ความเป็นมาของธรรมศึกษาชั้นตรี


การศึกษาพระปริยัติธรรม หรือที่เรียกกันว่านักธรรมเกิดขึ้นตามพระดำริของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส  เป็นการศึกษาพระธรรมวินัยในภาษาไทย (การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณนิยมศึกษาเป็นภาษาบาลี) เพื่อให้ภิกษุสามเณรผู้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนาสามารถศึกษาพระธรรมวินัยได้สะดวกและทั่วถึง อันจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่สัมมาปฏิบัติ ตลอดจนเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างออกไป

ต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ทรงพิจารณาเห็นว่า การศึกษานักธรรมมิได้เป็นประโยชน์ต่อภิกษุสามเณรเท่านั้น แม้ผู้ที่ยังครองฆราวาสวิสัยก็จะได้รับประโยชน์จากการศึกษานักธรรมด้วย โดยเฉพาะสำหรับเหล่าข้าราชการครู จึงทรงตั้งหลักสูตรนักธรรมสำหรับฆราวาสขึ้น เรียกว่าธรรมศึกษา  มีครบทั้ง ๓ ชั้น คือ ชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก ซึ่งมีเนื้อหาเช่นเดียวกันกับหลักสูตรนักธรรมของภิกษุสามเณร เว้นแต่วินัยบัญญัติที่ทรงกำหนดใช้เบญจศีลเบญจธรรมและอุโบสถศีลแทน หลักสูตรธรรมศึกษาได้เปิดสอนและสอนครั้งแรกเมื่อ พ.. ๒๔๗๒ และเปิดสอนครบทุกชั้นในเวลาต่อมา มีฆราวาสทั้งหญิงและชายเข้าสอบเป็นจำนวนมาก นับเป็นการส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนาให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ปี พ.. ๒๕๔๖ สนามหลวงแผนกธรรมได้ปรับเนื้อหาหลักสูตรธรรมศึกษาให้น้อยลง ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพเหตุการณ์ในปัจจุบัน เพราะผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นนักเรียนนักศึกษาซึ่งมีหลักสูตรที่ต้องเรียนต้องศึกษาในสถาบันการศึกษาอยู่แล้วเป็นปกติ การเรียนธรรมศึกษาที่มีเนื้อหาวิชามากเกินไปอาจเป็นภาระที่หนักสำหรับผู้เรียน สำหรับธรรมศึกษาชั้นตรีนี้ เนื้อหาวิชาที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้เป็นเนื้อหาวิชาที่ได้ปรับลดแล้วจากหลักสูตรเดิม

วัตถุประสงค์ของการเรียนธรรมศึกษา

    . เพื่อให้ผู้เรียนเกิดศรัทธาและสำนึกในความสำคัญของพระพุทธศาสนา

    . เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และซาบซึ้งในคุณของพระรัตนตรัย

    . เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและหลักธรรม

        อย่างถูกต้อง

    . เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะในการคิดและการปฏิบัติตนอย่างถูกต้องตาม

        หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

    . เพื่อให้ผู้เรียนรู้หน้าที่ของชาวพุทธและสามารถปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม

หลักสูตรธรรมศึกษาที่ใช้ในปัจจุบัน มีขอบข่ายการเรียนการสอนดังนี้

๑.      วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม

หลักสูตร  ใช้หนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม ๑  มี ๕ หมวด คือ

      ๑) ทานวรรค                  ๒) ปาปวรรค     

      ๓) ปุญญวรรค                ๔) สติวรรค        ๕) สีลวรรค

            ๒.  วิชาธรรม 

     หลักสูตร ใช้หนังสือนวโกวาทแผนกธรรมวิภาคและคิหิปฏิบัติ  มีหมวดธรรม ดังนี้

ทุกะ  หมวด ๒

-  ธรรมมีอุปการะมาก 

-  ธรรมเป็นโลกบาล 

-  ธรรมอันทำให้งาม ๒

-  บุคคลหาได้ยาก ๒

ติกะ  หมวด ๓

-         รตนะ ๓

-         คุณของรตนะ ๓

-         โอวาทของพระพุทธเจ้า ๓

-         ทุจริต ๓

-         สุจริต ๓

-         อกุศลมูล ๓

-         กุศลมูล ๓

-         สัปปุริสบัญญัติ 

-         บุญกิริยาวัตถุ 

จตุกกะ  หมวด ๔

-         วุฑฒิ 

-         จักร 

-         อคติ ๔

-         ปธาน ๔

-         อธิษฐานธรรม 

-         อิทธิบาท 

-         ควรทำความไม่ประมาท-         ในที่ ๔ สถาน

-         พรหมวิหาร ๔

-         อริยสัจ ๔

ปัญจกะ  หมวด ๕

-         อนันตริยกรรม 

-         อภิณหปัจจเวกขณ์ 

-         ธัมมัสสวนานิสงส์ ๕

-         พละ ๕

-         ขันธ์ ๕

                                 ฉักกะ  หมวด ๖

-  คารวะ 

-  สาราณียธรรม ๖

สัตตกะ  หมวด ๗

-  อริยทรัพย์ ๗

-  สัปปุริสธรรม 

อัฏฐกะ  หมวด ๘

-  โลกธรรม ๘

ทสกะ  หมวด ๑๐

-  บุญญกิริยาวัตถุ ๑๐

คิหิปฏิบัติ

จตุกกะ  

-  ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ 

-  สัมปรายิกัตถประโยชน์ 

-  มิตตปฏิรูป ๔

-  มิตรแท้ ๔

-  สังคหวัตถุ ๔

-  ธรรมของฆราวาส ๔

ปัญจกะ

-  มิจฉาวณิชชา 

-  สมบัติของอุบาสก ๕

ฉักกะ

-  ทิศ ๖

-  อบายมุข ๖

๓.      วิชาพุทธประวัติ 

หลักสูตร ใช้หนังสือพุทธประวัติ เล่ม ๑-๒-๓ปฐมสมโพธิ  พระนิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราช (สา  ปุสฺสเทวมหาเถร)  และศาสนพิธี เล่ม ๑  ขององค์การศึกษา

๔.     วิชาวินัย (เบญจศีล-เบญจธรรม)

หลักสูตร  ใช้หนังสือเบญจศีลเบญจธรรม ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ  ญาณวรมหาเถร)

วิธีการศึกษา

. ศึกษาเนื้อหาไปตามลำดับ และทำแบบทดสอบในแต่ละตอน เสร็จแล้วตรวจคำตอบจากเฉลยท้ายบทเรียน

. ฟังการบรรยาย สอบถาม พระอาจารย์ หรือท่านผู้รู้

. ค้นคว้าเพิ่มเติมจากหนังสืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การประเมินผล

.  ทำแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน

๒.  เข้าฟังบรรยายในชั้นเรียน (กรณีที่มีการเรียนการสอน)

๓.  สังเกตจากพฤติกรรม  ตลอดถึงทัศนคติของผู้เรียน

๔.  เข้าสอบธรรมสนามหลวง

๕.  ผู้เรียนนำหลักธรรมคำสอนไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

 

หมายเลขบันทึก: 247756เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2009 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 18:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท