เงิน 10 บาท


Forward Mail

 

เงินสิบบาท ... อ่านแล้ว ชวนให้คิดค่ะ

ถ้าเรามีเงินอยู่ 10 บาท ซื้อของ 3 บาท จะได้รับเงินทอนเท่าไร?

ครูคนหนึ่งตั้งคำถามกับเด็กว่า 'ถ้ามีเงินอยู่ 10 บาท ซื้อของ 3 บาท จะได้รับเงินทอนเท่าไร' เด็กส่วนใหญ่ตอบว่า '7 บาท'

... แต่มีเด็ก 2 คนที่ตอบไม่เหมือนกับคนอื่น คนหนึ่งตอบว่า '2 บาท' อีกคนหนึ่งตอบว่า 'ไม่ต้องทอน'

ครูถามเด็กคนแรกว่า "ทำไมถึงได้เงินทอน 2 บาท"

คำตอบที่ได้ก็คือภาพในใจของเขาสำหรับเงิน 10 บาท คือ เหรียญห้า 2 เหรียญ เมื่อซื้อของราคา 3 บาท เขาก็ให้เหรียญห้า 1 เหรียญ ดังนั้น จึงได้เงินทอน 2 บาท

ถามเด็กคนที่สองว่าทำไมไม่เหลือเงินทอนเลย

คำตอบก็คือเด็กคนนี้คิดว่าในกระเป๋ามีเหรียญบาท 10 เหรียญ เมื่อซื้อของราคา 3 บาท เขาก็ส่งเหรียญบาทให้ 3 เหรียญ เพราะฉะนั้น คนขายจึงไม่ต้องทอนเงินให้เขา

โชคดีที่เป็นการถาม-ตอบในห้องเรียน
... ลองนึกดูสิครับว่าถ้าโจทย์นี้เป็นข้อสอบที่มีคำตอบเป็น ก-ข-ค-ง
... เด็ก 2 คนนี้ก็คงไม่ได้คะแนนจากคำตอบที่ผิดเพี้ยนจากคนส่วนใหญ่

การสร้างโจทย์ที่ 'เสมือนจริง' จินตนาการของ 'ครู' อาจถูกจำกัดเพียงแค่ 'ตัวเลข'
... แต่สำหรับเด็ก จินตนาการของเขาไร้กรอบ 10 บาท
... จึงสามารถเปลี่ยนเป็นเหรียญสิบ เหรียญห้า หรือเหรียญบาท

เมืองไทยมีเหรียญ 2 บาท เราจึงได้คำตอบเพิ่มอีก 1 คำตอบ คือ ได้เงินทอน 1 บาท

โลกในห้องเรียนกับโลกของความเป็นจริงนั้นแตกต่างกัน โลกในห้องเรียน ทุกคำถามส่วนใหญ่มีเพียง 1 คำตอบ แต่โลกของความเป็นจริง ทุกคำถามอาจมีคำตอบที่ถูกต้องได้เกิน 1 คำตอบ

'อย่ารีบตัดสินความผิดถูกของคนๆ นั้น เพียงแค่ คำตอบ ของเรา'

'อย่าหยุดความคิดสร้างสรรของคนๆ นั้น ด้วยกรอบความคิดของเรา'

 

คำสำคัญ (Tags): #forward mail
หมายเลขบันทึก: 249330เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2009 16:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มาอ่านแล้วคิดตามอีกค่ะ คงมีอีกหลายคำตอบ แต่สิ่งนี้ได้สะท้อนให้เห็นว่า ถ้ามีคำตอบเป็นตัวเลือก ก ข ค ง  ให้ นั่นคือ เราคิด ลบ มากกว่า คิด บวก ตั้ง สามข้อ การถามแบบให้คิด และบอกเหตุผล เปิดโอกาสการเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด และเกิดการมองในมุมต่างๆ ที่น่าตื่นเต้นนะคะ

คิดถึงคุณหมอนนค่ะ ย้ายไปอยู่เชียงใหม่กันไหมคะ

  • P
  • อยากไปสิ อยู่เชียงใหม่ เพื่อนคงเต็มบ้านไปเลย
  • นั่นละ คือ ข้อดีของ ตจว. ละนะ
  • เต็มที่กับชีวิต นะคะ

สวัสดีค่ะคุณหมอ

เป็นบทความและข้อคิดที่ดีมากเลยค่ะ

  • P
  • สวัสดีค่ะ ยินดีที่ได้รู้จักนะคะ
  • เด็กๆ คิดนอกกรอบเกินกว่าที่เราคิดค่ะ
  • ถ้าเราไปหมั่นคุยกับเด็ก  เราจะไม่รู้ทันความคิดเขาค่ะ
  • เล่าให้ฟังเรื่องนะหมอนน  เคยเล่นเกมลากเส้นเข้าเขาวงกตมั๊ยคะ 
  • ที่โจทย์บอกว่า  ให้หาทางเข้าไปหยิบสมบัติในห้อง  ผู้ใหญ่จะหาทางที่สั้นทีสุดเข้าไปหยิบสมบัติ  แต่เด็กๆ ไม่คิดแบบนั้น 
  • ตอนป้องเด็กๆ เขาชอบเล่นเกมนี้มาก  มีอยู่หนหนึ่งเขาลากเส้นดินสอเข้าไปทุกเส้นทางในนั้น จนถึงปลายทาง  แล้วมาอวดเราด้วยความภูมิใจ  ตอนนั้นเราได้เรียนรู้จากลูกหลายข้อ คือ 
  • หนึ่ง  การไปถึงที่หมายไม่มีทางเดียว  สอง การเดินทางคือการเรียนรู้ ยิ่งผ่านเส้นทางยาวไกลยิ่งเรียนรู้  สาม เด็กๆ มักทำในสิ่งที่ผู้ใหญ่ไม่ทำ  และ สี่  พอเราโตเป็นผู้ใหญ่  เราก็จะลืมทำในสิ่งที่เราเคยทำ
  • เราเก็บกระดาษแผ่นนั้นของลูกไว้  ตอนเรียนที่ครุศาสตร์ เอาไปนำเสนอในการ Present  Paper ตอนนี้หากระดาษแผ่นนั้นไม่เจอเสียดายจัง
  • พออ่านเรื่องที่หมอนนเล่า  ทำให้คิดถึงเรื่องนี้ขึ้นมา  ถ้าหาเจอจะเอามาให้ดู
  • คิดถึงค่ะ

 

  • P
  • ฮื่อ ผู้ใหญ่น่ะ อยู่ในวังวนของการคิดในกรอบ ต้องตอบคำถามตามโจทย์ที่ตั้งไว้ แบบประหยัด และตรงประเด็น
  • เราก็คงค่อยๆ ถูกตีกรอบนะ เราว่า
  • ... ไม่เห็นเล่าเรื่องวันสงกรานต์ ให้ฟังบ้างเลย คงได้ทำอะไรสนุก สนุก มั่งหรือเปล่า
  • เราว่า เจอกันทาง G2K นี่ละ สุดยอดแล้ว บางครั้งเจอกัน คุยกันก็ยังสู้ไม่ได้นิ
  • สงกรานต์ปีนี้เหรอ
  • ติดตามข่าวด้วยความเศร้าสร้อย
  • ไปนอนที่บ้านแก่งกระจาน 1 คืน เก็บมะม่วงกลับมา 4 กระสอบ เอามะม่วงใส่ถุงไปไล่แจก (ตัวเองอยู่ไกลมาแจกไมไหว)
  • ไปกินข้าวกับคุณปู่คุณย่า
  • อัญเชิญพระพุทธรูปมาสรงน้ำ  และ
  • ขับรถออกไปทำงาน ผจญ Mob สงกรานต์ที่ "น่ากลัว" น้องๆ Mob เสื้อแดง...อื๋อ...อื๋อ..
  • แค่นี้แหละ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท