RGJ – PhD Congress VII


• ชื่อในภาษาไทยคือ การประชุมวิชาการ โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก ครั้งที่ ๗
• โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (ชื่อย่อ คปก.) เป็นนวัตกรรมด้านการสร้างนักวิจัย และด้านบัณฑิตศึกษา ของประเทศ  เป็นผลงานระดับที่ถือได้ว่าเป็นเพชรน้ำเอกของประเทศ    เป็นการค้นพบวิธีการสร้างปัญญาของเราเอง  วิธีการสร้างความสามารถในการพึ่งตนเองด้านวิชาการ
• วันนี้ (๒๐ เมย. ๔๙) ผมไปร่วมการประชุมนี้ที่พัทยา    เป็นการประชุมที่จัดอย่างต่อเนื่องทุกปี จนปีนี้เป็นครั้งที่ ๗
• การเมืองเรื่องบัณฑิตศึกษาในประเทศไทย ดูจะเป็นการต่อสู้ทางความคิดในด้านระดับคุณภาพ   ระหว่าง คปก. กับผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาจำนวนมาก ที่ต้องการผลิตบัณฑิตปริญญาเอกในระดับคุณภาพที “ไม่สูงเกินไป”   ถ้าจะใช้คำแรงๆ ก็เป็นการต่อสู้ระหว่างบัณฑิตศึกษาแนว excellence   กับแนว mediocrity     อาจเป็นเพราะการเมืองนี้ จึงทำให้แม้ คปก. จะได้พิสูจน์ให้ประจักษ์แล้วว่า คปก. ได้สร้างคุณูปการให้แก่วงการวิจัย และวงการบัณฑิตศึกษา ในการยกระดับขึ้นสู่มาตรฐานสากล    ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า โดยอาศัยการจัดการที่ดี วงการวิจัยและอุดมศึกษาไทยก็ดูจะไม่กระตือรือร้นมาก    ผู้บริหารระดับนโยบายทั้งสองเรื่องก็ดูจะมีเรื่องสร้างผลงานให้ตัวเองมากกว่าจะมองภาพใหญ่ให้แก่ประเทศ  
• เป็นตัวอย่างของการบริหารทุนบัณฑิตศึกษาให้ได้บัณฑิตที่มีคุณภาพสูง    และใช้นักศึกษากระตุ้น productivity ด้านการวิจัยของอาจารย์    ใช้โครงการบัณฑิตศึกษาสร้างความร่วมมือด้านการวิจัย – บัณฑิตศึกษา กับต่างประเทศ   ที่เป็นความสัมพันธ์แบบเท่าเทียมกัน    เป็นการสร้างเกียรติภูมิของชาติ ในด้านการวิจัยและวิชาการอย่างไม่เคยมีมาก่อน
• ศ. ดร. นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย ผอ. คปก.  ได้ชี้ให้เห็นว่าในยุคสังคมฐานความรู้    ต้องใช้การผลิตบัณฑิตปริญญาเอกเป็นแรงขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม และความเข้มแข็งของภาคส่วนต่างๆ ของประเทศ     ดังนั้นต้องมีทุนและการจัดการที่ดี ให้ได้ผลงานวิทยานิพนธ์และดุษฎีบัณฑิตคุณภาพสูง     เราค้นพบวิธีการแล้ว    แต่ในระดับประเทศไม่ถือเป็น asset ของประเทศ   น่าเสียดายจริงๆ  
• ผมได้เคยเอารายละเอียดผลงานของ คปก. มาลงไว้แล้ว ดูได้ที่นี่  http://gotoknow.org/archive/2006/04/16/09/06/18/e24075

วิจารณ์ พานิช
๒๐ เมย. ๔๙


 

หมายเลขบันทึก: 24814เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2006 13:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 เมษายน 2012 11:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท