ความเข้าใจ ความสามารถ ได้แก่ ความสามารถในการวิเคราะห์ ความสามารถในการพูด ความสามารถในการเขียน ความสามารถในการแก้ปัญหา ความสามารถในการเผชิญหน้า ความสามารถในการสังเกต และความสามารถในการคาดการณ์ เป็นต้น คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ เลขาธิการ ก.  ได้แนะนำให้ผู้บริหารและข้าราชการสำนักงาน ก.. ใช้ เคล็ดลับ 4เป็นหลักในการปฏิบัติงาน ดังนี้

          ท แรก  ทันคน ไม่ซื่อบื้อ โดยเฉพาะกับผู้ใต้บังคับบัญชา แต่ต้องปฏิบัติด้วยความเมตตาธรรม

          ท ที่สอง  ทันโลก โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ต้องศึกษาอ่านตำราอยู่เสมอ

          ท ที่สาม  ทันเกมส์  ทันเล่ห์เหลี่ยม ต้องรู้ว่าการที่เขาพูดหรือทำอย่างนั้นหมายความว่าอย่างไร   การที่จะทันเกมส์ได้ต้องฝึกฟังและช่างสังเกต   จะทำให้เราได้ข้อมูลเพียงพอที่จะดำเนินการต่อ

          ท ที่สี่ ทันการ ต้องคิดและทำให้สำเร็จ  ทันการ คือทันทั้งกาลเวลาและเหตุการณ์

          หากว่า ผู้บริหารทุกท่านจะนำเอา เคล็ดลับ 4นี้ไปใช้ในการบริหาราน ก็จะเกิดประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง

          ดังนั้น จะเห็นได้ชัดว่า การเป็นผู้บริหารมืออาชีพ ข้าราชการมืออาชีพที่ทำงานและบริหารงานให้บรรลุผลทั้งในด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น เราจะต้องตื่นตัวพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา และสิ่งสำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งสำหรับผู้บริหารยุคนี้คือ การพัฒนาการสร้างวิสัยทัศน์ (Rethinking the Future) หรือ การคิดใหม่ ทำใหม่ที่ ฯพณฯ พันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้แนวทางไว้ ได้แก่

          คิดใหม่ ทำใหม่ ต่อเรื่องหลักการ (Rethinking Principle)  เราต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับโลกที่ยุ่งเหยิง และสับสน และไม่แน่นอน อย่าได้ไขว่คว้าหาความแน่นอน เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มีวันหาได้ เราจะทำความเข้าใจในความไม่แน่นอนของอนาคตขององค์กร ของสังคม และของชีวิตได้ก็ด้วยเป็นฝ่ายกำหนดอนาคต เป็นฝ่ายรุกคืบ ไม่ใช่นั่งเฝ้าแต่รอคอยอนาคต  องค์กรต้องมีการรวมศูนย์อำนาจและกระจายอำนาจ ต้องเป็นองค์กรระดับโลก และระดับท้องถิ่น ต้องมีการดำเนินการไปตามแผนที่กำหนด ขณะเดียวกันต้องปรับเปลี่ยนได้เสมอ คนทำงานต้องทำงานอย่างอิสระ พร้อมกันนั้นต้องทำงานเป็นทีม คนเราต้องดำรงชีพและทำงานไปในสถานการณ์แห่งความขัดแย้งต่าง ๆ ตลอดเวลา เราไม่อาจเลือกอยู่กับอย่างใดอย่างหนึ่งได้เสมอไป แต่ตรงกันข้าม เราจะต้องประนีประนอมและทำงานอยู่คู่กับความขัดแย้งต่าง ๆ ให้ได้

          คิดใหม่ ทำใหม่ ต่อการแข่งขัน (Rethinking Competition) เราต้องมีกลยุทธ์ที่แน่ชัด หากองค์กรของเราขาดซึ่งวิสัยทัศน์แล้ว ก็ยากยิ่งที่จะสามารถแข่งขันได้ ในเมื่อองค์กรที่เราบริหารราชการอยู่เป็นองค์กรของรัฐ ก็จะส่งผลรวมในเชิงลบให้ศักยภาพในการแข่งขันกับต่างประเทศลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราจึงควรคิดใหม่ ทำใหม่นำพาองค์กรของรัฐให้สามารถแข่งขันในเวทีโลกได้อย่างมีเกียรติภูมิและเต็มเปี่ยมด้วยศักดิ์ศรีความเป็นไทย ตัวอย่างนโยบายและวิธีการที่ได้มีการดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ การยกเครื่องการจัดการ (Reengineering) การลดขนาด (Down Sizing) และการลดจำนวนพนักงาน (Overhead Reduction) เป็นต้น

          คิดใหม่ ทำใหม่ต่อการบริหารองค์กร (Rethinking Control & Complexity) องค์กรที่เหมาะสมกับการจัดการในยุคปัจจุบัน คือ องค์กรที่จัดวางระบบงานแบบทีมอเมริกันฟุตบอล ที่แต่ละคนในทีมให้ความสนใจอย่างเข้มงวดต่อจุดมุ่งหมายและความรับผิดชอบของตน ทำงานที่ตนได้รับมอบหมายอย่างแข็งขันไปพร้อม ๆ กับการประสานงานกับส่วนอื่น ๆ อย่างเอาการเอางาน โค้ชคือผู้ชี้นำการดำเนินงานทั้งหมดของทีม ด้วยการสนับสนุนของโค้ชทีมรุกและโค้ชทีมรับ เพื่อส่งเสริมความถนัดและพัฒนาความชำนาญของแต่ละคนให้เต็มศักยภาพพร้อมที่จะแสดงบทบาทที่ดีที่สุด มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในชัยชนะร่วมกันของทีม และในโลกยุคข้อมูลข่าวสาร โลกาภิวัตน์นี้ เราต้องพึงตระหนักอยู่เสมอว่าความสำเร็จของวันวาน ไม่ใช่ทางผ่านสู่ความสำเร็จในอนาคตเสมอไป ในการประชุม ก.. เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2544 ได้มีมติให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาและถ่ายโอนบุคลากรภาครัฐ เพื่อสร้างความพร้อมในการปฏิรูประบบราชการ ศูนย์นี้จะเป็นศูนย์กลางในการเพิ่มทักษะใหม่ ความสามารถในการปรับกระบวนทัศน์ ทัศนคติอื่น ๆ สำหรับบุคลากรที่ถูกโอนถ่ายไปยังจุดต่าง ๆ จากการปรับโครงสร้าง เช่น การถ่ายโอนไปส่วนท้องถิ่น  การเกลี่ยกำลังคนข้ามกรม กระทรวง และการออกนอกระบบ เป็นต้น

          คิดใหม่ ทำใหม่ต่อความเป็นผู้นำ (Rethinking Leadership) ผู้นำในยุคปัจจุบันต้องสามารถกระตุ้นทีมงานที่ฉลาดและเชื่อมั่นในตนเองให้สามารถร่วมทำงานกันได้ และบริหารจัดการนำเอาความคิดสร้างสรรค์ของคนกลุ่มนี้ออกมา คุณสมบัติที่สำคัญของผู้นำแห่งศตวรรษที่ 21 ได้แก่

หมายเลขบันทึก: 252438เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2009 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เรียนพระคุณเจ้าผมเป็นห่วงสถานการณ์มากท่านพูดถึงท่าน พลเอกเปรม ท่านโดนเยอะมาก ทำไงดีครับ

พระครูนิวิฐธุราทร

ท่านเบดูอิน

  •  ความดีของท่านพลเอกเปรมเป็นดุจดังหินผา
  •  อยากนักที่พลังของคนธรรมดาจะพลักให้หวั่นไหวได้ง่ายๆ
  •  กาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ความดีของท่านเอง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท