ปัญหาการคิดของเด็กไทย


ปัญหาการคิดของเด็กไทย

ปัญหาการคิดของเด็กไทย

 ในการสัมภาษณ์และพูดคุยกับครูผู้สอนในโรงเรียน   พบว่าปัญหาการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับการคิดโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ และวิชาคณิตศาสตร์ และจัดเป็นปัญหาใหญ่สรุปได้ดังนี้

1.   บริบทของโรงเรียนที่จำเป็นต้องรับนักเรียนเข้าเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 นั้น ส่วนใหญ่เป็นนักเรียนที่มีระดับความรู้ปานกลาง และอ่อน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนที่เข้าเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  ที่มีพื้นฐานการเรียนจากระดับชั้นประถมศึกษาปีที่  6 ในโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนที่เน้นการติวเข้มแบบทดสอบมากกว่าการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ

2.    ครูผู้สอนไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสอน  เน้นให้นักเรียนท่องจำสูตร  มิได้ปลูกฝังให้มีกระบวนการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา    นักเรียนจึงขาดทักษะในการวางแผนการทำงานและไม่มีความอดทนที่จะขบคิดปัญหาเป็นเวลานาน ๆ   

  จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น  เด็กไทยจึงควรมีลักษณะเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ ใฝ่รู้ใฝ่เรียน  มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง   จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีทักษะการคิดในชั้นเรียน         การคิดและการสอนคิดจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งการจัดการศึกษาที่ต้องพัฒนาและฝึกฝนจนเกิดเป็นทักษะติดตัวนักเรียนไปตลอดชีวิต  การคิดอย่างมีจุดมุ่งหมาย  มีทิศทาง  มีกระบวนการที่ดี  รอบคอบ จะทำให้ได้คำตอบหรือบทสรุปที่มีคุณภาพ  เชื่อมโยงไปสู่การกระทำหรือการดำรงชีวิตที่เหมาะสมของแต่ละบุคคลต่อไป  เป้าหมายของการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนเกิดพุทธพิสัยขั้นสูงหรือความความคิดระดับสูง หรือความคิดระดับสูง  (Higher  Order  Thinking) ซึ่งประกอบด้วยระดับความคิดที่เน้นการนำไปใช้  การวิเคราะห์  การสังเคราะห์  และการประเมินค่า  แต่เด็กไทยก็ยังไม่เป็นไปตามความต้องการของสังคม 

จากปัญหาดังกล่าว จะเห็นว่าการสอนคิดหรือสอนให้เกิดทักษะการคิดให้ตัวผู้เรียนเป็นปัญหาสำคัญ  ครูผู้สอนต้องตระหนักและร่วมมือกันคิดหาแนวทางพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อสร้างให้นักเรียนคิดเป็น  แม้ว่าการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนคิดเป็นและมีกระบวนการการคิดจะเป็นเรื่องยากแต่ก็เป็นสิ่งที่พัฒนาฝึกฝนได้โดยกระบวนการทางการศึกษา (ชัยวัฒน์  วรรณพงษ์  และคณะ, 2543 : 1) จึงเป็นหน้าที่ของครูผู้สอนแต่ละคนที่ต้องเสาะแสวงหา  คิดหาวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนคิดเป็นต่อไป  จากการศึกษาแนวคิดและทฤษฏีต่าง ๆ นักการศึกษาหลายท่านพบว่า  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ ( Contrsuctivism )  เป็นทฤษฏีที่น่าจะสามารถช่วยพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงได้  จากคำอธิบายของนักการศึกษาหลายท่าน  สรุปได้ว่า  ทฤษฏีการเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับความรู้และการเรียนรู้  ที่มีความเชื่อว่านักเรียนแต่ละคนมีพื้นฐานความรู้เดิมเป็นโครงสร้างทางปัญญาอยู่แล้วครูไม่สามารถปรับโครงสร้างทางปัญญาใหม่ได้  เมื่อได้รับประสบการณ์ใหม่  นักเรียนสามารถเชื่อมโยงเข้ากับ     ความรู้เดิม  ถ้าความรู้เดิมใช้กับประสบการณ์ใหม่ไม่ได้นักเรียนจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาโดยสร้างองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้เอง  ครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกเป็นผู้ถาม  ไม่ใช่ถามเพื่อให้นักเรียนได้ความรู้ความจำ  แต่ต้องเป็นผู้กระตุ้นและจัดสถานการณ์ให้เหมาะกับความรู้เดิมของนักเรียนเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิดและเชื่อมโยงความรู้เอง  นักเรียนจะเกิดการเรียนรู้แบบมีความหมาย (meaning  learning) การเรียนรู้ (learninig)  ตามแนวทฤษฎีนี้  คือการพัฒนาความคิดรวบยอด  (conceptual  devepment)  นั่นเอง  รูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีการเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ที่ใช้วิธีการแก้ปัญหาร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเพื่อกระตุ้นและเสริมสร้างทักษะ    การคิดขั้นสูงให้เกิดกับนักเรียนสมเจตนารมณ์ของหลักสูตร 

รูปแบบการสอนคิดมีขั้นตอนดังนี้

              1.   กำหนดเป้าหมายและสร้างสถานการณ์ให้นักเรียน

2.   นักเรียนออกแบบ  วางแผน  คิดแก้ปัญหาในกลุ่มพร้อมสรุปวิธีและผลการแก้ปัญหา

นั้นให้สมบูรณ์ในกลุ่ม

3.   ให้นักเรียนสะท้อนความคิดของกลุ่มตนออกมาให้ชั้นฟัง

4.   ปรับแนวคิดของนักเรียนที่หลากหลายหรือไม่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น  โดยครูและนักเรียน

ในชั้นช่วยกัน

5.       ประยุกต์ความคิดรวบยอดนั้นใช้กับสถานการณ์ใหม่  และประเมินผลพร้อมใน      

ขณะสอน

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้

การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ก็เช่นเดียวกับการสอนวิธีอื่น ๆ โดยกำหนดขั้นตอนหลักของกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบสรรค์สร้างความรู้ดังนี้

1.   ขั้นกำหนดปัญหาและสร้างสถานการณ์ให้นักเรียน

1.1  ครูเสนอปัญหาปลายเปิดนำไปสู่ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องที่ต้องการให้

นักเรียนเกิดการเรียนรู้

1.2  ครูกำหนดสถานการณ์ให้นักเรียนแก้ปัญหาหรือหาคำตอบในรูปแบบของ      

ใบงาน

 

 

2.    ขั้นออกแบบวางแผนคิดแก้ปัญหาในกลุ่มย่อย  พร้อมสรุปวิธีและผลการแก้ปัญหานั้น

ให้สมบูรณ์

2.1  นักเรียนเข้ากลุ่มย่อยตามการเรียนแบบร่วมมือแต่ละโครงสร้างที่หลากหลาย

2.2   นักเรียนกลุ่มย่อยใช้กระบวนการแก้ปัญหาสถานการณ์ที่ครูกำหนดให้ 

เริ่มด้วยเลือกปัญหาที่ต้องการทราบ  ตั้งสมมติบานนั้นทดลองวิเคราะห์ข้อมูลโดยการอภิปรายผล             การทดลองร่วมกัน  และสรุปผลการทดลองให้สมบูรณ์  โดยสรุปเป็นองค์ความรู้ในกลุ่มย่อยให้สมบูรณ์

3.    ขั้นสะท้อนความคิดของกลุ่มตนออกมาให้ชั้นฟัง

3.1 ครูสุ่มตัวแทนนักเรียนในกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่ม  เสนอวิธีการและกระบวนการ

แก้ปัญหา  ผลการแก้ปัญหา  พร้อมทั้งข้อสรุปของกลุ่มย่อยที่ได้

3.2 นักเรียนทั้งชั้นฟังการนำเสนอ  พร้อมคิดวิเคราะห์เปรียบเทียบกับวิธีการและ

   กระบวนการ  พร้อมทั้งข้อสรุปของกลุ่มย่อยที่ได้

4.  ปรับแนวคิดของนักเรียนที่หลากหลายหรือไม่สมบูรณ์ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นโดยครูและนักเรียนช่วยกัน

4.1 ครูให้นักเรียนทั้งชั้นช่วยกันสรุปวิธีการกระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถ

แก้ปัญหาหรือ สถานการณ์ได้ทุกวิธีการและข้อสรุปที่สมบูรณ์

4.2  ครูช่วยเสริมวิธีการ  กระบวนการ  และองค์ความรู้เพิ่มเติมให้สมบูรณ์

 5.ประยุกต์ความคิดรวบยอดนั้นกับสถานการณ์ใหม่และประเมินผลพร้อมในขณะสอน

            5.1 ครูกำหนดสถานการณ์ใหม่ให้นักเรียนกลุ่มย่อยช่วยกันแก้ปัญหาจากองค์

ความรู้ใหม่ที่ได้

                5.2 หรือนักเรียนแต่ละคนทำแบบทดสอบ

                การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการคิดมีหลายรูปแบบ    จากการศึกษารายวิชา    การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด  และนักการศึกษา และสังคมทั่วโลกึ่งปัจจุบันเห็นความสำคัญของทักษะการคิดขั้นสูงต่อการพัฒนาประเทศ   พอสรุปได้ว่า  ทักษะการคิดขั้นสูง  (higher  order  thinking  skills )  เป็นพิสัยขั้นสูง  ประกอบด้วยการคิดวิจารณญาณ   ความคิดสร้างสรรค์   การตัดสินใจ  และการแก้ปัญหา  เป็นลักษณะการคิดที่เป็นกระบวนการ  ควรได้รับ  การพัฒนาเป็นอย่างมากสำหรับนักเรียนเพื่อสร้างให้เด็กไทยเป็นบุคคลที่ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัฒน์แต่ผู้รายงานขอนำเสนอเฉพาะรูปแบบที่ผู้รายงานได้นำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนของผู้รายงานเองคือ

1.  การเรียนแบบร่วมมือ

                          Slavin ; Kagan (1990 : 2 ; 1994 : 1 ) กล่าวว่า  การเรียนแบบร่มมือเป็นการจัดการเรียนรู้ที่นักเรียนร่วมมือกันเป็นกลุ่ม  ช่วยกันเรียนรู้ในสิ่งที่ครูสอนหรือสิ่งที่ครูจัดหามาให้  และสำหรับนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มเพื่อนมีความสำคัญมากที่สุด  นักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับความคิดเห็นของเพื่อนและดูดซับสิ่งต่าง ๆ มาจากเพื่อนทั้งหมด  การเรียนแบบร่วมมือสามารถช่วยพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูงของนักเรียนได้เป้นอย่างดี

Kagan (1994 : 11 )  ได้เสนอโครงสร้างการเรียนแบบร่วมมือที่สามารถพัฒนา

ทักษะการคิดและที่ส่งเสริมทักษะอื่น ๆ แต่สามารถช่วยพัฒนาทักษะการคิดหลากหลายดครงสร้าง  จากการศึกษาพบว่าแต่ละโครงสร้างก็เหมาะสมกับเนื้อหา หาแตกต่างกันครูผู้สอนควรเลือกใช้ให้เหมาะสม  ดังนี้

Numbered  Heads  Together   เหมาะสำหรับการเริ่มใช้การเรียนแบบร่วมมือกับนักเรียน  เป็นวิธีการทำกิจกรรมร่วมมือกับนักเรียน  เป็นวิธีการทำกิจกรรมร่วมกันที่ง่าย  ไม่ยุ่งยากซับซ้อน  การสุ่มหมายเลขสมาชิกและหมายเลขกลุ่มทำให้นักเรียนตื่นเต้นและสนใจทำกิจกรรมได้เป็นอย่างดี

Jigsaw  เหมาะกับเนื้อหาที่สามารถแยกศึกษาเป็นส่วน ๆ ได้  โดยเนื้อหาในแต่ละส่วนไม่

ขึ้นอยู่กับเนื้อหาส่วนอื่น  ไม่ควรใช้การจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือโครงสร้าง   Jigsaw  ในแผนการจัดการเรียนรู้แรก ๆ เนื่องจากมีขั้นตอนที่ซับซ้อน  อาจทำให้นักเรียนตกใจ  และอาจทำให้นักเรียนมีเจตคติไม่ดีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือได้ 

Team  Game Tournament ; TGT  เหมาะสำหรับใช้ทบทวนเนื้อหาที่เข้าใจยาก  น่าเบื่อ

 ช่วยทำให้กิจกรรมการเรียนการสอนสนุกสนาน  น่าสนใจ  และได้รับความรู้  เนื่องจากมีการแข่งขันระหว่างทีม Group Investigation ; GI  เหมาะสำหรับใช้ในกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์  และใช้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เนื้อหาสามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้หลายหัวข้อ  เพื่อให้นักเรียนได้ออกแบบศึกษาหรือทดลองเพื่อพิสูจน์ความจริงได้อย่างอิสระตามความสนใจ  นักเรียนแต่ละกลุ่มสามารถเลือกศึกษาในหัวข้อที่กลุ่มสนใจแล้ววางแผนการศึกษาร่วมกันในกลุ่ม  แล้วศึกษาหรือทดลองให้เข้าใจถ่องแท้  ซึ่งในแต่ละหัวข้อที่กำหนดไว้นี้ต้องใช้เวลาศึกษานานพอสมควร  อาจต้องศึกษานอกเวลาเรียน  แล้วครูผู้สอนกำหนดวันที่จะให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำผลการศึกษานำเสนอให้เพื่อนกลุ่มอื่น ๆ ในชั้นฟังพร้อมทั้งสื่อของจริงที่ได้จากการศึกษาทดลองมาแสดงให้เพื่อชมด้วย  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบนี้นักเรียนแต่ละกลุ่มจะมีความรู้  ความเข้าใจในหัวข้อที่กลุ่มเลือกศึกษาอย่างถ่องแท้  ฝึกการใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์  และการทำงานเป็นกลุ่มได้เป็นอย่างดี

Student  Teams Acheivement Divistion ; STAD  และ Team Assisted Invididualization ; TAI  จากการศึกษาพบว่า  การเรียนทั้ง  2  แบบนี้  หน้าที่ ของนักเรียนไม่ใช่การทำงานกลุ่มเท่านั้น  แต่ต้องเรียนเป็นกลุ่มด้วย และเหมาะกับจุดประสงค์การเรียนรู้ ที่ต้องการสอนข้อเท็จจริง แต่งทั้ง  2 แบบต่างกันที่  STAD  ศึกษาร่วมกันทั้งกลุ่มแต่แบ่งหน้าที่กันและเวียนหน้ากัน  แต่ TAI แต่ละคู่ในกลุ่มช่วยกันศึกษา  แล้วนำคะแนนสอบของแต่ละคนมาเป็นคะแนนกลุ่ม

Pair  Check  จากการศึกษาพบว่าเหมาะกับเนื้อหาที่มีลักษณะของการแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาโจทย์หรือการคำนวณเพื่อหาคำตอบ

Categorizing  เป็นโครงสร้างของการเรียนแบบร่วมมือที่ช่วยฝึกทักษะการคิดจากการศึกษาพบว่า เหมาะสำหรับใช้ในขั้นนำสู่บทเรียน  โดยสร้างสถานการณ์ให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มช่วยกันจำแนกหรือจัดประเภทสิ่งที่กำหนดให้  โดยต้องให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจดังกล่าวด้วย

Teammates  Consult  เป็นโครงสร้างของการเรียนแบบร่วมมือที่ช่วยฝึกทักษะการคิด  เหมาะสำหรับใช้ในการให้นักเรียนทำแบบฝึกร่วมกัน

นอกจากการเรียนแบบร่วมมือโครงสร้างต่าง ๆ แล้วกาตั้งคำถามในแบบฝึกยังช่วยในการ

กระตุ้นให้นักเรียนฝึกทักษะการคิดร่วมกันได้ดี  เช่น  การตั้งคำถามตามแนวของบลูม (Blooming  Worksheets) โดยตั้งคำถามตามลำดับ  และเลือกใช้คำถามให้เหมาะในแต่ละขั้น  การวัดความรู้  ใช้คำว่า  ให้คำจำกัดความ  วัดความเข้าใจใช้คำว่า  ให้อธิบาย  เปรียบเทียบ  วัดการนำไปใช้  ใช้คำว่าประยุกต์  จำแนก  แก้ปัญหา  การวิเคราะห์  ใช้คำว่า  เชื่อมความคิดหรือรายละเอียดเข้าด้วยกัน  ออกแบบและการประเมินผล  ใช้คำว่าให้ข้อสรุป  ตัดสิน  วิจารณ์เป็นต้น 

                2.   การเรียนแบบโครงงาน 

การเรียนรู้แบบโครงงาน  ( สกศ,2550 : 2-7 )  เป็นการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงหลักการพัฒนา   การคิดของบลูม (Bloom) ทั้ง 6 ขั้น กล่าวคือ  ความรู้ความจำ (Knowledge)  ความเข้าใจ (Comprehension)   การนำไปใช้ (Application)   การวิเคราะห์ (Analysis)  การสังเคราะห์ (Synthesis)  การประเมินค่า (Evaluation)   และยังเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในทุกขั้นตอนของการเรียนรู้  ตั้งแต่การวางแผนการเรียนรู้  การออกแบบการเรียนรู้  การสร้างสรรค์ประยุกต์ใช้ผลผลิต และการประเมินผลงาน โดยผู้สอนมีบทบาทเป็นผู้จัดการเรียนรู้

 

      

กระบวนการของกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน

กระบวนการแบ่งเป็น 3 ระยะใหญ่ๆ ด้วยกันคือ

ระยะที่ 1  การเริ่มต้นโครงงาน  เป็นระยะที่ผู้สอนต้องสังเกต/สร้างความสนใจให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน จากนั้นตกลงร่วมกัน เลือกเรื่องที่ต้องการศึกษาอย่างละเอียด ผู้สอนสร้างความสนใจให้เกิดกับผู้เรียนซึ่งมีหลายวิธี โดยอาจศึกษาเรื่องจากการบอกเล่าของผู้ใหญ่หรือผู้รู้ จากประสบการณ์ของผู้เรียน/ผู้สอน จากเอกสารสิ่งพิมพ์ หรือสื่อต่างๆ จากการเล่นของผู้เรียน จากความคิดที่เกิดขึ้น จากวัตถุสิ่งของที่ผู้สอนนำมาในห้องเรียน หรือจากตัวอย่างโครงงานที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว เป็นต้น เมื่อเกิดความสนใจแล้วก็จะถึงการกำหนดหัวข้อโครงงาน โดยนำเรื่องที่ผู้เรียนสนใจมาอภิปรายร่วมกัน แล้วกำหนดเรื่องนั้นเป็นหัวข้อโครงงาน ทั้งนี้จะต้องคำนึงว่าการกำหนดหัวข้อโครงงานนั้นจะกระทำหลังจากการตรวจสอบสมมติฐานเสร็จสิ้นแล้ว

ระยะที่ 2   ขั้นพัฒนาโครงงาน   เป็นขั้นที่ผู้เรียนกำหนดหัวข้อคำถาม หรือประเด็นปัญหา ที่ผู้เรียนสนใจอยากรู้ แล้วตั้งสมมติฐานมาตอบคำถามเหล่านั้น ทดสอบสมมติฐานด้วยการลงมือปฏิบัติ จนค้นพบคำตอบด้วยตนเอง ตามขั้นตอนดังนี้

1   ผู้เรียนกำหนดปัญหาที่จะศึกษา

2   ผู้เรียนตั้

หมายเลขบันทึก: 249898เขียนเมื่อ 21 มีนาคม 2009 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท