พุทธธรรมออนไลน์(2) : พุทธธรรมกับชีวิต


  • ถึงแม้ผมจะเห็นว่า "พุทธธรรม" มีความสำคัญต่อ "ชีวิต" อย่างยิ่ง แต่จนถึงวันนี้ผมก็ไม่สามารถหาคำอธิบายที่ดีที่สุดที่จะทำให้คนรอบข้าง โดยเฉพาะลูกศิษย์ เห็นเช่นนั้นได้หมด
  • ในการสอนแทบทุกครั้งผมก็จะหาและทดลองวิธีการนำเสนอ "พุทธธรรม" ในรูปแบบต่าง ๆ คล้าย ๆ เป็นการจัดการความรู้ และเมื่อพบผู้รู้ทั้งหลาย ผมก็จะขอคำแนะนำจากท่านผู้รู้เหล่านั้นตามวาระและโอกาสที่มี รวมทั้งการศึกษาจากงานเขียนของท่านผู้รู้ต่าง ๆ ด้วย จึงขอองค์ความรู้เท่าที่ทราบบางส่วนนำมาสรุปเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดังนี้ครับ

 

"ใบไม้ในกำมือ"

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงถือใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วยฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุ ทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบ ประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่เราถือด้วยฝ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน? ภิกษุทั้งหลายกราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระผู้มีพระภาคทรงถือด้วยฝ่าพระหัตถ์มี ประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.

พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอทั้งหลายมีมาก ก็เพราะเหตุไรเราจึงไม่บอก เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก.

[๑๗๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอกแล้วว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็เพราะเหตุไรเราจึงบอก เพราะสิ่งนั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็น พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา. จบ สูตรที่ ๑

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๐๓๗๘ - ๑๐๓๙๒. หน้าที่ ๔๓๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=10378&Z=10392&pagebreak=0

 

 

ท่านอาจารย์คนไร้กรอบกล่าวไว้ประมาณว่า

           ... ถ้า "สมมติ" คือการดำเนินชีวิตทางโลก และให้ "วิมุติ" คือ การดำเนินชีวิตทางธรรม
... มีคนไม่น้อยที่เข้าใจผิดว่า ต้องเลือกเดินทางใดทางหนึ่ง เหมือนตาชั่งที่วาง สมมติ กับ วิมุติ เอาไว้คนละข้าง กล่าวคือ ถ้าด้านหนึ่งหนักอีกด้านจะเบาไปทำนองนั้น
... แต่จริง ๆ แล้ว ท่านเสนอว่า ให้เอาวิมุติไว้ข้างในและเอาสมมติไว้ข้างนอก คือ พัฒนาไปพร้อม ๆ กัน เสริมซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ให้ดำเนินชีวิตทางโลกอย่างดีที่สุดตามที่ควรจะเป็นได้ ทั้งนี้ก็พัฒนาจิตใจของตัวเองอย่างดีที่สุดไปด้วยเช่นกัน ประมาณนั้นครับ (หาหนังสือเล่มแดงที่อาจารย์เขาเขียนเอาไว้ไม่พบครับ เลยเขียนออกมาจากความจำได้หมายรู้ครับ ผิดตกอย่างไรต้องขออภัยท่านด้วยครับ)

 

 

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #พุทธธรรม
หมายเลขบันทึก: 249705เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2009 11:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท