ตำบลขยายขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน 25 ตำบล


ไม่ได้เข้ามาเขียน นานแล้ววันนี้พอมีเวลาว่างที่จะเข้ามาเล่าความคืบหน้าให้กับการทำงานของ กลุ่มอาสาขยายเรื่องสวัสดิการชุมชน (ออมวันละหนึ่งบาท) เพราะเป็นเรื่องที่ทางกลุ่มบ้านดอนไชย อาสาที่จะนำเรื่องสวัสดิการชุมชน (รูปแบบออมบุญวันละหนึ่งบาท เพื่อสวัสดิการชุมชน) หลังจากที่ได้ไปพูดแลกเปลี่ยนกับกลุ่มตำบลนาแก้ว แล้วก็มีตามมาอีกหลายตำบล

เมื่อวันที่ 20 พ.ย.2551 ก็ได้ไปบรรยายต่อยอดกับสิ่งที่กลุ่มในตำบล ท่าผา อำเภอเกาะคา ได้ออมกันแล้ว และได้เกิดการออมวันละหนึ่งบาท อยู่ในตำบลนี้ แต่ยังไม่รู้จะทำให้มีการเชื่อมเครือข่ายในระดับตำบลอย่างไร เมื่อวันที่23 กุมภาพันธ์ 2552 ได้มาศึกษาดูงานที่กลุ่มต้นแบบของบ้านดอนไชย จำนวน 180 คน มาจากหลากหลายกลุ่ม ในตำบลนั้น แต่ได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนในห้องประชุมที่ทางกลุ่มบ้านดอนไชยจัดให้ประมาณ 80 คน เหลืออีก 100 คนให้อยู่ด้านนอกห้องประชุม ในวันนั้นทางกลุ่มบ้านดอนไชยได้มี ตลาดขนาดย่อมมีการนำสินค้าในชุมชน ได้นำมาจำหน่ายในศูนย์ด้วย มีสินค้าที่จำหน่ายเป็นของที่ระลึก เช่นแก้วโป่งข่าม ส้มเกลี้ยง และอีกหลายอย่างที่มีอยู่ในบ้านดอนไชย ดีว่าศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตบ้านดอนไชย ได้สร้างเสร็จทันการต้อนรับคณะศึกษาดูงาน

เมื่อเสร็จการบรรยายแล้ว ได้ให้ผู้สนใจในการจัดเก็บข้อมูลที่เป็นระบบธนาคารสวัสดิการของกลุ่มบ้านดอนไชย ทุกคนชมว่าเป็นกลุ่มที่เข้มแข็งมาก และเข้าใจวิธีการทำงานของกลุ่มมากขึ้น เหนื่อยแต่สนุกกับสิ่งที่ได้ทำงานนี้สำเร็จไปแล้วหลายกลุ่ม จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และสังเกตุว่าแต่ละตำบลที่มานี้ได้มีผู้นำจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้นำขบวนมาแลกเปลี่ยนและยังให้กำลังใจชาวบ้านว่า ถ้ากลุ่มรวมตัวและมีการทำกิจกรรมรูปแบบออมวันละหนึ่งบาท จะให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และจะช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้กับองค์กรชุมชนที่มีการจัดสวัสดิการวันละหนึ่งบาท จากการพัฒนาของกลุ่มเอง และการเชื่อมเป็นเครือข่ายใน ระดับตำบล  

วันที่ 23 ธันวาคม 2551 ได้เข้าไปบรรยายที่ ตำบลทุ่งกว๋าว การบรรยายครั้งนี้ได้เชิญ หัวหน้าสำนักงานการพัฒนาสังคมฯ จังหวัดลำปาง คุณปิ่นชาย ปิ่นแก้ว เข้าร่วมด้วย เพื่อจะได้เห็นการทำงานภาคประชาชน ทำงานโดยยึดความคิดของชุมชนเป็นที่ตั้ง โดยมีการแบ่งกลุ่มของแต่ละหมู่บ้านในตำบลทุ่งกว๋าว เมื่อบรรยายเสร็จยังไม่เห็นว่ากลุ่มจะทำกันอย่างไร เลยได้ตั้งชุดทำงานเฉพาะกิจขึ้นมาก่อน ประมาณ 20 คน เป็นตัวแทนแต่ละหมู่บ้าน ได้ไปขยายความคิดนี้ให้เกิดการรวมตัวในหมู่บ้านตนเองก่อน หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ได้มีการศึกษาดูงานพื้นที่ต้นแบบ คือกลุ่มหัวหน้าธวัช หรือกลุ่มผู้ใหญ่เก่ง ที่เป็นประธานแทนหัวหน้า ธวัช ภาคเช้าดูงานที่อำเภอแม่พริก ภาคบ่ายมาศึกษาดูงานที่บ้านดอนไชยอำเภอเถิน วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2552 ได้มีคณะศึกษาดูงาน 3 ตำบล เป็นพื้นที่ตำบลขยาย 2 ตำบล และตำบลที่ทำขอมาศึกษาดูงานอีก 1 ตำบล ในวันนี้ จึงรับคณะศึกษาดูงาน ที่มีความหลากหลาย เพราะตั้งใจที่จะให้หลายกลุ่มได้เข้าแลกเปลี่ยน การทำงานของแต่ละพื้นที่ ทำงานรูปแบบการจัดสวัสดิการที่ไม่เหมื่อนกัน จะได้มีเวลาสนทนานำวิธีการทำงานมาพูดในเวลาที่มีการพบปะกัน

แต่ก็ได้ผลตามที่ คณะทำงานตั้งใจว่าต้องมีสิ่งที่ดีเกิดขึ้นกับกลุ่มที่ยังคิดไม่ออก จะได้นำข้อดีไปปฏิบัติบ้าง

กลุ่มที่จะเห็นการทำงานที่ชัดเจนเกิดขึ้นแล้ว คงจะเป็นตำบลวังทรายคำ อำเภอวังเหนือที่ มีการเชื่อมเครือข่ายในระดับตำบล วันที่ 7 มีนาคม 2552 ทางกลุ่มบ้านดอนไชยจะนำโปรแกรมการจัดเก็บข้อมูล ให้กับตำบลวังทรายคำได้ใช้ให้เกิดประโยชน์ในกลุ่มที่มีอยู่ในตำบลนี้ ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้สนับสนุนวัสดุสำนักงานให้ใช้ส่วนหนึ่ง และยังจัดสรรงบประมาณเข้ามาสมทบให้ในระดับตำบล ในกองทุนสวัสดิการตำบลวังทรายคำ นับว่าเป็นตัวอย่างที่น่ายกย่องกับผู้นำที่เข้าการทำงานของชาวบ้าน

และยังมีอีกหลายตำบลที่จะเข้ามาเล่าให้ฟังอีกนะค่ะ

นกน้อยทำรังแต่พอตัว 

หมายเลขบันทึก: 245214เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2009 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 12:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท