รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เร่งทุกฝ่ายร่วมดูแลสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการและครอบครัว 4.5 ล้านคน เพิ่มประสิทธิภาพระบบการจัดการ ลดการรั่วไหล นำงบประมาณที่ประหยัดได้เพิ่มสิทธิรักษาพยาบาลช่วยข้าราชการและครอบครัวให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น


ขอความร่วมมือทุกฝ่ายดูแลระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยและโรงพยาบาลให้มากที่สุด

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดการประชุมชี้แจงผู้บริหารโรงพยาบาลของรัฐทั้งประเทศ เน้นนโยบาย
การเบิกจ่ายค่ารักษาตามระบบ 
DRG ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด และขอความร่วมมือทุกฝ่ายดูแลระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล
เพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยและโรงพยาบาลให้มากที่สุด

                นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง  เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมชี้แจงผู้บริหารโรงพยาบาลของรัฐ  ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพฯ วันที่ 19 มกราคม 2552 เวลา 09.30 น. ว่า  ปัจจุบันการจัดสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลของรัฐ ครอบคลุมกลุ่มประชากรมากที่สุดถึงกว่า 4.5 ล้านคน ทั้งข้าราชการ ลูกจ้างประจำ  ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว  ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดให้บุคคลมีความต้องการที่จะเข้าทำงานในรัฐมากยิ่งขึ้น  เพราะรัฐจะดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตั้งแต่เข้ารับราชการจนออกจากราชการและจนวาระสุดท้าย และยังดูแลรวมไปถึงบุคคล
ในครอบครัวด้วยเช่นกัน  จึงทำให้กระทรวงการคลัง โดยกรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยงานกลางที่กำกับดูแลสวัสดิการ
ด้านต่างๆ ให้กับข้าราชการ ต้องพัฒนาระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตอบสนอง
ความ
ต้องการของผู้ป่วย และที่สำคัญต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับเงินภาษีอากรของประชาชนที่นำมาใช้
ซึ่งปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ได้ขอตั้งงบประมาณ 63,000 ล้านบาท  แต่สภาปรับลดลงเหลือ 48,500 ล้านบาทเท่านั้น  และจนถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2551 ได้มีการเบิกจ่ายไปแล้ว 16,889 ล้านบาท ซึ่งต้องบริหารงบนี้เพียงพอหรืออาจจะมากกว่าเล็กน้อย

นายพฤฒิชัย ดำรงรัตน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การพัฒนาระบบสวัสดิการรักษาพยาบาล กรมบัญชีกลางได้มีการดำเนินการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2545  เป็นต้นมา โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 นี้ กระทรวงการคลังมีนโยบาย
ที่จะควบคุมค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อรัฐจะได้นำงบประมาณในส่วนที่ประหยัดได้ไปเพิ่ม
สิทธิประโยชน์ด้านการรักษาพยาบาลให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น  มีการดำเนินการตรวจสอบด้านการรักษาพยาบาลทั้งในส่วนของโรงพยาบาล และผู้ป่วย เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาการทุจริต รวมทั้งการพัฒนาระบบ
DRG ของผู้ป่วยใน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ป่วย  ทำให้เกิดความโปร่งใส  และเป็นมาตรฐานในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ระหว่างโรงพยาบาลกับกรมบัญชีกลาง การปรับปรุงอัตราฐาน (Base Rate) ใหม่  ตามระบบ DRG  จะจัดกลุ่มสถานพยาบาล
ที่มีอัตราค่ารักษาที่ใกล้เคียงกันก็ให้ใช้อัตราเดียว  ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงค่ารักษาพยาบาลที่เหมาะสมและคิดค่ารักษาพยาบาลใกล้เคียงความเป็นจริงและเหมาะสมมากที่สุด  ซึ่งได้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552   เป็นต้นมา  จึงมีความจำเป็นต้องเชิญผู้บริหารโรงพยาบาลของรัฐมาประชุมเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน  และร่วมมือกันดูแลระบบสวัสดิการให้ดี   ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องตามหลักทางการแพทย์  และโรงพยาบาลมีการใช้จ่ายยาอย่างสมเหตุสมผล 

ทั้งนี้  “มีความมุ่งหวังว่าจะผลักดันให้มีการพัฒนาระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลสำหรับข้าราชการและลูกจ้างประจำ
ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  เพื่อให้ข้าราชการและครอบครัวชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และส่งเสริมให้มีสุขภาพพลานามัยที่ดีสมบูรณ์และแข็งแรง และจะช่วยบรรเทาปัญหาในเรื่องรายได้ ค่าครองชีพด้านสุขภาพในสภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันให้มากที่สุด”  รมช
.คลังกล่าว

หมายเลขบันทึก: 249733เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2009 13:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2012 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ทำไม่ทางรัฐต้องมีขีดจำกัดในการเบิกจ่ายของภรรยาด้วยค่ะ คือสามีเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจค่ะ แต่ว่าตัวดิฉันเองไม่ได้ทำงาน แต่ส่งประกันสังคม มาตรา 39 (ส่งตนเอง )เืดือนละ432 บาท โดยเป็นเงินส่วนตัว แต่ปัจจุบันท้องอยู่ แต่ทราบมาว่า สามารถใช้สิทธิ์ไ้ด้ทีล่ะอย่าง คือต้องเบิกได้จากประกันสังคมก่อน โดยไม่สามารถเบิกจากสวัสดิการของสามีได้ ซึึ่งเป็นกฏของกรมบัญชีกลาง ซึ่งเราก็รู้สึกว่า ก็เราเสียเงินส่วนตัวส่งประกันสังคมแล้ว แทนที่เราจะได้ทั้งสองอย่าง แต่ได้เพีองสิทธิ์เดียว

อย่างนี้ดิฉันว่า ดิฉันไม่ส่งประกันสังคมดีกว่า เพราะปกติเราก็ใช้สิทธิ์่ของสามีก็ได้ ทำไมต้องเสียเงินให้รัฐสองต่อด้วย จิงมั้ยค่ะ

ครอบครัวข้าราชการเดือดร้อน /รัฐบาลชุดนี้ว่าจะปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาลให้ดียิ่งขึ้นพวกเราข้าราชการและครอบครัวก็มีรายได้น้อยอยู่แล้วจึงต้องให้ครอบครัวออกไปหางานทำในบริษัทอีกทางหนึ่งเพื่อช่วยเหลือข้าครองชีพซึ่งไม่พอจะกินแต่ เมื่อเกิดการเจ็บป่วยแทนที่จะไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่มอีกจำนวนมากซึ่งก็เป็นตรงกันข้ามก็เพราะการออกกฎระเบียบของนักวิชาการซึ่งไม่ได้ดูความจริงเลยคิดแต่ทฤษฎีอย่างเดียวกล่าวคือ ในกรณึครอบครัวของข้าราชการทำงานในบริษัทแล้วต้องส่งเงินประกันสังคมเมื่อป่วยเจ็บก็ให้ใช้สิทธิของประกันสังคมห้ามไม่ให้ใช้สิทธิของครอบครัวซึ่งเป็นการบังคับให้ใช้สิทธิที่ตำกว่า(ยาประกันสังคมให้ยาเฉพาะบัญชียาหลักรวมทั้งสิทธิอื่นๆเช่น ค่าห้องในกรณีคนใข้ในค่าห้องก็ได้ต่ำกว่าและประกันสังคมก็เลือกได้แค่ รพ.เดียวซึ่งบางครั้งรักษาไม่หายก็ไม่มีทางเลือกไปรักษาพยาบาลที่ รพ.ที่มีขีดความสามารถที่สูงกว่าได้เลย/รอความตายอย่างเดียวหรือไม่ก็ต้องหากู้เงินไปรับการรักษาเอง) ส่วนเกินต้องจ่ายเงินเอง แต่ถ้าหากใช้สิทธิของครอบครัวข้าราชการสามารถเบิกได้ทุกกรณี

ดังนั้นขอให้ทบทวนกฎระเบียบดังกล่าวเป็นกรณีเร่งด่วนด้วยครับโดยขอให้ข้าราชการหรือครอบครัวสามารถที่จะเลือกใช้สิทธิได้ปัจุบันครอบครัวข้าราชการเดือดร้อนมาก

ผมเป็นข้าราชการ มีรายได้น้อย ไม่พอจุนเจือครอบครัว ต้องไปทำงาน Part time เพื่อมาจุนเจือให้ครอบครัวอยู่รอด แต่ถูกหักประกันสังคม ทั้งที่ในระเบียบ บอกข้าราชการเป็นบุคคล ต้องยกเว้น แต่ ประกันสังคมบอกว่า เป็นนอกเวลางาน ราชการ และต้องทำงานนอกเวลา ต้องตัดเงินเข้าประกันสังคมเผื่อมีอุบัติเหตุระหว่างงาน ผมก็สงสัยว่า ตัวสิทธิการรักษาพยาบาลของผมเอง ไม่ได้เป็นข้าราชการ ตลอด 24 ชม.เหรอ

ถูกตัดเงินมาหลายปี แล้วครับ ใช้สิทธิ์ ข้าราชการก็ไม่ได้ ต้องเบิกจ่ายประกันสังคม ตลอด

อย่ามาบอกว่า สิทธิประกันสังคม ครอบคลุม นะครับ ยาบางชนิด กลุ่มเดี่ยวกัน ตัวเดียวกัน ทาง รพ. ต้องลดภาระตนเอง โดยการใช้ยา ตัวแทนที่ราคาถูกกว่า จ่ายให้ ซึ่งคุณภาพ การออกฤทธิ์ บางอย่าง อาจเสียไป เช่น ถ้าเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ตัว LDL สูงมากกว่า 200 ทั้งที่ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย หมอให้ยา Simvastatin มาทานก็ไม่มีทางลงได้ หรอกครับ หมอเฉพาะทาง บอกว่า ต้องทานยาอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นยานอกบัญชียาหลัก ต้องเสียเงินซื้อเอง จบ ซึ่งทำให้การรักษาโรคไม่เป็นไปตาม มาตรฐานที่ควรเป็น ผมก็มีโอกาสเป็นโรคทางหลอดเลือดได้ ใครรับผิดชอบ ซึ่งถ้าผมใช้สิทธิข้าราชการ ผมก็มีสิทธิที่จะได้ยาเหล่านั้น ซึ่งมาตรฐานดีกว่า

พวกท่านได้สิทธิข้าราชการ ไม่ต้องมาอ้างว่า ยาเหมือนกันนะครับ ลองท่านป่วยแล้วถูกรักษาให้ยา แบบประกันสังคม ท่านจะรู้สึกอย่างไร

ผมงง กับระเบียบ ของพวกท่าน ออกมา โดยไม่ศึกษาข้อมูล หรือศึกษาแล้ว ไม่รอบคอบ ทำให้มารินรอนสิทธิ ของผม ให้ลดลง ไม่รู้ท่านได้แก้กันหรือยัง ช่วยแจ้ง ให้ทราบด้วยครับ

อยากทราบค่ะว่าระบบ DRG นั้นเราจะสามารถทราบได้อย่างไรคะว่าจะมีรพ.ใดบ้างที่ทำข้อตกลงกับกรมบัญชีกลาง ขอคำตอบด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ฝ่ายประชาสัมพันธ์

ขอตอบคุณ กมลภัส ก่อนครับ ตามกฎหมาย

บุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลสำหรับตนเองและบุคคลในครอบครัวของตนตามพระราช

กฤษฎีกานี้

(1) ข้าราชการและลูกจ้าง ประจำซึ่งได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างประจำจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือนและค่าจ้างประจำของกระทรวง ทบวง กรม

(2) ลูกจ้างชาวต่างประเทศซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้างที่ได้รับค่าจ้างจากเงินงบประมาณรายจ่ายและสัญญาจ้างนั้นมิได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้

(3) ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญพิเศษเหตุทุพพลภาพตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด

บุคคลในครอบครัว” หมายความว่า

(1) บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดาหรือมารดาซึ่งเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล แต่ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม หรือบุตรซึ่งได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นแล้ว

(2) คู่สมรสของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล

(3) บิดาหรือมารดาของผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล

กรณีคุณกมลภัส และสามี น่าจะไม่เข้าข่ายตาม กฏหมายฉบับนี้ เนื่องจากสามี เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ และคุณกมลภัส เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายประกันสังคัม ดังนั้น การกำหนดสิทธิประโยชน์ น่าจะขึ้นอยู่กับ รัฐวิสาหกิจ ที่สามีปฏิบัติงานอยู่ ครับ

ขอบคุณที่ให้ความสนใจข่าวประชาสัมพันธ์ของกรมบัญชีกลาง ผ่านทางเว็บไซด์นี้ ครับ

ตอบความเห็นในกรณีข้อร้องเรียนที่ 2 (คุณสอน แสงดี) และกรณีที่ 3 เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้าราชการหรือบุคคลในครอบครัวมีสิทธิรักษาพยาบาลอื่นนอกจากสิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการ ซึ่งพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 9 บัญญัติว่า “ในกรณีที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ หรือบุคคลในครอบครัวของผู้นั้นมีสิทธิหรือได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยงานอื่นแล้ว ผู้นั้นไม่มีสิทธิ ได้รับเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับนั้น ต่ำกว่าเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลที่มีสิทธิจะได้รับตามพระราชกฤษฎีกานี้ ก็ให้มีสิทธิได้รับ เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเฉพาะส่วนที่ขาดอยู่” ซึ่งเป็นหลักการให้ความช่วยเหลือ ค่ารักษาพยาบาลที่มีเงื่อนไขมิให้มีการใช้สิทธิเบิกเงินสวัสดิการซ้ำซ้อนกับสิทธิตามกฎหมายอื่นที่มีลักษณะ แห่งสิทธิเช่นเดียวกัน และการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการจะต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายข้างต้น ดังนั้น ในกรณีข้อร้องเรียนที่ 2 ซึ่งเป็นกรณีที่บุคคลในครอบครัวของข้าราชการมีสิทธิรักษาพยาบาลจากประกันสังคม ในการเบิกค่ารักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวจะต้องเข้ารับ การรักษาที่โรงพยาบาลตามหน้าบัตรประกันสังคมที่เลือกไว้ และหากมีส่วนที่ต่ำกว่าสิทธิที่ทางราชการกำหนดไว้จะสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการได้เฉพาะส่วนที่ขาดอยู่จากสิทธิเท่านั้น ไม่สามารถเลือกใช้สิทธิในการรักษาพยาบาลได้ อย่างไรก็ตามสำหรับข้าราชการที่ทำงานพิเศษ แล้วมีสิทธิประกันสังคมนั้น เนื่องจากกรมบัญชีกลางมีการยกร่างพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553 โดยจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ได้วางหลักการในเรื่องนี้ไว้ว่า ให้ข้าราชการที่มีสิทธิประกันสังคมสามารถเลือกว่าจะใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลจากทางราชการหรือจากประกันสังคม โดยหากเลือกใช้สิทธิประกันสังคมแล้ว ย่อมไม่สามารถใช้สิทธิสวัสดิการข้าราชการได้ ทั้งนี้ บทบัญญัตินี้จะมีผลใช้บังคับประมาณ ต้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป

2. ในกรณีข้อร้องเรียนที่ 1 (รายคุณกมลภัส ยอดดี) เป็นการหารือเกี่ยวกับการเบิกจ่าย เงินสวัสดิการรักษาพยาบาลของพนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งกรณีดังกล่าวมิได้อยู่ในความรับผิดชอบ ของกรมบัญชีกลาง

3. ในกรณีข้อที่ 4 โรงพยาบาลของทางราชการที่มีการให้บริการรักษาประเภทผู้ป่วยภายในทุกแห่งเข้าร่วมโครงการเบิกจ่ายตรงด้วยระบบ DRGS กับกรมบัญชีกลาง

จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

ข้าราชการ กทม./ อยากทราบว่าเดี๋ยวนี้สวัสดิการการเบิกจ่ายยาทำไมถึงได้ด้อยลง ทั้งที่รัฐบาลชุดนี้ว่าจะปรับปรุงเกี่ยวกับสิทธิการรักษาพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น แต่กลับกลายเป็นว่า ยาตัวนั้นก็เบิกไม่ได้ ตัวนี้ก็เบิกไม่ได้ อย่างเช่น เคยทานยาบางตัวที่จ่ายอยู่ประจำ ก็เปลี่ยนเป็นจ่ายยาที่อยู่ในกลุ่มเดี่ยวกัน ตัวเดียวกัน ทาง รพ. ต้องลดภาระตนเอง โดยการใช้ยา ตัวแทนที่ราคาถูกกว่า จ่ายให้ ซึ่งคุณภาพ การออกฤทธิ์ บางอย่างก็อาจไม่เท่ าเทียมกัน ไม่ทราบว่ารัฐบาลมัวแต่ห่วงความเป็นอยู่และมุ่งให้สวัสดิการแก่ประชาชนทั่วไป แล้วทำไมไม่มองถึงบุคลากรของรัฐที่อยู่ในความดูแลของท่าน ๆ บ้าง เอาแต่ใช้งานแต่สวัสดิการรักษาพยาบาลกลับลดน้อยถอยลง แทนที่จะเพิ่มสวัสดิการการรักษาพยาบาลให้เป็นไปในทางที่ดีขี้น เอาแต่หักสวัสดิการของข้าราชการ แล้วอีกหน่อยท่านจะเอาบุคลากรที่ไหนมาปฏิบัติงาน เพราะทุกท่านที่รับราชการก็หวังกับสวัสดิการที่มีอยู่ ลำพังเงินเดือนไม่พอยาไส้ แล้วยังจะตัดโน่นตัดนี่เสียจนจะไม่เหลือสวัสดิการอะไรที่มันพอจะจูงใจให้คนสอบเข้ารับราชการ ทั้ง ๆ ที่สอบเข้าก็ยาก แถมเงินเดือนก็น้อย มาถึงทุกวันนี้ก็ประกาศเพิ่มเงินเดือนผู้สอบเข้ารับราชการใหม่เพื่อจูงใจ แต่ไม่นึกถึงข้าราชการรุ่นเก่า ๆ ที่เงินเดือนสตาร์ทแต่น้อย กว่าจะชนหมื่นก็ปาเข้าไปเป็นเกือบยี่สิบปี แล้วยังมาจำกัดตัดสิทธิสวัสดิการในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ออกระเบียบมาว่า ยาตัวโน้นก็ต้องจ่ายเอง ตัวนี้ก็ต้องจ่ายเอง เพราะถือว่าเป็นยานอกบัญชีหลัก แล้วจะรับราชการไปทำไม อีกหน่อยข้าราชการก็คงต้องไปใช้บัตรสามสิบบาทแทน ไม่ต้องหวังพึ่งสวัสดิการไว้เบิกจ่ายรักษาพ่อแม่ ยามเจ็บป่วยแล้ว ทุกวันนี้ที่ต้องรับราชการก็เนื่องจากหวังกับสวัสดิการที่ใช้ในบั้นปลายยามเกษียณอายุ ในเมื่อรัฐบาลชุดนี้ช่วยอะไรข้าราชการไม่ได้มาก วอนขออย่าพยายามตัดสวัสดิการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายยารักษาพยาบาลอีกเลย เพราะตอนนี้ยาที่ใช้กันอยู่ก็แทบจะต้องจ่ายเองเกือบทุกตัวแล้;

ถ้าพ่อรับบำนาญพนักงานรัฐวิสาหกิจ แต่จะใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงของลูกเป็นข้าราชการได้ไหมค่ะ

รบกวนสอบถามว่า ดิฉันเป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น สามีใช้สิทธิของดิฉันในการเบิกค่ารักษาพยาบาล แล้วอย่างนี้มีสิทธิเข้าโครงการฯนี้หรือปล่าวคะ (อยากเข้าผ่าตัดกับโรงพยาบาลเอกชนที่ร่วมโครงการไปโรงพยาบาลรัฐแล้วรอคิวนานมาก)

ตอบ คุณสุภิการ์ บุคคลที่มีสิทธิ์ได้รับการช่วยเหลือเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามพระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการ เกี่ยวกับการรักษาพยาบาบ พ.ศ. 2553 ได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ และบุคคลในครอบครัว กรณีคุณสุภิการ์เป็นพนักงานส่วนท้องถิ่น ซึ่งขึ้นอยู่กับกระทรวงมหาดไทย คาดว่าน่าจะมีระเบียบหรือข้อบังคับ เกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของตัวเอง ดังนั้นคุณสุภิการ์สอบถามไปที่ต้นสังกัดจะได้คำตอบที่ชัดเจน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท