คุณจะเลือกเป็นใครใน "เทวดาท่าจะบ๊องส์"


เนื่องจากดิฉันกำลังคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง sensitive และก็สำคัญอันดับต้นๆ ของการร่วมงานกันของคนในหน่วยงาน ดิฉันขออนุญาตเจ้าของแนวคิดนี้ในใจก่อนตัดสินใจ เนื่องจากเป็นแนวคิดที่เจ้าของได้ผ่านการกลั่นกลอง ปรับปรุงและได้ทดลองใช้มาแล้ว และเชื่อว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้วันนี้ชุมชนน้อยๆ ของดิฉันจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุดหากเทวดาโยนของลงมาจากท้องฟ้า จากการที่ได้ถูกหล่อหลอมมาด้วยการทำงานในกรอบแนวคิดในแบบนี้

         เมื่อก่อนดิฉันเคยได้ยินการเล่าทำนองเปรียบเปรยการที่หน่วยงาน หรือ ชุมชนที่อยู่มาอย่างสงบสุขตามอัตภาพ แล้ววันนึงได้รับมอบอำนาจบางอย่าง เช่น เงิน ตำแหน่ง หรือแม้กระทั่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากเบื้องบนแบบไม่ทันตั้งตัวจนทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง ปั่นป่วนขึ้นในชุมชนนั้นๆ ซึ่งเล่าแบบขำ ขำจากโดยยกตัวอย่างจากภาพยนตร์เรื่อง "เทวดาท่าจะบ๊องส์" อยู่บ่อยๆ  ตอนนั้นฟังไปด้วยความเพลิดเพลินและก็ได้แต่นึกว่าช่างเป็นบุญของ QAU จริงๆ ที่ไม่ต้องมีเรื่องเงิน เรื่องตำแห่นง หรืออะไรต่อมิอะไรที่คนส่วนมากอยากได้ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมากนัก  ไม่ต้องมาทำให้กลุ่มคนที่ทำงานด้าน QA และ KM  ที่ QAU เข้าไปขอความช่วยเหลือและร่วมงานกันต้องเกิดความลำบากใจจนถึงขั้นปั่นป่วน  และที่สำคัญที่สุดกลับได้เครือข่ายที่ร่วมงานกันมาด้วยใจเป็นหลัก  ทำให้เกิดเครือข่ายแห่งความช่วยเหลือเกื้อกูลกันจนเกิดความผูกพันธ์และก้าวเดินไปข้างหน้าพร้อมๆ ไปกับได้พัฒนาคน (ศักยภาพและจิตใจ) พัฒนางาน  และพัฒนาองค์ร่วมกันได้อย่างแท้จริง 

เรื่องย่อ The Gods Must Be Crazy เทวดาท่าจะบ๊องส์

         เริ่มจากกว่าห้าพันปีมาแล้วที่คนป่าชนเผ่าบุชแมนอาศัยอยู่ท่ามกลางธรรมชาติสวยงามสงบและ สมบูรณ์ในป่าอาฟริกา โดยพวดเค้าไม่เคยรับรู้ถึงความอารยะจากภายนอก พวกเค้ายังคงคิดว่าสุดสายตาขอบฟ้าที่เค้าเห็นคือที่สิ้นสุดของโลกที่พวกเค้าอยู่เลยจากนั้นไปคงเป็นที่อยู่ของพระผู้เป็นเจ้า

         จนวันหนึ่งเค้าได้เห็นสัตว์ยักษ์มีปีกบินอยู่บนฟ้าและได้มีของสิ่งหนึ่งหล่นลงมา เค้าจึงคิดว่านั่นเป็นสิ่งวิเศษที่พระเจ้าประทานมาให้ แต่เหตุการณ์กลับกลายเป็นความวิวาท วุ่นวาย เมื่อทุกคนนั้นต้องการของสิ่งนั้นมาเป็นของตนเอง ทำให้ ซี (นิเชา) ต้องอาสานำเอาของสิ่งนั้นเดินทางไกลไปยังขอบโลก เพื่อนำของสิ่งนั้นไปคืนให้กับพระเจ้า ตามคำบอกของหมอผีประจำเผ่า อีกทั้งเมื่อเค้ายิ่งเดินทางไกลจากบ้านมากเท่าไร เค้ากลับต้องเจอสิ่งประหลาด ๆ มากขึ้นทุกที และนั่นยังมารวมถึงเหตุการณ์สงครามรัฐประหาร การก่อกบถ ของการเมืองรัฐบาลอาฟริกัน ที่ซีต้องเข้าไปพัวพันสร้างความวุ่นวาย ครื้นเครง เฮฮา เป็นอย่างยิ่ง

         ถึงแม้ตอนจบของหนังจะจบด้วยความเฮฮาเป็นอย่างยิ่ง แต่ดิฉันก็เชื่อว่าระหว่างทางคงต้องพบอะไรต่อมิอะไรมากมาย บางทีอาจถึงขั้น "นิเชา" ของบางชุมชนอาจถึงกับถอดใจไปซะก่อนก็เป็นได้  แต่ส่วนหนึ่งดิฉันเชื่อว่าที่นิเชาตัดสินใจเสียสละตัวเองก็เป็นเพราะเค้าคิดว่าคนในเผ่าของเค้าเป็นครอบครัวที่เค้าจะต้องดูแลรักษาไว้ ... ช่วงนี้ดิฉันเฝ้าสังเกตอะไรต่อมิอะไรทั้งที่เป็นเรื่องของตัวเอง เรื่องของคนอื่น (ที่ยังไง๊ ยังไงก็มาเกี่ยวข้องกับดิฉันอยู่วันยังค่ำ) จริงๆ แล้วอาจไม่ใช่แค่เรียกว่าเฝ้าสังเกตแต่อาจเรียกได้ว่าเข้าไปอยู่ในสถานการแบบที่ "นิเชา" พระเอกในภาพยนตร์ต้องเข้าไปเจอ ดิฉันเฝ้าถามตัวเองว่าถ้าเปรียบเทียบตัวเองเป็น "นิเชา" แล้วหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเจอกับสถานการณ์แบบนั้นดิฉันจะป้องกันไม่ให้เกิดความวุ่นวายในชุมชน (ป้องกันนะคะไม่ใช่แก้ปัญหา) ชุมชนที่เหมือนกันครอบครัวของดิฉันที่เคยมีความสุขตามอัตภาพร่วมกันมาแบบที่ไม่กระทบหรือทำให้ใครเสียใจหรือรู้สึกว่าเสียโอกาสเลยแม้แต่น้อยได้อย่างไร  จนแล้วจนรอดดิฉันก็ยังคิดไม่ออก อาจเป็นเพราะความต้องการ (ของทุกคน) กับความถูกต้องเหมาะสมเป็นคนเรื่องก็เป็นได้  

         ดิฉันเคยคิดไปถึงขั้นที่ว่าถ้านิเชารู้เหตุการณ์ล่วงหน้าและเลือกได้  เค้าจะเลือกเป็นตัวของเค้าเองที่ต้องมีภาระในการเดินทางนำของสิ่งนั้นไปคืนพระเจ้าที่ทำให้เค้าเหน็ดเหนื่อยแสนสาหัสแต่ได้พบเจอประสบการณ์มากมายในชีวิต  หรือ  เค้าจะเลือกเป็นคนธรรมดาๆ คนนึงในเผ่าที่ไม่ต้องรู้ร้อนรู้หนาวพร้อมๆ ไปกับที่ไม่ต้องรับภาระหนักแบบนิเชา ... แล้วถ้าเป็นคุณคุณจะเลือกเป็นใครในเทวดาท่าจะบ๊องส์คะ 

         ... ดิฉันรบกวนท่านที่มีประสบการณ์กับเหตุการณ์ประมาณนี้มาช่วยกันแชร์ความคิดเห็นหน่อยนะคะ เผื่อบางทีคนที่กำลังเจอเหตุการณ์ทำนองนี้อาจจะได้นำไปแก้ปัญหาของตัวเองบ้าง หรือควรจะทำตัวแบบ "นิเชา" ที่ออกเดินทางเพื่อเอาของสิ่งนั้นไปคืนเทวดาตามคำแนะนำของ "หมอผีประจำหมู่บ้าน" (ซึ่งอาจเป็นจิตของตัวเองในขณะที่ "จิตตก")  แล้วเมื่อของสิ่งนั้นกลับไปถึงมือเทวดาก็ ปล่อยให้เป็นเรื่องของท่านเทวดาจัดการเองทั้งหมด  ส่วนเราก็มีหน้าที่รอรับสภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตโดยปล่อยให้ขึ้นอยู่กับบุญกรรมเพียงอย่างเดียว ... หรือถ้าท่านบอกแนวคิดในมุมกว้าง (ไม่ใช่ในมุมอับแบบดิฉันในขณะนี้)  ของผู้ที่ยังไม่เคยเจอกับเหตุการณ์ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งเช่นกันค่ะ
        

         นอกเรื่องมาซะเยอะเลยค่ะ รีบๆ เรียกสติกลับคืนมาก่อนจะเตลิดไปกันใหญ่ดีกว่านะคะ ช่วงนี้เนื่องจากการปรับโครงสร้างการบริหารงานในระดับมหาวิทยาลัย  ดิฉันจึงได้รับมอบหมายให้จัดทำร่างโครงการจัดตั้งฯ  (อย่างไม่ทันเตรียมตัวเตรียมใจ) โดยมีโจทย์ที่ดิฉันต้องตอบทั้งหมด 11 ข้อ ดังนี้

1. เหตุผลและความจำเป็น

2. พันธกิจ

3. วัตถุประสงค์

4. การจัดองค์กร

5. ระบบการบริหารงานบุคคล

6. เป้าหมายผลผลิต

7. การควบคุมมาตรฐานและคุณภาพในการดำเนินงาน

8. แหล่งที่มาของรายได้

9. ระบบการบริหารจัดการงบประมาณและทรัพย์สิน

10. การกำกับตรวจสอบ

11. แผนการดำเนินงาน

         ซึ่งดิฉันขอนำโจทย์ที่ดิฉันจะต้องตอบมาขอข้อเสนอแนะจากทุกท่านในที่นี้ โดยขอทยอยลงเป็นข้อๆ แบบไม่เรียงลำดับและไม่ครบ 11 ข้อข้างต้น  แต่ขอเรียงตามข้อที่ดิฉันพอจะมีแนวทางที่เป็นกรอบแนวคิดโดยบางข้อเป็นแนวคิดที่ดิฉันไม่ได้คิดเองแต่ได้มาแบบ "ปิ๊ง !!!" (ตามที่ สคส. พูดอยู่บ่อยๆ)  และในขณะเดียวกันเนื่องจากมีหลายหน่วยงานใน ม. ตอนนี้ที่จะต้องตอบโจทย์ในลักษณะนี้คล้ายๆ QAU และได้จัดทำไปจนเสร็จสิ้นแล้วเนื่องจากได้รับการมอบหมายและรู้เนื้อรู้ตัวก่อน ดิฉันจึงได้นำแนวทางของหลายๆ หน่วยงานมาศึกษาไปด้วย แต่บางหัวข้อที่ QAU ตอบอาจมีรูปแบบและแนวคิดที่แตกต่างจากหน่วยงานอื่นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งดิฉันคิดว่าไม่น่ามีหน่วยงานไหนผิดหรือถูก แต่น่าจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสภาพแวดล้อมและลักษณะงานๆ ของแต่ละหน่วยงานมากกว่า

         หัวข้อแรกที่ดิฉันตัดสินใจที่จะลองนำแนวความคิดมาใช้คือ หัวข้อที่ 5 ระบบการบริหารงานบุคคล เนื่องจากดิฉันกำลังคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้าง sensitive และก็สำคัญอันดับต้นๆ ของการร่วมงานกันของคนในหน่วยงาน ดิฉันขออนุญาตเจ้าของแนวคิดนี้ในใจก่อนตัดสินใจ  เนื่องจากเป็นแนวคิดที่เจ้าของได้ผ่านการกลั่นกลอง ปรับปรุงและได้ทดลองใช้มาแล้ว  และ เชื่ออยู่ลึกๆ ว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้วันนี้ชุมชนน้อยๆ ของดิฉันจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด  หากเทวดาโยนของลงมาจากท้องฟ้า จากการที่ได้ถูกหล่อหลอมมาด้วยการทำงานในกรอบแนวคิดในแบบนี้ค่ะ

(ร่าง)

5 ระบบการบริหารงานบุคคล 

         หลักการบริหารงานบุคคลและองค์กร  ของ ..(ชื่อหน่วยงาน).. ยึดถือค่านิยมร่วม (Core value) ซึ่งถือเป็นหลักในการทำงานและการอยู่ร่วมกันของคนที่ร่วมงานกันในด้านการประกันคุณภาพและการจัดการความรู้ เพื่อก่อให้เกิดความเข้มแข็งพร้อมๆ กันของทั้งองค์กรในภาพรวม คือ

         1. หลักของความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน (Trust) อาศัย Shared values 5 ประการ คือ

  • สมรรถภาพ (Competence, Efficiency) หมายถึง ความสามารถในการปฏิบัติงานให้สำเร็จลุล่วงและเกิดผลที่เป็นประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่น
  • อิสระและเสรีภาพ (Freedom, Liberty , Autonomy) หมายถึง โอกาสในการปฏิบัติงานด้วยใจชอบ (ฉันทะ) เพื่อส่งเสริมให้เกิดผลงานที่มีความเป็นเลิศ
  • ยุติธรรม (Fairness) หมายถึง การมีวัฒนธรรม "ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน" หรือ "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว"
  • เมตตากรุณา (Kindness) หมายถึง การที่ผู้ที่อ่อนแอกว่าพึงมีสิทธิเรียกร้อง ส่วนผู้ที่แข็งแรงกว่า ฉลาดกว่า จะต้องรู้จักยับยั้งไม่กอบโกยด้วยความโลภ และเป็นหน้าที่ ที่จะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ที่อ่อนแอกว่า
  • เรียนรู้ร่วมกันและทำงานเป็นทีม (Team learning and working) หมายถึง การไม่แยกการเรียนรู้จากการทำงาน และจะต้องมีการแบ่งปันความรู้จากการทำงานซึ่งกันและกันทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้ทีมงานทั้งทีมช่วยกันปฏิบัติงานให้บรรลุซึ่งวิสัยทัศน์ร่วม ให้เกิดเป็นความสำเร็จร่วมกัน

        การนำ "ค่านิยมร่วม" มาใช้ด้วยกัน สมาชิกทุกคนพึงระลึกเสมอว่าจะต้องเร่งเพิ่มสมรรถภาพในการทำงานของตนเองอยู่ตลอดเวลา จะต้องช่วยกันใช้การมีอิสระเสรีภาพในการทำงานด้วยใจ (รัก) ตามความถนัดของแต่ละคนให้เกิดความเป็นเลิศในด้านที่ตนเองรับผิดชอบ จะคิดจะทำอะไรก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้องยุติธรรม นอกจากนี้ยังต้องรู้จักเห็นอกเห็นใจกัน มีความเมตากรุณา มีความเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน และสุดท้ายจะต้องสามารถเรียนรู้และทำงานร่วมกับผู้อื่นในทีมงานได้อย่างมีความสุข ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ชุมชนหรือองค์กรสามารถบรรลุซึ่ง "วิสัยทัศน์ร่วม" ได้ และรู้สึกประสบความสำเร็จและภาคภูมิใจร่วมกัน

         2. การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (CQI) โดยอาศัยการประกันคุณภาพการศึกษาและการจัดการความรู้  ซึ่งความสามารถในการเรียนรู้และปรับตัวจะมีผลต่อการอยู่รอดและความเจริญรุ่งเรือง (ไม่ต้องเจอสถานการณ์ความปั่นป่วนแบบเผ่าบุชแมน) 

         3. การเป็นองค์กรเคออร์ดิค (Chaordic Organization) โดยมีความยืดหยุ่นในการกำหนดเป้าหมายและวิธีทำงาน ยึดมั่นในปณิธานความมุ่งมั่น (purpose) ของหน่วยงาน ซึ่งเน้นความเป็นองค์กรที่จัดระบบตนเอง (self - organizing) และกำกับดูแลตนเอง (self - governing) ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ

  • Purpose เป้าหมาย / วัตถุประสงค์
  • Principles หลักการทำงาน
  • Participants การมีส่วนร่วม / เครือข่าย
  • Organization Concept หลักการในการจัดระบบองค์กร
  • Constitution กฎระเบียบ
  • Practices ปฏิบัติการ
    (รายละเอียด


ทะเลใจ - คาราบาว

เพลงทะเลใจ
ขับร้องโดย แอ๊ดคาราบาว

แม้ชีวิตได้ผ่านเลยวัยแห่งความฝัน
วันที่ผ่านมา ไร้จุดหมาย
ฉันเรียนรู้เพื่ออยู่เพียงตัวและจิตใจ
เป็นมิตรแท้ที่ดีต่อกัน


เหมือนชีวิตผันผ่านคืนวันอันเปลี่ยวเหงา
ตัวเป็นของเรา ใจของใคร
มีชีวิตเพื่อสู้ คืนวันอันโหดร้าย

คืนที่ตัวกับใจไม่ตรงกัน

คืนนั้นคืนไหน ใจแพ้ตัว
คืนและวันอันน่ากลัว ตัวแพ้ใจ
ท่ามกลางแสงสีศิวิไลซ์
อาจหลงทางไปไม่ยากเย็น

คืนนั้นคืนไหน ใจเพ้อฝัน
คืนและวันฝันไปไกลลิบโลก
ดั่งนกน้อยลิ่วล่องลอยแรงลมโบก
พออับโชค ตกลงกลางทะเลใจ

ทุกชีวิตดิ้นรน ค้นหาแต่จุดหมาย
ใจในร่างกาย กลับไม่เจอ
ทุกข์ที่เกิดซ้ำ เพราะใจนำพร่ำเพ้อ
"หาหัวใจให้เจอก็เป็นสุข"

แม้ชีวิตได้ผ่านเลยวัยแห่งความฝัน
วันที่ผ่านมา ไร้จุดหมาย
ฉันเรียนรู้เพื่ออยู่เพียงตัวและจิตใจ
เป็นมิตรแท้ที่ดีต่อกัน

ฉันเรียนรู้เพื่ออยู่เพียงตัวและจิตใจ เป็นมิตรแท้ที่ดีตลอดกาล ...

หมายเลขบันทึก: 247798เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2009 20:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท