เทคนิคการตาย ตายอย่างมีความสุข (ตอนที่ 2)


แม้ว่าเราจะยังไม่ตายในขณะนี้แต่หากได้ระลึกอยู่เสมอว่าเราต้องตาย จะทำให้มีสติและสร้างภูมิคุ้มกันตนเองคือความไม่ประมาทในการดำรงชีวิต

....ต่อจากตอนที่แล้ว...

 

        ดีใจเป็นอย่างยิ่งที่มีหลายท่านได้ให้ความสนใจในหัวข้อประเด็นนี้ และได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันบ้าง และในตอนนี้ก็จะได้นำเสนอ "เทคนิคการตาย" ของ ท่าน นพ.วิวัฒน์ วิริยกิจจา ท่านได้จำแนกเทคนิคไว้สำหรับบุคคล 2 กลุ่ม คือ ผู้ตายเอง และ ผู้อยู่เคียงข้างกาย ดังนี้

"...

สรุปเทคนิคการตาย

1. สำหรับผู้ตายเอง

1.1 ต้องพยายามตัดความห่วงกัลวลให้มากที่สุด เพราะความห่วงกังวลจะทำให้ติดอยู่กับสิ่งที่ห่วงกังวลนั้น

1.2 นึกทบทวนสิ่งที่ดีงาม ความดีคือเมื่อเรานึกย้อนไปถึงสิ่งที่ทำไปแล้วมีความสุข มีความภาคภูมิใจ ให้นึกบ่อยๆ

1.3 เตรียมตัวรับสิ่งใหม่ๆ นึกว่าคล้ายกับเราเข้าโรงเรียนใหม่ๆ ขึ้นบ้านใหม่ ย้ายที่อยู่ใหม่ จะพบในสิ่งที่เราไม่เคยรู้จัก เช่น อยู่เฉยๆ ตั้งแต่เกิดมาจนแก่ยังไม่เคยไปเมืองนอกเลย แล้วมีคนพาไปเที่ยวอเมริกา ไปมหานครนิวยอร์กมองไปแห่งใดจะตื่นตาตื่นเต้นตลอดเวลา เราก็เตรียมตัว อย่าตกใจ สงบนิ่ง จะปรับตัวเข้าได้ง่ายที่สุด

2. สำหรับผู้อยู่เคียงข้างกายเมื่อผู้อื่นใกล้ตาย

2.1 เปิดเืทปธรรมมะหรือเทปสวดมนต์ให้ผู้ป่วยฟัง

2.2 อย่าพูดถึงเรื่องภาระความกังวลเพิ่มอีก เช่น ถามว่า "นี่คุณมีอระไรที่เก็บซ่อนไว้ไม่บอกผมอีกหรือเปล่า รีบๆบอกนะ"

2.3 ถ้าเป็นไปได้ นำเครื่องอัดเสียงให้คนคนนั้น ถ้ายังมีสติดีอยู่ ให้เขาพูดทบทวนสิ่งที่ดีงาม แล้วบันทึกเสียงไว้ให้นานที่สุด แล้วเมื่อเขาหมดสติไป ให้เปิดเสียงของเขาให้เขาฟังเอง "คล้ายการเพิ่มดอกเบี้ยกรรมดีแบบทวีคูณ"

2.4 พูดถึงสิ่งที่ดีๆ เรื่องที่เป็นกรรมดีข้างหูผู้ป่วยบ่อยๆ

..."

 

            ต้องขอขอบพระคุณท่าน นพ.วิวัฒน์ วิริยกิจจา เป็นอย่างสูงที่ได้ให้เทคนิคนี้แก่ทุกคน แม้ว่าเราจะยังไม่ ตายในขณะนี้แต่หากได้ระลึกอยู่เสมอว่าเราต้องตาย จะทำให้มีสติและสร้างภูมิคุ้มกันตนเองคือความไม่ประมาทในการดำรงชีวิต และถ้าเราฝึกอยู่บ่อยๆ ก็จะทำให้เราเกิดความคุ้นเคยเมื่อเกิดเหตุการณ์จริงเข้าแล้วเราจะได้ระลึกถึงและปฏิบัติได้อย่างดี ซึ่งเป็นการเพิ่มดอกเบี้ยกรรมดีแบบทวีคูณที่คุณหมอได้แนะนำ

             จากที่ได้นำเสนอประเด็นนี้ผู้เขียนก็กำลังค้นคว้า สอบถาม และจะพยายามสรุปให้ได้ประเด็นใน 2 ประเด็นคือ "การตายอย่างพอเพียง" และ "ยุทธศาสตร์การตายอย่างมีความสุข" ซึ่งคงจะอาศัยปรัชญาและทฤษฎีที่กำลังศึกษาอยู่คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเ็ด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้พระราชทานแ่ก่พสกนิกรทุกคน และ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเชิงระบบของ ศ.ดร.เฉลียว บุรีภักดี และจะได้ทยอยนำเสนอในตอนต่อๆ ไป

              สำหรับท่านที่ได้แนะนำเกี่ยวกับการเตรียมตัวตายนั้น ก็นึกถึงคุณลุงคุณปู่ที่หลายท่านได้เตรียมโลงศพสำหรับตนเอง โดยได้จัดซื้อหาหรือต่อเติมสำหรับตนเองและทดลองนอนทุกวันนั้น นับว่าท่านได้เข้าถึงพระศาสนาแล้วและเข้าใจในชีวิตของตนแล้ว น่าเคารพยิ่งนัก ซึ่งไม่เหมือนหลายๆ คนที่ดำรงตนอยู่ในความเสี่ยง(ตาย)ตลอดเวลาทั้งอบายมุขต่างๆ ขับรถโดยประมาท เด็กซิ่ง (Racing) เดียวนี้เด็กแว้น (บิดคันเร่งเสียงแว้นๆๆๆๆ)บางท่านเรียก "เด็กเวร" ก็มี จนมีคำโบราณที่ว่า "ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา" จนเลยนึกไปถึงโฆษณา "เมาไม่ขับ" ที่คนดื่มและมีอาการเมาขับรถและเชิญชวนคนซ้อน ระหว่างนั้นก็เห็นโลงศพแต่ก็ยังไปซ้อน ตอนท้ายเมื่อออกรถปั๊บก็ปิดฝาโลงเลย ช่างเป็นการนำเสนอที่ยอดเยียมมาก

              แต่อย่างไรก็ตามจากวันหยุดฉลองของไทยคราใดก็ต้องมีงานศพตามมาทุกคราไปเช่นกัน จึงเห็นด้วยอย่างยิ่งว่าในช่วงเทศกาลสงกรานต์รวมไปถึงวันสำคัญต่างๆ ไม่เฉพาะวันสำคัญทางศาสนา เลือกตั้ง ก็ต้องงดจำหน่ายสุราไปเลย ท่านเห็นด้วยโปรดยกมือขึ้น......

ในโอกาสถัดไปผู้เขียนจะนำเสนอในประเด็นต่อไปเรื่อยๆ.....จนกว่า......

 

 

คำสำคัญ (Tags): #เทคนิคการตาย
หมายเลขบันทึก: 246758เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2009 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 17:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะมาอ่านเก็บความรู้ไว้ก่อน เดี๋ยวว่างแล้ว จึงจะมาค่อยๆ คิดค่ะ  อิ อิ

ขอบคุณนะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท