1.ถอดบทเรียนจากกิจกรรมการดูแลเพื่อให้พ้นผ่านระยะเศร้าโศกจากการสูญเสีย


การดูแลเพื่อให้พ้นผ่านระยะเศร้าโศกจากการสูญเสีย( Bereavement care)

การช่วยเหลือผู้ที่อยู่ในภาวะเศร้าโศกจากการสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักเป็นงานที่ท้าทายสำหรับทีมการพยาบาลจากประสบการณ์การทำงานในหอผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งและส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งระยะสุดท้ายการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้เราต้องดูแลไปถึงครอบครัวของเด็กด้วยและเมื่อเวลาของเด็กเหลือน้อยเข้ามาทุกที สิ่งทีทีมจะต้องนึกถึงคือเตรียมความพร้อมของครอบครัวให้ตั้งรับกับการสูญเสียที่กำลังจะเกิดขึ้นโดยความร่วมมือกันในทีมสหสาขาวิชาชีพ ทีมนำทางคลินิกกุมารเวชกรรม คณะเเพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นของเราได้เล็งเห็นความสำคัญของ Bereavement care โดยในหอผู้ป่วยเด็กโรคมะเร็งได้จัดให้มีกิจกรรมที่ถือว่าเป็น  Bereavement care program ดังนี้

1.มอบภาพประทับใจที่เป็นภาพถ่ายที่ถ่ายพร้อมกับคนในครอบครัว คุณพ่อ คุณแม่หรือทีมการดูแล

และประเมินและค้นหาความเสี่ยงต่อการปรับตัวหลังสูญเสียที่ผิดปกติ

2. หลังเด็กเสียชีวิตส่งจดหมายให้กำลังใจครอบครัว

3. ติดตามประเมินความสามามารถในการปรับตัวเพื่อดูว่าครอบครัวสามารถผ่านกระบวนการเศร้าโศกไปอย่างปกติหรือผิดปกติในสัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2 เดือนที่  2 เดือนที่ 6 และเมื่อครบ 1ปีของการเสียชีวิต

4.จัดกิจกรรมรำลึกถึงน้องผู้จากไป( memorial service) โดยนัดหมายครอบครัวที่สูญเสียมาทำกิจกรรม

กลุ่ม self help groupในช่วงเช้า และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับลูกที่ล่วงลับในช่วงบ่ายโดยเราจัดกิจกรรม

ทุกวันศุกร์สุดท้ายของเดือนเว้นเดือน

บทเรียนรู้ที่ทีมได้รับจากการจัดทำโปรแกรมการดูแลเพื่อให้ครอบครัวพ้นผ่านระยะเศร้าโศกถือว่าเป็นบทเรียนรู้ที่มีค่าและยังมีบทเรียนรู้อีกมากมายให้เราได้เรียนรู้อย่างไม่มีสิ้นสุดและนอกจากบทเรียนรู้ที่เราได้รับแล้ว สิ่งที่เราได้รับจากการทำกิจกรรมนี้ก็คือบุญกุศล ที่เราได้มีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยให้ครอบครัวที่สูญเสียสามารถลุกขึ้นมายิ้มได้ และมีวิถีชีวิตที่เป็นปกติเช่นเดิม ครอบครัวที่ต้องสูญเสียลูกอันเป็นสุดที่รัก ลูกที่เป็นเหมือนแก้วตา ดวงใจก็คงเปรียบเหมือนคนที่สูญเสียดวงตา สูญเสียดวงใจ สูญเสียอนาคตที่วาดหวังไว้ ชีวิตไม่อยากจะทำอะไรอีกแล้ว ไม่รู้จะทำไปเพื่อใคร ในบทบาทของทีมการดูแลรักษา เราเองคงไม่อาจเพิกเฉยหากเด็กคนหนึ่งอยากจะกล่าวคำอำลาว่า คุณหมอครับ คุณพยาบาลครับ คุณพยาบาลขา ถ้าหนูจากไป ช่วยดูแลใจพ่อเเม่หนูด้วยนี่คงเป็นประโยคสั่งลาที่คิดว่าเด็กทุกคนที่กำลังจะจากไปคงอยากจะเอ่ยคำนี้เพราะฉะนั้น การดูแลคงไม่ได้สิ้นสุดลงเมื่อเด็กคนหนึ่งเสียชีวิตลง สัมพันธภาพระหว่างทีมการดูแลรักษากับครอบครัวของเด็กน้อยคงไม่ได้สิ้นสุดลงเเต่เพียงเท่านี้ ทำอย่างไรเราจะช่วยให้เขาผ่านพ้นวิกฤตแห่งการสูญเสียตรงนี้ไปได้นี่คือเป้าหมายที่ทีมการดูแลรักษาจะต้องไปให้ถึง

        

    ภาพประทับใจที่มอบให้กับครอบครัว        ท่านผู้ตรวจการ ,อาจารย์สุรพล

                                                                และทีมมอบภาพประทับใจ

          

คู่มือปฏิบัติตัวปฏิบัติใจหลังสูญเสีย           จดหมายส่งให้หลังผู้ป่วยเสียชีวิต    

เราส่งไปให้ครอบครัวพร้อมจดหมาย

คลายทุกข์

 

หมายเลขบันทึก: 246113เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2009 20:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำที่ดีคร้าบ

สอนธรรมะเด็ก เป็นการสร้างกำลังใจค่ะ

ให้ความรัก ความเอาใจใส่ และให้ความเข้าใจค่ะ

  • ชื่นชมและเป็นกำลังใจแด่ผู้ปฏิบัติทุกท่าน
  • แต่สงสารมาก...เวลาเห็นเด็กเป็นอะไรที่ร้าย ๆ

 

ขอขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมและให้กำลังใจสมาชิกใหม่ G2K

  • ยินดีด้วย
  • ท่านทำได้แล้ว  อิอิ

พี่เกศแวะมาให้กำลังใจ มีบล็อกเป็นของตัวเอง ...ทำได้แล้ว เย้

13 มีค. ก็ไม่ต้องเข้า WS แล้วใช่ไหม? เยี่ยม เยี่ยมค่ะ... ด้วยรัก

ฝากดอกกล้วยไม้มาให้ที่นี่จ๊ะ

ขอบคุณพี่เกศค่ะ พรุ่งนี้จะไปเยี่ยมชมการแพทย์ทางเลือกที่วัดคำประมงใช่มั๊ยคะอย่าลืมถ่ายรูปมาเยอะๆนะคะ พี่เกศอยู่แล้วหายห่วง

  • อย่าลืมแวะไปดูนะ upadate ไว้แล้วดูงานคำประมงค่ะ

เข้าไปแล้วค่ะพี่เกศเมื่อเช้านี้เอง

ชักอยากไปวัดคำประมงซะเเล้วสิไปคราวหน้ากุ้งไม่พลาดค่ะอย่าลืมชวนนะคะ

หวัดีน้องกุ้ง

ภูมิใจที่เรามีพยาบาลที่ดูแลด้านจิตวิญญาณที่เข้มแข็ง

ขอให้ทำดีต่อ

เป็นเรื่องที่ดี ทำต่อนะ

ทำ case น้องคิง ได้อะไรเยอะ ทุกคนอยากจะแชร์นะ แต่เวลามีจำกัด

พี่ว่าเราลืมทบทวนระเบียบการแจ้งตายที่มีหนังสือด่วนมา....

ใช่ค่ะพี่เเดง พอคุยเสร็จตอนเย็นกุ้งก็ mail หาอาจารย์สุรพลเล่าเรื่องคิงให้อาจารย์ฟัง

เเต่การมาคุยกันดีนะคะเหมือนเรามาสรุปและวิเคราะห์สิ่งที่เราได้ทำไป lerning by

doing และได้เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย

ขอบคุณค่ะพี่เเดง

น้องกุ้งคะ

เห้นไหมคะ ว่าแม่ต้อยเข้ามาอ่านทุกเรื่องเลยคะ

 

ขอบพระคุณเเม่ต้อยค่ะ คุณแม่ใจดี

ของลูกๆ ชาว G2K

แวะมาให้กำลังใจด้วยคนนะครับ

  • การดูแลหลังคนไข้เสียชีวิตเป็นเรื่องที่เราไม่ค่อยได้ทำเท่าไร โครงการนี้เท่ากับเติมเต็มให้งาน palliative care สมบูรณ์ขึ้น
  • สำหรับผมแล้ว คนไข้เด็กที่เสียชีวิต ผมยกให้เป็น complicated grief ทุกราย เพราะถือว่าเสียชีวิตก่อนพ่อแม่ ย่อมมีประเด็นที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ จึงต้องยกมือชูสนับสนุน..อีกแล้ว
  • มีเรื่องหนึ่งที่ต้องระวังเกี่ยวกับ แนวทางปฏิบัติ ..ยังไงๆก็ยังเป็นแค่แนวทาง นั่นหมายถึง ต้องพิจารณาคนไข้เป็นรายๆ อย่าเอะอะอะไร ก็ หนึ่ง สอง สามนะครับ เช่น ครอบครัวบางครอบครัวอาจไม่ต้องการรูปภาพ เพราะเขาอาจคิดว่าเป็นการทำให้ ลืมไม่ลง ครับ
  • ดีใจจังเลย มีคนเขียนบันทึกเรื่องนี้อีกคนแล้ว

ขอบคุณค่ะอาจารย์ กุ้งพึ่งเข้ามาอ่านเจออาจารย์เต็มมาเม๊น ขอบคุณสำหรับข้อเสนอเเนะที่ดีค่ะ

สวัสดีค่ะพี่กุ้งหนูมีเรื่องจะปรึกษาเรื่องทำโครงการการเพิ่งพลังชีวิตให้ผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรังและครอบครัวในCCUหนูอยากขอดูหลักการเขียน C8ด้วยนะคะ .....ขอพอแค่นี้ก่อนนะคะเวลามีน้อย

ขอพรวนบันทึกดีๆขึ้นมาไว้ที่นี่ https://www.gotoknow.org/posts/599141

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท