การเตรียมสไลด์โครโมโซม; ปัญหาที่ยังแก้ไม่ตก(ตอนที่ 1)


ช่วงนี้ที่หน่วยฯ ยังมีปัญหาการเตรียมสไลด์โครโมโซมอยู่  สไลด์ที่เตรียมได้โครโมโซมที่มีคุณภาพไม่ดีพอให้นำไปย้อมแถบสีต่อ คือ ยังมี cytoplasm, ตัวโครโมโซมก็ยังกระจายไม่ดี  ขั้นตอนการ fix โครโมโซมยังเป็นปัญหา  กลุ้มใจว่าจะทำอย่างไรดี  เลยลองไปค้น paper เก่าๆ พบอยู่ paper หนึ่ง (ที่จริงไม่เก่ามาก เพราะปี 2001 นี่เอง) ที่พูดตรงกับปัญหาเรื่องนี้ จึงอยากเอามาสรุป ให้ young blood genetics  ทั้งหลายได้อ่านและศึกษากัน (ถ้าใครต้องการชื่อ paper มาติดต่อกันเป็นส่วนตัวนะ)

   โดยสรุป paper นี้บอกว่าการจะได้โครโมโซมที่กระจายดี, cytoplasm น้อย นำไปย้อมแถบสี(GTG-banding) ได้ง่ายนั้นขั้นตอนที่สำคัญอยู่ที่การแห้ง/การระเหยของ Fixative  และการแห้ง/การระเหยของ Fixative  นั้นก็ขึ้นอยู่กับการมีน้ำมากหรือน้อยในสไลด์ และในอากาศขณะทำสไลด์    

    ก่อนที่จะไปพูดเรื่องการทำสไลด์จะขอพูดหลักการพื้นฐานของการเพาะเลี้ยงเซลล์, เก็บเกี่ยวเซลล์ และเตรียมสไลด์เพื่อให้ได้โครโมโซมกันก่อน (สูงสุดคืนสู่สามัญตามภาษาบู๊ลิ้ม ซึ่งเป็นเรื่องจริง ก่อนที่จะก้าวไปข้างหน้าควรรู้หลักการพื้นฐานก่อน)  ขั้นตอนโดยสรุปจะมีอยู่ 5 ขั้น คือ

1.  cell culture  คือการเพาะเลี้ยงเซลล์เวิธีการจะขึ้นกับชนิดของ specimen ว่าเป็นอะไร เช่น เป็น เลือด,ไขกระดูก, น้ำคร่ำ หรือ ขิ้นเนื้อ  แต่หลักการทั่วไปเหมือนกันคือ ต้องมีอาหารเลี้ยงเซลล์ ซึ่งก็ขึ้นกับชนิดของ specimen โดยทั่วไปมักจะมีการเติมซีรั่ม ซึ่งเป็น supplement ลงไปด้วย และมียาปฏิชีวนะ, สารเคมีที่ทำหน้าที่เป็น buffer  ถ้าเพาะเลี้ยงเลือดก็ต้องมี่ PHA เป็นสารกระตุ้น  นำไปเพาะเลี้ยงที่อุณหภูมิ 37 องศา  จุดประสงค์หลักคือการทำเซลล์มีการเจริญเติบโตและแบ่งตัวมากๆ เพื่อให้ได้ mitotic index สูง คือมี metaphase ที่จะให้โครโมโซมมากนั่นเอง

2.  harvesting  แปลเป็นไทยตรงตัวว่า เก็บเกี่ยวเซลล์ มีขั้นตอนดังนี้

   2.1 การทำให้เซลล์หยุดการแบ่งตัวอยู่ที่ระยะ metaphae โดยบล๊อกการสร้าง mitotic spindle  สารเคมีที่นิยมนำมาใช้โดยทั่วไปคือ colcemide  โดยเติมลงไปใน cell culture หลังจากเพาะเลี้ยงไปได้ระยะหนึ่งจนได้ เซลล์ที่กำลังแบ่งตัวมากพอ

   2.2 การทำให้เซลล์บวม (hypotonic treatment)   สารละลายที่นำมาใช้จะมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายในเซลล์ ดังนั้นมันจะไหลผ่าน cell membrane เข้าไปทำให้เซลล์บวมมีขนาดใหญ่ขึ้น และมักทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก  ซึ่งจะถูก discard ทิ้งไปได้ง่าย

   2.3 การตรึงเซลล์ (fixation)  (แปลตามตัว)  ขั้นตอนนี้เพื่อทำให้เซลล์คงสภาพ "swollen" และดึงน้ำออกไปจากเซลล์ทำให้โครโมโซมและ biologic material อื่นๆ มีสภาพแข็งขึ้น  นอกจากนี้ fixative ที่ใช้คือ  3:1 methanol:acetic acid  ยังละลายไขมันและทำให้โปรตีนเสียสภาพ ซึ่งทำให้ cell membraneอยู่ในสภาพ "fragile" ที่จะช่วยในการกระจายโครโมโซมเมื่อเตรียมสไลด์

3.  การเตรียมสไลด์ (slide preparation)  คือการหยด cell suspension ที่ได้จากขั้นตอนการเก็บเกี่ยวเซลล์ลงบนสไลด์  โดยตั้งความหวังว่าจะได้โครโมโซมที่กระจายตัวดีและนำไปย้อมแถบสีได้ง่าย  ขั้นตอนนี้เป็นข้นตอนี่หน่วยฯ กำลังประสบปัญหาอยู่  ดังนั้นจะมีการ discussion อย่างละเอียดต่อไป

4.  Aging ถ้าแปลตรงตัวก็ต้องบอกว่าทำให้ โครโมโซมบนสไลด์แก่  แต่ความหมายตรงๆ ก็คือการนำสไลด์โครโมโซมไปอบร้อนหรือทำให้แห้งเพื่อที่จะทำให้โปรตีนเสียสภาพ,น้ำ หรือ fixative ที่ยังหลงเหลืออยู่ระเหยออกไปให้หมด  ซึ่งจะช่วยให้เซลล์ติดกับเนื้อแก้วได้ดีขึ้น

5.  การย้อมแถบสี (Banding) คือการทำให้เกิดแถบสีบนตัวโครโมโซม  ซึ่งจะมี  banding pattern เฉพาะตัวของโครโมโซมแต่ละตัวเป็นการ identify โครโมโซมนั่นเอง

   คิดว่าบันทึกคราวนี้ต้องมีหลายตอนอีกแล้ว  วันนี้ขอจบตอนที่หนึ่งเนี้ก่อน ถ้าพรุ่งนี้ไม่ยุ่งเกินไปจะเขียนต่อตอน 2

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 25125เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2006 16:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

Young blood genetics ทั้งหลายจ๋า คุณมีลูกพี่ Old blood เป็นแบบอย่างในการทำงานที่ดีมากๆ แถมยังใจดี อ่าน paper แล้วมาถ่ายทอดให้ฟัง  หนูๆ ทั้งหลาย อย่าทำให้ลูกพี่ผิดหวังนะจ๊ะ

รบกวนขอ paper นี้หน่อยได้ไหมครับ

รบกวนด้วยครับ

[email protected]

ขอบคุณนะค่ะ

ดิฉันได้ประโยชน์เป็นอย่างมากเพราะทำงานวิจัยเกี่ยงกับเรื่องนี้พอดี

แต่อยากรบกวนส่งเปเปอร์นี้มาให้หน่อยได้ไหมค่ะ

เพราะจะนำมาอ้างอิงงานวิจัยค่ะ

รบกวนด้วยนะค่ะ

[email protected]

ได้รับความรู้มากเลยค่ะ พอดีเพิ่งเริ่มฟิลล์นี้ค่ะ

รบกวนขอpaper  ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

[email protected]

ได้ความรู้มากเลยคะ..ตอนนี้กำลังมีปัญหาในส่วนนี้อยู่เหมือนกันคะ..รบกวนขอ paper ในส่วนนี้ด้วยนะคะ..ขอบคุณมากนะคะ

[email protected]

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท