ที่มาของคำไทย สุภาษิตไทยและ ชื่อต่าง ๆ และ อีกมากมาย 14


ที่มาของคำไทย สุภาษิตไทย

ทำไมต้อง "เสียหมา" มีที่มาอย่างไร

แล้ว "เสียหมา" ทำไมต้องหมายถึง "เสียฟอร์ม-เสียท่า"

"เสียหมา" เกิดขึ้นในช่วงสงครามเวียดนามเมื่อประมาณ 30-40 ปีก่อน

ตอนนั้นยังมีเวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้

สหรัฐอเมริกาหนุนเวียดนามใต้ สู้กับเวียดนามเหนือหรือพวก "เวียดกง"

"เวียดกง" นั้นเป็นเจ้าของกลยุทธ์การสู้รบแบบ "กองโจร"

"เอ็งมา ข้ามุด เอ็งหยุด ข้าแหย่ เอ็งแย่ ข้าตาม"

ไม่สู้แบบปะทะตรงๆ เพราะสู้กับกองทัพสหรัฐอเมริกาไม่ได้

เขาจึงใช้กลยุทธ์ "กองโจร" ใช้วิธีซุ่มโจมตีแทน

ที่เด็ดมากและแสดงถึงความมานะอดทนของ "เวียดกง" ก็คือ การขุดอุโมงค์ใต้ดิน ต่อเชื่อมกันเป็นระยะทางไกลๆ

โผล่ขึ้นมาถล่มทหารสหรัฐ แล้วก็มุดเข้าอุโมงค์หนีไป

วันหนึ่ง กองทัพสหรัฐคิดวิธีใหม่ในการค้นหาอุโมงค์ของ "เวียดกง" ได้สำเร็จ

เขาใช้สุนัขทหารที่ดมกลิ่นเก่งมากๆ เป็นตัวนำทาง

ทหารสหรัฐจะส่งสุนัขล่วงหน้าไป เพอจออุโมงค์ที่ไหนมันก็จะเห่าบอกเป้าหมาย ทหารสหรัฐก็จะบุกไปถล่มอุโมงค์นั้นทันที

"เวียดกง" เจอลูกเล่นนี้เข้าไปหลายครั้งก็ต้องประชุมกันเพื่อคิดหาวิธีแก้เกมสหรัฐอเมริกา

ในที่สุด เขาก็คิดแก้ลำเจ้าสุนัขทหารของสหรัฐได้สำเร็จ ด้วยการคิดนอกกรอบตามสไตล์เดิมๆ

รู้ไหมครับว่า "เวียดกง" ทำอย่างไร

เขาคิดได้ 2 วิธี

วิธีแรก "เวียดกง" หาหนังเสือ และมันเสือ มาแขวนไว้แถวปากอุโมงค์

ธรรมชาติของสุนัข เมื่อได้กลิ่นเสือก็จะตกใจกลัว

และวิ่งหนีไป

แต่วิธีที่สอง เด็ดกว่า

"เวียดกง" แปรศัตรูให้เป็นมิตร

ไม่ไล่สุนัขของสหรัฐแล้วครับ แต่วางแผนดึงเจ้าสุนัขทหารมาเป็นพวก

เขาสรรหาสุนัขตัวเมียที่ติดสัดมาผูกล่อไว้

พอสุนัขทหารที่เป็นตัวผู้ได้กลิ่นตัวเมีย มันก็จะพุ่งเข้าหาทันที

ลืมหมดว่าภารกิจที่ได้รับมอบหมายคืออะไร

ครับ "ความรัก" นั้นไม่ใช่เพียงแต่ทำให้ "คน" ตาบอด

แม้แต่ "หมา" ก็ยังลืมตัวได้

กลยุทธ์นี้ทำให้สหรัฐอเมริกาเสียฟอร์มอย่างมาก

เพราะนอกจาก "เวียดกง" จะทำลายแผนของกองทัพสหรัฐแล้ว

กองทัพสหรัฐยังเสียสุนัขที่ได้รับการฝึกเป็นอย่างดีให้กับ "เวียดกง" ไปฟรีๆ อีกหลายตัว

นี่คือ ที่มาของคำว่า "เสียหมา"

ที่แปลว่า "เสียฟอร์ม"

...ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ที่มาของคําว่า กระดังงาลนไฟ

เวลาสาวๆ กินขนมไทยย่อมได้กลื่นหอมหวลของเทืยนอบด้วยทุกครั้ง แต่ว่าขนมที่หวานหอมเหล่านี้ มันจะเป็นที่มาของกระดังงาลนไฟได้ยังไงล่ะนี่

กลื่นหอมของขนมไทยที่อบอวลอยุ่ทุกคราวคํา มาจากการใช้เทืยนอบที่อาจเสริมด้วยดอกไม้นานาพันธุ์ ทิ้งไว้ในหม้อที่อุดมไปด้วยขนม โดยให้กลื่นเทืยนวนเวืยนอยุ่ในหม้อนั้นประมาณหนึ่งคืน แต่ว่าดอกไม้ที่ชาววังนิยมกันนั้นได้แก่ ดอกกุหลาบมอญสีชมพูและดอกกระดังงาขั้นตอนก็แสนง่ายโดยเด้ดดอกกลีบกุหลาบมอญไม่ให้ซําและโรยลงไปบนขนมก่อนที่จะอบเทืยน

ส่วนดอกกระดังงามีเทคนิดลําลึกกว่านั้น เพราะต้องลนดอกกระดังงาด้วยไฟที่จุดจากเทืยนอบ เพื่อให้กลีบดอกซําเสียก่อน จากนั้นต้องบีบกระเปาะดอกให้แตก แล้วค่อยวางลงบนขนมที่ต้องการจะอบ ปิดฝาให้มิดชิดค้างคืนไว้หนึ่งคืน ซึ้งถ้าไม่ใช่ดอกกระดังงาลนไฟกลื่นก็จะไม่หอมเท่ากระดังงาที่ลนไฟเรืยบร้อยแล้ว

เรื่องนี้สอนให้รุ้ว่า สาวแก่แม่หม่ายทั้งหลายแม้จะเคยผ่านมือชายมาแล้วเหมือนกับการลนไฟ ทําให้ล้วนมีเสน่ห์กลื่นหอมเย้ายวนติดกายทําให้ทั้งหนุ่มทั้งป๋าล้วนแต่อยากจะใกล้ชิด อย่างนี้ถึงเรืยกว่ากระดังงาลนไฟของจริง

 

ที่มาของก๋วยเตี๋ยวราดหน้า




ราดหน้าเป็นก๋วยเตี๋ยวของคนจีน แรกๆเป็นอาหารขายเฉพาะในภัตตาคาร แต่ต่อมาได้รับความนิยมมาก จึงมีคนจีนโดยเฉพาะคนจีนแต้จิ๋วทำขายทั่วไป น้ำเหนียวข้นที่ใช้ราดเส้นเป็นภาษาจีนเรียกว่า "เกิง" ก๋วยเตี๋ยวราดหน้าสมัยก่อนจะใช้ผักกวางตุ้ง น้ำราดมีเพียงเล็กน้อย เพราะจะต้องห่อด้วยใบตองที่รองด้วยกระดาษ น้ำน้อยขนาดที่ห่อแล้วไม่ไหลออกจากใบตอง ส่วนเส้นที่ใช้ก็คือก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ทำเป็นแผ่นกลมใหญ่ นึ่งร้อนๆแล้วนำมาตัดเอง

ความอร่อยของก๋วยเตี๋ยวราดหน้าอยู่ที่เส้นก๋วยเตี๋ยว จะต้องมีกลิ่นหอมจากไฟกระทะ ลักษณะเส้นต้องมีรอยไหม้เกรียมและพอง การผัดเส้นให้ได้ลักษณะดังกล่าวนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้กระทะเหล็กเนื้อหนา เตาแก๊ซหัวฟู่ และคนผัดที่ชำนาญ เวลาผัดต้องตั้งกระทะเหล็กบนไฟแรงก่อน จึงใส่น้ำมันลงไป กลอกให้ทั่วกระทะ แล้วเทน้ำมันกลับคืนให้เหลือติดก้นกระทะเล็กน้อย เมื่อกระทะน้ำมันร้อนจัดขยี้ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ใส่ลงไป เร่งไฟให้แรง ผัดเร็วๆแต่นานๆให้เส้นเกรียมและพองมีรอยไหม้ ใส่ซีอิ๊วดำหรือไม่ใส่ก็ได้ ผัดให้ทั่วอีกทีก็ใช้ได้แล้ว

ส่วนน้ำราดหน้า เครื่องปรุงที่เป็นตัวหลักคือ เต้าเจี้ยวดำ เต้าเจี้ยวที่หมักดองจนได้รสเค็มกลมกล่อม สร้างรสชาติเฉพาะให้กับน้ำราดหน้า ปัจจุบันมีการใช้เต้าซี่แทนเต้าเจี้ยวบ้างเหมือนกัน แต่จะใช้กับเนื้อปลาเท่านั้น เช่น รดาหน้าปลาเต้าซี่ ซึ่งเป็นอาหารเหลาที่ขายในภัตตาคารจีนหรือร้านอาหารจีนมีระดับ

เดิมทีก๋วยเตี๋ยวราดหน้าใช้ผักกวางตุ้ง จากนั้นเปลี่ยนมาใช้ผักคะน้า เพราะผักกวางตุ้งเหี่ยวง่าย ลำต้นไม่กรุบกรอบเท่าคะน้า จากก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ขยายเป็นเส้นหมี่ บะหมี่กรอบ เส้นหมี่กรอบ เกี๊ยวกรอบ และอื่นๆ

 

ที่มาของนามสกุลในประเทศไทย




เดิมคนไทยไม่ได้มีนามสกุล จะมีเพียงชื่อเรียกเท่านั้น ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 จึงทรงโปรดให้มีการตั้งนามสกุลเหมือนกับประเทศอื่นๆ โดยให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2455 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456 และมีการพระราชทานนามสกุลให้แก่หลายครอบครัวที่เรียกว่า นามสกุลพระราชทานจำนวน 6,432 นามสกุล และหลายครอบครัวก็ตั้งนามสกุลตามชื่อของผู้นำของครอบครัวนั้น




นามสกุลที่ได้รับพระราชทานครั้งแรก ๕ สกุล คือ


๑) สุขุม พระราชทาน เจ้าพระยายมราช เสนาบดีกระทรวงนครบาล

๒) มาลากุล พระราชทาน พระยาวิสุทธสุริยศักดิ์ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี) เสนาบดีกระทรวงธรรมการ กับ พระยาอนุรักษ์ราชมณเฑียร (ต่อมาได้รับ พระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยาธรรมาธิการณาธิบดี) เสนาบดีกระทรวงวัง

๓) พึ่งบุญ พระราชทาน พระยาประสิทธิ์ศุภการ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดา ศักดิ์เป็น เจ้าพระยารามราฆพ) จางวางมหาดเล็กห้องพระบรรทม

๔) ณ มหาไชย พระราชทาน พระยาเทพทวาราวดี (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็น พระยาบำเรอบริรักษ์) อธิบดีกรมมหาดเล็ก

๕) ไกรฤกษ์ พระราชทาน พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ อธิบดีกรมชาวที่ และ พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น เจ้าพระยามหิธร) กรรมการศาลฎีกา

 

 

ที่มา ของศักราชไทย

เริ่ม พ.ศ.ใหม่ ใครอยากรู้ที่มา ของศักราชไทย อ่านที่นี่
เริ่ม พ.ศ.ใหม่ ใครอยากรู้ที่มา ของศักราชไทย



หนังสือไทยโบราณทั้งหลาย เช่น หนังสือพงศาวดาร ประกาศกฏหมายเก่า หรือ ตำราต่างๆ ฯลฯ มักลงศักราช ไว้ต่างๆ กัน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อจะลงศักราชบอกเวลาเป็นปี นิยมใช้ "จุลศักราช" หนังสือที่ตีพิมพ์ตั้งแต่พุทธศักราช 2431 หรือในตอนกลางรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เช่น หนังสือราชการ ตำรา และแบบเรียน ฯลฯ ใช้ "รัตนโกสินทรศก" แทน "จุลศักราช" ทั้งสิ้น

แต่การลงศักราชเป็น "รัตนโกสินทรศก" นั้น กระทำอยู่ได้ไม่นานนัก เพราะปรากฏว่า ตั้งแต่พุทธศักราช 2455 เป็นต้นมา หนังสือราชการและสิ่งพิมพ์ต่างๆ หันมาใช้ "พุทธศักราช" แทน "รัตนโกสินทรศก" ตราบจนทุกวันนี้ ประโยชน์ของการเปรียบเทียบศักราช เป็นสิ่งควรจำสำหรับใช้ประโยชน์ ในการศึกษาค้นคว้าตำราเก่า

ศักราชเท่าที่ปรากฏในหนังสือไทยโบราณ มีด้วยกัน 5 ชนิด คือ

1. มหาศักราช

2. จุลศักราช

3. ศักราชจุฬามณี (ศักราชกฏหมาย)

4. รัตนโกสินทรศก

5. พุทธศักราช

มหาศักราช มีกำหนดแรกบัญญัติ นับแต่วันพระพุทธเจ้านิพพานแล้ว 621 ปี เป็นศักราชที่แพร่หลายเข้ามาใช้ในเมืองไทยก่อนศักราชอื่น ประมาณว่า ตั้งแต่เริ่มมีการจารึกหนังสือไทย ใช้มหาศักราชเป็นส่วนใหญ่

จุลศักราช เป็นศักราชที่ตั้งขึ้น และใช้ในเมืองพม่ามาแต่ก่อน ต่อมาได้แพร่หลายเข้ามาใช้ในราชการ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ในแผ่นดินสมเด็จพระมหาธรรมราชา (2112- 2133) ซึ่งขณะนั้นกรุงศรีอยุธยา ติดต่อเกี่ยวกับเมืองหงสาวดี ในฐานะเป็นเมืองประเทศราชอยู่ถึง 15 ปี เนื่องจากเสียกรุงแก่พม่าครั้งแรก

ความเป็นมาของ จุลศักราช มีว่า "สังฆราชบุตุโสระหัน" เมื่อสึกจากสมณเพศได้ชิงราชสมบัติเป็นกษัตริย์ลำดับที่ 19 ในราชวงศ์สมุทฤทธิ์ในประเทศพุกาม ได้บัญญัติจุลศักราชขึ้น เมื่อพุทธศักราช 1182 (กำหนดแรกบัญญัติตั้งแต่วันพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว 1181 ปี) และต่อมาก็เลิกใช้ เนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อจุลศักราช 1250 ได้มี "ประกาศให้ใช้วันอย่างใหม่" ว่า :

"มีพะบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯ สั่งว่า ด้วยทรงพระราชดำริห์ถึงวิธีนับวัน เดือน ที่ใช้กันอยู่ในสยามมณฑล และที่ใช้ในประเทศน้อยใหญ่ เป็นอันมากในโลกนี้ เป็นวิธีต่างกันอยู่มาก คือกล่าวโดยย่อ ก็เป็นวิธีใช้ตามจันทรคติอย่างหนึ่ง และสุริยคติอย่างหนึ่ง จึงทรงพระราชดำริห์ว่า วิธีนับวัน เดือน ปี อย่างดีที่สุดนั้น ควรจะประกอบด้วยเหตุอันควร 3 ประการคือ

1. ให้ถูกต้องใกล้ชิดกับฤดูกาล

2. ให้มีประมาณอันเสมอไม่มากไม่น้อยไปกว่ากันนัก กับ

3. ให้คนทั้งปวงรู้ง่ายทั่วไปดีกว่าอย่างอื่น ทั้ง 3 ประการนี้ จึงจะสมควรที่จะใช้ในประชุมชนทั้งปวง…"ผลการประกาศฉบับนี้ ศักราชที่เคยใช้มาก่อนทั้งมวลเป็นอันงดใช้ และให้ใช้ "รัตนโกสินทรศก" เว้นแต่ในทางพระพุทธศาสนา คงใช้พุทธศักราชเท่านั้น

รัตนโกสินทรศก เป็นศักราชที่ใช้ในสมัยรัตนโกสินทร์ กำหนดแรกบัญญัติ ตั้งแต่ปีที่ตั้งกรุงเทพพระมหานคร เป็นทางราชการ คือ ในปีพุทธศักราช 2325 เพราะฉะนั้น รัตนโกสินทรศก 1 ก็คือปีพุทธศักราชล่วงมาแล้ว 2324 ปี แต่รัตนโกสินทรศก ใช้กันอยู่ไม่นานนัก ก็เป็นอันเลิกใช้ใน ร.ศ.131 เป็นต้นมา สิ่งพิมพ์ต่างๆ และหนังสือราชการ ก็หันมาลงศักราช เป็น"พุทธศักราช" ในมาตรฐานเดียวกัน

พุทธศักราช ซึ่งทางราชการไทยใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีคติตั้งแต่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าปรินิพพาน โดยไทยถือตามมติของลังกา คือถือว่า ทรงปรินิพพาน 543 ปีก่อนคริสต์ศักราช แม้ว่าเราจะใช้พุทธศักราชกันมานานแล้ว แต่ทางราชการเพิ่งจะบังคับใช้ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ตรมประกาศลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทรศก 131 ความว่า

"...ทรงพระราขดำริว่า พระพุทธศักราชนั้น ได้เคยใช้ในราชการทั่วไป ถ้าจะให้ใช้พระพุทธศักราชแทนปีรัตนโกสินทรศกแล้ว ก็จะเป็นการสะดวก แก่การอดีตในพงศาวดาร ของกรุงสยามมากยิ่งขึ้นฯลฯ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระพุทธศักราช ในราชการทั้งปวงทั่วไป ฯลฯ " หลังประกาศฉบับนี้ หนังสือไทยทุกประเภท จึงลงศักราช เป็นพุทธศักราชมาจนทุกวันนี้

ศักราชจุฬามณี เป็นคำระบุศักราช ที่พบในตำราหนังสือไทยเก่าๆ ยังไม่มีผู้ใดสืบหลักฐานที่มาได้ เพียงแต่สอบได้ความว่า ถ้าปรากฏศักราชชนิดนี้ ในบานแผนกกฎหมายต้องใช้เกณฑ์เลข 258 ลบ ผลลัพธ์ เป็นจุลศักราช

คริสตศักราช เป็นศักราชที่มีต้นกำเนิด และใช้ในหนังสือต่างประเทศ หนังสือไทยโบราณทุกสมัยก่อนๆ ไม่ปรากฏว่าได้เคยใช้ศักราชแบบนี้เลย

เกณฑ์ตัวเลขสำหรับการเปรียบเทียบศักราช เพื่อเป็นพุทธศักราช

1. ถ้าพบว่าเป็น "มหาศักราช" ให้เอา 621 บวก

2. ถ้าพบว่าเป็น "จุลศักราช" ให้เอา 1181 บวก

3. ถ้าพบว่าเป็น "ศักราชรัตนโกสินทร์" ให้เอา 2324 บวก

4. ถ้าพบว่าเป็น "ศักราชจุฬามณี" หรือ "ศักราชกฏหมาย" ให้เอา 258 ลบ ผลลัพธ์เป็นจุลศักราช แล้วจึงเปลี่ยน "จุลศักราช" เป็น พุทธศักราช

5. ถ้าพบว่าเป็น "คริสตศักราช" ให้เอา 543 บวก

ที่มา สัญลักษณ์ไฟหมุนที่ร้านตัดผม

สัญลักษณ์ไฟหมุนที่ร้านตัดผม เรียกว่า "บาร์เบอร์ โพล" (barber pole) ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป ยุคที่ช่างตัดผมรวมอยู่ในอาชีพหมอฟันและศัลยแพทย์ หรือจะว่าผ่าตัด ถ่ายเลือด ทำฟัน เป็นภาระหน้าที่อย่างหนึ่งของช่างตัดผมก็ได้

เป็นเช่นนั้นอย่างเป็นทางการตั้งแต่ พ.ศ.1639 ที่ประเทศฝรั่งเศส ด้วยฝีมืออาร์คบิชอปแห่งร็วง เมืองหลวงของแคว้นนอร์มังดี ท่านสั่งห้ามบุรุษไว้หนวดเคราโดยเด็ดขาด ทำให้กิจการตัดผมและโกนหนวดเครามีความจำเป็นมากขึ้น แล้วใครจะมีของมีคมเท่าศัลยแพทย์เล่า

กระทั่งภายหลังเมื่อการแพทย์มีความชัดเจนในสาขาของตนยิ่งขึ้น อาชีพศัลยแพทย์กับช่างตัดผมจึงถึงแก่กาลต้องแยกจากกันโดยสิ้นเชิง เหลือเพียงสัญลักษณ์ที่เกิดขึ้นด้วยความบังเอิญตกทอดเป็นมรดกจากหมอผ่าตัดถึงช่างผัดผม

เรื่องก็เพราะ ครั้งยังทำงานทูอินวัน ระหว่างการผ่าตัดถ่ายเลือดผู้ป่วย คุณหมอจะพาดแถบผ้าพันแผล 2 เส้น รอไว้ เส้นหนึ่งสำหรับพันรอบแขนผู้ป่วยก่อนถ่ายเลือด เส้นหนึ่งไว้พันแผลภายหลังงานเรียบร้อย นานเข้าแถบผ้าพันแผล 2 เส้น ก็เป็นภาพเจนตาจนเป็นที่เข้าใจตรงกันทั่วไปว่าเป็นร้านคุณหมอ (ที่รับตัดผมด้วย)

จากแถบผ้าพันแผลวิวัฒน์เป็นเสาทาสีเลียนแบบ ติดตั้งอย่างถาวรภายนอกร้าน มองคล้ายเกลียวริบบิ้น 2 สี เรียก "เกลียวริบบิ้นสีขาวแดงสองเส้นพันรอบแท่งเสา" ว่า บาร์เบอร์ โพล จากยุโรปไปถึงอเมริกา ช่างตัดผมอเมริกันรักชาติเติมสีน้ำเงินเข้าไปในบาร์เบอร์ โพล ด้วย เป็นสีแดง ขาว น้ำเงิน ตามสีธงชาติสหรัฐอเมริกา

บาร์เบอร์ โพล กลายเป็นสื่อสัญลักษณ์สากลของร้านตัดผมในที่สุด เห็นปุ๊บรู้ปั๊บว่าเป็นร้านตัดผม โดยไม่ต้องคอยมองหาป้ายชื่อร้าน ทั้งยังบอกให้ทราบด้วยว่าร้านเปิดทำการหรือไม่ หากไฟหมุนเปิดอยู่แสดงว่าร้านเปิด เข้าไปใช้บริการได้ หากไฟปิดคือร้านปิด ตรงไปร้านอื่นได้เลย

ต้นทางของวัฒนธรรมไฟหมุนหน้าร้านตัดผมจึงคือเมืองร็วง แคว้นนอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของฝรั่งเศส โดดเด่นด้วยมหาวิหารนอเตรอดาม สร้างเสริมต่อเติมด้วยสถาปัตยกรรมหลายยุคหลายสมัยจากศตวรรษที่ 12 ถึงศตวรรษที่ 19 และเป็นเมืองที่ฝังศพวีรบุรุษชาวฝรั่งเศสในยุคกลาง เฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่ฝังพระหทัยของพระเจ้าริชาร์ดใจสิงห์ (Richard the Lion Heart) กษัตริย์อังกฤษผู้ประทับอยู่ในฝรั่งเศสมากกว่าอังกฤษ
ใครเป็นคนคิดวิชาแคลคูลัส ?

แคลคูลัส เป็นวิชาคณิตศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง และเป็นพื้นฐานต่อการ ทำความเข้าใจโลก และปรากฏการณ์ต่าง ๆ แคลคูลัสช่วยให้เราสามารถ คำนวณวงโคจร ของดาวต่าง ๆ ช่วยให้เราคำนวณกระแสน้ำ ช่วยในการทำคำนวณหาเส้นแรง ในอาคารรูปแปลก ๆ เพื่อให้สามารถสร้างอาคารเหล่านั้นได้ โดยสรุปก็คือแคลคูลัส เป็นวิชาที่จำเป็นสำหรับนักวิทยาศาสตร์แทบทุกแขนง
ผู้ที่เกิดแนวคิดเรื่องแคลคูลัสก่อนผู้ใดเมื่อราว พ.ศ. 2210 ก็คือ เซอร์ ไอแสค นิวตัน นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ หลังจากนั้นไม่นาน นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ กอตฟรีด ไลปนิซ ก็เกิดแนวคิดในทำนองเดียวกันด้วย ทั้งสองคน เขียนจดหมายแลกเปลี่ยนทัศนะ และแนวคิดกัน ต่อมานิวตัน ซึ่งเป็นคนที่ขี้ระแวงและโมโหง่าย ได้กล่าวหาว่าไลปนิซ เป็นผู้ขโมยความคิดเรื่องนี้ของตนไป
อย่างไรก็ตามปรากฏว่าแม้ ไลปนิซจะคิดเรื่อง แคลคูลัสช้ากว่านิวตัน แต่กลับนำผลงานไปตีพิมพ์เผยแพร่ก่อน ปัจจุบันนักประวัติคณิตศาสตร์ได้สรุปว่า แคลคูลัส เป็นผลงาน คิดค้นของทั้งนิวตันและไลปนิซ

 

ปีแสงคืออะไร


แสงที่ส่องมาจากดวงดาวต่างๆ ที่อยู่บนฟากฟ้านี้ทำให้เรามองเห็นได้นั้น แท้ที่จริงแล้วแสงเหล่านี้อยู่ไกลจากโลกเรามาก และไม่มีหน่วยวัดใดๆ ที่จะสะดวกในการวัดความยาวไกลของดวงดาวเหล่านั้น ที่อยู่ไกลจากโลกของเราออกไปนักดาราศาสตร์จึ้งกำหนดหน่วยวัดชนิดหนึ่งขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า ปีแสง ปีแสงเป็นระยะทางที่แสงเดินทางได้ภายใน 1 ปี ลองคำนวณดูก็ได้ว่า 1 ปีแสงนั้นมีความยาวเท่าไร เมื่อ 1 วินาที แสงเดินทางได้ 300,000 กิโลเมตร ใน 1 ปีจะมี 31,536,000 วินาที ดังนั้นแสงจะเดินทางได้ประมาณ 9,460,800,000,000 กิโลเมตรใน 1 ปีแสง

ที่มา ถนนสุรวงศ์

ถนนสุรวงศ์ เป็นถนนที่ เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ขณะมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสีหราชเดโชชัย ได้ซื้อที่ดินและกราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาต พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตัดถนนขึ้นสองสายผ่านที่ดินดังกล่าว โดยถนนสายหนึ่ง "แยกจากถนนเจริญกรุงตรงไปมีสะพานข้ามคลองวัวลำพองตกศีศะลำโพงมีสพานข้ามตรงถนนสระปทุมวัน" อีกสายหนึ่ง แยกจากถนนสายแรกไปทางตะวันออก มีสะพานข้ามข้ามคลองจดถนนสีลม และได้มอบหมายให้ ท่านผู้หญิงตลับสีหราชเดโช ภริยา กราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อถนนจาก สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ขณะทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินใน พ.ศ. ๒๔๔๐ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศต่าง ๆ ในยุโรป โดยมีพระยาสีหราชเดโชชัยตามเสด็จพระราชดำเนินด้วย สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามถนนสายแรกว่า "ถนนสุรวงษ์" ส่วนถนนสายที่แยกจากถนนสุรวงศ์ไปทางตะวันออกจนถึงถนนสีลม พระราชทานนามว่า "ถนนเดโช" และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานรับถนนทั้งสองสายนี้เป็นถนนหลวงสำหรับพระนครเพื่อให้เจ้าพนักงานรักษาและซ่อมแซมเหมือนถนนหลวงทั่วไป ดังปรากฏในประกาศพระราชทานนามถนน เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๖
อย่างไรก็ตาม ปรากฏหลักฐานสมัยรัชกาลที่ ๗ ว่า ถนนสุรวงศ์ ได้มีการเรียกชื่อเป็น "ถนนสุริวงศ์" โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงทักท้วงในที่ประชุมเสนาบดีเมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ขณะที่ประชุมกำลังพิจารณา "ร่างพระราชกฤษฎีกาตัดถนนต่อจากถนนสุริวงศ์ไปจดริมแม่น้ำเจ้าพระยา" ว่า "สุริวงศ์" ไม่เป็นภาษา และมีพระดำริว่าควรเป็นสุรวงศ์ เพราะ เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) เป็นผู้ตัดถนนสายนี้ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชกระแสว่า ถ้าจะเป็นสุริวงศ์ก็ต้องสะกดเป็น "สุริยวงศ์" จึงจะถูกต้องตามภาษา หรือมิฉะนั้นก็ต้องแก้ไขเป็น "สุรวงศ์" และในที่สุดที่ประชุมเสนาบดีได้แก้ไขชื่อถนนสุริวงศ์เป็น "ถนนสุรวงศ์" แต่ในวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๓ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ขณะดำรงพระอิสริยยศสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ ตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้ทรงมีหนังสือแจ้งต่อ มหาเสวกเอกเจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) ราชเลขาธิการว่า หลังจากการประชุมเสนาบดีสภาแล้ว ทรงระลึกได้ว่า เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ตัดถนนสุรวงศ์ขณะยังมีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาสีหราชเดโชชัย โดยตัดถนนสายนี้พร้อมกับถนนเดโช และทรงสันนิษฐานว่าควรเป็นชื่อถนนสุริวงศ์ เพราะเมื่อยังไม่มีนามสกุลนั้น ในการติดต่อกับชาวต่างชาติได้มีการนำนามของบิดามาใช้เป็นนามสกุล และทรงเคยทราบว่า เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ขณะศึกษาที่ประเทศอังกฤษ ได้เคยเซ็นนามว่า "โต สุริวงศ์" ทรงสันนิษฐานว่าอาจนำนามบรรดาศักดิ์ของ "เจ้าพระยาสุริยวงศ์วัยวัฒน์ (วร บุนนาค)" ผู้เป็นบิดา หรือนามบรรดาศักดิ์ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้เป็นปู่มาใช้เป็นนามสกุล และทรงเคยได้ยินฝรั่งรุ่นเก่า ๆ เรียกตระกูลลูกหลานสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ว่า "The Surivongs Family" และทรงอ้างว่าพระยาสุรวงศ์วิวัฒน์ (เตี้ยม บุนนาค) เมื่อยังไม่มีบรรดาศักดิ์ ก็เคยเซ็นนามว่า "เตี้ยม สุริวงศ์" จึงทรงเข้าพระทัยว่าเจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) ตั้งใจให้ชื่อถนนนี้ตามนามซึ่งสมมุติใช้เป็นนามสกุลในขณะที่ยังไม่มีพระราชบัญญัตินามสกุล และประชาชนได้เรียกชื่อถนนนี้ว่า ถนนสุริวงศ์ มา ๓๐ ปีแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ได้ทรงเสนอว่า ควรใช้ชื่อถนนสายนี้ว่า ถนนสุริวงศ์ และแก้ตัวสะกดการันต์เป็น "ถนนสุริยวงศ์" พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชกระแสให้แก้ไขชื่อถนนสุรวงศ์เป็น "ถนนสุริยวงศ์"
อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันถนนสายนี้ใช้ชื่อว่า ถนนสุรวงศ์

หมายเลขบันทึก: 251418เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2009 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รวมรวมสิ่งน่ารู้มาให้ศึกษา..ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท