ปฏิวัติระบบการเรียนการสอนในราชภัฏกันเถอะ


  

 

ปฏิวัติระบบการเรียนการสอนในราชภัฏกันเถอะ

 

 

         ผมสอนวิทยาลัยครู +ราชภัฏ สามสิบกว่าปี

         ช่วง 10 ปีแรก ก็เดินตามเขาไปเชื่อง ๆ ทำหน้าที่เป็นปากให้หนังสือ

         ช่วง 10 ปีที่สอง  เลิกเป็นปากให้หนังสือเล่มเดียว  อ่านมากขึ้น คิดมากขึ้นแต่ยังใช้ปากอยู่มาก

         ช่วง 10 ปีสุดท้าย  ชักชวนนักศึกษาลงท้องถิ่น เรียนรู้จากของจริง ใช้ตาดู หูฟัง ปากถาม ใจสัมผัส  มือจด และหัว+ใจ(ของชาวบ้าน ครูและนักศึกษา)หาความจริง

          ช่วง 10 ปีหลังนี้ โดยภาพรวมถือว่าได้เรียนรู้ ได้ความรู้สึก และได้ความสามารถในทางปฏิบัติมากกว่า
                          -นักศึกษาภาคกลางวันเรียนแบบนี้สู้นักศึกษาที่เรียนเสาร์-อาทิตย์ไม่ได้
                          -นักศึกษาที่เรียนจบมัธยมเลย เรียนแบบนี้สู้นักศึกษาที่เรียนจบมัธยมแล้วไปทำงาน แล้วมาเรียนไม่ได้
                          -นักศึกษาที่มีประสบการณ์น้อยเรียนแบบนี้สู้นักศึกษาที่มีประสบการณ์มากไม่ได้
                          -นักศึกษาที่มีอายุน้อย เรียนแบบนี้สู้นักศึกษาที่มีอายุมากไม่ได้

                    * นักศึกษา ที่เรียนกลางวัน ที่เพิ่งจบมัธยม  ที่มีประสบการณ์น้อย และที่มีอายุน้อย  ด้อยในเรื่องเหล่านี้

                          -สร้างสัมพันธ์กับคน(ในชุมชน)ไม่เก่ง
                          -พูดไม่เป็น
                          -ถามใม่เป็น
                          -สังเกตไม่เป็น
                          -บันทึกไม่เป็น
                          -ไม่สู้งานยาก งานมาก
                          -วิเคราะห์และสังเคราะห์ไม่เป็น เป็นต้น

                   * นักศึกษาชอบเรียนแบบนี้มากกว่า เรียนจากหนังสือ และอยู่ในห้องเรียน  นักศึกษาบอกว่า
                               -สนุกกว่า
                               -ไม่น่าเบื่อ
                               -เข้าใจง่าย เข้าใจทันที  เข้าใจจริง ไม่ต้องท่องจำ
                               -เข้าใจตน เพื่อน ชาวบ้าน ชุมชน ชีวิต และสังคมมากกว่า
                               -ทำเป็นมากกว่า  รู้จักทำงานร่วมกันมากกว่า
                               -รู้จักความยากลำบาก รู้จักอดทน มากกว่า เป็นต้น

                  การสอนในราชภัฏเราส่วนใหญ่ ยังใช้ปาก ใช้หนังสือ อยู่ในห้องเรียน จำมาตอบ สอบเอาคะแนน ได้ตกอยู่ที่การสอบในกระดาษ ในห้องเรียน

                  ผลของการเรียนการสอนแบบนี้ คือ ได้คนที่ทำอะไรไม่เป็น ไม่อยากทำอะไร  แม้อยากทำก็ไม่มั่นใจว่าจะทำได้  คนแบบนี้ไม่ต้องพูดถึงว่าจะไปสร้างงานด้วยตนเอง  แม้เป็นลูกจ้างก็เป็นลูกจ้างที่ดีไม่ได้

                      ราชภัฏต้องรู้ตัวว่า  ไม่ใช่สถาบันที่ทำหน้าที่สร้างนักวิชาการ(ถึงอยากจะทำ ผมคิดว่าก็ไม่สามารถทำได้)   จึงควรทำหน้าที่สร้างผู้ประกอบการที่สามารถนำเอาวิชาการไปใช้ได้  โดยเฉพาะนักประกอบการในระดับท้องถิ่น                     
                      การเรียนการสอนแบบใช้ปาก ใช้หนังสือ อยู่ในห้องเรียน
จำมาตอบ สอบเอาคะแนน ได้ตกอยู่ที่การสอบในกระดาษ ในห้องเรียน สร้างนักประกอบการไม่ได้
                      ควรจะเรียนจะสอนจากของจริง ปฏิบัติจริง หาความหมายจากทฤษฎี และเรียนรู้การประยุกต์โดยอาศัยกระบวนการทางวิชาการ               

              มีคนเข้ามาทักว่าทำแค่นี้เรียกว่าปฏิวัติเชียวหรือ????
                   ผมว่าใช่น๊าาาา...
                   ปฏิวัติ :
                         -เป็นการล้มล้างระบบเดิมๆอย่างพลิกฟ้าพลิกดิน
                         -ทำแบบถอนรากถอนโคน
                         -เป็นการเปลี่ยนแปลงระดับก้นบึ้งของจิตใจ
                       
              ถ้าไม่เชื่อ ลองเข้าไปดูในราชภัฏซี  แล้วจะรู้ว่า การเรียนการสอนแบบใช้ปาก ใช้หนังสือ อยู่ในห้องเรียน จำมาตอบ สอบเอาคะแนน ได้ตกอยู่ที่การสอบในกระดาษ รากมันลึกขนาดไหน

             บางที่ท่านอาจจะเห็นว่า "ต้องมากกว่าปฏิวัติ"


                 

paapong
25/10/52
16:39               
 

หมายเลขบันทึก: 251662เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2009 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ดิฉันจบ ป.โท ที่ม.ราชภัฏพิบูลสงครามค่ะ
  • ใคร ๆมักจะบอกว่าจบยากนะ..ป.โทที่ราชภัฏฯ
  • เพราะต้องทำวิทยนิพนธ์เดี่ยว ๆ
  • ดิฉันเรียนจบภายในหลักสูตร และไม่ยากอย่างที่คิด
  • เพียงแต่ขยันและเอาใจใส่
  • นักศึกษาก็มีคุณลักษณะเหมือนที่อาจารย์บอก  ไม่ว่าจะระดับไหน
  • เมื่อจบมาแล้ว..มีความภาคภูมิใจมากค่ะ
  • ได้ความรู้และประสบการณ์มาช่วย..ตอบแทนแผ่นดินตามตั้งใจ
  • ขอขอบพระคุณค่ะ

เห็นด้วยกับอาจารย์ทุกกระเบียดนิ้ว ... "หัวใจนักสู้" หาได้ยากเต็มที่ ... การสอนของครูก็เหมือนกันมาไม่ต่ำว่า 10 ปี หาได้พัฒนาตนเองให้รู้มากขึ้นไม่ ... ถึงแม้จะไปเรียนต่อ เอก แต่ไม่ได้หมายความว่า จะรู้มากขึ้น หรือเก่งขึ้น เอาแค่ด๊อกฯ มาอัพเกรดตัวเองให้สูงขึ้นเท่านั้น แต่กึ๋นเท่าเดิม ... ยิ่งพูดยิ่งโง่ลง

นักศึกษาภาคปกติไม่มีเป้าหมายในชีวิตของตัวเอง แค่มีชีวิตอยู่ไปวัน ๆ ในมหาวิทยาลัย ... วิชาไหนไม่มีหนังสือ ก็บอกว่า ยาก ... วิชาไหนมีหนังสือก็ถามว่า ออกตรงไหน จะได้ไปอ่านตรงนั้น ... อาจารย์ไหนมีหนทางขรุขระให้เพื่อสร้างทักษะให้ตนเองไปใช้ ก็ไม่ชอบ หาว่า อาจารย์เขี้ยวลากดิน ใคร ๆ เขาก็ปล่อยเกรดกันทั้งนั้น

นักศึกษารุ่นใหม่ 50 ของผม ได้โบนัสจากมหาวิทยาลัย ให้สามารถ Re-Grade ในวิชาที่เรียนแล้วไม่พอใจได้ สงสัยว่า มหาวิทยาลัยอยากได้ตังค์ค่าลงทะเบียนมาเพิ่มในกระเป๋า

คงเป็นมากกว่า "ปฏิวัติ" จริงดังอาจารย์ว่า ครับ :)...

ผมเรียน ราชภัฏ

จากประสบการณ์ตรงจะเล่าให้ฟัง ระบบการศึกษาไม่ดี อาจารย์ไม่มีเวลา บางทีไม่ได้สอนเลย บางวิชาเรียน 2 ครั้ง จากนั้นสั่งงานเเล้วรอส่งก่อนสอบ เลย ความคิดนักศึกษาส่วนมากขี้เกียจเพราะสิ่งเเวดล้อมพาไป เวลาว่างเยอะ ให้เกรดเเบบมั่ว อาจารย์บางคนยังไม่จบป.โท อาจารย์ไปดูงานบ่อยโดยเฉพาะต่างประเทศ จริงๆเเล้วพวกเขาไปเที่ยวกัน ปล่อยให้นักศึกษานั่ง ๆ นอน ๆ จะหาหนังสือมาอ่าน ก็ งง บางวิชาอ่านเองไม่รู้เรื่อง จึงเป็นเหตุให้นักศึกษาขี้เกียจ

ช่วงสอบ สบาย ลอกกันทุกตัวอักษรไม่ต้องกลัวโดนจับได้ สอบง่ายกว่า ป.4 อีก เปิดหนังสือสอบเลย

มีอาจารย์ท่านหนึ่งบอกผมว่า เรียน 30% ที่เหลือ 70% ศึกษาเอง

และการเรียนการสอนอาจารย์ใช้หนังสือในการสอนเล่มเดียว แถมสอนไม่ครบเล่มอีก

โปรเจ๊กไม่ต้องกลัวเดียวดาย เลือกเพื่อนเข้ากลุ่มได้ตามสบาย

การทำงานส่งอาจารย์ของนักศึกษา ทำแบบ ลวกๆ บางคนขีดเส้นโดยไม่ใช่ไม้บรรทัด ตัวหนังสือไม่ต้องพูดถึง อ่านไม่ออกเลย แต่อาจารย์ก็เซ้นให้ผ่าน เพราะอาจารย์แค่เซ็นไม่ได้ตรวจ

เรียน 4 ปี จบ ความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ จากร้อยได้เพียง 10% เปอร์เซ็นตกงานทุบสถิติ อยู่เเล้ว

ราชภัฏมีนักเรียนที่เก่งอยู่อย่างเเน่นอน การันตีว่าบางคนเก่งกว่าเด็กจุฬา หรือมหาลัยดังๆ หลายเเห่ง พวกเราจะเรียกบุคคลนั้นว่าช้างเผือก ความสามารถของเขา สูงกว่าอาจารย์ที่สอนซะอีก การใช้ชีวิตของช้างเผือกเเตกต่างกว่าคนอื่น เล็กน้อย ในขณะที่คนอื่นเล่นเกม เขา ก็เล่น ในขณะที่คนอื่น กินเหล้าเขาก็กิน ในขณะคนอื่นเรียนเขาก็เรียน ในขณะคนอื่นอ่านเขาก็อ่าน ในขณะที่คนอื่นนอนเข้าก็นอน

แต่ในขณะที่คนอื่นอยู่กับที่เขากลับเดินหน้า ในขณะที่คนอื่น สิ้นหวังเขากลับมีพลัง ในขณะที่คนอื่นโดยตำหนิเหยีดหยาบร้องไห้ แต่เขากลับยิ้ม ในขณะที่คนอื่นโวยวายเขากลับนิ่งและคิด ในขณะที่คนอื่นวิ่งหางานเขากลับสร้างงาน ในขณะที่คนอื่นจนเขากลับรวยในขณะที่คนอื่นทุกเขากลับสุข

ทำไมถึงเป็นแบบนี้ โทษใครละ

คนใหญ่ เวลาก็ไม่มี ประชุมก็บ่อย ดูงานก็เยอะเที่ยวละที่หนึ่งสอนไม่เต็มที่ความรู้ก็ งูๆ ปลาๆ เฮ้อชีวิต

ตัวเรา เรียนก็ขี้เกียจ หนังสือก็ไม่อ่าน ทำงานก็ลวกๆ เที่ยวก็บ่อย จีบสาวยเนียชอบ เฮ้อชีวิต

โทษระบบเหรอ ห่วยก็ห่วย ไม่มีมาตรฐาน คุณภาพต่ำบุคคลากรกาก กินเเต่ปลาแดกปากก็เม็น เฮ้อ ชีวิต

เเล้วทำไมถึงเลือกเรียนราชภัฏ

ไม่มีเงินไปเรียนที่ดีดี

สอบไม่ติดมหาลัยใหญ่

มาเรียนตามเพื่อน

คิดว่าราชภัฎเป็นมหาลัยที่มีคนยอมรับ

ตามสาวมาเรียน

ใกล้บ้าน

ไม่รู้จะเรียนที่ไหน

อยากมาเรียน ชีวิตนี้เกิดมาเพื่อราชภัฏ

อาจารย์ที่ไปแนะแนว เขาบอกว่าดี

ตึกสวยหรุหรา

เรียนสบาย จบ ง่าย ชอบ

ไว้ผมยาวได้โดยไม่รู้ว่าที่อื่นก็ไว้ได้

อยากเป็นครู

หลงมา

หลังจากเริ่มเรียนมา 2 ปี เสียงนี้ก็เกิดภายในใจ

กูไม่น่ามาเรียนเลย

ไรว่ะเรียนมาไม่เห็นได้ไรเลย อย่างไรไงก็อย่างงั้น

ดูถูกชิพหาย

ฮือๆ

อนาคตกูสิ้นเเน่ๆ

เห้ยจารย์ไปเที่ยวอีกเเล้วเหรอ

เบื่อชีวิต

จะไปทำงานที่ไหนเขาถึงจะรับวะ

อาย

ไม่กล้าสู้หน้าพวกที่เรียนโรงเรียนดีดี

ร้อง อีกเเล้ว

หยุดไม่ได้เรียนมาตั้ง 2 ปี ฮือๆ

ที่เหลือ อีก 2 ปีก

เรียนๆพอเเต่จบ

วิธีเเก้

เรียนต่อโท เเม่งเลย ในขณะเรียนก็ศึกษาวิชาที่จะใช้สอบตอนจะต่อโท หางานทำช่วง เสา อาทิต บางทีอาจเป็นงานที่ทำใฟรี เเต่ต้องเป็นงานในส่วนชิชาที่เรา ชอบ เช่น ร้านคอม ร้าย อิเล็กไฟฟ้า ร้านซ่อม รถ สถานที่ก่อสร้าง เป็นต้น ผมมาขอความรู้หน้างาน ครับ ผมขอช่วยทำงานโดยไม่รับค่าจ้างครับ ประมาณนี้ นะ

ถ้าสถานที่ใหญ่ก็ให้อาจารย์ทำเรื่องให้ เช่นสถานที่ก่อสร้าง เป็นต้น

ช่วยเเนะนำหน่อยว่าราชภัฏสมควรมาเรียนมัยเเล้วเหมาะกับคนประเภทไหน

ราชภัฏเหมาะกับคนที่ ต้องการมีชีวิตที่ท้าทายห้าวหาญ ไม่ย้อท้อ

แกร่งเชื่อหมั่น ทุมเท่ ขยัน อดทน จดจ่อ กระหายในความอยากจะเป็นช้างเผือก อ่าหนังสือทุกแนวบ่อยๆ เก่ง ฉลาด กล้า บ้าทางที่ดี

ทุ่ม สุดตัว เอาหัวเเลก มีจิตนาการ มีความคิดเชิงบวกเยอะ เเละสร้างทุกอย่างด้วยมือตัวเอง ไม่อาศัยชื่อเสียง มหาลัย ไม่อาศัยจมูกผู้มีอำนาจ ไม่อาศัยความรู้เเค่หางเต่า ทุกอย่างที่จะได้มาต้องตัวเองเท่านั้น นีคือคนที่เหมาะกับราชภัฏ

คนที่เหมาะกับราชภัฏก็คือคนที่ได้กล่าวไปข้างตนนั้นเหละครับ

ส่วนใครที่ไม่มีคุณสมบัติตามข้อที่ได้กล่าวมาละก็ อย่ามาเรียนเด็ดขาด ถ้ายังเจือกมาเรียน เดี๋ยวได้อยู่ในภวังเเห่งความมืดมน ไม่รู้ด้วยนะ

จุฬา คือ คนฉลาด

ราชภัฏ คือ คนจริง

สวัสดีครับคุณ-ไภถถถถ [IP: 180.180.32.172]

  • ผมคิดว่าเธอคงเป็นพวกช้างเผือก อะไรเทือกนั้น?
  • เรื่องสอนแบบใช้ปาก ใช้หนังสือ อยู่ในห้องเรียน จำมาตอบ สอบเอาคะแนน ได้ตกอยู่ที่การสอบในกระดาษ ไม่ใช่มีในราชภัฏอย่างเดียว มีทั่วไป แทบทุกสถานศึกษา ถือว่าเป็นการสอนแบบที่ครู-อาจารย์ไทยเราคุ้นเคย
  • เธอวิเคราะห์ได้เจ๋งมาก เห็นด้วยหลายอย่าง
  • การแก้ปัญหาการเรียนการสอนของไทยเราต้องเอาจริง เริ่มตั้งแต่การเรียนการสอนในครอบครัวเป็นต้นมา  พ่อแม่สำคัญที่สุด พ่อแม่ต้องรู้จักวิธีการอบรมเลี้ยงดูที่ดี  ต้องเป็นครูที่ดี ทำหน้าที่ปูพื้นฐานด้านคุณนิสัยและทักษะในการเรียนรู้ให้กับลูก เพื่อพร้อมที่จะเรียนรู้ในระบบโรงเรียนต่อไป
  • พวกช้างเผือกที่เธอว่านั้นน่ะ  ลองตามไปดูที่บ้านจะเห็นว่าพ่อแม่เขาเป็นพ่อแม่ที่นำลูกได้ 
  • ขอให้เธอโชคดี  ประสบความสำเร็จ ทำประโยชน์ตนและส่วนรวมได้ตามสมควร


paaoobtong
12/08/53
07:53 

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • น้ำท่วมปากมานานแล้วค่ะ
  • เรียกว่าอาจารย์ช่วยเกาต่อมคันปาก ได้ถูกใจ ถึงใจจริง ๆ ค่ะ
  • อาจารย์สบายดีนะคะ
  • สะสางงานหนัก ๆ เสร็จเมื่อไหร่ จะแวะมาแลกเปลี่ยนความเห็นอีกรอบนะคะ
  • อาจารย์สบายดีนะคะ

ตามเข้ามาอ่านครั้งที่สองครับ บันทึกนี้ยังคงทันสมัยเหมือนเดิม ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท