Competency


competency

 

แนวความคิดเรื่องสมรรถนะ (Competency) เป็นแนวความคิดที่หลายองค์การมีการศึกษาหลายทศวรรษ ซึ่งเป็นการศึกษาในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะที่ดีของบุคลากรในองค์กรการกับระดับความรู้ และทักษะต่อมามีผู้ริเริ่มแนวคิดดังกล่าวนำมาใช้กับหน่วยงานราชการของสหรัฐอเมริกา โดยมีการกำหนดปัจจัยพื้นฐานว่าในตำแหน่งงานหนึ่ง ๆ นั้นจะต้องมีพื้นฐาน ความรู้และทักษะอยู่ในระดับใด จึงจะให้บุคลากรนั้นมีคุณลักษณะที่ดีต่อการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และผลการปฏิบัติงานตรงตามวัตถุประสงค์ขององค์การ

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2546) ได้แปลคำว่า “Competency” ว่า สามัตถิยะ นอกจากนี้ยังมีคำว่า ความสามารถ ขีดความสามารถ สมรรถภาพ และสมรรถนะ

ความหมายของสมรรถนะ

จากการให้ความหมายของสมรรถนะ ของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศ สามารถสรุปความหมายได้เป็น 2 แนวคิดดังต่อไปนี้

แนวความคิดหนึ่งเป็นแนวความคิดของสหราชอาณาจักรได้ให้ความหมายสมรรถนะว่าเป็นมาตรฐานหรือคุณภาพของผลลัพธ์ของการปฏิบัติงานที่เน้นมาตรฐานของงานหรือมาตรฐานอาชีพของผู้ปฏิบัติงานสำหรับอาชีพหนึ่ง ๆ ควรพึงมีมาตรฐานสมรรถนะที่สามารถประเมินจากสถาบันวิชาชีพหรือสถานประกอบการได้ โดยมาตรฐานดังกล่าวต้องมีความสัมพันธ์กับงาน และสามารถกำหนดระดับการปฏิบัติงานตั้งแต่ระดับต่ำสุดและสูงสุดของงาน หรืออาชีพนั้นๆ ตลอดจนสามารถวัดความเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของอาชีพกับการทำงานในอาชีพนั้นได้

ส่วนแนวความคิดที่สอง เป็นแนวความคิดของสหรัฐอเมริกา ซึ่งกล่าวว่าสมรรถนะเป็นคุณลักษณะที่มาจากตัวคนทั้งหมดที่สะท้อนออกมาในรูปของพฤติกรรมการทำงานที่มีความสัมพันธ์ในเชิงเหตุผล ก่อให้เกิดผลลัพธ์ของการทำงานที่องค์การต้องการ โดยมาจากพื้นฐานมาจากความรู้ทักษะ วิธีการคิดด้วยตนเอง บทบาท คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจ หรืออาจกล่าวว่าเป็นบุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายในปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้นสร้างผล

หมายเลขบันทึก: 251473เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2009 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท