พุทธธรรมออนไลน์(1) : มิติที่ 4


ผมคิดว่า งานหลาย ๆ งานหากให้ความสนใจนำมิติที่ 4 หรือมิติแห่งกาลเวลาเข้ามาบูรณาการด้วยก็จะทำให้งานนั้น ๆ น่าสนใจมากยิ่งขึ้นครับ...
  • หลายวันก่อนได้สุนทรียสนทนากับท่านอาจารย์ที่เคยเรียนกับท่านตอนปริญญาตรี ท่านสอนทางด้านคอมพิวเตอร์และมีความสนใจศึกษาพุทธธรรมมานานแล้ว
  • ในการเสวนาครั้งนั้นเราพบข้อสังเกตุที่น่าสนใจมากประเด็นหนึ่งคือ
    ...พวกเราหรือนักคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมุ่งศึกษาศาสตร์ปัจจุบันและอนาคตเป็นหลัก พวกเราไม่ค่อยหันกลับมามองหรือให้ความสำคัญกับประวัติศาสตร์มากนัก เพราะธรรมชาติของเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ใช้ความรู้จากอดีตน้อยมาก ยกตัวอย่างเช่น แผ่นดิสก์เก็ตที่ใช้เก็บข้อมูลในอดีตกับเทคโนโลยี Handy Drive ในปัจจุบันแทบจะแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในระยะเวลาเพียงไม่กี่ปี ทำให้นักคอมพิวเตอร์ทั้งหลายให้ความสำคัญกับอดีตน้อยมาก หรือจะเรียกได้ว่าแทบจะไม่ให้ความสำคัญกับอดีตเลย...ยิ่งผู้เรียนรุ่นใหม่ที่มีประสบการณ์ชีวิตน้อยเกิดมาในยุคโลกาภิวัฒน์ เกิดมาในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง ถ้าครอบครัว โรงเรียน หลักสูตรที่เรียน หรือประสบการณ์ชีวิตไม่นำพาให้เขาเห็นประโยชน์ของประวัติศาสตร์แล้ว นอกจากเขาจะไม่หันไปมองภูมิปัญญาในอดีตแล้วเขาอาจจะดูหมิ่นดูแคลนภูมิปัญญาในอดีตได้ง่าย ๆ เพราะความไม่รู้ ?...
  • จากเหตุปัจจัยบางประการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น เป็นเหตุให้นักคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะมีจุดอ่อนคือ ชอบคิดใหม่ทำใหม่ในแทบจะทุก ๆ เรื่อง โดยลืมหันกลับมามองว่าในอดีตมีใครเขาคิดและทำอย่างไรมาบ้างแล้ว บางทีกว่าจะหันกลับมามองมันก็เสียเวลาไปไม่น้อยแล้ว 
  • ----------------------------------------
  • ผมคิดว่า งานหลาย ๆ งานหากให้ความสนใจนำมิติที่ 4 หรือมิติแห่งกาลเวลาเข้ามาบูรณาการด้วยก็จะทำให้งานนั้น ๆ น่าสนใจมากยิ่งขึ้นครับ... 
หมายเลขบันทึก: 249695เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2009 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 14:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท