เราทำเพื่องานหรือเพื่อผ่านตัวชี้วัด กันแน่!


ได้หลงลืมความเป็นเนื้องานไปเสีย ขาดความนุ่มละไม ขาดความเป็นวิญญาณในการทำงาน

     จากบันทึก เล่าเรื่องต่อ..สุขที่ใจในการทำงาน ผม Get ได้อะไรบางอย่าง อย่างที่ได้ฝันไว้ ว่ามีที่ไหนบ้างนะ เมื่อได้นำเกณฑ์ หรือตัวชี้วัดมาใช้ในหน่วยงานเพื่อเป็นเครื่องมือในการบรรลุสู่วิสัยทัศน์ของหน่วยงานแล้วไม่หลงประเด็นอยู่ที่เกณฑ์ คือทำทุกอย่างเพื่อให้ผ่านเกณฑ์/ตัวชี้วัด หากแต่ได้หลงลืมความเป็นเนื้องานไปเสีย ขาดความนุ่มละไม ขาดความเป็นวิญญาณในการทำงาน ร้าย ๆ ไปกว่านั้นก็คือการทำทุกอย่างให้ตัวเลขที่วัดออกมา (เชิงคณิตศาสตร์) แลดูสวยงาม แต่กลับตอบคำถามไม่ได้เลยว่า “ประชาชนได้อะไร”

     เกณฑ์หรือตัวชี้วัด จะเป็นรูปธรรมของการวัดประเมิน แต่ควรอย่างยิ่งที่จะได้รู้ถึงฐานที่มาของแนวคิดในการวัด ประเด็นนี้สำคัญมากในระดับปฏิบัติ เพราะจะคอยถามว่าวัดทำไม วัดไปแล้วได้อะไร หมายถึงอะไร หรือคำถามอื่น ๆ สุดท้ายก็จะมุ่งอยู่แต่ตัวเลขเพื่อให้ผ่านการวัดประเมิน โดยไม่สนใจที่มาที่ไป หากไม่ยกตัวอย่างก็น่าจะพอนึกออกนะครับว่ามีอะไรบ้าง ที่ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ ดูอย่างเมื่อเร็ว ๆ นี้เรื่องสถิติการเกิดอุบัติเหตุช่วงสงกรานต์ 10 วันอันตราย เป็นต้น แต่ไม่ใช่จะไม่เห็นด้วยกับการที่ต้องมีเกณฑ์/ตัวชี้วัดนะครับ เพียงแต่อยากนำเสนอว่าต้องเข้าใจที่มาที่ไปอย่างแท้จริงด้วย

     ที่เขียนบันทึกนี้เพราะชอบใจที่ Dr.Ka-poom ได้บันทึกเรื่อง “เล่าเรื่องต่อ..สุขที่ใจในการทำงาน” เพราะเป็นธรรมชาติที่ผู้ปฏิบัติหากเข้าใจที่มาที่ไปของการสร้างเกณฑ์/ตัวชี้วัด ก็จะทำงานได้อย่างมีความสุข ไม่กังวล แต่เชื่อไหมครับคนเหล่านี้ต้องต่อสู้กับพลังเชิงลบอีกมากมายภายในองค์กร กว่าจะผ่านมาได้ จึงอยากจะชื่นชมไว้ ณ ที่นี้...ด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 24725เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2006 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

คุณ"ชายขอบ"

ขอบคุณมากนะคะ...ที่นำมาเล่าต่อในสิ่งที่ท่าน get

อ่านซ้ำไปมาหลายรอบซาบซึ้งใจมาก ไม่เคยมีใครมองเห็นงานที่เราทำ มีแต่ "เราๆ" ในที่ทำงานที่มองเห็นและคอยให้กำลังใจกันและกันให้เชื่อมั่นในจุดยืนของตนเอง

Dr.Ka-poom

     ไม่มีใครเห็นก็ไม่เป็นไรนี่ครับ ตัวตนของเราย่อมเห็นเราเองแน่นอน ขอให้เชื่อมั่นในจุดยืนของตนเองนะครับ

   ถ้าดูที่อื่นไม่ชัดให้แอบไปดูตามสถานศึกษาครับ  วิ่งกันให้วุ่นเพื่อทำหลักฐานเสริม  เติมให้ได้ตามตัวชี้วัด  ยังไงก็ได้  ขอให้มี จะได้ผ่านการประเมิน  ผ่านแล้ว "ไชโย" .. ไปหลับต่อดีกว่า  เพราะตอนหลับนั้น มืดดี  ไม่มี แสงสว่าง มารบกวน !
ข้อดีของการมีตัวชี้วัด คือ เราจะไม่หลงทางในบางเวลาที่เราเริ่มหลง (ในบางสิ่ง) และคิดเลขได้ไวขึ้น ^--^ แต่ถ้ายึดติดเกินไปก็อาจจะทำให้หลงมากกว่าเดิม -^-  
      อ่านบันทึกของคุณชายขอบ และ  Dr.Ka-poom แล้ว  เห็นด้วยครับกับการทำงานจริงๆ   เพื่อลูกค้าของเราคือประชาชน  การวัดหรือเกณฑ์ประเมินต้องมีส่วนที่อยู่ภายใต้บริบทของเราจึงจะเรียกว่า "มีส่วนร่วม"  แต่ที่หลงเอา "ตัวชี้วัด" มาเป็นเป้า  ก็คงจะบรรลุเพียงเป้า (ได้คะแนน)...แต่ไม่ได้พัฒนา "คน" หรือ "องค์กร" แต่อย่างใด  

อาจารย์ Handy

     อ้าวมีด้วยเหรอครับ (ชาวคุรุ) คิดว่ามีแต่เรา (ชาวสา'สุข) แล้วตอนนี้ตื่นจากหลับหรือยังครับ...ยิ้มๆ

คุณวันเพ็ญ

     ลปรร.กันนะครับ ผมเห็นด้วยกับการมีเกณฑ์หรือตัวชี้วัด เพราะเหมือนเป็นเครื่องบังคับทิศทาง แต่ควรจะให้ผู้ปฏิบัติต้องรู้ลึก และเข้าใจอย่างถ่องแท้ด้วยว่ามีฐานคิดมาจากอะไร เพื่อเป้าหมาย และเป้าประสงค์อันใด ไม่งั้นเราก็จะติดอยู่เพียงแต่เกณฑ์ หรือตัวชี้วัดนั้น หากร้ายไปกว่านั้นคือการยึดถือเอาเกณฑ์หรือตัวชี้วัดนั้นเป็นเป้าหมาย และเป้าประสงค์ อันนี้ครับที่ยุ่ง และตอบยากว่าสุดท้าย "ประชาชนได้อะไร"

คุณวีรยุทธ

     เห็นสอดคล้องกันครับ และเป็นไปตามประเด็นที่ผมตอบเพิ่มแก่คุณวันเพ็ญ แต่ขอเพิ่มอีกนิดนะครับ "การมีส่วนร่วมจากประชาชน" วัดจากจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม...(คน), ครั้ง/ปี ลักษณะอย่างนี้ผมมองไม่เห็น (ไม่สามารถรับรองได้) ว่าประชาชนมีส่วนร่วมจริง ๆ และค่าที่วัดได้ของตัวชี้วัดนี้นั่งเขียนเอาเองที่ สนง.ก็ได้แล้ว ไม่ใช่เหรอครับ แล้วหากยังเป็นเช่นนี้อยู่คุณวีรยุทธ คิดยังไงครับ

     ขอเชิญไปติดตามอ่าน 2 ตอนของ อาจารย์หมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ คือ เข็นครกขึ้นภูเขา กับการจัด KM กับนักวิชาการ และ การทำงาน และการบริหารงาน แบบ process-oriented http://gotoknow.org/archive/2006/04/23/17/17/49/e25139 ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท