พลังแห่งการบรรยาย


ไม่นิยมใช้เครื่องขยายเสียง

พลังแห่งการถ่ายทอด

 

เครื่องขยายเสียงหรือไมโครโฟน จัดเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ในการบรรยายทุกๆ ครั้ง

ผู้ฟังหรือผู้เข้าอบรมจะเกิดอารมณ์ร่วมหรือเข้าใจในเนื้อหานั้นได้ขนาดไหน

ขึ้นอยู่กับระบบเสียงที่สื่อออกไปถึงผู้ฟัง

และขึ้นอยู่กับพลังแห่งการถ่ายทอด...ของตัววิทยากรเอง...

 

เมื่อต้นเดือนตุลาคม ปี 51

ผมกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียนได้ไปเข้าคอร์ส Action Learning

ของ Dr. Michael J. Marquardt ที่สหรัฐอเมริกา

โดย โครงการ Ph.D. HRD ม.รามคำแหง เป็นเจ้าภาพพาไป

ทำให้ผมเชื่อในพลังแห่งการถ่ายทอดจริงๆ

เพราะในการบรรยายนั้น

วิทยากรจากสถาบัน World Institute for Action Learning: WIAL

ทั้งหมด มิได้ใช้เครื่องขยายเสียงในการบรรยายเลย...

 

ทางท่านก็บรรยายด้วยเสียงที่ค่อย

บางท่านก็บรรยายเสียงดัง...เราจึงต้องตั้งใจฟังมากขึ้นกว่าเดิม

โสตประสาทการได้ยิน ได้ทำงานอย่างเต็มที่ก็คราวนี้เอง...

ทำให้ผมคิดถึงสาเหตุของการบรรยายแบบนี้ว่า...

 

  1. เพื่อให้เนื้อหานั้นออกมาจากความรู้สึกจริง

เป็นการถ่ายทอดเพื่อให้เข้าใจถึงความรู้สึกที่ต้องการสื่อให้ผู้ฟังทราบโดยตรง

ว่ามีความรู้สึกเช่นไร?...อยากสื่ออะไรให้เรารู้

โดยการได้ฟังเสียงแท้ๆ ที่มิได้ปรุงแต่งให้ดังขึ้นด้วยเทคโนโลยี...

  1. เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความตั้งใจฟังมากขึ้น

การที่ผู้บรรยายพูดโดยไม่มีเครื่องขยายเสียง

จะทำให้เสียงของการพูดด้อยลง

ผู้ฟังก็จะสนใจฟังมากขึ้น...

มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน เกรงใจกัน

ใครที่ไม่ได้ฟังก็เงียบๆ ไว้...จะได้ไม่กวนใจเพื่อนที่นั่งข้างๆ

  1. เพื่อให้การบรรยายเป็นกันเองเหมือนพูดคุยกัน

          เป็นการสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเอง สบายๆ

เหมือนการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Sharing) ระหว่างกัน

เพราะการถือไมค์ ยังไงก็ดูเป็นทางการ...

 

ผมลองสอบถามเพื่อนๆ ที่เรียนจบจากต่างประเทศ

ต่างก็บอกเป็นเสียงเดียวกันว่า

อาจารย์หรือผู้บรรยายชาวต่างประเทศ ไม่นิยมใช้เครื่องขยายเสียง...

ซึ่งอาจจะมีเหตุผลอื่นๆ อีกก็ได้

และหากเกิดเครื่องขยายเสียงใช้ไม่ได้ล่ะครับ???

มิต้องหยุดการบรรยายไปเลยหรือ???

หมั่นฝึกพลังการพูด พลังการบรรยายให้ออกมาจากความรู้สึกกันโดยเร็ว...!!!

มาถึงตรงนี้ผมจึงได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการพูดของวิทยากรว่า...

ใครที่อยากเป็นสุดยอดวิทยากร!!!

ต้องมีพลังในการถ่ายทอดที่ดี

สามารถสื่อความรู้สึกถึงผู้ฟังได้ชัดเจน...

และที่สำคัญ...การพูดการจาต้องชัดถ้อยชัดคำ

ห้ามอ้อแอ้ในลำคอ...หรือพูดแบบบ่นงึมงำ...ได้ยินอยู่คนเดียว

ไม่เฉพาะแต่ผู้เป็นวิทยากรหรือผู้ที่บรรยายเท่านั้นครับ...

แต่การพูดจากันเอง ก็ต้องชัดเจนด้วย อย่าหวังที่จะให้คนอื่นเข้าใจที่เราพูด

เรา...ต้องหมั่นสำรวจตัวเองอยู่เสมอว่า...

เราเป็นคนหนึ่งที่พูดไม่ชัด...เพื่อนฟังไม่รู้เรื่องหรือไม่???

ดังสุภาษิตที่ว่า...

 

เมื่อพูดไปเขาไม่รู้กลับขู่เขา

ว่าโง่เง่างมเงอะเซอะหนักหนา

ตัวของเราทำไมไม่โกรธา

ไยพูดจาให้เขาไม่เข้าใจ

 

สำรวจตัวเองให้ดีครับ...ว่าบัดนี้เราพร้อมที่จะส่งพลังในการถ่ายทอดแล้วหรือยัง???

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 245972เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2009 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 13:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท