ที่มาของคำไทย สุภาษิตไทยและ ชื่อต่าง ๆ และ อีกมากมาย 13


ที่มาของคำไทย สุภาษิตไทย

คุณทราบไหม ทิปนั้นมีที่มาอย่างไร
การให้ทิปเกิดขึ้นจากการตอบแทนที่ได้รับบริการทันใจจากบริกร ในสวนชาของอังกฤษเมื่อนานมาแล้ว จะมีกล่องไม้เล็ก ๆ ถูกวางไว้บนโต๊ะทั่วสวน มีตัวอักษรกำกับว่า “T.I.P.S” ซึ่งย่อมาจากคำว่า “ To ensure prompt service” ที่แปลว่า “ รับประกันว่าจะได้บริการในฉับพลัน ” ถ้าแขกต้องการให้บริกรรีบเร่ง ก็จะหยอดเหรียญลงในกล่อง TIPS ตั้งแต่นั้นมาประเพณีการให้ทิปกับบริกรก็เกิดขึ้น

( ที่มา : จากหนังสือ ชา ใบไม้มหัศจรรย์ โดย ณรงค์ชัย ปัญญานนทชัย )

ผักตบชวามีที่มาอย่างไร

เหตุเกิดจากการที่ รัชกาลที่ 5ท่านเสด็จไปอินโดเนียเซียครับ แล้วดอกของผักตบสี่ม่วงสวยงามจนทำให้ ข้าราชบริพารบางท่านนำติดตัวมาด้วย แล้วเอามาเลี้ยงปลูกไว้ในวังแล้วเกิดน้ำท่วใหญ่ ทำให้ผักตบชวาหลุดออกจากวังลงคลอง เกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วนี่แหละครับ คือที่มาของ คำว่าชื่อผักตบชวา หรือ Water Hyacinth ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงมีการออกกฎหมายห้ามขยายพันธุ์ เพราะจะทำให้เกิดมลพิษทางน้ำ และกีดขวางการสัญจรทางน้ำอีกด้วย

ทำไมปลาหมอต้องตายเพราะปาก

เป็นปลาที่ปากเปราะครับ หากินอยู่ระดับผิวน้ำ
แล้วมักจะโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำทำเสียงดังเรียกว่าปลาผุด ตีครีบว่ายไปมา
ส่งเสียงจั๊บๆๆๆบ่อยๆ คือจะรู้แหล่งที่อยู่ของปลาหมอได้ง่ายมาก
ผิดกับปลาน้ำจืดอื่นๆที่อยู่ระดับลึกลง มองแทบไม่เห็นตัวหากน้ำไม่ใสแจ๋ว
หรืออีกอย่างเวลาวางเบ็ดปลาหมอจะมากินเบ็ดเร็วมากหย่อนเบ็ดปุ๊บ คาบเบ็ดทันที
เลยคิดว่าด้วยความปากเร็ว ปากไวนี่กระมังครับที่คนโบราณเขาถึงเอาไปเปรียบเที่ยบกับคนที่
พูดมาก พูดไม่คิดจนอันตรายมาถึงตัวน่ะครับ

 

Teddy Bear พูดถึงเจ้าหมีชนิดนี้ คงไม่มีใครไม่เคยได้ยินชื่อ

เจ้าหมี teddy ได้รับชื่อมาจากชื่อเล่นของประธานาธิบดีธีโอดอร์ รูสเวลท์ ของสหรัฐอเมริกา เพราะเรื่องมันมีอยู่ว่า เมื่อ ค.ศ. 1902 ประธานาธิบดีท่านออกไปร่วมรายการล่าหมี แต่ไม่พบหมีใหญ่ที่จะยิงได้เลย

มีแต่ลูกหมีตัวหนึ่งที่ถูกไล่ต้อนจนบาดเจ็บและถูกผูกติดกับต้นไม้ให้เป็นเป้ายิงของท่าน แต่ด้วยความสงสารลูกหมี ท่านจึงปฏิเสธที่จะยิง โดยให้เหตุผลว่า "ถ้าฉันยิงเจ้าลูกหมีน้อยที่ไม่มีทางหลบหนีตัวนี้ ฉันจะกลับไปมองหน้าลูกๆ ที่บ้านได้อย่างไร"



เรื่องนี้รู้ไปถึงนักเขียนการ์ตูนของหนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์

เขาได้นำเรื่องนี้ไปเขียนเป็นการ์ตูนและเรียกหมีน้อยว่า "หมีของเทดดี้" ผู้คนจึงคุ้นเคยกับชื่อของหมีเทดดี้กันตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ซึ่งในปี ค.ศ. 1903 นักทำตุ๊กตาชื่อมอริส มิชทอมได้ความคิดจากการ์ตูนในวอชิงตันโพสต์นี้เอง
จึงทำตุ๊กตาชนิดนิ่มออกวางขาย และขออนุญาตจากประธานาธิบดีที่จะเรียกเจ้าหมีน้อยชนิดนี้ว่า "เทดดี้"

หมีเทดดี้นี้ก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากมาจนถึงปัจจุบัน

ต้นกำเนิดเทดดี้แบร์ (Teddy Bear)

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเทดดี้แบร์จาก 2 แหล่งคือ เยอรมัน และ สหรัฐอเมริกา ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน คือประมาณปี ค.ศ 1902

เรื่องเล่าของเยอรมัน

ที่เยอรมัน ปี ค.ศ. 1902 Richard Steiff ซึ่งเป็นนักออกแบบของเล่นของโรงงานทำของเล่นของครอบครัวเขาเอง ได้เดินทางไปดูการแสดงละครสัตว์ที่อเมริกา เพื่อหาไอเดียในการออกแบบของเล่นชิ้นใหม่ และเขาก็เกิดความคิด ในการนำเอาหมีในคณะละครสัตว์มาเป็นแบบในการผลิตตุ๊กตาหมี ตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบจะมีข้อต่อตามจุดต่างๆ ได้แก่ คอ แขน และขา ทำให้เราสามารถเปลี่ยนอิริยาบทของมันได้เหมือนหมีจริง ซึ่งต่างจากตุ๊กตาหมีที่มีอยู่ในขณะนั้น

Richard Steiff ได้นำตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบไปแสดงในงานแสดงสินค้าที่ Leipzig ในปี ค.ศ. 1903 แต่เขาก็ต้องผิดหวัง ที่ไม่มีผู้ใดให้ความสนใจตุ๊กตาหมีของเขาเลย จนกระทั่งในขณะที่เขากำลังเก็บของในวันสุดท้ายของงานแสดงสินค้า ผู้ชมงานชาวอเมริกันคนหนึ่งได้เข้ามาหยิบดูตุ๊กตาหมีของเขา และสั่งซื้อในปริมาณมาก และนี่คือต้นกำเนิดที่ทำให้ตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบแพร่หลายไปยังประเทศอื่นๆ

เรื่องเล่าของอเมริกา

ในปี ค.ศ. 1902 ที่อเมริกา ประธานาธิบดีชื่อTheodore 'Teddy' Roosevelt ได้เดินทางไปที่ Mississippi เพื่อเจรจายุติกรณีพิพาทเกี่ยวกับอาณาเขต ในวันหนึ่งท่านได้ออกไปล่าสัตว์ หลายชั่วโมงผ่านไป ท่านก็ยังล่าสัตว์ไม่ได้สักตัวเดียว ราชองครักษ์ของท่านที่ตามไปด้วยพบลูกหมีตัวหนึ่งพลัดหลงมา จึงจับลูกหมีตัวนั้นผูกกับต้นไม้ไว้ และตามประธานาธิบดีให้มาดูเพื่อมอบให้ แต่ประธานาธิบดีกลับปล่อยลูกหมีตัวนั้นให้เป็นอิสระไป

ข่าวของประธานาธิบดีปล่อยลูกหมีเป็นอิสระดังกระฉ่อนไปทั่ว

แม้แต่ Clifford Berryman ซึ่งเป็นนักเขียนการ์ตูนของหนังสือพิมพ์การเมือง ก็ยังนำเรื่องดังกล่าวไปเขียนเป็นการ์ตูนลงในหนังสือพิมพ์การเมือง และการ์ตูนนี่เองไปจุดประกายความคิดของ Morris Michtom ให้ออกแบบ และผลิตตุ๊กตาหมีที่มีข้อต่อ Morris Michtom นำตุ๊กตาหมีที่เขาออกแบบมาวางจำหน่ายที่ร้านของเขาเอง โดยตั้งโชว์ที่หน้าร้าน พร้อมภาพการ์ตูนที่เขียนโดย Clifford Berryman และป้ายแสดงข้อความว่า "Teddy' s Bear" ผลปรากฎว่า ตุ๊กตาหมีของเขาขายดีเป็นเทน้ำเทท่า จากนั้นเพียงปีเดียว Morris Michtom ได้ปิดร้านของเขาและจัดตั้งบริษัท Ideal Novelty and Toy ขึ้น เพื่อรองรับธุรกิจนี้ ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งที่ติดอันดับยักษ์ใหญ่ทางด้านของเล่นของโลกในปัจจุบัน

 

เพลง สดุดีมหาราชา...มีที่มาอย่างไร..

เพลงสำคัญของแผ่นดิน ตามที่สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้ดำเนินการโครงการชำระ ตลอดจนจัดทำขึ้นใหม่แจกไปทั่วประเทศและกำหนดแนวปฏิบัติต่างๆให้เหมือนกัน ในช่วงปลายปี พ.ศ.2546 นั้น ได้กำหนดไว้ 6 เพลงครับ คือเพลงชาติ, เพลงสรรเสริญพระบารมี, เพลงมหาชัย, เพลงมหาฤกษ์, เพลงสดุดีมหาราชา และเพลงภูมิแผ่นดินนวมินทร์มหาราชา เพลงทั้ง 6 เพลงนี้ มี 5 เพลงที่ดำเนินการจัดให้มีขึ้นโดยคณะของรัฐบาล หรือพระราชดำริของพระเจ้าแผ่นดิน ในห้วงเวลาที่แตกต่างกันไป โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นเพลงพิธีการประจำชาติไทยและเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ มีเพียงเพลง สดุดีมหาราชาเพียงเพลงเดียว ที่เกิดขึ้นจากภาคเอกชนพสกนิกรชาวไทย และมีกลุ่มคนที่ดำเนินการจัดทำเพียงไม่กี่คน จนปัจจุบันได้กลายเป็นเพลงมหามงคลที่สำคัญของแผ่นดินไปแล้ว
เพลงสดุดีมหาราชา เกิดขึ้นจากแนวคิดของนายชรินทร์ นันทนาคร นักร้องเพลงแนวลูกกรุงชื่อดัง และผู้สร้างภาพยนตร์ไทย ในแนวจงรักภักดีหลายเรื่อง โดยต้องการนำเพลงนี้ไปประกอบฉากสำคัญของภาพยนตร์เรื่อง “ลมหนาว” ที่กำลังสร้างอยู่ มีแนวความคิดเรื่องเพลงคือต้องการแต่งเพลงรักและบูชาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ โดยใช้ถ้อยคำธรรมดา ง่ายๆ เมื่อนำแนวความคิดนี้ไปปรึกษาผู้ใหญ่หลายท่านว่าบังควรหรือไม่ ก็ได้รับคำตอบว่าเป็นความคิดที่ดีสามารถดำเนินการได้เลย จึงได้เริ่มโครงการ
ในต้นเดือนมีนาคม 2509 ด้วยเหตุการณ์อันจำเพาะเหมาะเจาะที่เป็นเหตุให้ครูเพลง ครูดนตรีทั้ง 4 ท่านได้สร้างเพลงยิ่งใหญ่มหามงคลนี้ร่วมกัน คือ นายชรินทร์ นันทนาคร, นายสุรัฐ พุกกะเวส, นายชาลี อินทรวิจิตร และนายสมาน กาญจนะผลิน เพลงสดุดีมหาราชาได้เผยแพร่สู่ประชาชนเป็นครั้งแรกในภาพยนตร์เรื่อง “ลมหนาว” ช่วงกลางปี 2509 เป็นฉากใกล้จบเรื่องที่นักโทษการเมืองและพระเอกของเรื่องได้รับการอภัยโทษเนื่องในวันเฉลิมพระชนม์พรรษา เดินออกจากคุกและพร้อมใจกันก้มกราบลงด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ เพลงสดุดีมหาราชาก็กระหึ่มขึ้น
เพลงสดุดีมหาราชานี้มีอยู่ 3 ท่อน มีฟอร์มเพลงแบบ A:A:B สองท่อนแรกเป็นทำนองเดียวกันโดยมีเนื้อร้องเฉลิมพระเกียรติทั้งสองพระองค์ ทีละท่อน ช่วงอินโทรของเพลง จะตัดเครื่องจังหวะออกไป โดยให้ ทรัมเป็ท โหนมาอย่างยิ่งใหญ่สูงลิบ ก่อนที่ทั้งวงจะรับเข้าส่งร้องสั้นๆด้วยจังหวะ มาร์ชที่ให้ความยิ่งใหญ่อลังการ จุดสุดยอดของเพลงอยู่ที่ท่อน 3 ความไพเราะทั้งหมดของเพลงจะมาอยู่ที่ท่อนนี้คล้ายๆรวมใจของคนทั้งชาติสดุดี แต่ท่อนนี้เฉพาะตรงเนื้อร้องจะขาดท่อน(ทางดนตรี)ไป 2 ห้องเพลง ผู้แต่งดนตรีจึงให้ดนตรีส่งเข้าร้องด้วยเสียงเครื่องทองเหลืองที่หนักแน่น ผลที่ออกมาให้ความรู้สึกที่คล้ายกับได้หยุดรวบรวมพลังทั้งหมดที่มีในแผ่นดินเพื่อที่จะเปล่งคำร้องสดุดีในท่อนที่ 3 ที่ว่า..อา...องค์พระสยมบรมราชันขวัญหล้า....... ไพเราะ อลังการ และซาบซึ้งจนขนลุกจริงๆครับ ขอคารวะครูดนตรีท่านนี้ (สมาน กาญจนะผลิน) ด้วยความเคารพยิ่งครับ...
เพลงสดุดีมหาราชาไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นเพลงเคารพ มีเพียง 4 เพลง คือ เพลงชาติ, เพลงสรรเสริญพระบารมี, เพลงมหาชัย และเพลงมหาฤกษ์ แต่เป็นเพลงที่ได้ถูกบรรจุให้อยู่ในพิธีการของรัฐอันเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ จึงนับเป็นเพลงมหามงคลที่สำคัญของแผ่นดินเพลงหนึ่ง ควรที่พสกนิกรชาวไทยได้รับทราบถึงคุณูปการที่ครูเพลงครูดนตรีผู้ริเริ่ม ประพันธ์ขึ้นมา ไว้เป็นสื่อกลางให้พวกเราชาวไทยได้ใช้เป็นสื่อกลางแสดงออกถึงความจงรักภักดี แด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในโอกาสอันควร ทุกโอกาสสืบไป.

 

“7-ELEVEn” ชื่อนี้มีที่มาอย่างไร
ร้าน เซเว่น-อีเลฟเว่น เป็นร้านสะดวกซื้อที่คนเมืองคุ้นเคย เพราะเปิดบริการตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวันไม่มีวันหยุด อย่างไรก็ตาม ในยุคแรกๆ ร้านเซเว่นฯ เปิดบริการในช่วงเวลา 07.00 น. - 23.00 น. (7 a.m.-11 p.m.) เท่านั้น จึงเป็นที่มาของชื่อร้าน 7-ELEVEn



ถ้าเราลองสังเกตเครื่องหมายการค้า ดูให้ดี จะเห็นว่าอักษรภาษาอังกฤษในคำว่า ELEVEn นั้น เป็นตัวพิมพ์ใหญ่ทั้งหมด ยกเว้นเพียง “ตัวเอ็น” ที่เป็นตัวพิมพ์เล็ก โดยมีเรื่องเล่าถึงที่มาของเรื่องนี้ว่า โลโกดังกล่าวถูกออกแบบตามหลักเรื่องตัวเลขของฮวงจุ้ย โดยอักษรเอ็นตัวเล็ก มีรูปร่างและทำหน้าที่เหมือนกับแม่เหล็ก เพื่อคอยดูดโชคลาภและเงินทอง

เซ เว่น-อีเลฟเว่น เป็นบริษัทที่ให้บริการร้านสะดวกซื้อ ที่มีสาขามากที่สุดใน 20 ประเทศและเขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ แคนาดา นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน ฮ่องกง มาเลเซีย เม็กซิโก ฟิลิปปินส์ ไทย สิงคโปร์ เปอร์โตริโก แอฟริกาใต้ โดย 7-ELEVEn เคยไปเปิดตัวที่อังกฤษและไอร์แลนด์ในช่วงทศวรรษที่ 1990 แต่ว่าไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร

แรกเริ่ม บริษัทเซเว่น-อีเลฟเว่น ถือกำเนิดภายใต้ชื่อ บริษัทเซาท์แลนด์คอร์ปอเรชัน ซึ่งก่อตั้งที่เมืองโอกคลิฟฟ์ ในดัลลัสเคาน์ตี มลรัฐเทกซัส สหรัฐฯ เมื่อปี 1927 ซึ่งในยุคเริ่มกิจการนั้น บริษัทนี้ดำเนินกิจการผลิตและจำหน่ายน้ำแข็ง ต่อมาจึงเริ่มจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น นม ขนมปัง สบู่ ในร้านด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า กระนั้น ในช่วงแรกนั้นทางบริษัทเคยใช้ชื่อร้านว่า “โทเท’มสโตร์” และ “สปีดี-มาร์ต” ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อ “เซเว่น-อีเลฟเว่น” ในปี 1946

ปัจจุบัน เกือบร้อยละ 40 ของร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น ทั่วโลก อยู่ในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากเมื่อปี 1991 บริษัทอิโตะ-โยกาโดะของญี่ปุ่นได้เข้าไปซื้อหุ้นของบริษัทเซาท์แลนด์คอร์ปอ เรชัน จนกลายเป็นผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัท และในปีเดียวกันนั้น ทางเซาท์แลนด์คอร์ปอเรชันได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเซเว่น-อีเลฟเว่น

อย่าง ไรก็ตาม ในเดือนพฤศจิกายน 2005 ทางบริษัทเซเว่น-อีเลฟเว่นเจแปน ได้เข้าไปซื้อหุ้นส่วนที่เหลือในบริษัท เซเว่น-อีเลฟเว่น ทำให้บริษัทเจ้าของตำนานร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น แห่งมลรัฐเทกซัส กลายมาเป็นบริษัทของญี่ปุ่นไปโดยปริยาย กระนั้น บริษัทเซเว่น-อีเลฟเว่นเจแปนนั้น ก็เป็นบริษัทย่อยของบริษัทเซเวนแอนด์ไอโฮลดิง ซึ่งเป็นเจ้าของเครือข่ายร้านอาหารเดนนีส์ของสหรัฐฯในญี่ปุ่นอีกด้วย

ฝาก ข้อมูลไว้อีกนิดสำหรับคนที่ชื่นชอบตัวเลขสถิติ ประเทศที่มีสาขาของร้านสะดวกซื้อแห่งนี้มากที่สุดก็คือ ประเทศญี่ปุ่นซึ่งมีมากกว่า 10,000 สาขา (จากทั้งหมดกว่า 28,000 สาขาทั่วโลก) อันดับ 2 ก็คือสหรัฐอเมริกาที่มีอยู่ประมาณ 6,000 สาขา และอันดับ 3 ได้แก่ ไต้หวัน ที่มีจำนวนสาขากว่า 3,680 สาขา ส่วนร้าน เซเว่น-อีเลฟเว่น ในประเทศไทยนั้นปัจจุบันมีสาขาอยู่ราว 3,500 สาขา โดยสาขาแรกของประเทศไทยนั้นอยู่ที่หัวมุมถนนพัฒนพงษ์ (ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต)

ทำไมเวลายุงบินจึงมีเสียงดัง

ทำไมเวลายุงบินจึงมีเสียงดังเสียงแมลงที่บินเกิดจากการกระพือปีกด้วยอัตราความเร็วสูง จากการสำรวจพบว่า ปีกของผึ้งจะกระพือ
ปีกด้วยอัตราเร็วประมาณ 200 ครั้ง/วินาที ส่วนยุงกระพือปีกได้เร็วประมาณ 300 ครั้ง/วินาที การเคลื่อนไหว
อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดคลื่นเสียงในอากาศ จึงเป็นที่มาของเสียง "หึ่งๆ"
นักวิทยาศาสตร์สันนิษฐานว่า แมลงอาจใช้วิธีที่เรียกว่า "การได้จังหวะ" เพื่อให้ปีกของมันเคลื่อนไหวได้
อย่างรวดเร็ว อธิบายโดยการหยิบยกกรณีการแกว่งของลูกตุ้ม ซึ่งถ้าแขวนอยู่มันก็จะแกว่งแบบอิสระ ถ้า
เราเอามือไปผลักเบาๆ มันก็จะแกว่งในอัตราธรรมชาติ และได้ตามจังหวะของมัน เราไม่จำเป็นต้องออกแรง
ผลักทุกครั้งที่แกว่ง แต่สามารถเลือกผลักตามจังหวะ แกว่งเมื่อใดก็ได้ เช่น แกว่ง 3 ครั้ง จึงผลักหรือแกว่ง
5 ครั้งจึงผลัก อย่างนี้เป็นต้น แต่ลูกตุ้มนั้นก็จะยังคงแกว่งด้วยอัตราจังหวะหรือความถี่เดียวกัน หากเราผลัก
ได้เวลาเหมาะสมกับการเคลื่อนไหวไปและกลับของลูกตุ้ม
ในทำนองเดียวกัน ยุงก็จะกระพือปีกด้วยวิธีการเดียวกันนี้ ปีกแต่ละข้างของมันจะมีข้อต่อกับทรวงอกหรือ
ตอนกลางของตัวแมลง การเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อในอัตราที่ค่อนข้างช้า จะทำให้เกิดการสั่นสะเทือนด้วย
อัตราธรรมชาติที่สูง จึงทำให้เกิดเสียงค่อนข้างสูงอย่างที่เราได้ยิน

ประวัติ
เซ็นเตอร์พ้อยท์
เปิดตัวเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2541 เดิมแรกเริ่มสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีจุดประสงค์ต้องการพัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็นลานกิจกรรมสำหรับวัยรุ่น โดยมีบริษัท พรไพลิน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นผู้ชนะการประมูลและได้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีสัญญาเช่าช่วงแรก เป็นเวลา 6 ปี จากปี 2541-2547 และต่อสัญญาอีก 3 ปี จนถึงปี 2550

ในช่วงพฤษภาคม 2547 ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ให้มีพื้นที่กิจกรรมมากขึ้น โดยรื้อถอนพื้นที่ร้านค้าตรงกลางจำนวน 12 ยูนิต ทำเป็นพื้นที่กิจกรรม และในส่วนพื้นที่โล่งสร้างหลังคาโปร่งแสงคลุมให้สามารถทำกิจกรรมในช่วงฤดูฝนได้ ส่วนบริเวณน้ำพุ ซึ่งกลายเป็นสัญลักษณ์ของเซ็นเตอร์พ้อยท์ได้ปรับให้มีขนาดเล็กลง และเป็นทรงกลมเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการนั่งชมจอเชคเกอร์สกรีน

เซ็นเตอร์พ้อยท์ปิดตัวที่สยามสแควร์ไป โดยมีการจัดงานอำลาในชื่องานว่า "เซ็นเตอร์พ้อยท์ อินฟินีตี้ ปาร์ตี้" เมื่อวันที่ 14-15 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และหลังการปิดตัวที่สยามสแควร์ เซ็นเตอร์พ้อยท์แหล่งใหม่จะเปิดใหม่ที่เซ็นทรัลเวิลด์
หมายเลขบันทึก: 251417เขียนเมื่อ 28 มีนาคม 2009 07:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท