มาทำความรู้จัก "เขตควบคุมมลพิษ" กันหน่อยครับ


การกำหนดให้พื้นที่ใดเป็นเขตควบคุมมลพิษ ก็เพื่อให้ท้องถิ่นหรือเขตการปกครองในพื้นที่นั้นๆมีการจัดการควบคุมและแก้ไขปัญหามลพิษอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจากการศึกษาและสรรหามาตรการที่เหมาะสมในการควบคุม ลด และขจัดมลพิษในพื้นที่นั้นๆ และสามารถจะดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่นั้นๆได้ทันท่วงที

                  เมื่อศาลปกครองระยองพิพากษาให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติต้องประกาศให้พื้นที่มาบตาพุดเป็นเขตควบคุมมลพิษ ทำให้หลายท่านสงสัยว่าเมื่อประกาศไปแล้วมันจะทำให้การแก้ไขปัญหามันดีขึ้นจริงหรือเปล่า จึงอยากจะเชิญชวนกันมาทำความรู้จักกับเขตควบคุมมลพิษกันซักหน่อยว่ามันมีหลักการหรือแนวคิดอย่างไร ?

                การกำหนดให้พื้นที่ใดเป็นเขตควบคุมมลพิษ ก็เพื่อให้ท้องถิ่นหรือเขตการปกครองในพื้นที่นั้นๆมีการจัดการควบคุมและแก้ไขปัญหามลพิษอย่างเป็นระบบ โดยเริ่มจากการศึกษาและสรรหามาตรการที่เหมาะสมในการควบคุม ลด และขจัดมลพิษในพื้นที่นั้นๆ และสามารถจะดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่นั้นๆได้ทันท่วงที ซึ่งถือเป็นการกระจายภาระหน้าที่ในการจัดการมลพิษไปสู่ท้องถิ่นโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสามารถบังคับให้ผู้ที่อยู่ในเขตควบคุมมลพิษต้องปฏิบัติตามมาตรการที่ พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม 2535 กำหนดไว้เช่น

                1. กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ทำการก่อสร้าง ติดตั้งหรือจัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียหรือระบบกำจัดของเสีย

                   2. กำหนดให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษทุกประเภท ส่งน้ำเสียหรือของเสียที่เกิดจากแหล่งกำเนิดมลพิษของตนไปทำการบำบัดหรือกำจัดโดยระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบกำจัดของเสียรวมที่มีอยู่ภายในเขตควบคุมมลพิษหรือเขตท้องที่นั้น และมีหน้าที่ต้องเสียค่าบริการด้วย

                   3. ให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ น้ำเสียหรือของเสียจากแหล่งกำเนิดของตนไปให้ผู้รับจ้างให้บริการทำการบำบัดหรือกำจัด

                   4. จัดให้มีวิธีการชั่วคราวสำหรับบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสีย จนกว่าจะได้มีการก่อสร้าง ติดตั้ง และเปิดดำเนินงานระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบกำจัดของเสียรวมในเขตควบคุมมลพิษหรือเขตท้องที่นั้น นอกจากนี้ยังสามารถทำให้การบริหารจัดการเพื่อควบคุม ลดและขจัดมลพิษเป็นไปได้อย่างเป็นรูปธรรม มีระเบียบแบบแผน มีขั้นตอนการทำงานและงบประมาณที่ชัดเจน เช่น ให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อลดและขจัดมลพิษ โดยเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ได้ประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ ตลอดจนมีมาตรการเวนคืนที่ดินของเอกชนในเขตควบคุมมลพิษ เพื่อใช้เป็นที่ตั้งระบบบำบัดน้ำเสียรวมหรือระบบกำจัดของเสียรวม ในกรณีที่ไม่สามารถจัดหาที่ดินของรัฐได้

พื้นที่แบบใดบ้างที่อาจถูกประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษ?

                การกำหนดเขตควบคุมมลพิษเป็นอำนาจของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อปรากฎเหตุตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ คือ ถ้าปรากฏว่าทองที่ใดมีปัญหามลพิษ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะร้ายแรงถึงขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบเสียหายต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม (พื้นทีมาบตาพุดเข้าข่ายตามที่กฎหมายกำหนดทุกประเด็นเลย)

 

                   ในการประกาศให้พื้นที่ใดเป็นเขตควบคุมมลพิษ จะมีการพิจารณาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจและสังคมประกอบด้วย จะไม่ประกาศในลักษณะที่เป็นการครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวางโดยไม่จำเป็น และต้องคำนึงถึงศักยภาพของท้องที่ที่จะประกาศเป็นเขตควบคุมมลพิษดด้วยว่า สามารถดำเนินการควบคุม ลด ขจัดมลพิษได้มากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันว่า เมื่อมีการประกาศเขตควบคุมมลพิษแล้วจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป้นรูปธรรม หากเห็นได้ชัดว่าท้องที่ไม่มีศักยภาพเพียงพอ ก็ควรใช้มาตรการอื่นเพื่อควบคุม ลดและขจัดมลพิษแทน

หมายเลขบันทึก: 246864เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2009 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 พฤษภาคม 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ

  • เรื่องนี้น่ารู้นะคะ
  • จะนำไปแนะนำให้เด็ก ๆที่โรงเรียนมาเรียนรู้ด้วยค่ะ
  • ขอขอบคุณค่ะ

เข้ามาหาความรู้ครับ...

และอยากให้ทุกคนมีคนมีความตระหนัก และหวงแหนในสิ่งแวดล้อมครับ..

ขอบคุณ ครูคิม และคุณrmutl_cm_art7yod2 ที่แวะเข้ามาเยี่ยมเยือน

การดูแลสิ่งแวดล้อม ทำได้โดยไม่ต้องรอใคร เราทำเองได้เลยใช่มั๊ยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท