เพราะคิดถึง...จึงมาเขียน


หากการศึกษาขั้นพื้นฐานอ่อนแอ ก็อย่าหวังว่าอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาจะเข้มแข็ง

         ผมไม่ได้เขียนบล็อกมานานเท่าไหร่แล้ว นึกไม่ออก รู้แต่ว่านานมากในความรู้สึกของผม เพราะผมมัวแต่หมกมุ่นด้วยความไม่สบายใจเรื่องของคุณภาพการศึกษาของไทยที่เกิดขึ้นกับเด็กไทย ดังนี้
         ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับชาติ  ซึ่งมีผลการทดสอบ ดังนี้
             1.1 ผลการสอบ O- NET และ A-NET ปีการศึกษา  2551 ของนักเรียน ม.6 มีคะแนนของกลุ่มสาระเรียงตามลำดับ คือ ภาษาไทย (O = 50.70, A = 50.26)  สังคมศึกษา (O = 37.76, A = 35.48) วิทยาศาสตร์ (O =  34.62, A = 33.94)  คณิตศาสตร์ (O = 32.49, A = 21.96)  และภาษาอังกฤษ (O = 30.93, A = 32.52)
             สรุปว่า เด็กไทยซึ่งเป็นอนาคตของชาติมีความรู้ สูงสุด คือ ภาษาไทย เฉลี่ยแค่ 50 เปอร์เซ็นต์ ต่ำสุดคือ ภาษาอังกฤษ เฉลี่ยแค่ 30 เปอร์เซ็นท์ และมีคะแนนสอดคล้องกับทุกกลุ่มสาระไม่ว่าจะเป็นการสอบ O- NET หรือ A-NET

            ผมคิดว่าการทดสอบน่าจะมีอะไรผิดพลาด ผลจึงออกมาเช่นข้างต้น เลยไปค้นผลการสอบทางเด็กระดับต่ำกว่าต่อ ได้ผลดังนี้

            1.2 ผลการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (National Test = NT) ปีการศึกษา 2549 ของนักเรียนชั้น ม.3 และ ป.6 มีคะแนนของกลุ่มสาระเรียงตามลำดับ คือ ภาษาไทย (ม.3 = 43.94, ป.6 = 42.74)  สังคมศึกษา (ม.3 = 41.68, ป.6 ไม่มีการทดสอบ)  วิทยาศาสตร์ (ม.3 = 39.34, ป.6 = 43.17)  คณิตศาสตร์ (ม.3 = 31.15, ป.6 = 38.86)  และภาษาอังกฤษ  (ม.3 = 30.85, ป.6 = 34.51)

            สรุปว่า ผลการทดสอบยืนยันว่า ความรู้ขั้นพื้นฐานของเด็กไทยทุกระดับ คือ ม.6, ม.3  และ ป.6 มีผลสอดคล้องกัน คือ
            1. เด็กไทยเก่งสูงสุดในวิชาภาษาไทย แต่เฉลี่ยแค่ 50 เปอร์เซ็นต์ และเก่งน้อยสุดในวิชาภาษาอังกฤษ เฉลี่ยแค่ 30 เปอร์เซ็นต์
            2. เด็กไทยมีแนวโน้มเก่งลดลงเรื่อย ๆ  หากเทียบค่าร้อยละของผลการทดสอบ อาทิ  ภาษาไทย ม.6 (O – NET = 50.70 , A-NET = 50.26)  ม.3 (NT =  43.94)  และ ป.6 (NT =  42.74) 

            หากการศึกษาขั้นพื้นฐานอ่อนแอ ก็อย่าหวังว่าอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาจะเข้มแข็ง

            การศึกษาของชาติจะเป็นเช่นไรในอนาคตทั้งใกล้และไกล ใครเดาได้ช่วยตอบผมที

(สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ทศวรรษที่ 2 ของการปฏิรูปการศึกษา (โปรดคลิก) จากเว็บไซต์ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

หมายเลขบันทึก: 250129เขียนเมื่อ 22 มีนาคม 2009 15:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 18:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะ

* เพิ่งสอบวัดพื้นฐานการอ่านของนักเรียนชั้นที่สมัครเข้าเรียน ม. ๑

* เด็กส่วนใหญ่อ่านได้เป็นคำๆ เมื่อนำคำมาเรียงเป็นความแล้วส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ค่ะ  และเว้นวรรคตอนผิดที่ 

* หากการศึกษาขั้นพื้นฐานอ่อนแอ ก็อย่าหวังว่าอุดมศึกษาและอาชีวศึกษาจะเข้มแข็ง

* คนเป็นครูก็กลุ้มค่ะ  ...ขณะกลับบ้านเดินสวนกับนักเรียนที่มาสอบ  นักเรียนเปิดเพลงฟังจากเครื่องมือชนิดหนึ่งที่มีขนาดเล็กแต่เสียงดีงมากแบบไม่สนใจใคร  เกรงว่าถ้ามีรถตามหลังมาแล้วแบบแตรขอทาง  ..ก็คงไม่ได้ยิน

* สุขกายสุขใจนะคะ

  • ขอแสดงความคิดเห็นด้วยคนค่ะอาจารย์
  • คุณแม่สอนภาษาไทยระดับประถม บอกว่านักเรียนอ่านภาษาไทยไม่แตก บางปีจะจบป ุ 6 อยู่แล้วยังอ่านผิดๆถูกๆ สะกดไม่ได้ เลยต้องจัดสอนเสริมการอ่านตั้งแต่ชั้นต้นๆ  น่าเป็นห่วงมากๆ
  • คิดว่าต้องวางพื้นฐานตั้งแต่ระดับต้นๆ ทุกวิชาเลยค่ะ แล้วก็พัฒนาไปในทางเดียวกัน ไม่แยกส่วนกันอย่างนี้ ประถมสอนไปทาง มัธยมไปทาง 
  • คิดถึงสมัยเรียนประถม ที่เค้าให้ท่องอาขยานเยอะมาก ทั้งสุภาษิต วรรณคดี เดี๋ยวนี้ยังจำได้ และยังทำให้รักภาษาไทยด้วย ส่วนภาษาอังกฤษก็ต้องเปลี่ยนวิธีสอนใหม่ เพราะเรียนภาษาอังกฤษมาเป็นสิบๆปี เจอฝรั่งยังพูดไม่ได้ก็เยอะ  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท