สิทธิชุมชนกับการสร้างฝายต้นน้ำลำธาร กรณีศึกษา กฎหมายมังรายศาสตร์


สิทธิชุมชนกับการสร้างฝายต้นน้ำลำธาร กรณีศึกษา กฎหมายมังรายศาสตร์

 

สิทธิชุมชนกับการสร้างฝายต้นน้ำลำธาร กรณีศึกษา กฎหมายมังรายศาสตร์

“วิถีชีวิต” นั้นมีองค์ประกอบไปด้วยชุมชนที่มีความสัมพันธ์กันระหว่างมนุษย์กับมนุษย์และมนุษย์กับธรรมชาติ โดยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์มีกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ คือระเบียบทางสังคม(กฎหมาย)เป็นฐานรองรับ โดยพฤติกรรมมนุษย์ในการอยู่ร่วมกันจะอยู่ภายใต้กติกาเดียวกันคือกฎหมาย ส่วนมนุษย์กับธรรมชาติมีกฎเกณฑ์ของความสัมพันธ์ คือ จารีตประเพณีและภูมิปัญญาแห่งท้องถิ่น เพื่อความอยู่รอดตามวิถีชีวิตและการปกครองชุมชนโดยอาศัยความเชื่อต่างๆ ดังนั้นแบบแผนพฤติกรรมมนุษย์ที่มีผลจากอิทธิพลของสังคมและวัฒนธรรมจึงเป็นเหตุผลที่จำต้องสอดคล้องกัน หากทั้งสองกฎความสัมพันธ์เกิดปัญหาในทางปฏิบัติต่อกันจะนำผลให้แบบแผนปฏิสัมพันธ์เกิดผลอย่างหนึ่งอย่างใดต่อ มนุษย์ จารีต ประเพณี ภูมิปัญญา และกฎหมาย เมื่อกฎหมายเป็นสิ่งที่กำหนดความสัมพันธ์กับมนุษย์ทุกคนในสังคม และเป็นกติกาที่ออกมาคุ้มครองทุกคนในสังคม โดยกฎหมายที่บังคับใช้ในบางมาตราอาจขัดต่อวิถีชีวิตความจริงที่เป็นแบบแผนการปฏิบัติในการดำเนินชีวิตของชุมชนในการรับรองสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ ดังจะพิจารณาเป็นกรณีศึกษาต่อไป

การสร้างฝายแต่เดิมเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวล้านนาที่ใช้ประโยชน์เพื่อการนำน้ำเข้านา ฝายมีลักษณะเป็นอาคารที่สร้างขวางทางน้ำเพื่อทำหน้าที่ทดน้ำและให้น้ำไหลล้นข้ามไปบนสันของอาคารได้ เมื่อเราสร้างฝายที่ลำน้ำซึ่งจะใช้เป็นต้นน้ำของชุมชน ฝายจะทำหน้าที่เป็นอาคารทดน้ำหรือเขื่อนทดน้ำประเภทหนึ่ง สำหรับทดน้ำที่ไหลมาตามลำน้ำให้มีระดับสูง จนน้ำสามารถไหลเข้าคลองส่งน้ำได้ตามปริมาณที่ต้องการในฤดูกาลเพาะปลูก ส่วนน้ำที่เหลือจะไหลล้นข้ามสันฝายไป ฝายเป็นหนึ่งในรูปแบบการบริหารการใช้น้ำโดยชาวบ้านในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งชาวบ้านรู้เรื่องสภาพพื้นที่เป็นอย่างดีว่าจะสร้างฝายตรงไหน และสร้างเหมืองไปในแนวไหน จึงจะกระจายน้ำให้ได้พื้นที่มากที่สุด ฝายจึงเป็นวิถีชีวิตและเกิดขึ้นบนพื้นฐานความรู้ของชาวบ้าน โดยใช้วัสดุตามธรรมชาติที่มีในพื้นที่เป็นสำคัญ เพื่อการสร้างฝาย โดยปรากฏในกฎหมายมังรายศาสตร์ การสร้างฝาย มาตรา ๑  ทำนาติดกัน ผู้หนึ่งชวนไปทดน้ำเข้านา มันไม่ยอมไปช่วย แต่คอยขโมยน้ำจากท่าน หรือแอบขุดหนองน้ำท่านเจ้านา เจ้าหนอง ได้ฆ่ามันตายก็เป็นอันสุดสิ้นกันไป อย่าว่าอะไรแก่เจ้านา ผิไม่ฆ่ามันก็ไห้ไหม ,๑๐๐,๐๐๐ เบี้ย

                ในปัจจุบันความเชื่อและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสร้างฝายยังสืบต่อกันมานานกว่า ๗๐๐ ปี ดังจะพบจากกฎหมายมังรายศาสตร์ โบราณ จนกลายมาเป็นสัญญาการใช้น้ำ-สัญญาประชาคมในชุมชนเหมืองฝาย

* ลูกเหมืองที่มาทำงานต้องเป็นชาย อายุไม่ต่ำกว่า 17 ปี

* หากจ้างคนอื่นมาทำงานแทน และผู้มาทำแทนอายุต่ำกว่า 17 ปี มีความผิด หัวหน้าเหมืองฝายส่งกลับบ้านได้และออกใบสั่งปรับในอัตราวันละ 50 บาท ต่อ 1 แรง

* เวลาทำงานคือ 9.00 น. ถ้าผู้ใดมาสายเกิน 20 นาที ถือว่าขาดแรงงาน และถูกปรับเงิน

* ไม่เอาข้าวกลางวันมากิน ต้องกลับไปกินที่บ้าน ถือว่าเอาเปรียบผู้อื่น หัวหน้าปรับเงินได้

* อัตราค่าปรับถือเอาเสียงส่วนมากในที่ประชุมตามแต่จะตกลงกันไว้ก่อน

* ค่าปรับแรงงานที่ได้ หัวหน้าต้องทำบัญชีไว้ และแจ้งที่ประชุมลูกเหมืองให้ทราบทุกครั้งที่มีการประชุม และให้เก็บเงินไว้เป็นกองกลางเพื่อใช้จ่ายกับเหมืองฝาย

* การตั้งหัวหน้าเหมืองฝายและผู้ช่วยให้ลูกเหมืองแจ้งนายอำเภอนัดประชุม และลูกเหมืองเป็นผู้เลือก

* ระหว่างการทำงาน หากมีสมาชิกในครอบครัวตาย ผู้ทำงานจะได้รับยกเว้นแรงงาน

* เมื่อสิ้นปีหัวหน้าเหมืองฝายและผู้ช่วยจะได้รับ ข้าวน้ำหล่อ”(ข้าวเปลือก) ตอบแทนตามจำนวนที่ตกลงในที่ประชุม
* ชาวนาที่มีเนื้อที่ 10ไร่ลงมา ให้ถือเป็น 1 แรงงาน ถ้ามี 11 ไร่ขึ้นไป ให้ถือเป็น 2 หรือ 3 หรือ 4 แรงงาน ตามเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้น
* ถ้าหัวหน้าเหมืองฝายมีความผิดเกี่ยวกับเรื่องเหมืองฝาย ลูกเหมืองมีสิทธิ์ไล่ออกโดยมติที่ประชุมลูกเหมือง

* ให้มีการประชุมใหญ่ปีละครั้ง ห้ามส่งตัวแทนไปประชุม หากขาดประชุมปรับ 100 บาท

* โทษปรับ... ปิดบังลำเหมืองใหญ่ ปรับ 1,000 บาท ...ลักน้ำหรือปิดลำเหมืองเล็ก ปรับ 200 บาท...ไม่มีอุปกรณ์ไปทำงาน ปรับ 10 บาท ....ลูกเหมืองขาดงานเหมือง ปรับ 100 บาท ...แก่เหมืองขาดการประชุม ขาดงาน ปรับ 200 บาท ฯลฯ

อีกทั้งในปัจจุบันสิทธิในการทำฝายต้นน้ำลำธารดังกล่าวยังได้ถูกพัฒนาเป็นการใช้เพื่อประโยชน์ในด้านการอนุรักษ์ป่าไม้ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยการใช้สิทธิดั้งเดิมของชาวล้านนาดังกล่าวถูกนำมาประยุกต์ใช้จนเกิดเป็นระบบฝายต้นน้ำลำธารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร

ในปัจจุบันการสร้างฝายเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรนั้นโดยวิธีการมีผลในทางกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติหลายฉบับที่เกี่ยวกับการป่าไม้ เนื่องด้วยวิธีการและสถานที่ในการสร้างฝายจำต้องสร้างในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรในพื้นที่เป็นหลักในการสร้างฝายต้นน้ำลำธาร เช่น การปิดกั้นทางน้ำ เปลี่ยนแปลงทางน้ำ วัสดุที่ใช้จากพื้นที่ เช่น หิน ดินหน้าฝาย ต้นไม้ เหล่านี้ได้มีกฎหมายที่เข้ามาควบคุมทรัพยากรป่าไม้ จึงเป็นกฎหมายในบทหลักที่ผู้วิจัยสนใจศึกษาวิจัย เช่น พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๐๔ มาตรา ๑๖ “ภายในเขตอุทยานแหงชาติ ห้ามมิให้บุคคลใด (๑) ยึดถือหรือครอบครองที่ดิน รวมตลอดถึงก่นสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า (๕) เปลี่ยนแปลงทางน้ำหรือทำให้น้ำในลำน้ำ ลำห้วย บึง ท่วมท้นหรือเหือดแห้ง (๖) ปิดหรือทำให้กีดขวางแก่ทางน้ำหรือทางบก” ,พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๓๘ มาตรา ๔๒ ,พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๗ มาตรา ๔ มาตรา ๑๔ ,พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ มาตรา ๕๒ อีกทั้งด้วยแนวคิดเกี่ยวกับหลักการทั่วไปเกี่ยวกับระบบกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของรัฐทำให้รัฐดำเนินกิจการต่างๆเกี่ยวกับทรัพยากรโดยรวบประโยชน์และการอนุรักษ์โดยตน ทำให้การอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรจึงเป็นไปได้ยากในทางปฎิบัติ  

จากหลักกฎหมายในรัฐธรรมนูญในเรื่อง “สิทธิชุมชน” แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักการไปบ้างจนถึงที่สุดในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันปี ๒๕๕๐ ที่ยังมุ่งคุ้มครองสิทธิชุมชนตามวิถีชีวิต ประเพณีเดิม และภูมิปัญญาแห่งชุมชน ที่เคยมีอยู่ในระบบของวัฒนธรรม และระบบกฎเกณฑ์พื้นฐานของชุมชนไทยในสมัยก่อนค่อยปรากฏตัวขึ้นมาอย่างชัดเจนมากขึ้น รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ “มาตรา ๖๕ บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชน ชุมชนท้องถิ่น หรือชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน”

ดังกฎหมายรัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐ บัญญัติไว้ใน มาตรา ๖๕ ซึ่งเป็นกฎหมายแห่งฐานการรับรองสิทธิของชุมชน โดยกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวผู้ศึกษาวิจัยเห็นว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา ๖๕ นั้นสามารถที่จะให้การคุ้มครองสิทธิของชุมชนได้อย่างแท้จริง เนื่องจากรัฐธรรมนูญไม่สามารถมีสภาพบังคับกับเองชนได้โดยตรง แต่การรับรองสิทธิชุมชนนั้นได้ก่อให้เกิดหน้าที่ต่อรัฐในการให้การคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ โดยวิธีการมีส่วนร่วมของชุมชนกับภาครัฐ โดยองค์กรในฝ่ายบริหาร โดยผู้วิจัยเล็งเห็นว่าการให้การคุ้มครองโดยการออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติมีความล่าช้า สังเกตได้จากร่างพระราชบัญญัติป่าชุมชนที่ยังคงพิจารณาแก้ไขอยู่กว่า ๑๐ ปี อีกทั้งองค์กรตุลาการยังขาดความเชื่อและขอบเขตที่ชัดเจนในการพิจารณาเรื่องสิทธิชุมชน

 ดังนั้นผู้ศึกษาวิจัยสนใจศึกษาเกี่ยวกับกรณีของสิทธิการทำฝายต้นน้ำลำธาร กรณีศึกษา กฎหมายมังรายศาสตร์ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นจารีตประเพณีและเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวล้านนา และมีผลต่อกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ โดยสิทธิดังกล่าวข้างต้นผู้ศึกษาพบว่าในอดีตสิทธิในการทำเหมืองฝายมีการบัญญัติไว้เป็นกฎหมายในกฎหมายมังรายศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบันภูมิปัญญาท้องถิ่นนี้ได้นำมาพัฒนากับพื้นที่ต้นน้ำลำธารในการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ตามแนวพระราชดำริเพื่อการอนุรักษ์โดยหลักการมีส่วนร่วมกับภาครัฐบาล

 ดังคำกล่าวของ ม.ร.ว. อคิน รพีพัฒน์ เสนอไว้ว่า “กฎหมายที่เป็นธรรม คือ กฎหมายที่ใส่ใจกับทางศีลธรรม จารีตประเพณีและธรรมเนียมที่ผู้คนยังยึดถือและปฏิบัติในชีวิตประจำวัน”[1]

 

 



[1] อคิน รพีพัฒน์ ม.ร.ว. ,ชาวบ้านชาวเมือง เรื่อง ความยุติธรรมในสังคมไทย , เผยแพร่ครั้งแรก มกราคม ๒๕๕๒ , พิมพ์ที่ วนิดาการพิมพ์ จ.เชียงใหม่

 

หมายเลขบันทึก: 246154เขียนเมื่อ 4 มีนาคม 2009 00:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

"“วิถีชีวิต” นั้นมีองค์ประกอบด้วย..." ควรจะมีที่อ้างอิง ว่านำมาจากไหน

"ทั้งสองกฎความสัมพันธ์..." สองกฎไหน ไม่ชัดเจน ไม่ค่อยเข้าใจ

"ผู้ศึกษาวิจัยสนใจศึกษาเกี่ยวกับกรณีของสิทธิการทำฝายต้นน้ำลำธาร ..." สนใจศึกษาแง่ไหน อย่างไร

อยากให้เขียนอธิบายด้วยชาร์ท เพื่อให้เห็นภาพรวม เหมือนอย่างที่อุ้มเคยอธิบายให้ฟัง

ในงานชิ้นนี้ เห็นบทบาทของมังรายศาสตร์ เห็นการรับรองสิทธิชุมชนในรัฐธรรมนูญ อุ้มต้องการพูดถึงระราชบัญญัติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ ถ้าต้องการ ในงานชิ้นนี้ยังไม่ปรากฏ (หรือจะค่อยๆ เขียนในงานชิ้นอื่น?)

 

ผมก็จะแก้ไข และเพิ่มเติมไปเรื่อยๆครับ

ขาดตกบกพร่องเช่นไร แนะนำได้ครับ อาจารย์ป้า

ลองเพิ่มเติมและแก้ไขบ้างแล้วนะครับ

โอ้ นี่มันthesisของอุ้มหนิ เจ๋งเรยเพื่อน ได้จารย์ตอกมาช่วยคอมเมนต์งี้ด้วย ฉันอ่านแล้วรู้เรื่องนะ อ่านง่าย รู้เรื่อง แต่ไอ่กฎหมายมังรายศาสตร์นี่แกไปหาจากไหนเนี่ย

ตั๊ก

ขอบคุณตั๊กนะ แหม...เขินแย่เลยแก

กฎหมายมังรายศาตร์นี้ห้องสมุดเราก็มี

เป้นกฎหมายล้านนาแต่เดิมที่ใช้ปกครองนะ

ศึกษากว่าสามปียังได้แค่นี้เองแหละ ไว้จะเขียนเพิ่มเติมต่อไป

โอ พี่อุ้ม สุดยอดครับ เหอๆ ผมอ่านไป งง ไป T^T

อิอิ ^O^

ฝากถึงนายอุ้ม ปี้น้องป่าแดงคิดถึงเสมออยากชวนนายและพวกไปปลูกป่า

เข้ามาอ่าน เกิดมีข้อติดชมหรือแนะนำผู้ศึกษา ยินดีรับฟังนะครับ เพื่อประโยชน์ต่อทุกสังคมชุมชน ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท