ขับรถชนคนตายไม่ติดตะราง???


ชนคนตายไม่ติดคุกเสมอไป

ขับรถชนคนตายไม่ติดตะราง???

เรื่องนี้ไม่ได้สอนให้คนหัวหมอ แต่จะเป็นสิ่งที่ช่วยคนที่ขับรถดี แต่มีเหตุให้ต้องชนคนถึงตายโดยเหตุสุดวิสัย

เรื่องนี้เป็นเรื่องจริง เกิดขึ้นในสมัย ร.๖ สู้กันมาแล้วถึง ๓ ศาล ลองอ่านดู

วันเกิดเหตุ ๒ มกราคม ๒๔๖๘ เวลากลางวัน

สถานที่เกิดเหตุ ถนน เทพกษัตริย์ กรุงเทพฯ

คุณลิ่ม บุญชิต พร้อมด้วยลูกตัวกระเปี๊ยกอีกคนได้นั่งรถรับจ้างมุ่งหน้าจะไปทางทิศเหนือ มาตามถนนเทพกษัตริย์ พอถึงจุดเกิดเหตุซึ่งถนนมีความกว้าง ๔ เมตรและยังมีไหล่ถนนกว้างอีก ๒ เมตรทางหน้าร้านของนายกาว ฝั่งตะวันตกของถนนใกล้ๆ กับโรงเรียนอีก ๒-๓ แห่ง

คุณลิ่ม บุญชิด ได้ตะโกนบอกคนขับรถรับจ้างว่า

"เฮ้ย หยุดก่อน ฉันจะลงไปเอาตะกร้า"

พี่สิวคนขับรถของเราเลยจอดรถเข้าที่ขอบถนนหน้าร้านของนายกาว คุณลิ่มก็ลงเดินอ้อมไปทางท้ายรถเพื่อไปซื้อตะกร้าที่ร้านของนายเตียว ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของถนน ตรงข้ามกับฝั่งที่รถโดยสารคันนั้นจอดอยู่

ขณะนั้น นายเหลียง อาตัก จำเลยได้ขับรถสวนมาทางทิศเหนือ พอรถกำลังจะสวนกับรถโดยสารที่นายสิวจอดอยู่ นายเหลียง จำเลย ได้บีบแตรขอทางซะจนแก้วหูแทบแตก

"แป๊รนนน แปร๊นนน แปร๊นนน"

แล้วก็ชะลอความเร็วรถให้ช้าลง

พอคุณลิ่มเดินพ้นท้ายรถโดยสารไปได้เพียงเล็กน้อย รถของนายเหลียงก็เสยเข้าร่างของคุณลิ่มเข้าเต็มเปา

"ตูมมมมม"

เสียดังยังกับภูเขาไฟระเบิด ล้อรถได้ไหลแล่นทับ ครูดเอาร่างของคุณลิ่มไปอีก ๑๕ เมตร ๗๕ เซนติเมตร ร่างของคุณลิ่มจึงหลุดกระเด็นไป แต่รถของจำเลยก็ยังแล่นต่อไปอีกซัก ๓ เมตรเศษก็หยุด ผลปรากฏว่า คุณลิ่มมีแผล ๙ แห่งทั่วตัว และเช้าวันรุ่งขึ้น คุณลิ่ม บุญชิด ก็ลาโรงจากพวกเราไป

อัยการได้เป็นโจทก์ฟ้องนายเหลียงต่อศาลว่า นายหลียงขับรถโดบประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตางกฏหมายลักษณะอาญา ม.๒๕๒ (ตรงกับประมวลกฏหมายอาญา ม.๒๙๑ ปัจจุบัน)

พี่เหลียงปฏิเสธ ต่อสู้ว่า

"เบรคไม่ทันครับท่าน เบรคไม่ทันจริงๆ"

ศาลชั้นต้นได้พิจารณาแล้วพิพากษาว่า

ฯลฯ เหตุที่จำเลยขับรถทับ นายลิ่ม บุญชิด ตายในครั้งนี้เกิดจาก "แอ๊กซิเด็น" โดยจำเลยไม่มีทางเลี่ยงหลบหรือป้องกันได้ "จำเลยไม่มีความปิด ให้ยกฟ้องโจทก์เสีย ฯ"

อัยการคนเดิมได้อุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลอุทธรณ์เพื่อให้สงโทษจำเลยให้ได้ ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้วพิพากษาว่า

ฯลฯ จำเลยขับรถเร็วเกินสมควร ถือว่าจำเลยประมาท ให้จำคุก ๒ เดือน

นายเหลียง อาตัก จำเลย ได้ฏีกาขอให้ศาลฏีกายกฟ้อง

ศาลฎีกาได้พิจารณาแล้วพิพากษาว่า

ฯลฯ แม้ว่าจำเลยจะบีบแตนรถเป็นเสียงดังเพื่อให้สัญญาณก็ตาม แต่เสียงเครื่องยนต์ของรถโดยสารที่จอดอยู่โดยไม่ดับเครื่องอาจจะดังกลบเสียงแตรรถของจำเลย ศาลจึงเห็นว่า นายลิ่ม บุญชิด อาจจไม่ได้ยินเสียงแตรรถของจำเลยก็ได้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดของจำเลยแต่ประการใด

ปัญหาต่อไปมีว่า จำเลยชับรถเร็วเกินไปหรือไม่นั้น นายสิว คนขับรถที่นาบลิ่ม บุญชิด นั่งมาด้วยนั้น เบิกความว่าที่เกิดเหตุเป็นที่ชุมชน

จำเลยขับรถชนนายลิ่มตรงกับที่รถของนายสิวจอดอยู่ โดยที่มีขนาดทางจำกัด เมื่อชนแล้วจำเลยยังขับรถต่อไปอีก ๑๕ เมตรเศษ เป็นการขับรถโดยประมาท ถ้าจำเลยขัรถให้ช้าลงกว่านี้อีกหน่อยก็คงจะไม่มีการชนเกิดขึ้นลยแม้จะเป็นการพลาดพลั้งโดยบังเอิญ แม้รถไปชนคนเข้าก็อาจหยุดได้ทันที ความนัยของศาลอุทธรณ์ดังนี้ ทำให้เข้าใจว่า รถของจำเลยจะต้อง เดินอย่างคลาน จึงจะเป็นอย่างที่ว่า คือพอชนคนเข้าก็สามารถหยุดได้ทันที ฯ

ณ ที่เกิดเหตุนั้น แม้ว่าถนนสายนั้นจะมีทางแยกและมีหมู่บ้านอยู่กันอย่าง "กะหรอมกะแหรม" บ้างก็ตาม แต่ก็เป็นถนนโล่งมองเห็นตลอดและไม่มีรถราสัญจรสับสนอะไร จำเลยขับรถมาด้วยความเร็ว ๒๐ ไมล์ และได้ลดความเร็วลงเหลือ ๑๕ ไมล์เมื่อึงจุดเกิดเหตุ และได้บีบแตรดังๆ เป็นการให้สัญญาณ เป็นการระมัดระวังตามสมควรแก่เหตุแล้ว

โดบังเอิญที่นายลิ่ม บุญชิด จะข้ามถนนจึงเดินอ้อมมาทางท้ายรถของนายสิว ซึ่งมองไม่เห็นรถของจำเลยเพราะรถของนายสิวบังอยู่ พอท่านลิ่มเดินพ้นท้ายรถของนายสิวจึงถูกรถของจำเลยชนและทับเข้าทันที ซึ่งนอกเหนือวิสัยของคนธรรมดา การขับรถช้าหรือเร็วนั้นควรเป็นไปตามกาละเทศะ การที่จะบังคับให้รถทุกคัน เดินอย่างคลาน อย่างที่ศาลอุทธรณ์ว่ามานี้ เห็นจะไม่บังควรนัก

ในกรณีนี้ หากนายลิ่ม บุญชิด ระมัดระวังเสียบ้าง มองซ้ายมองขวาสักหน่อย การชนครั้งนี้จะไม่เกิดขึ้นเลย ดังนั้น การที่จำเลยขับรถชนนายลิ่ม บุญชิดรั้งนี้

ศาลฎีกาเห็นว่า เป็นเพราะเหตุสุดวิสัย หาใช่ความประมาทไม่ ศาลอุทธรณ์ยกเหตุผลไม่พอที่จะคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงยกคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์เสียและให้ดำเนินกระบวนการตามศาลเดิม คือเท่ากับว่าให้ยกฟ้องโจทก์ ปล่อยตัวจำเลยไป

หมายเหตุ จากเรื่องจริง (ฎ.๔๙๐/๒๔๖๙)

จากฎีกาข้างต้นนี้สรุปได้ว่า ผู้ที่ขับรถชนผู้อื่นจนถึงแก่ความตายนั้น หาใช่ผู้ผิดเสมอไปไม่ ถ้าผู้นั้นสามารถพิสูจน์ให้ศาลเชื่อได้ว่า ตนได้ใช้ความระมัดระวังในระดับที่วิญญูชนพึงกระทำในสถานการณ์เช่นนั้นแล้ว ผู้นั้นก็จะไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

ข้อมูล หนังสือ กฏหมายสบายสบายสไตล์ชาวบ้าน โดย บุญร่วม เทียมจันทร์ อดีตอธิบดีกรมอัยการ อัยการอาวุโส

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน Bobby
หมายเลขบันทึก: 245970เขียนเมื่อ 3 มีนาคม 2009 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

สวัสดีค่ะ

นำดอกเหลืองปรียาธร ณ มหาวิทยาสัยมหาสารคาม มาฝากค่ะ

ขอบคุณครับคุณ tula ที่แวะเข้ามาทักทาย ขอให้มีความสุขนะครับ

ถ้าพิสูจน์ได้ว่าเราไม่ประมาท ศาลก็อาจจะตัดสินว่าเราไม่ผิดใช่ไม๊ค่ะ

สวัสดีครับ ขอบคุณครับน้าตุ๊ก

น้าตุ๊กครับ ความเข้าใจของน้าตุ๊กถูกแค่ครึ่งเดียวนะครับ เอ...ให้ ๓ ใน ๔ ละกัน ส่วนที่เหลืออีก ๑ ใน ๔ เนี่ย ยังผิดอยู่ครับ แต่ผิดนิดเดียวเท่านั้นเอง คือผิดตรงคำว่า "อาจจะ" น่ะครับ ลองขึ้นไปดูความเห็นของน้าตุ๊กข้างบนอีกทีก็ได้ครับ มีคำว่า "อาจจะ" อยู่ด้วย ซึ่งถ้าไม่มีคำนี้ล่ะก็ ถูก ๑๐๐% เลยครับ ส่วนจะผิดยังไง ต้องติดตามดูครับ

น้าตุ๊กครับ ที่ว่าผิดเนี่ย คือว่า ถ้าศาลเขาเชื่อว่าเราไม่ประมาทแล้ว เขาไม่แค่"อาจจะ"ตัดสินว่าไม่ผิดหรอกครับ เขาจะตัดสินฟังธงเลยว่าเราไม่ผิดเลย แล้วก็จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ ปล่อยตัวเรากลับบ้านครับ คือพูดง่ายๆ ว่า ศาลเชื่อยังไงก็ตัดสินตามนั้น โดยอาศัยพยานหลักฐานหลายๆ อย่าง รวมทั้งคำฟ้องโจทก์ คำให้การของจำเลย คำตอบของพยานโจทก์ พยานจำเลยที่ตอบคำถามของทนายหรืออัยการ ฯลฯ มาเป็นข้อพิจารณาวินิจฉัยครับผม

ไม่ใช่ค่ะน้าตุ๊ก หมายถึงถ้าน้าตุ๊กขับรถเหมือนกรณีแบบนี้ แต่ละศาลก็อาจจะตัดสินไม่เหมือนกัน คือถ้าอีกคนตัดสินก็อาจจะไม่ผิด หรือผิดน้อย ประมาณนี้ค่ะ ใช่จะเหมือนกันทุกคนไม่ใช่หรือ

สวัสดีครับน้าตุ๊ก ขอบคุณครับ น้าตุ๊กครับ ถ้าความหมายของน้าตุ๊กหมายถึงว่า แต่ละศาลจะตัดสินไม่เหมือนกัน ก็ถือว่า ถูกต้องแล้วคร้าบบบบ คืออย่างที่บอกล่ะครับ ว่า เขาจะใช้พยานหลักฐานหลายๆ อย่างมาประกอบการวินิจฉัย แล้วแต่ว่าศาลคนไหน ศาลชั้นไหนจะตีฟาม เอ๊ย...ตีความว่าอย่างไร ไม่เหมือนกันทุกคนและทุกศาลหรอกครับ อย่าว่าศาลล่างกับศาลสูงจะตัดสินคนละอย่างเลย แม้แต่ศาลชั้นเดียวกัน แต่ศาลคนละคน ยังตีความสำนวนไม่เหมือนกันเลยครับ เขาถึงต้องมีศาลถึง ๓ ชั้นไงครับ เพื่อให้สู้กันอย่างยุติธรรมที่สุดอ่ะครับ

เออ แล้วตาชั่งนี่เหมือนกันทุกศาลไหมค่ะ

สวัสดีครับครูต้อย ขอบคุณนะครับที่เข้ามาทักทายกัน ถามว่าตาชั่งเหมือนกันทุกศาลมั้ย เหมือนกันแหละครับ เพียแต่เขาก็ใช้ดุลพินิจประกอบกับพยานหลักฐานหลายๆ อย่าง แต่เจ้าคำว่า "คุลพินิจของศาบ" เนี่ยแหละครับ ที่ทำให้ศาลตัดสินไม่เหมือนกันครับ

มายิ้มๆ

ขำได้หลายเด้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท