รายงานการพัฒนาการเรียนการสอน


รายงานการพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพื่อใช้เป็นสื่อนวัตกรรมประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และเพื่อเป็นการพัฒนาการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน วิธีการสอน การวัดผลประเมินผล เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544

                 รายงานการพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เพื่อใช้เป็นสื่อนวัตกรรมประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และเพื่อเป็นการพัฒนาการจัดกิจกรรม การเรียนการสอน วิธีการสอน  การวัดผลประเมินผล เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  .. 2544   

                 บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่ได้จัดทำขึ้นนี้ ใช้ประกอบการจัดการเรียนรู้ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทยจำนวน 3  เรื่อง  ซึ่งได้ผ่านการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง  และปรับปรุงแก้ไขให้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแต่ละเรื่องนั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80   สามารถนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนสอนได้   ส่งผลให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้สูงขึ้น นอกจากนี้มีการนำไปเผยแพร่ให้กับคณะครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลมาแก้ไข ปรับปรุงพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อไป  ในการจัดทำเอกสารฉบับนี้ ผู้จัดทำได้รวบรวมรายละเอียดเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โดยแบ่งเป็น  5  บท ดังนี้

                                                บทที่ 1  บทนำ

                                                บทที่ 2  เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

                                                บทที่ 3  วิธีการดำเนินการ

                                                บทที่ 4  ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

                                                บทที่ 5  สรุปผลการศึกษา อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

                  ซึ่งการจัดทำรายงานฉบับนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี ผู้จัดทำขอขอบพระคุณผู้บริหารโรงเรียน         ผู้เชี่ยวชาญ  คณะครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3    ที่ได้ให้ความร่วมมือในการเสนอแนะข้อคิดเห็นต่างๆที่เป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ผู้จัดทำหวังไว้เป็นอย่างยิ่งว่า ผลงานทางวิชาการฉบับนี้  จะเป็นประโยชน์สำหรับคณะครู อาจารย์  ตลอดจนผู้สนใจ ในการจัดทำผลงานและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป

วัตถุประสงค์ของการศึกษา

 

1.   เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เรื่อง  ประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย  จำนวน 3  เรื่อง  

2.   เพื่อทดลองใช้ และศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยการ                เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เรื่อง ประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย  

3.   เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เรื่อง ประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย กับเกณฑ์ร้อยละ 60

4.   ศึกษาหาค่าร้อยละความก้าวหน้าหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   

                      5.      ศึกษาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้           เรื่อง ประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยผู้เชี่ยวชาญ ครูผู้สอน
และความพึงพอใจของนักเรียน ที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง 

ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เรื่อง ประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ซึ่งสามารถสรุปผลการค้นคว้าได้ดังนี้

 

วัตถุประสงค์ในการค้นคว้า

 

1.  เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80  ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3   เรื่องประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย จำนวน  3  เรื่อง 

2. เพื่อทดลองใช้และศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน               เรื่อง ประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

3.  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เรื่องประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย  กับเกณฑ์ร้อยละ 60

4.  ศึกษาหาค่าร้อยละความก้าวหน้าหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน   

5.   ศึกษาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3/1  โดยผู้เชี่ยวชาญ ครูผู้สอน และความพึงพอใจหลังจากเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1               

 

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

 

การดำเนินการศึกษาครั้งนี้  แบ่งเป็น   5  ขั้นตอน ดังนี้

1. สร้างและหาประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์มาตรฐาน  80 / 80   ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เรื่องประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย จำนวน  3   เรื่อง  

โดยนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนให้ผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยการตรวจสอบ               ความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและเชิงโครงสร้างของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หลังจากนั้นนำไปหาประสิทธิภาพซึ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ  ขั้นทดสอบรายบุคคล ใช้กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 3 คน ขั้นทดสอบกลุ่มเล็ก นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2 จำนวน 10  คน และขั้นทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1  จำนวน 40 คน หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  คือ  ค่า  E 1 / E 2  ตามเกณฑ์  80 / 80

2.   ทดลองใช้และศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน และหลังการเรียนรู้    โดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้การทดสอบค่าที  (t – test)  ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทั้ง  3  เรื่อง 

3.  เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  เรื่องประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย จำนวน  3   เรื่อง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1  กับเกณฑ์ร้อยละ 60  โดยใช้แบบทดสอบ วัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 40 ข้อ หาค่าเฉลี่ย และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

4.   หาค่าร้อยละความก้าวหน้าหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ทั้ง 3 เรื่อง เรียงลำดับความก้าวหน้าในการเรียนรู้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแต่ละเรื่อง  

5.  ศึกษาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  เนื้อหาเกี่ยวกับประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย    ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  โดยผู้เชี่ยวชาญ  ครูผู้สอน และความพึงพอใจของนักเรียน เมื่อเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นำข้อมูล หาค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  

 

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า   ประกอบด้วย

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เรื่อง ประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย   มีจำนวน 3 เรื่อง ดังนี้      

                        เรื่องที่ 1 ประเพณีไทย

                        เรื่องที่ 2 วัฒนธรรมไทย

                        เรื่องที่ 3 ภูมิปัญญาไทย

2    แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่องประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทยจำนวน 40 ข้อ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น 

3. แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  เรื่องประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย  จำนวน 3 เรื่อง เรื่องละ 10 ข้อ รวมทั้งสิ้น จำนวน 30  ข้อ   

4.  แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวน 17 รายการ ซึ่งให้ประเมินความพึงพอใจในการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วย  

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

 

ผู้ศึกษาได้ดำเนินการศึกษาวิธีการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และนำบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้น ตรวจสอบความถูกต้อง ความเหมาะสมของเนื้อหา รูปแบบ  ทดลองใช้ และได้นำข้อมูลที่ได้จากการทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมาวิเคราะห์       เพื่อหาประสิทธิภาพ โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80  นำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์  จำนวน 40  ข้อ และแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  จำนวน  30  ข้อ         ที่ผ่านการทดลองใช้และ มีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.2 – 0.8  อำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.2  ขึ้นไป        และมีค่าความเชื่อมั่น ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง  เปรียบเทียบความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียนเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ เปรียบเทียบความแตกต่างของผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียนการเรียนรู้โดยใช้   บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยทดสอบค่า t  (t – test) และหาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้แบบประเมินคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หาค่าเฉลี่ย                      ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ตามเกณฑ์ที่กำหนด

 

ผลการศึกษา   พบว่า

1.   บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในเนื้อหาเกี่ยวกับ  ประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย  จำนวน 3 เรื่อง  มีประสิทธิภาพ สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน  80 / 80    ดังนี้

เรื่องที่  1  ประเพณีไทย        มีประสิทธิภาพ   89.38  /  85.25

เรื่องที่  2  วัฒนธรรมไทย      มีประสิทธิภาพ   88.93  /  83.75

                  เรื่องที่  3  ภูมิปัญญาไทย     มีประสิทธิภาพ   85.42  /  84.25

และบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้ง  3  เรื่อง มีประสิทธิภาพโดยเฉลี่ย  87.91 / 84.41   ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้คือ  80 / 80

2. ทดลองใช้ และศึกษาผลการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน    เรื่อง    ประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย  จำนวน 3  เรื่อง  กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1  ซึ่งนักเรียนต้องทำการวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 40  ข้อ  และให้นักเรียนเริ่มเรียนรู้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปทีละเรื่อง และในการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแต่ละเรื่องนั้น นักเรียนจะต้องทำแบบทดสอบก่อนเรียน ปฏิบัติกิจกรรม และทดสอบหลังเรียน ศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยทดสอบ ค่าที (t –test) ในแต่ละเรื่อง  เมื่อนักเรียนเรียนรู้จนครบ 3 เรื่อง  วัดผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้ง 3 เรื่อง ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ จำนวน 40 ข้อ อีกครั้งหนึ่ง และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 60

จากการศึกษาทดลองใช้   ผลการศึกษา   พบว่า  ผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม   เรื่องประเพณี วัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาไทย   จำนวน  3  เรื่อง นั้น นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนครบทั้ง 3 เรื่อง   คิดเป็นร้อยละ 71.00  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  (เกณฑ์ร้อยละ 60)  และเมื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้ง 3  เรื่องนั้นนักเรียนมีผลการเรียนหลังการเรียนรู้ สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  ทุกเรื่อง   

   3.  หาค่าความก้าวหน้าหลังการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ ผลการศึกษาพบว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่องที่  3  ภูมิปัญญาไทย  มีความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ   28.75  เรื่องที่ 1 ประเพณีไทย  มีความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ 26.50  เรื่องที่ 2 วัฒนธรรมไทย    มีความก้าวหน้า คิดเป็นร้อยละ   25.50   ตามลำดับจากมากไปน้อย ผลการทดลองใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  พบว่า นักเรียนมีความก้าวหน้า โดยเฉลี่ยร้อยละ 26.91  ในการเรียนรู้ด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 

4.  ศึกษาคุณภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม        เรื่องประเพณี วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย  จำนวน 3 เรื่อง  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1  และนำข้อมูลหาค่าเฉลี่ย และแปลความหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ  จำนวน 5 ท่าน  และครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมจำนวน 5 ท่านนั้น  มีคุณภาพในด้านต่างๆ  ได้แก่                  ด้านเนื้อหาสาระ  มีคุณภาพ ( = 4.44  , S.D.= 0.63 )  อยู่ในระดับ  มาก   ด้านประโยชน์ มีคุณภาพ ( =  4.70 , S.D. = 0.63)  อยู่ในระดับ มากที่สุด  ด้านรูปแบบลักษณะนวัตกรรม

หมายเลขบันทึก: 250462เขียนเมื่อ 24 มีนาคม 2009 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2019 12:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะคุณ "พุธทิตา"

ยินดีต้อนรับสู่บ้าน Gotoknow ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท