第五课:今天几号?


第五课:今天几号? บทที่ 5: วันนี้วันที่เท่าไหร่?

第五课:今天几号?

บทที่ 5: วันนี้วันที่เท่าไหร่?

บทสนทนาที่ 1

·       

jīn tiān xīnɡ qī  jǐ

今 天  星 期 几?

จิน เทียน ซิง ชี จี่?

วันนี้วันอะไรครับ

·       

jīn tiān xīnɡ qī  rì

今 天  星 期 日。

จิน เทียน ซิง  ชี หรื่อ

วันนี้วันอาทิตย์

·       

xīnɡ qī  rì   jīn tiān  wǒ hé lǐ méi yǒu yuē huì 

星 期 日?!今 天  我  和 李 梅  有  约  会!

xiàn zài jǐ diǎn le

现 在 几  点  了?

ซิง ชี หรื่อ? จิน เทียน หว่อ เหอ หลี เหมย เยว ฮุ้ย . เซี่ยน จ้าย จี๋ เตี่ยน?

วันอาทิตย์เหรอ วันนี้ผมมีนัดกับหลี่ เหมย ตอนนี้กี่โมงแล้วครับ

·       

bā diǎn èr shí sì fēn

八  点  二 十  四 分。

ปา เตี่ยน เอ้อ สือ ซื่อ เฟิน

8 โมง 24 นาที

บทสนทนาที่ 2

·       

jīn tiān jǐ hào

今 天  几 号?

จิน เทียน จี่ ฮ้าว?

วันนี้วันที่เท่าไหร่ครับ

·       

jīn tiān jiǔ hào zěn me le

今 天  九 号。 怎  么 了?

จิน เทียน จิ่ว ฮ้าว. เจิ่น เมอ เลอ?

วันนี้วันที่ 9 มีอะไรหรือเปล่าครับ

·       

yuē huì shì zài xià zhōu rì

约 会 是  在  下  周  日。

เยว ฮุ้ย ชรื่อ จ้าย เซี้ย โจว หรื่อ.

ที่แท้นัดของผมเป็นวันอาทิตย์หน้านี่เอง

 

หนงลี่ (ปฏิทินการเกษตรหรือปฏิทินจันทรคติ)

ตามตำนานเชื่อกันว่ามีการคิดค้น "หนงลี่" หรือปฏิทินการเกษตรขึ้นในสมัยราชวงศ์เซี่ยซึ่งเป็นราชวงศ์ในยุคประวัติศาสตร์ราชวงศ์แรกของจีน ดังนั้นจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "เซี่ยลี่" หรือปฏิทินแห่งเซี่ย สาเหตุที่เรียกปฏิทินนี้ว่า "หนงลี่" ก็เนื่องมาจากปฏิทินดังกล่าวเป็นปฏิทินที่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรมาตั้งแต่สมัยโบราณ หนงลี่มีการคำนวณที่เที่ยงตรงตามหลักวิทยาศาสตร์จึงสามารถใช้ประโยชน์ได้ตรงตามสภาพดินฟ้าอากาศจริง ด้วยเหตุนี้หนงลี่จึงได้ใช้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน หนงลี่แบ่งเวลาในช่วงปีตามรอบวันธรรมชาติออกเป็น 4 ฤดูกาลและ 24 ช่วงการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศ ส่วนการแบ่งเดือนต่างๆ จะยึดตามรูปร่างของพระจันทร์เป็นหลัก กล่าวคือจะเริ่มต้นนับวันที่หนึ่งของเดือนในคืนที่พระจันทร์เสี้ยวหรือ "พระจันทร์ใหม่" (ซินเย่ว์) ปรากฏบนท้องฟ้าและนับคืนก่อนที่พระจันทร์เสี้ยวจะปรากฏอีกครั้งเป็นวันสุดท้ายของเดือน ปีหนึ่งของระบบหนงลี่จะมี 355 วัน ซึ่งคลาดเคลื่อนจากเวลาจริงในการหมุนของโลกประมาณ 11 วัน ดังนั้นจึงกำหนดให้มี "รุ่นเย่ว์" หรือเดือนอธิกสุรทินทุก 3 ปี และทุก 19 ปีกำหนดให้มีเดือนอธิกสุรทินทั้งหมด 7 เดือน ปีใดที่มีเดือนอธิกสุรทินก็จะเรียกปีนั้นว่า "รุ่นเหนียน" ทั้งนี้การกำหนดให้เดือนใดเป็นเดือนอธิกสุรทินนั้นไม่มีกฎตายตัว แต่จะกำหนดตามช่วงการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศเป็นสำคัญ

 

นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1912 เป็นต้นมา ทางการจีนได้ประกาศใช้ระบบปฏิทินสากล ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า "หยางลี่" หรือปฏิทินสุริยคติ และเรียกระบบปฏิทินโบราณ "หนงลี่" ซึ่งยังใช้กันทั่วไปในกลุ่มชาวบ้านว่า "อินลี่" หรือปฏิทินจันทรคติ

 

ช่วงการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศทั้ง 24

การกำหนดช่วงการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศทั้ง 24 เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่เกษตรกรจีนเป็นผู้คิดค้นขึ้น โดยกำหนดช่วงเปลี่ยนของเวลาตามการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศในแต่ละฤดูกาล ระบบนี้จึงเสมือนเป็นคู่มือการเพาะปลูกของเกษตรกรและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป เนื่องจากศูนย์กลางทางการเมืองการปกครองของจีนตลอด 2,000 ปีที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะรวมศูนย์อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเหลือง ดังนั้นการกำหนดช่วงการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศทั้ง 24 จึงยึดเอาสภาพอากาศและสภาพธรรมชาติที่เกี่ยวเนื่องในพื้นที่บริเวณนี้เป็นหลัก ทว่า ประเทศจีนมีพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลและมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลาย ช่วงการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศทั้ง 24 จึงไม่ตรงตามสภาพดินฟ้าอากาศจริงในหลายพื้นที่ของประเทศจีน

 

ช่วงการเปลี่ยนแปลงของดินฟ้าอากาศทั้ง 24 (นับตามวันเดือนในระบบปฏิทินสากล)

ฤดูใบไม้ผลิ

"ลี่ชุน" หรือเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ (3-5 ก.พ.)

"อี๋ว์สุ่ย" หรือน้ำฝน (18-20 ก.พ.)

"จิงเจ๋อ" หรือ(สัตว์)ตื่นจากฤดูจำศีล (5-7 มี.ค.)

"ชุนเฟิน" หรือคืนและวันในฤดูใบไม้ผลิที่ยาวเท่ากัน (20-22มี.ค.)

"ชิงหมิง" หรือเช็งเม้ง (4-6 เม.ย.)

"กู๋อี่ว์" หรือฝนธัญพืช (19-21เม.ย.)

ฤดูร้อน

"ลี่เซี่ย" หรือเริ่มต้นฤดูร้อน (5-7พ.ค.)

"เสียวหม่าน" หรือเมล็ดพันธุ์อุดม (20-22 พ.ค.)

"หมางจ้ง" หรือหว่านเพาะ (5-7 มิ.ย.)

"เซี่ยจื้อ" หรือช่วงวันยาวที่สุดในฤดูร้อน (21-22 มิ.ย.)

"เสียวสู่" หรือร้อนเล็ก (6-8 ก.ค.)

"ต้าสู่" หรือร้อนใหญ่ (22-24 ก.ค.)

ฤดูใบไม้ร่วง

"ลี่ชิว" หรือเริ่มต้นฤดูใบไม้ร่วง (7-9 ส.ค.)

"ชู่สู่" หรืออากาศร้อนสิ้นสุด (22-24 ส.ค.)

"ไป๋ลู่" หรือน้ำค้างขาว (7-9 ก.ย.)

"ชิวเฟิน" หรือคืนและวันในฤดูใบไม้ร่วงที่ยาวเท่ากัน (22-24 ก.ย.)

"หานลู่" หรือน้ำค้างหนาว ( 8-9 ต.ค.)

"ซวงเจี้ยง" หรือน้ำค้างแข็ง (23-24 ต.ค.)

ฤดูหนาว

"ลี่ตง" หรือเริ่มฤดูหนาว (7-8 พ.ย.)

"เสียวเสวี่ย" หรือหิมะเล็ก (22-23 พ.ย.)

"ต้าเสวี่ย" หรือหิมะใหญ่ (6-8 ธ.ค.)

"ตงจื้อ" หรือช่วงคืนยาวที่สุดในฤดูหนาว (21-23 ธ.ค.)

"เสี่ยวหาน" หรือหนาวเล็ก (5-7 ม.ค.)

"ต้าหาน" หรือหนาวใหญ่ (20-21 ม.ค.)

 

เทศกาลสำคัญในระบบปฏิทิน "หนงลี่" ได้แก่ เทศกาลตรุษจีน หยวนเซียว ตวนอู่ และจงชิว

 

ชุนเจี๋ย (เทศกาลตรุษจีน)  ขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย

หยวนเซียวเจี๋ย (เทศกาลหยวนเซียว)  ขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย

ตวนอู่เจี๋ย (เทศกาลตวนอู่)  ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5

ชีซี (เทศกาลเด็กหญิง)  ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 7

จงชิวเจี๋ย (เทศกาลไหว้พระจันทร์)  ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8

ฉงหยางเจี๋ย (เทศกาลฉงหยาง) ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9

ล่าปาเจี๋ย หรือ ตงจื้อเจี๋ย (เทศกาลล่าปา)  ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 12

ฉูซี (วันส่งท้ายปีเก่า)   วันที่ 30 เดือน 1

 

หมายเลขบันทึก: 248473เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2009 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท