แนวทางปฏิบัติธรรมของหลวงปู่ชา


พระสุญฺโญฺภิกขุ พระภิกษุชาวอเมริกัน จดบันทึกเป็นภาษาอังกฤษเมื่อลาสิกขาแล้ว ท่านได้พิมพ์

ศิลาอ่านพบ “แนวทางการปฏิบัติธรรม” ของพระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท )  จาก

http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_cha/lp-cha_04.htm  ขอนำเสนอแบ่งเป็นสองตอน  สำหรับท่านผู้สนใจการปฏิบัติธรรม ดังนี้ค่ะ

แนวทางการปฏิบัติธรรม
พระโพธิญาณเถร
( หลวงปู่ชา สุภัทโท )

พระสุญฺโญฺภิกขุ พระภิกษุชาวอเมริกัน จดบันทึกเป็นภาษาอังกฤษเมื่อลาสิกขาแล้ว ท่านได้พิมพ์
เผยแผ่เป็นธรรมทาน ต่อมามีผู้แปลเป็นภาษาไทยและหลวงพ่อชาให้พระวีรพล เตชปญฺโญ
แห่งวัดหนองป่าพงสอบทาน แล้วจึงได้พิมพ์ภาษาไทย

สารบัญธรรม
พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน
ควรจะพักผ่อนนอนหลับมากน้อยเพียงใด
ควรจะศึกษาพระไตรปิฎกด้วยหรือไม่ในการฝึกปฏิบัติ
ทำไมจึงไม่มีการสอบอารมณ์กับอาจารย์ทุกวัน
ควรทำอย่างไรเมื่อสงสัยเกิดขึ้น
จำเป็นไหมที่ต้องนั่งภาวนาให้นานๆหรือไม่
ในการปฏิบัติ จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงฌาณไหม
เราจะเอาชนะกามราคะที่เกิดขึ้นได้อย่างไร
ความง่วงเหงาหาวนอน ทำให้ภาวนาลำบาก
อุปสรรคใหญ่ของลูกศิษย์ใหม่คืออะไร
กิเลสเครื่องเศร้าหมองเป็นเพียงมายาหรือว่าของจริง
ของฝากท้ายเล่ม

พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน

ที่มาของภาพ http://203.154.183.18/ewt/ubonratchathani/images/travalUbon/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B9%E0%B8%8A%E0%B8%B2.jpg

๑. ผมได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ยังไม่มีที่ท่าว่าจะได้ผลคืบหน้าเลย

เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆในการปฏิบัติความอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้นหรือรู้แจ้งนั้นจะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความที่อยากจะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะพบความสงบไม่ได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความสงสัยและความกระวนกระวายใจ ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัตินานเท่าใดหรือนานสักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้) จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้นจงเพียงแต่ละความอยากเสีย จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติแต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง

 

ควรจะพักผ่อนนอนหลับมากน้อยเพียงใด

๒. เรื่องการหลับนอนล่ะครับ ผมควรจะนอนมากน้อยเพียงใด

อย่าถามผมเลย ผมตอบให้ท่านไม่ได้ บางคนหลับนอนคืนละประมาณ ๔ ชั่วโมงก็พอ อย่างไรก็ตามสิ่งที่สำคัญก็คือ ท่านเฝ้าดูและรู้จักตัวของท่านเอง ถ้าท่านนอนน้อยจนเกินไป จิตก็จะตื้อเฉื่อยชาหรืซัดส่าย จงหาสภาวะที่พอเหมาะกับตัวท่านเอง ตั้งใจเฝ้าดูกายและจิตจนท่านรู้ระยะเวลาที่นอนหลับที่พอเหมาะสำหรับท่าน ถ้าท่านรู้สึกตื่นตัวแล้ว และยังซุกตัวของีบต่อไปอีก นี่เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมอง จงมีสติรู้ตัวทันทีที่ลืมตาตื่นขึ้น

 

๓. เรื่องการขับขบฉันล่ะครับ ผมควรจะฉันอาหาร มากน้อยเพียงใด

การขบฉันก็เหมือนกับการหลับนอน ท่านต้องรู้จักตัวของท่านเอง อาหารต้องบริโภคให้เพียงพอตามความต้องการของ ร่างกาย จงมองอาหารเหมือนยารักษาโรค ท่านฉันมากเกินไปจะง่วงนอนหลังฉันอาหารหรือเปล่า และท่านอ้วนขึ้นทุกวัน หรือเปล่า จงหยุดแล้วสำรวจกายและจิตของท่านเอง ไม่จำเป็นต้องอดอาหาร จงทดลองฉันอาหารตามปริมาณมาก น้อยต่างๆ หาปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกายของท่านใส่อาหารที่จะฉันทั้งหมดลงในบาตรแบบธุดงควัตร แล้วท่านจะกะปริมาณ อาหารที่จะฉันได้ง่าย เฝ้าดูตัวท่านเองอย่างถี่ถ้วน ขณะที่ฉันจงรู้จักตัวเอง สาระสำคัญของการฝึกปฏิบัติของเราเป็นอย่างนี้ ไม่มีอะไรพิเศษที่ต้องทำมากกว่านี้ จงเฝ้าดูเท่านั้น สำรวจท่านเอง เฝ้าดูจิต แล้วท่านจะรู้ว่า อะไรคือสภาวะที่พอเหมาะสำหรับการฝึกปฏิบัติของท่าน

 

ควรจะศึกษาพระไตรปิฎกด้วยหรือไม่ในการฝึกปฏิบัติ 

 ๔. จิตของชาวเอเชียและตะวันตกแตกต่างกันหรือไม่ครับ

โดยพื้นฐานแล้วไม่แตกต่างกัน ดูจากภายนอกขบนธรรมเนียงประเพณีและภาษาที่ใช้อาจดูต่างกัน แต่จิตของมนุษย์นั้นเป็นธรรมชาติซึ่งเหมือนกันหมด ไม่ว่าชาติใด ภาษาใด ความโลภและความเกลียดก็มีเหมือนกัน ทั้งในจิตของชาวตะวันออกหรือชาวตะวันตก ความทุกข์และความดับทุกข์ก็เหมือนกันทุกๆคน

 

 ๕. เราควรอ่านตำรามากๆ หรือศึกษาพระไตรปิฏกด้วยหรือไม่ครับ ในการฝึกปฏิบัตินี่

พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้น ไม่อาจค้นพบได้ด้วยตำราต่างๆ ถ้าท่านต้องการจะรู้เห็นจริงด้วยตัวของท่านเองว่าพระพุทธเจ้าทรง ตรัสสอนอะไร ท่านไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับตำราเลย จงเฝ้าดูจิตของท่านเอง พิจารณาให้รู้เห็นว่า ความรู้สึกต่างๆ (เวทนา) เกิดขึ้น และดับไปได้อย่างไร ความนึกคิดเกิดขึ้นและดับอย่างไร อย่าได้ผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย จงมีสติอยู่เสมอ เมื่อมีอะไรๆเกิดขึ้นให้ได้รู้ได้ เห็น นี่คือทางบรรลุถึงสัจธรรมของพระพุทธองค์ จงปฏิบัติธรรมดาตามธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านทำขณะที่นี่ เป็นโอกาสแห่ง การฝึกปฏิบัติ เป็นธรรมะทั้งหมด เมื่อท่านทำวัตรสวดมนต์อยู่ พยายามให้มีสติ ถ้าท่านกำลังเทกระโถนหรือล้างส้วมอยู่ อย่าคิดว่า ท่านกำลังทำบุญทำคุณให้กับผู้หนึ่งผู้ใด มีธรรมะอยู่ในการเทกระโถนนั้น อย่ารู้สึกว่าท่านกำลังฝึกปฏิบัติอยู่เฉพาะเวลานั่งขัดสมาธิเท่านั้น พวกท่านบางคนบ่นว่าไม่มีเวลาพอที่จะทำสมาธิภาวนา แล้วเวลาหายใจเล่ามีเพียงพอไหม? การทำสมาธิภาวนาของท่าน คือการมีสติ ระลึกรู้ และการรักษาจิตให้เป็นปกติตามธรรมชาติในการกระทำทุกอิริยาบถ

 ทำไมจึงไม่มีการสอบอารมณ์กับอาจารย์ทุกวัน

 ๖. ทำไมพวกเราจึงไม่มีการสอบอารมณ์กับอาจารย์ทุกวันเล่าครับ

ถ้าท่านมีคำถาม เชิญมาถามได้ทุกเวลา แต่ที่นี้เราไม่จำเป็นจะต้องมีการสอบอารมณ์กันทุกวัน ถ้าผมตอบปัญหาเล็กๆน้อยๆทุกปัญหา ของท่าน ท่านก็จะไม่มีทางรู้เท่าทันกับการเกิดดับของความสงสัยในใจของท่านเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ท่าน ต้องเรียนรู้ที่จะสำรวจตัวท่านเอง สอบถามตัวท่านเอง จงตั้งใจฟังพระธรรมเทศนาทุกๆครั้งแล้ว จงนำเอาคำสอนนี้ ไปเปรียบเทียบกับการฝึกปฏิบัติของท่านเองว่าเหมือนกันหรือไม่ ต่างกันหรือไม่ ทำไมท่านจึงมีความสงสัยอยู่ ใครคือผู้ที่สงสัยนั้น โดยการสำรวจตัวเองเท่านั้นจะทำให้ท่านเข้าใจได้

 

๗. บางครั้งผมกังวลใจอยู่กับพระวินัยของพระสงฆ์ ถ้าผมฆ่าแมลงโดยบังเอิญแล้ว จะผิดไหมครับ

ศีลหรือพระวินัยและศีลธรรม เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการฝึกปฏิบัติของเรา แต่ท่านต้องไม่ยึดมั่นถือมั่นในกฏเกณฑ์ต่างๆ อย่างมงายในการฆ่าสัตว์ หรือการละเมิดข้อห้ามอื่นๆนั้น มันสำคัญที่เจตนา ท่านย่อมรู้แก่ใจของท่านเอง อย่าได้กังวลกับเรื่องพระวินัยให้มากจนเกินไป ถ้านำมาปฏิบัติอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยส่งเสริมการปฏิบัติ และพระภิกษุบางรูปกังวลกับกฎเกณฑ์เล็กๆน้อยๆ มากเกินไปจนนอนไม่เป็นสุข พระวินัยไม่ใช่ภาระที่ต้องแบก ในการปฎิบัติของเราที่นี้มีรากฐานคือพระวินัย พระวินัยรวมทั้งธุดงควัตรและการปฎิบัติภาวนา การมีสติและการสำรวมระวังในกฏระเบียบต่างๆ ตลอดจนในศีล ๒๒๗ ข้อนั้น ให้คุณประโยชน์อันใหญ่หลวง ทำให้มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ต้องพะวงว่าจะต้องทำตนอย่างไร ดังนั้นท่านก็หมดเรื่องต้องครุ่นคิด และมีสติดำรงอยู่แทน พระวินัยทำให้พวกเราอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน และชุมชนก็ดำเนินไปอย่างราบรื่น ลักษณะภายนอกทุกๆคนดูเหมือนกัน และปฏิบัติอย่างเดียวกัน พระวินัยและศีลธรรม เป็นบันไดอันแข็งแกร่งนำไปสู่สมาธิยิ่งและปัญญายิ่ง โดยการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามพระวินัยของพระสงฆ์และธุดงควัตร ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ และต้องจำกัดจำนวน บริขารของเราด้วย ดังนั้น ที่นี้เราจึงควรมีการปฏิบัติที่ครบถ้วนตามแบบของพระพุทธเจ้า คือ การงดเว้นจากความชั่วและทำความดี มีความ เป็นอยู่อย่างง่ายๆ ตามความจำเป็นขั้นพื้นฐาน  ชำระจิตให้บริสุทธิ์ โดยการเฝ้าดูจิตและกายของเราในทุกๆอิริยาบท เมื่อนั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ หรือนอนอยู่ จงรู้ตัวของท่านเอง

 ๘. ผมควรจะทำอย่างไรครับเมื่อผมสงสัย บางวันผมวุ่นวายใจด้วยความสงสัยในเรื่องปฏิบัต หรือในความคืบหน้าของผม หรือในอาจารย์

ความสงสัยนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทุกๆคนเริ่มต้นด้วยความสงสัย ท่านอาจได้เรียนรู้อย่างมากจากความสงสัยนั้น ที่สำคัญก็คือ ถ้าท่านยังถือเอาความสงสัยนั้นเป็นตัวเป็นตน นั่นคืออย่าตกเป็นเหยื่อของความสงสัย ซึ่งจะทำให้จิตใจของท่านหมุนวนเป็นวัฏฏะ อันไม่มีที่สิ้นสุด แทนที่จะเป็นเช่นั้น จงเฝ้าดูกระบวนการเกิดดับของความสงสัย ของความฉงนสนเท่ห์ ดูว่าใครคือผู้ที่สงสัย ดูว่าความสงสัยนั้นเกิดขึ้นและ ดับไปอย่างไร และท่านจะไม่ตกเป็นเหยื่อของความสงสัยอีกต่อไป ท่านจะหลุดพ้นออกจากความสงสัยและจิตของท่านก็จะสงบ ท่านจะเห็นว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร จงปล่อยวางสิ่งต่างๆที่ท่านยังยึดมั่นอยู่ ปล่อยวางความสงสัยของท่านและเพียงแต่เฝ้าดู นี่คือสิ่งที่สิ้นสุดของความสงสัย

 

 ๙. ท่านอาจารย์มีความเห็นเกี่ยวแก่วิธีปฏิบัติ(วิธีภาวนา)วิธีอื่นๆอย่างไรครับ ทุกวันนี้ดูเหมือนว่าจะมีอาจารย์มากมาย และมีแนวทางการทำสมาธิ

วิปัสสนาหลายแบบ จนทำให้สับสน มันก็เหมือนกับการจะเข้าไปในเมือง บางคนอาจจะเข้าเมืองทางทิศเหนือ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ ทางถนนหลายสาย โดยมากแล้วแนวทางภาวนาก็แตกต่างกันแต่เพียงรูปแบบเท่านั้นม่ว่าท่านจะเดินทาสายหนึ่งสายใด เดินช้าหรือเดินเร็ว ถ้าท่านมีสติอยู้เสมอ มันก็เหมือนกันทั้งนั้น ข้อสำคัญที่สุดก็คือแนวทางภาวนาที่ดีและถูกต้องจะต้องนำไปสู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ลงท้ายแล้ว ก็ต้องปล่อยแนวทางการภาวนาทุกรูปแบบด้วย ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่นแม้ในตัวอาจารย์แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง สู่การไม่ยึดมั่นถือมั่นก็เป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ท่านอาจจะอยากเดินทางเพื่อศึกษาอาจารย์อื่นอีก และลองปฏิบัติตามแนวทางอื่นบ้างก็ได้ พวกท่านบางคนก็ทำเช่นนั้น นี้เป็นความต้องการ ตามธรรมชาติ ท่านจะรู้ว่าแม้ได้ถามคำถามนับพันคำถามก็แล้ว และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติอื่นๆก็แล้ว ก็ไม่อาจจะนำท่านเข้าถึงสัจจะธรรมได้ในที่สุดท่านก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย ท่านจะรู้ว่าเพียงแต่หยุด และสำรวจตรวจสอบดูจิตใจของท่านเองเท่านั้น ท่านก็จะรู้ว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ไม่มีประโยชน์ที่แสวงหาออกไปนอกตัวเอง ผลที่สุดท่านต้องหันกลับมาเผชิญหน้ากับสภาวะที่แท้จริงของตัวท่านเอง ตรงนี้แหละที่ท่านจะเข้าใจ ธรรมะได้

 

 ๑๐. มีหลายครั้งหลายหนที่ดูเหมือนว่าพระหลายรูปที่นี่ไม่ฝึกปฏิบัติ ดูท่านไม่ใส่ใจธรรม หรือขาดสติ เรื่องนี้กวนใจผม

มันไม่ถูกต้องที่จะคอยจับตาดูผู้อื่น นี้ไม่ช่วยการฝึกปฏิบัติของท่านเลย ถ้าท่านรำคาญใจก็จงเฝ้าดูความรำคาญในใจของท่านเลย ถ้าศีลของผู้อื่นบกพร่อง หรือเขาเหล่านั้นไม่ใช่พระที่ดี ก็ไม่ใช่เรื่องของท่านที่จะไปตัดสิน ท่านจะไม่เกิดปัญญา การจับตาดูผู้อื่น พระวินัยเป็นเครื่องช่วยในการทำสมาธิภาวนาของท่าน ไม่ใช่อาวุธสำหรับใช้ติเตียนหรือจับผิดผู้อื่น ไม่ใครสามารถฝึกปฏิบัติให้ท่านได้ หรือท่านก็ไม่สามารถปฏิบัติให้ผู้อื่นได้ จงมีสติใส่ใจในการฝึกปฏิบัติของตัวท่านเอง และนี่คือแนวทางของการปฏิบัติ

 

 ๑๑. ผมระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะสำรวมอินทรีย์ ผมทอดสายตาลงต่ำเสมอ และกำหนดสติอยู่กับการกระทำทุกอย่าง แม้ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ เช่นขณะที่กำลังฉันอาหารอยู่ ผมใช้เวลานานและพยายามรู้สำผัสทุกอย่าง เป็นต้นว่า เคี้ยวรู้รส กลืน ฯลฯ ผมกำหนดรู้ด้วยความตั้งใจทุกขั้นตอนและระมัดระวังผม ผมปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ครับ

การสำรวมอินทรีย์นั้นเป็นการปฏิบัติถูกต้องแล้ว เราจะต้องมีสติในการฝึกเช่นนั้นตลอดทั้งวัน แต่อย่าควบคุมให้มากเกินไป เดิน ฉัน และปฏิบัติตนให้เป็นธรรมชาติ ให้มีสติระลึกรู้ตามธรรมชาติ ถึงสิ่งที่กำลังเป็นไปในต้วท่าน อย่าบีบบังคับการทำสมาธิภาวานาของท่าน และอย่าบีบบังคับตนเองไปจนดูน่าขัน ซึ่งก็เป็นตัณหาอีกอย่างหนึ่งจงอดทน ความอดทนและความทนได้เป็นสิ่งจำเป็น ถ้าท่านปฏิบัติตนเป็นปกติตามธรรมชาติ และมีสติระลึกรู้อยู่เสมอปัญญาที่แท้จะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติด้วย

 จำเป็นไหมที่ต้องนั่งภาวนาให้นานๆ

 ๑๒. จำเป็นไหมครับที่จะต้องนั่งภาวนาให้นานๆ

ไม่จำเป็นต้องนั่งภาวนานานนับเป็นหลายชั่วโมง บางคนคิดว่ายิ่งนั่งภาวนานานเท่าใด ก็ยิ่งจะเกิดปัญญามากเท่านั้น ปัญญาที่แท้เกิดจากการที่เรามีสติในทุกๆอิริยาบท การฝึกปฏิบัติของท่านต้องเริมขึ้นทันทีที่ท่านตื่นนอนตอนเช้า และต้องปฏิบัติให้ต่อเนื่องไปจนกระทั่งนอนหลับไปอย่าไปห่วงว่าท่านต้องนั่งภาวนาให้นานๆสิ่งสำคัญก็คือ ท่านเพียงแต่เฝ้าดู ไม่ว่าท่านจะเดินอยู่หรือนั่งอยู่ หรือกำลังเข้าห้องน้ำอยู่แต่ละคนต่างก็มีทางชีวิตของตนเอง บางคนต้องตาย เมื่อมีอายุ ๕๐ ปี บางคนเมื่ออายุ ๖๕ ปี และบางคนเมื่ออายุ ๙๐ ปี ฉันใดก็ฉันนั้น ปฏิปทาของท่านทั้งหลายก็ไม่เหมือนกัน อย่างคิดมากหรือกังวลใจในเรื่องนี้เลย จงพยายามมีสติ และปล่อยทุกสิ่งให้เป็นไปตามปกติของมัน แล้วจิต ของท่านก็จะสงบมากขึ้นในสิ่งแวดล้อมทั้งปวงมันจะสงบนิ่งเหมือนหนองน้ำใสในป่าที่บรรดาสัตว์ป่าสวยงาม และหายากจะมาดื่มน้ำในสระนั้นท่านจะได้เห็นความมหัศจรรย์และแปลกประหลาดทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไปแต่ท่านก็จะสงบอยู่เช่นเดิม ปัญหาทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นแต่ท่านจะรู้ทันมันได้ทันที นี่แหละคือศานติสุขของพระพุทธเจ้า

 

 ๑๓. ผมยังคงมีความนึกคิดต่างๆมากมาย จิตของผมฟุ้งซ่านมากทั้งๆที่ผมพยายามจะมีสติอยู่

อย่าวิตกในเรื่องนี้เลย พยายามรักษาจิตของท่านให้อยู่กับปัจจุบัน เมื่อเกิดรู้สึกอะไรขึ้นมาภายในจิตก็ตาม จงเฝ้าดูมันและปล่อยวางแล้วจิตก็จะเข้าถึงสภาวะปกติตามธรรมชาติของมันไม่มีการแบ่งแยกระหว่างความดีและความชั่ว ร้อนและหนาว ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีตัวตนเลย อะไรอะไรก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น จงรู้จักตัวเองด้วยการปฏิบัติตนเป็นปกติตามธรรมชาติ และเฝ้าดู เมื่อเกิดสงสัยจงเฝ้าดูมันเกิดขึ้นและดับไป มันก็ง่ายๆอย่ายึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใดทั้งสิ้น เหมือนกับว่าท่านกำลังเดินไปตามถนน บางขณะ  ท่านจะพบสิ่งกีดขวางอยู่ เมื่อท่านเกิดกิเลสเครื่องเศร้าหมองจงรู้ทันมันและเอาชนะมันโดยปล่อยให้มันผ่านไปเสีย อย่าไปคำนึงถึงกีดขวางที่ท่านได้ผ่านมาแล้ว อย่าวิตกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่ได้พบ จงอยู่กับปัจจุบัน ไม่ว่าท่านผ่านอะไรไป อย่าไปยึดมั่นไว้ ในที่สุดจิตก็จะบรรลุถึงความสมดุล ตามธรรมชาติของจิตและเมื่อนั้นการปฏิบัติก็จะเป็นเองโดยอัตโนมัติ ทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดขึ้นและดับไปในตัวของมันเอง

 

 ๑๔. ท่านอาจารย์เคยพิจารณา "สูตรของเว่ยหลาง" ของพระสังฆปรินายก (นิกายเซ็น) องค์ที่หกบ้างไหมครับ (ท่านเว่ยหลางหรือท่านฮุยเหนิง)

ท่านฮุยเหนิงมีปัญญาเฉียบแหลมมาก คำสอนของท่านลึกซึ้งยิ่งนักไม่ใช่ของง่ายที่ผู้เริ่มต้นปฏิบัติจะเข้าใจได้ ถ้าท่านปฏิบัติตามศีลและด้วยความอดทนท่านก็จะเข้าใจได้ในที่สุด ฤดูฝนนั้น   วันหนึ่งพายุก็พัดเอาหลังคาโหว่ไปเขาไม่ขวนขวายที่จะมุงมันใหม่ จึงปล่อยให้ฝนรั่วอยู่อย่างนั้นหลายวันผ่านไปผมได้ไปถามถึงกุฏิของเขา  เขาตอบว่า กำลังฝึกกายไม่ยึดมั่นถือมั่น นี่เป็นการไม่ยึดมั่นถือมั่นโดยไม่ใช้หัวสมองถ้าท่านมีความเป็นอยู่ดี และเป็นอยู่ง่ายๆถ้าท่านอดทนและไม่เห็นแก่ตัวท่านก็จะเข้าใจถึงปัญญาของท่ายฮุยเหนิงได้

 ในการปฏิบัติ จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงฌาณไหม

 ๑๖. ในการปฏิบัติของเราจำเป็นที่จะต้องเข้าถึงฌานหรือไม่ครับ

ไม่ ฌานไม่เรื่องจำเป็น ท่านต้องฝึกจิตให้มีความสงบและมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (เอกัคคตา) อาศัยอันนี้สำรวจตนเองถ้าท่านได้ฌานในขณะฝึกปฏิบัตินี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่อย่าไปติดหลงอยู่ในฌานหลายคนชะงักติดอยู่ในฌานมันทำให้เพลิดเพลินเมื่อไปเล่นกับมัน ท่านต้องรู้ขอบเขตที่สมควร ถ้าท่านฉลาดท่านก็จะเห็นประโยชน์และขอบเขตของฌาน     

หมายเลขบันทึก: 251068เขียนเมื่อ 26 มีนาคม 2009 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เจริญพร โยมsila

หลวงพ่อชาท่านพูดภาษาต่างประเทศไม่ได้เลย

แต่ท่านสามารถสอนคนต่างประเทศให้เข้าใจพุทธศาสนาได้

ภาษาธรรมกับภาษาดนตรี อาตมาว่าเป็นสากลโดยแท้

เจริญพร

อนุโมทนาบุญด้วยครับ

ได้ประโยชน์มากเลยครับ

  • กราบนมัสการพระคุณเจ้าพระปลัด P
  • ภาษาธรรมกับภาษาดนตรี ใช้จิตสัมผัสได้เหมือนกันกระมังคะ
  • ขอบพระคุณอย่างสูงเจ้าค่ะ
  • ขอบพระคุณคุณสามารถ P ที่มาร่วมอนุโมทนาบุญค่ะ
  • อ่านแนวปฏิบัติแล้ว สุขสงบใจจริงค่ะ

ธรรมแท้นั้นมีเส้นทางเดียวจริง ๆ ไม่ว่าฟังจากครูบาอาจารย์ท่านใดธรรมะก็คือธรรมะอยู่วันยังค่ำ มีสติรู้กายรู้ใจในปัจจุบัน

อนุโมธนาด้วยครับคุณ Sila Phu-Chaya

  • ขอบพระคุณคุณ Aj Kae P ที่มาแนะนำข้อคิดในการดำเนินขีวิตดี ๆ ค่ะ
  • เรามาถูกทางกันแล้วนะคะ
  • ขอบคุณน้อง ♥あ★ 【KiTTyぃJUmP】★~ぁ P ที่แวะมาเยี่ยมชมค่ะ  สุขสันต์วันสงกรานต์ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท