10 ปีงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น


โชคดีจังค่ะ พี่ภีมให้โอกาสเดินทางไปเข้าร่วมเวที 10 ปีงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ชาวบ้านวิจัยรากฐานใหม่ของสังคม คุณค่าพลังและความสุข ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-21 มีนาคม 2552 ณ คอนเวนชั่นฮอลล์ (ฮอลล์ 9) อิมแพคเมืองทองธานี กรุงเทพฯ โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นเจ้าภาพหลัก ค่ะ

 

เป้าประสงค์ของเจ้าภาพที่จัดงานครั้งนี้เพื่อเป็นการนำเสนอผล และรูปธรรมของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้กับหน่วยงาน องค์กร ภาคี ทุกภาคส่วนในสังคมให้รับรู้และร่วมกันแก้ปัญหาชุมชนท้องถิ่น ค้นหาทิศทางในการขับเคลื่อนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นต่อไป

 

กลุ่มผู้เข้าร่วมงานกว่า 2,000 คน

 

รูปแบบกระบวนการจัดงานครั้งนี้นำเสนอรูปแบบวงสัมมนาวิชาการ มีการแสดงนิทรรศการ ผลงาน ผลิตภัณฑ์กลุ่ม ชุมชนท้องถิ่น มีการแสดงศิลปวัฒนธรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่น 4 ภาค

 

ยืนบนรากเหง้า…ก้าวย่างสู่อนาคต : สังคมวัฒนธรรมบนความเปลี่ยนแปลง

 

ห้องสัมมนานี้หยิบยกงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ของทั้ง 4 ภาค นครศรีธรรมราชเรา ก็มีผู้ใหญ่ชะลอ ที่ศึกษาประวัติศาสตร์แม่เจ้าอยู่หัว เป็นตัวแทนบนเวที  หนานชาญ อุทธิยะ จากลำปาง ตัวแทนจากทุ่งกุลาร้องไห้ และอีกหลายส่วนค่ะ

 

การศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นนั้น ทำให้ได้ องค์ความรู้เรื่องนั้น ๆ เพราะกระบวนการศึกษา พัฒนาทำให้เราได้เรียนรู้ ได้โอกาสพบปะภาคีเครือข่าย ที่สำคัญได้อัตลักษณ์ ความเป็นตัวตน ถามว่าศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ชุมชนท้องถิ่นเพื่ออะไร มองว่าเพื่อที่เราจะได้ รู้ รักษา รากเหง้าของเราเอง ผนวกกับเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง เพื่อพัฒนาท้องถิ่น บนฐานของการมีอัตลักษณ์ ความเป็นตัวตนของท้องถิ่นนั้น ๆ

 

อปท.แนวใหม่ใช้วิจัยนำการพัฒนา

 

อีกห้องสัมมนาหนึ่งที่ได้มีโอกาสเข้าฟัง พูดถึง

1)      ลักษณะการทำงานวิจัยของ อปท.จะเข้าร่วมงานวิจัยมี 3 รูปแบบด้วยกันค่ะ คือ

-          เข้ามาเป็นทีมวิจัยหลัก

-          ทำงานร่วมกันกับชาวบ้าน

-          เข้ามาเป็นที่ปรึกษา

2)   ความยากของ อปท.ที่จะทำงานวิจัย อปท.ทั้งหมด 7,853 แห่งทั่วประเทศนั้น มีไม่ถึง 10% ที่ขับเคลื่อนงานโดยใช้กระบวนการวิจัย ปัจจัยที่ อปท.ยังไม่หยิบงานวิจัยมาใช้ในงานพัฒนานั้น

-          ความจำเป็น

-          มิติทางการเมือง

-          นโยบายของผู้บริหาร/กฎระเบียบที่ถูกตีกรอบ

3)   การเตรียมการ ของ อปท.ที่ทำงานวิจัย เบื้องต้น ต้องทำความเข้าใจ คือ กระบวนการเตรียมคน เตรียมทีม ถัดมาเตรียมข้อมูล แล้วค่อยมาดูกันที่งบประมาณ

4)      การยกระดับและการขยายผล

 

มองว่างานวิจัยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในงานพัฒนา หาก อปท.ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดชาวบ้าน ชุมชน ท้องถิ่น นำเอากระบวนการวิจัย(ซึ่งเป็นกระบวนการหาความรู้ ความจริง ใหม่) เป็นเครื่องมือที่จะแก้ปัญหา หนุนเสริมความต้องการ ของชาวบ้าน น่าจะเป็นวิธีการที่ดีกว่าการทำประชาคม(ยกมือ)แค่ครั้งเดียวในรอบ 1 ปี เพื่อหาความต้องการของชาวบ้าน ซึ่งบางครั้งได้ข้อมูลมาอย่างบาง ๆ และผิวเผินเท่านั้นเอง

ดังที่ปลัดคมสัน ขันบุตร  ปลัด อบต.เมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด หนึ่งในผู้เล็งเห็นความสำคัญ และได้ประโยชน์ ของงานวิจัยในการพัฒนา กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม ให้คนในชุมชนคิด ทำ แล้ว อปท.ก็หนุนเสริมงบประมาณ ความรู้ ตามกำลังที่มี ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ภาคส่วน อปท.ไม่เหนื่อย (^_^) ชาวบ้านได้รับการแก้ปัญหาที่ถูกจุด อีกทั้งยังก่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชนท้องถิ่นอีกด้วย..

หมายเลขบันทึก: 250472เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2009 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แวะมาดูชาวบ้านวิจัยค่ะ

ยินดีที่ได้รู้จักค่ะ

พลังอย่างหนึ่งที่เห็นจากวง ยืนบนรากเหง้า...ก้าวย่างสู่อนาคต คือ

ชาวบ้านตระหนักถึงคุณค่าในตัวเอง เคารพตัวเอง นำไปสู่การค้นหาการเปลี่ยนแปลง ปัญหาที่เกิด พร้อมกับการสนใจเรียนรู้สิ่งภายนอกที่จะมากระทบกับตัวเอง ทั้งหมดประสานกันจนเกิดเป็นการวางแผนชุมชน เลือกสิ่งที่เหมาะ ปฏิเสธสิ่งที่บั่นทอนความเป็นรากเหง้าของตนเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท