ที่มาของคำไทย สุภาษิตไทยและ ชื่อต่าง ๆ และ อีกมากมาย 16


ที่มาของคำไทย สุภาษิตไทย

ที่มา แฟนต้า

แฟนต้า เป็นเครื่องหมายการค้าน้ำอัดลมประเภทแต่งกลิ่นและสีเป็นน้ำผลไม้ ลักษณะเป็นน้ำหวานมีหลายกลิ่นหลายรส เช่น กลิ่นส้ม น้ำแดง น้ำเขียว กลิ่นมะนาว กลิ่นบลูเบอร์รี่ กลิ่นกีวี

แฟนต้ามีการผลิตครั้งแรกในประเทศเยอรมัน เมื่อปี พ.ศ. 2483 เนื่องจากช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง บริษัทโคคาโคล่าในประเทศเยอรมันขาดแคลนหัวน้ำหวานโคล่า จึงต้องเปลี่ยนมาใช้น้ำผลไม้แทน โดยผลิตจากกากแอ๊ปเปิ้ลที่เหลือจากการทำน้ำหวานและทำเป็นน้ำอัดลมสีเหลือง และทำการประกวดชื่อเครื่องดื่มใหม่นี้จากพนักงาน จึงได้ชื่อว่า แฟนต้า ในประเทศไทยผลิตโดย บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด


แฟนต้าโซดาในประเทศอินโดนีเซีย
ในบางประเทศ แฟนต้า เป็นยื่ห้อของ โซดา ด้วย

ในประเทศไทยแฟนต้าเคยจัดกิจกรรมแฟนต้ายุวทูต เพื่อแข่งขันเด็กที่มีความสามารถกล้าแสดงออกเป็นตัวแทนในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม

ถนนสุขุมวิท

เริ่มเปิดใช้เป็นครั้งแรก ถนนสุขุมวิทเป็นทางหลวงหมายเลข 3 (กรุงเทพ – ตราด) เริ่มตั้งแต่เขตคลองเตยในกรุงเทพฯ ผ่านจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ไปสิ้นสุดที่จังหวัดตราด เดิมชื่อว่า "ถนนกรุงเทพฯ – สมุทรปราการ” เพราะถนนไปสิ้นสุดที่ตัวเมืองสมุทรปราการ ต่อมา พระพิศาลสุขุมวิท (ประสพ สุขุม) อธิบดีกรมทางหลวงคนที่ 5 [คนไทยคนแรกที่สำเร็จการศึกษาด้านวิศกรรมศาสตร์จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) สหรัฐอเมริกา] ผู้ริเริ่มจัดทำแผนงานสร้างทางหลวงขึ้นทั่วประเทศเป็นครั้งแรกคือ "โครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรไทย” และได้ทุ่มเทในการก่อสร้างทางหลวงสายสำคัญของประเทศ โครงการนี้ถือเป็นแม่บทในการวางแผนการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินเป็นโครงข่ายเชื่อมโยงไปทั่วประเทศ ต่อมารัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้มีมติให้ตั้งชื่อทางหลวงสายกรุงเทพฯ – ตราด ว่า “ถนนสุขุมวิท” เพื่อเป็นเกียรติแก่พระพิศาลสุขุมวิท เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2493

ประวัติ แปรงสีฟัน

แปรงสีฟัน เป็นอุปกรณ์ทำใช้ความทำความสะอาดฟัน ลักษณะเป็นด้ามให้จับและปลายข้างหนึ่งมีขนแปรง เพื่อใช้คู่กับ ยาสีฟัน เพื่อ ขัดถูฟัน


ประวัติ
การแปรงฟันสมัยก่อนทำโดยใช้เศษผ้าถู ต่อมา พ.ศ. 2313 (ค.ศ. 1770) หนุ่มชาวอังกฤษชื่อ วิลเลียม แอดดิส (William Addis) ซึ่งเป็นนักโทษขณะนั้นได้ลองเก็บกระดูกชิ้นหนึ่งซึ่งเหลือจากอาหารเย็นของเขามาเจาะรูเล็ก ๆ เรียงเป็นแนวที่ปลายด้านหนึ่ง แล้วไปขอขนแปรงจากผู้คุมมาได้จำนวนหนึ่ง ตัดให้สั้นพอเหมาะแล้วยัดลงไปในรู ตรึงให้อยู่ด้วยกาว จึงเกิดเป็นแปรงสีฟันอันแรกของโลก พ.ศ. 2323 (ค.ศ. 1780) เมื่อเขาพ้นโทษออกจากคุก แอดดิสเริ่มธุรกิจผลิตแปรงสีฟัน ผลิตภัณฑ์ของเขาได้รับความนิยมจนถึงทุกวันนี้

ประวัตินิตยสารไทม์

ไทม์ (Time หรือตามเครื่องหมายการค้าคือ TIME) เป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกา เริ่มพิมพ์ฉบับแรก โดยเป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์เล่มแรกของประเทศ โดยในปัจจุบันไทม์มีจัดพิมพ์หลายแห่งทั่วโลก โดยในยุโรปใช้ชื่อว่า "ไทม์ยุโรป" (หรือที่ในอดีตเรียกว่า ไทม์แอตแลนติก) มีสำนักงานอยู่ที่ลอนดอน และออกจำหน่ายในยุโรป ตะวันออกกลาง แอฟริกา รวมถึงละตินอเมริกา ส่วนในเอเชีย ใช้ชื่อว่า "ไทม์เอเชีย" มีสำนักงานใหญ่ที่ฮ่องกง ขณะที่ "ไทม์แคนาดา" เป็นฉบับสัญชาติแคนาดาซึ่งจัดจำหน่ายในประเทศแคนาดา และ "ไทม์เซาท์แปซิฟิก" ซึ่งจัดจำหน่ายครอบคลุมออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะในทะเลแปซิฟิก มีสำนักงานอยู่ที่เมืองซิดนีย์

ในปัจจุบัน นิตยสารไทม์ จัดการโดยบริษัท ไทม์วอร์เนอร์สำนักงานใหญ่อยู่ที่นิวยอร์กและมีนายริชาร์ด สเตนเจลเป็นบรรณาธิการบริหารคนปัจจุบัน





ประวัติ
ไทม์ถูกก่อตั้งโดย บริตัน แฮดเดน และ เฮนรี ลูซในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) ถือได้ว่าเป็นนิตยสารข่าวรายสัปดาห์ของสหรัฐอเมริกาหัวแรกในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้ ทั้งสองทำงานร่วมกันในฐานะประธานและบรรณาธิการบริหาร เยลเดลี่นิวส์ (Yale Daily News)ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยเยล นิตยสารไทม์ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยผู้อ่านหลายคนว่ามีความจริงจังน้อยเกินไปกับข่าวที่เคร่งเครียดและ เหมาะสมกับการทำข่าวเกี่ยวกับบุคคลผู้มีชื่อเสียง(ซึ่งรวมถึงนักการเมืองด้วย) อุตสาหกรรมบันเทิง และวัฒนธรรมป็อป เป็นเวลาหลายทศวรรษซึ่งปกของนิตยสารเป็นรูปของบุคคลคนเดียว ไทม์ฉบับแรกตีพิมพ์เมื่อวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2466 โดยปกเป็นรูปของนายโจเซฟ จี. แคนนอน โฆษกสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งปลดเกษียณแล้ว นิตยสาร 'พีเพิ่ล'ก็ยังได้รับแรงบันดาลใจแรกเริ่มจากหน้าข่าวบุคคลของไทม์อีกด้วย

เมื่อนายแฮดเด้นถึงแก่กรรมในปีพ.ศ. 2472 นายลูซจึงเป็นผู้ควบคุม ไทม์ แต่เพียงผู้เดียวและได้กลายเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในประวัติศาสตร์วงการสื่อสมัยศตวรรษที่ 20


มุมมองทางการเมือง
โดยทั่วไปแล้ว ไทม์เป็นนิตยสารที่เป็นกลางทางการเมือง แม้ว่านิตยสารจะตีพิมพ์บทความของชาร์ลส์ เคราแธมเมอร์(Charles Krauthammer)ซึ่งเป็นนักวิจารณ์สังคมฝ่ายอนุรักษ์นิยมสมัยใหม่ก็ตาม


บุคคลแห่งปี
ดูบทความหลักที่ บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
ตลอดอายุแปดสิบสามปีของนิตยสาร ฉบับหัวข้อบุคคลแห่งปีนั้นเป็นฉบับที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุด โดย ไทม์จะทำการยกย่องบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งได้สร้างผลกระทบมากที่สุดต่อเหตุการณ์ในระหว่างปีนั้น ถึงแม้จะตั้งหัวเรื่องว่า 'บุคคล'แห่งปี แต่ผู้ได้รับการคัดเลือกก็ไม่จำเป็นต้องเป็นมนุษย์เสมอไป ดังเช่นในปี พ.ศ. 2525 ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลได้รับการยกย่องให้เป็น "เครื่องจักรแห่งปี"

นอกจากนั้น หัวข้อในปีพ.ศ. 2542 ก็ถูกเปลี่ยนเป็น "บุคคลแห่งศตวรรษ" และผู้ได้รับการคัดเลือกคือ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

เป็นครั้งคราวซึ่งมีการถกเถียงกันถึงความเหมาะสมในการคัดเลือกเมื่อปรากฏว่าผู้นำเผด็จการหรือผู้ก่อสงครามได้ถูกคัดเลือกให้รับตำแหน่ง "บุคคลแห่งปี" ทั้งนี้ หลักเกณฑ์สำคัญในการคัดเลือกคือ บุคคลคนนั้นเป็นผู้ที่มีบทบาทต่อเหตุการณ์ในปีนั้นมากที่สุด ไม่ว่าจะในทางที่ดีหรือร้ายก็ตาม ในบางครั้งตำแหน่งนี้จึงไม่ใช่การยกย่องหรือเป็นเกียรติประวัติแต่อย่างใด ในอดีต กระทั่งบุคคลอย่าง อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ หรือ โจเซฟ สตาลินก็เคยได้รับการคัดเลือกมาแล้ว


เกร็ดอื่นๆ
เป็นที่รู้กันว่าเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของไทม์ คือกรอบสีแดงบนหน้าปก กรอบสีแดงนี้มีการเปลี่ยนไปเฉพาะในโอกาสฉลองครบรอบ 80 ปีของนิตยสาร และฉบับวันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2544 ซึ่งตีพิมพ์หลังจากเหตุการณ์ก่อการร้าย 11 กันยายนในสหรัฐฯ ที่มีการเปลี่ยนกรอบเป็นสีดำ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของการไว้อาลัย
ไทม์ได้ออกฉบับแถลงการณ์บรรณาธิการอย่างเป็นทางการเพียงฉบับเดียวในปี พ.ศ. 2517 ซึ่งเรียกร้องให้นายริชาร์ด นิกสันลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี

กามิกาเซ่



เครื่องบิน 52c Zeroes ถูกส่งจากเกาหลีสู่เกาะคิวชู (ต้นปี พ.ศ. 2488)
กามิกาเซ่ (「神風」, Kamikaze, – ออกเสียงแบบญี่ปุ่นว่า คามิกาเซะ?) หรือ เรียกอย่างเป็นทางการว่า กำลังกองจู่โจมพิเศษ (特別攻撃隊 โทะกุเบะสึโคเกะกิไต) เป็นคำในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายว่าลมสวรรค์ หรือลมแห่งเทวะ กามิกาเซ่ในภาษาญี่ปุ่น ถูกนำมาใช้เรียกลมสลาตัน และนำมาใช้เป็นชื่อฝูงบินและนักบินกามิกาเซ่เท่านั้น ต่างไปจากในภาษาอังกฤษที่ชาวตะวันตกนำคำๆ นี้มาใช้เรียกการโจมตีแบบพลีชีพ (suicide attacks) คำๆ นี้ได้ถูกนำมาใช้เรียกอากาศยานพลีชีพของญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งบรรทุกระเบิดและพุ่งเข้าชนเรือ และคำนี้ยังหมายถึงนักบินผู้บังคับอากาศยานประเภทนี้ด้วย

ญี่ปุ่นใช้ยุทธวิธีพลีชีพด้วยฝูงบินกามิกาเซ่นี้เป็นอย่างมาก ในช่วงที่กองทัพญี่ปุ่นบุกฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2487 (ค.ศ. 1944) และเพื่อหยุดยั้งการบุกของกองทัพเรือฝ่ายสัมพันธมิตร และที่เมืองโอะกินะวะ


ความหมาย
คำว่ากามิกาเซ่ มาจากคำสองคำต่อกัน คือ kami หมายถึง พระเจ้า (god) และ kaze หมายถึงลม (wind) รวมกันมีความหมายว่าลมแห่งสวรรค์ หรือ divine wind ในภาษาอังกฤษ และยังหมายถึง ชื่อพายุไต้ฝุ่นทื่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 1824 พายุลูกนี้ทำให้กองทัพเรือของจีนจำนวน 4,500 ลำ ในสมัยของจักรพรรดิจีนกุบไลข่าน ทื่จะเข้าโจมตียึดญี่ปุ่น โดยล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ชาวญื่ปุ่นเป็นหนี้บุญคุณพายุไต้ฝุ่นลูกนี้เป็นอย่างมากจึงได้ตั้งชื่อว่า "กามิกาเซ่" แปลว่า "พายุเทพเจ้า" และเป็นทื่มาของชื่อกองบิน "กามิกาเซ่" ในกองทัพอากาศญื่ปุ่นในสงครามโลกครั้งทื่ 2

นาวาโท อะไซกิ ทาไม อาจารย์สอน การบินทหารเรือ ได้สอบถามนักเรียนการบิน 23 คนในกลุ่มว่ามีใครสนใจจะเข้าร่วม ในกองกำลังโจมตีพิเศษ (Special Attack Force) โดยนักเรียนทั้งหมดตกลงที่จะเข้าร่วมการ ปฏิบัติการครั้งนี้ รวมทั้งต่อมา ยูคิโอะ เซกิ ก็เข้าร่วมเป็นคนที่ 24 หน่วยโจมตีพิเศษกามิกาเซ่นี้ มี 4 หน่วยย่อย คือหน่วยชิคิชิมา (Shikishima), หน่วยยามาโตะ (Yamato), หน่วยอาซาฮิ (Asahi) และ หน่วยยามาซาคูรา (Yamazakura)ชื่อของ หน่วยย่อยเหล่านี้ นำมาจากบทกวีเกี่ยวกับความรักชาติ ซึ่งประพันธ์ โดยนักปราชญ์ยุคคลาสสิก ของญี่ปุ่น ชื่อ โมโตริ โนรินากะ

หลักฐานเกี่ยวกับการโจมตีครั้งแรกของกามิกาเซ่ที่เชื่อถือได้จากรายงานโดยเจ้าหน้าที่ฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งเป็นที่ยอมรับของหลาย ๆ ฝ่าย คือ การโจมตีเรือลาดตระเวนหนัก ของออสเตรเลีย ชื่อ HMAS Australia เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ถูกเครื่องบินญี่ปุ่น บรรทุกระเบิดหนัก 200 กิโลกรัม (หรือ 441 ปอนด์) พุ่งเข้าชนกลางทะเล นอกเกาะเลเต (Leyte) เครื่องบินลำนี้ปะทะเข้ากับ ส่วนโครงสร้างเหนือดาดฟ้าใหญ่ของเรือ เหนือสะพานเดินเรือ เกิดการระเบิด น้ำมันลุกไหม้และซากปรักหักพังกระจัดกระจาย เป็นวงกว้าง แต่ระเบิดหนัก 200 กิโลกรัมที่ติดมากับเครื่องบิน ไม่เกิดการระเบิด มีคนเสียชีวิตบนเรืออย่างน้อย 30 นาย แต่การโจมตีครั้งนี้ไม่ได้มาจากเครื่องบินกามิกาเซ่ของหน่วยโจมตีพิเศษ (special attack unit) ภายใต้การนำของ นาวาโท ทาไม แต่เป็นการปฏิบัติการของนักบินญี่ปุ่นไม่ทราบนาม

ในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ฝูงบินกามิกาเซ่ ซึ่งประกอบด้วย เครื่องบินซีโร่ (Zero) จำนวน 5 ลำ นำโดย เรือโท เซกิ ได้เข้าโจมตี เรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันของสหรัฐ ฯ ชื่อ USS St. Lo แม้ว่าจะมีเครื่องบิน ซีโร่เพียงลำเดียวที่พุ่งเข้าชนเรือ USS St. Lo ได้สำเร็จ แต่ก็ส่งผลเกินคุ้มระเบิดที่ติดมากับเครื่องบินเกิดระเบิดไฟลุกไหม้ ลุกลามต่อไปยังคลังระเบิดของเรือ USS St. Lo เกิดการระเบิดอย่างรุนแรงจนเรือจม นอกจากนี้เครื่องบินกามิกาเซ่ลำอื่น ๆ ได้สร้างความเสียหายให้เรือรบฝ่ายสัมพันธมิตรอีกมากมายนับไม่ถ้วน เนื่องจากเรือรบของสัมพันธมิตรจำนวนมากในยุคนั้น ดาดฟ้าเรือทำด้วยไม้ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงของไฟจากระเบิดได้เป็นอย่างดีกล่าวได้ว่าเรือบรรทุกเครื่องบิน ของสหรัฐฯในช่วงนั้นตกเป็นเป้าการโจมตีของกามิกาเซ่ได้ง่ายกว่าเรือบรรทุกเครื่องบินของอังกฤษที่มีดาดฟ้าทำด้วยเหล็ก และเข้าประจำการในกองเรือแปซิฟิกของอังกฤษ ในช่วงปี พ.ศ. 2488

เรือ HMAS Australia กลับมาร่วมรบได้อีกครั้งในเดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2488 ได้ถูกฝูงบินกามิกาเซ่โจมตีถึงหกครั้ง มีทหารประจำเรือเสียชีวิตถึง 86 นายแต่เรือก็รอดจากการถูกทำลายมาได้ เรือรบของฝ่ายสัมพันธมิตร ลำอื่นๆที่รอดจากการระเบิดและจมลงทะเล แม้จะถูกฝูงบินกามิกาเซ่โจมตีซ้ำหลายครั้งในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่ ชั้น Essex ของสหรัฐ ฯ จำนวน 2 ลำ คือ เรือ USS Intrepid และ USS Franklin

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง จากการรายงานของประเทศญี่ปุ่นนักบินทหารเรือ ของราชนาวีญี่ปุ่นสังเวยชีวิตไปในภารกิจพลีชีพนี้ ถึง 2,525 นายและนักบินพลีชีพกามิกาเซ่ ในส่วนของกองทัพบกญี่ปุ่นเสียชีวิต 1,387 นาย ตามสถิติที่ทางฝ่ายญี่ปุ่นได้บันทึกไว้ เหล่านักบินที่ห้าวหาญนี้จมเรือรบของฝ่ายสัมพันธมิตรไป 81 ลำ และทำความเสียหายให้เรือรบอีก 195 ลำ กามิกาเซ่ได้สร้างความสูญเสียให้แก่กองทัพเรือ สหรัฐ ฯ ในการรบทางทะเลฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ จากสาเหตุความสูญเสียทั้งหมด

แต่จากข้อมูลของฝ่ายสัมพันธมิตร มีเรือรบฝ่ายสัมพันธมิตรจมลงจากการโจมตีของกามิกาเซ่ เพียง 34 ลำ และอีก 288 ลำได้รับความเสียหาย
ปฏิบัติการของเหล่านักบินกามิกาเซ่ ที่ดูบ้าบิ่นเกินมนุษย์ในสายตาของชาวตะวันตก แต่ชาวญี่ปุ่นกลับมีความคิดและความรู้สึกกับหน่วยโจมตีพิเศษนี้ด้วยความต้องการเสียสละ ไม่เคยขาดแคลนอาสาสมัคร นักบินที่จะมาทำงานให้แก่หน่วยโจมตีพิเศษพลีชีพกามิกาเซ่ มีจำนวนคนที่ต้องการจะมาเป็นนักบินพลีชีพ มากกว่าจำนวนเครื่องบินที่มีอยู่ถึงสามเท่า ในการคัดเลือกตัวนักบิน พวกนักบินมากประสบการณ์ต่าง ๆ จะถูกกีดกันออกไป เนื่องจากนักบินเหล่านี้มีคุณค่าในการรบเชิงป้องกัน (defensive) และในการฝึกสอนนักบินรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งทางกองทัพจะต้องอาศัยนักบินมากประสบการณ์เหล่านี้ในระยะยาว

นักบินพลีชีพกามิกาเซ่ส่วนใหญ่จะมีอายุอยู่ในช่วง 20 ปี ส่วนมากเป็นนักศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัย แรงจูงใจที่ทำให้นักศึกษาเหล่านี้เข้าร่วมเป็นนักบินพลีชีพของกองทัพมาจาก ความรักชาติ (patriotism), ความปรารถนาที่จะนำเกียรติยศมาสู่วงศ์ตระกูลของตนเอง ด้วยการสละชีพเป็นชาติพลี และเพื่อพิสูจน์คุณค่าของความเป็นลูกผู้ชาย ซึ่งกลายเป็นความนิยมรักชาติของวัยรุ่นญี่ปุ่นในขณะนั้น


ธรรมเนียมปฏิบัติและตำนานเล่าขาน
ก่อนที่นักบินกามิกาเซ่จะออกปฏิบัติการเพียงเล็กน้อย ธรรมเนียมปฏิบัติที่ทางหน่วยจะจัดขึ้นเป็นพิธีพิเศษ (special ceremony) ให้แก่นักบินเหล่านี้ มีการสวดมนต์ให้พรนักบิน และญาติมิตรของนักบินที่มาร่วมในงาน เหล่านักบินจะได้รับเครื่องยศทางทหาร (military decoration) ซึ่งมีผลต่อขวัญและกำลังใจของนักบินที่จะออกไปปฏิบัติการ และทำให้เกิดภาพพจน์และแรงจูงใจที่ดีต่ออาสาสมัครที่ต้องการจะมาเป็นนักบินกามิกาเซ่รุ่นต่อ ๆ ไป

ประวัติ โ รงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

โ รงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เดิมมีชื่อว่า "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ตั้งอยู่เลขที่ ๒๒๗ ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ๑๐๓๓๐ ติดกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงเรียนนี้เดิมสังกัดอยู่กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเตรียมนักเรียนแผนกต่างๆ ไว้สำหรับเข้าศึกษาในคณะต่างๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโดยเฉพาะ สภามหาวิทยาลัยได้ลงมติให้จัดตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาขึ้น เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๐ โรงเรียนเปิดเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๑ และนักเรียนเริ่มเรียนวันแรกเมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๑ โดยมี ฯพณฯ ศ.จ.ม.ล. ปิ่นมาลากุล เป็นผู้อำนวยการท่านแรกของโรงเรียน

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาได้โอนไปสังกัดกรมวิสามัญศึกษา และมีระเบียบกำหนดให้นักเรียนที่เรียนจบการศึกษาจากโรงเรียนนี้ สอบคัดเลือกเข้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เช่นเดียวกับนักเรียนชั้นเตรียมอุดมศึกษาของโรงเรียนทั่วไป ทั้งยังตัดคำว่า"แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย" ออก คงเหลือคำว่า "โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา" เท่านั้น

เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงแผนการศึกษาแห่งชาติใหม่ เรียกชั้นเตรียมอุดมศึกษาปีที่ ๑ และปีที่ ๒ เดิมว่า ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ แบ่งเป็นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และ ๕ แผนกศิลปะ แผนกวิทยาศาสตร์ และแผนกทั่วไป มีหลักสูตรสองปีเท่าเดิม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจึงเป็น ชื่อเฉพาะที่มีความหมายเช่นเดิม เพราะนักเรียนที่เข้ามาเรียนในโรงเรียนนี้ ส่วนมากต้องการไปเรียนต่อขั้นอุดมศึกษา

อนึ่งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสามพราน ได้ตั้งขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๐๑ โดยย้ายมาจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาบางปู ซึ่งตั้งขี้นในปี พ.ศ.๒๕๐๐ ครั้นต่อมาในปีการศึกษา ๒๕๐๗ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาสามพราน ก็ได้ย้ายเข้ามารวมอยู่กับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ณ กรุงเทพมหานคร

ภารกิจหลักของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา คือ ให้การศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษา โดยมุ่งให้นักเรียนมีวุฒิ และมีความสามารถที่จะเข้าศึกษาต่อในขั้นอุดมศึกษา หรืออาชีวศึกษาตอนปลายสายสามัญชั้นสูงต่อไป นอกจากนี้ ยังมุ่งปลูกฝังอุปนิสัย และสร้างเสริมให้นักเรียนมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม มีพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง เพื่อให้สมดังเอกลักษณ์ของโรงเรียน

นอกจากภารกิจที่สำคัญดังกล่าวแล้ว โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ยังได้รับมอบหมายจากกรมเจ้าสังกัด ให้ปฏิบัติภารกิจอื่นๆ ที่สำคัญและควรกล่าวถึงเช่น ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ ได้รับมอบหมายให้ความช่วยเหลือ ในด้านแนะแนวการศึกษาแก่โรงเรียนรัฐบาล และโรงเรียนราษฎร์ที่มีชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งทางโรงเรียนได้จัดให้หัวหน้าหมวดวิชาต่างๆ ไปให้คำแนะนำแก่โรงเรียน ตามที่ได้รับมอบหมาย จนบรรลุความสำเร็จตามเป้าประสงค์ของกรม ทั้งยังได้ส่งครู-อาจารย์ ไปช่วยสอนเพิ่มเติมในวันหยุดราชการ ให้แก่นักเรียนตามโรงเรียนที่ได้ขอร้องมาเป็นพิเศษอีกด้วย

ในปี พ.ศ.๒๕๐๓ ได้มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ กระทรวงศึกษาธิการจึงได้มีคำสั่ง มอบหมายให้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ช่วยเหลือทางด้านวิชาการแก่ภาคการศึกษาทั้ง ๑๒ ภาค โรงเรียนจึงได้จัดส่งหัวหน้าหมวดวิชา และผู้ช่วยไปแนะนำการสอนแก่ครู อาจารย์ ตามศูนย์พัฒนาการศึกษาทุกภาค ทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้การเรียนการสอนของเรียนต่างๆ อยู่ในระดับเดียวกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และยังได้รับหน้าที่อบรมครูของกรมสามัญศึกษา ที่จะไปทำการสอนในโรงเรียนส่วนภูมิภาค โดยจัดให้เข้ามารับการอบรมอยู่ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จนมีประสบการณ์พอที่จะไปทำการสอน ตามแบบของโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแล้ว จึงจะส่งไปดำเนินการสอนในโรงเรียนส่วนภูมิภาคนั้น

นอกจากนี้ ทางโรงเรียนยังได้รับโครงการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ แก่พยาบาล ของกองพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข โดยกระทรวงสาธารณสุข ขอให้ทางโรงเรียนช่วยสอนพยาบาลที่จบชั้น ม.ศ.๓ หรือ ม.๖ เดิม ซึ่งอาจดำรงตำแหน่งหัวหน้าพยาบาล หรือเป็นพยาบาลที่รับราชการมานาน ในโรงพยาบาลของรัฐบาลและเอกชน ในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งทางกองพยาบาล กระทรวงสาธารณสุขได้คัดเลือกส่งมาเรียน เพื่อสมัครสอบเทียบชั้น ม.ศ.๕ (มัธยมศึกษาตอนปลาย สายสามัญ) ทางโรงเรียนก็ได้จัดหลักสูตรระยะสั้นแบบเร่งรัด เรียนภาคกลางวันเต็มวัน ประมาณ ๔ เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม เพื่อสมัครสอบเทียบชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเดือนสิ่งหาคม เป็นการช่วยเหลือให้พยาบาลที่สามารถได้ชั้น ม.ศ.๕ แล้วได้เลื่อนวิทยฐานะ ปรับวุฒิ หรือเรียนปริญญาต่อด้านสาธารณสุขศาสตร์ ฯลฯ เพื่อเป็นครูพยาบาลต่อไปได้

ปัจจุบัน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจัดการสอนนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทั้ง ๓ ระดับชั้น (ชั้น ม.๔, ม.๕ และ ม.๖) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการที่ปรับปรุงใหม่ พุทธศักราช ๒๕๓๓

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา นอกจากจะให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการแก่โรงเรียนต่างๆ ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนราษฎร์ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาคดังกล่าวแล้ว โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษายังได้ดำเนินการช่วยเหลือในการก่อตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาสายสามัญ ๕ โรงเรียน คือ
โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) :
ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลวังทองหลาง ถนนลาดพร้าว เขตบางกะปิ กรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งโรงเรียนเมื่อ วันที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๔
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ :
ตั้งอยู่ถนนพัฒนาการ เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการประกาศตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑

โรงเรียนบรมราชินีนาถราชวิทยาลัย (เตรียมอุดมศึกษา) :
ตั้งอยู่ที่อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๕

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปทุมธานี :
ตั้งอยู่ที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๗

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สุวินทวงศ์ :
ตั้งอยู่ที่เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร กระทรวงศึกษาธิการประกาศจัดตั้งโรงเรียน เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๓๗

แลนซ์ อาร์มสตรอง


18 กันยายน พ.ศ. 2514 วันเกิด แลนซ์ อาร์มสตรอง (Lance Edward Armstrong) นักปั่นจักรยานชาวอเมริกัน แชมป์ ตูร์ เดอ ฟรองซ์ (Tour de France) 7 สมัยซ้อน (ระหว่างปี 2542-2548) แลนซ์เกิดที่เมืองพลาโน รัฐแท็กซัส พ่อทิ้งครอบครัวไปตั้งแต่เด็ก ๆ แม่ซึ่งท้องตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่นจึงเลี้ยงดูเขา ให้ความรักและแรงสนับสนุนอย่างเต็มที่ ตอนเรียนประถมแม่ซื้อจักรยานคันแรกญี่ห้ชวินน์ (Schwinn) ให้เขา จากนั้นเขาก็หลงไหลจักรยานหันมาเอาดีทางกีฬา ฝึกซ้อมอย่างหนักจนได้เป็นแชมป์ไตรกีฬารุ่นผู้ใหญ่ตอน 12 ขวบ ก่อนจะได้เป็นนักไตรกีฬาอาชีพตอนอายุ 16 ปี แล้วจึงออกล่ารางวัลไปทั่วเท็กซัส ได้เป็นนักกรีฑาทีมชาติตอนอายุ 18 ปี จากนั้นก็หันมาเอาดีบนหลังอานซึ่งเป็นกีฬาที่เขาถนัดที่สุด ในปี 2535 เขาเข้าอันดับที่ 14 ในกีฬาโอลิมปิก และเริ่มไต่เต้าขึ้นอย่างรวดเร็ว ปีต่อมาก็ได้ แชมป์โลกยูซีไอ (UCI Road World Championships) หลังจากนั้นจึงลองดี สมัครเข้าแข่งในรายการแข่งขันจักรยานที่ “หิน” ที่สุดในโลกคือ "ตูร์ เดอ ฟรองซ์” แต่ด้วยความ “บ้าพลัง” ในระยะแรกเขาสามารถเอาชนะในรายการแข่งขันประเภทจับเวลา และช่วงขึ้นเขา แต่เวลารวมของทีมยังไม่ดี เพราะคาวบอยหนุ่มจากเท็กซัสยังไม่รู้จักศาสตร์และศิลป์ของจักรยาน เขาฝึกหนักและออกล่ารางวัลไปทั่วยุโรป จนรู้ตัวว่าป่วยเป็นมะเร็งในต่อมลูกหมากเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2539 เขาต้องเขาทำการบำบัดด้วยคีโม จนผมร่วงหมดหัว ร่างกายและกล้ามเนื้ออ่อนแอ จนไม่มีใครคิดว่าเขาจะกลับมาขี่หลังเสือได้อีก แฟนก็ทิ้ง ทีมและสปอนเซอร์ต่างยกเลิกสัญญาจนหมด แต่ด้วยจิตใจที่มุ่งมั่น เข้มเข็ง และกำลังใจจากคนที่รักเขามากที่สุดคือแม่ เขาสามารถเอาชนะโรคร้ายมาได้และกลับมาปั่นจักรยานอีกครั้ง เขาค่อย ๆ ฝึกวันละนิด หลักจากนั้นอีก 4 ปีเขาก็ได้พิสูจน์ให้โลกเห็น เมื่อได้เป็นแชมป์ตูร์ เดอ ฟรองซ์ ในปี 2542 เป็นครั้งแรก และทำให้ทั้งโลกตาค้างเมื่อเขาเป็นแชมป์ติดต่อกันถึง 7 สมัยซ้อน เป็นคนแรกและคนเดียวในโลก หลังจากนั้นเขาก็ประกาศแขวนรองเท้าคลิปเลส ตั้ง "มูลนิธิแลนซ์ อาร์มสตรอง” (Lance Armstrong Foundation) เพื่อรณรงค์ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง เขาเป็นผู้ริเริ่มสวม "สายรัดข้อมือ” (Wristband) ที่สลักคำว่า "Livestrong" หรือ "มีชีวิตอยู่อย่างเข้มแข็ง" เพื่อหาเงินช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง ปัจจุบันยังคงรณรงค์ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคมะเร็ง เป็นพรีเซนเตอร์ของไนกีและจักรยานเทรค (Trek)

ดนตรีแจ๊ซ
ความเป็นมา








ดนตรีแจ๊ซ (jazz) เป็นดนตรีรูปแบบหนึ่งที่เกิดในอเมริกา ประมาณช่วงต้นคริสตศตวรรษที่ 20 โดยกลุ่มชาวแอฟริกันตะวันตกที่อาศัยอยู่จำนวนมากทางตอนใต้ โดยเฉพาะแถบนิวออร์ลีนส์ เป็นกลุ่มทาสที่เป็นแรงงานด้านเกษตรกร ซึ่งมีวัฒนธรรมทางดนตรีที่เข้มแข็ง มีการใช้ดนตรีประกอบการทำงาน ประกอบพิธีทางศาสนา งานเทศกาลรื่นเริงต่างๆ ว่างจากงานก็มาชุมนุมร้องรำทำเพลงกันโดยใช้เครื่องดนตรีที่ทำเป็นกลองตี


สันนิษฐานว่ากลุ่มที่เป็นต้นกำเนิดดนตรีแจ๊ซน่าจะเป็นพวกกองโก นับถือบูชางูใหญ่ มีจิตใจเมตตากรุณาและสุภาพที่สุด โดยได้รากฐานจากเพลงสวดของพวก นิโกร ซึ่งแต่งขึ้นก่อนพวกทาสได้รับการปลดปล่อยเป็นอิสระ


เพลงพื้นเมืองของคนผิวดำ เป็นเพลงที่แสดงอารมณ์ลึกซึ้งได้อย่างชัดเจน นอกจากพัฒนามาจากเพลงประกอบพิธีทางศาสนาแล้ว ยังพัฒนาจากเพลงลูกทุ่งตะวันตก เพลงพื้นเมืองด้วย ที่เรียกว่า เพลงบลูส์ (Blues) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาดนตรีแจ๊ซ


ลักษณะดนตรีแอฟริกาแถบตะวันตกที่เป็นต้นกำเนิดของดนตรีแจ๊สมีลักษณะการสร้างสรรค์ แบบการด้นสดหรือการอิมโพรไวเซชั่น (Improvisation) เน้นที่จังหวะกลองและจังหวะที่ซับซ้อน นอกจากนี้ลักษณะที่เรียกว่า การโต้ตอบหรือ Call and respond ซึ่งพบได้ในเพลงแจ๊ซ โดยเฉพาะการร้องโต้ตอบของนักร้องเดี่ยวกับกลุ่มนักร้อง ประสานเสียง มีการใช้จังหวะขัด จังหวะตบที่สม่ำเสมอ และสีสันที่โดดเด่นรวมทั้งลักษณะเฉพาะของการบรรเลงดนตรี


ที่มาของการเรียกว่า ดนตรีแจ๊ซ สันนิษฐานว่า เรียกตามวงดนดรีวงแรกที่นำแนวเพลงแจ๊ซมาสู่คนฟังหมู่มาก มีการบันทึกเสียงออกจำหน่ายอย่างเป็นทางการ คือ วง ดิ ออริจินัล ดิกซีแลนด์ แจ๊ซ (The Original Dixieland Jazz Band หรือ วงโอดีเจบี) โดยเริ่มเรียกใช้กันราวปี ค.ศ.1917


ดนตรีแจ๊ซมีการพัฒนารูปแบบแตกต่างกันออกไป หลายประเภท เช่น แบบนิวออร์ลีน หรือดิกซีแลนด์ สวิง บีบ็อพ คูล ฟรีแจ๊ซ และ แจ๊ซร็อก เป็นต้น


องค์ประกอบของดนตรีแจ๊ซ มีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องเป่า แซกโซโฟน และทรัมเป็ต เป็นหลักและมีเครื่องดนตรีในกลุ่มเครื่องประกอบจังหวะผสมวงบรรเลงร่วมกัน


นักดนตรีแจ๊สที่เด่นดัง เช่น หลุยส์ อาร์มสตรอง, ดุ๊ก แอลลิงตัน, เบนนี กู้ดแมน, ชาร์ลี ปาร์เกอร์, และ จอห์น โคลเทรน นอกจากนี้ ดนตรีแจ๊ซมีอิทธิพลต่อแนวดนตรีอื่นๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ป๊อป หรือคลาสสิก ซึ่งผู้ประพันธ์เพลงหลายคน นำเอาลักษณะของดนตรีแจ๊ซไปใช้ในการแต่งเพลง เช่น ราเวล สตราวินสกี และคอปแลนด์ เป็นต้น


สนใจเรื่องราวดนตรีแจ๊สแบบละเอียดยิบ เปิดชมที่ http://classroom.psu.ac.th/users/wkomson/data/western-musuc/Chapter6/CHAP6.HTM

 

หมายเลขบันทึก: 251420เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2009 08:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท