เรื่องสั้นเชิงบริหาร


กุญแจที่หายไป

ข้อ ๓

เรื่องสั้นเชิงการบริหาร

ชื่อเรื่อง กุญแจของนายท่านอยู่ไหน

                มีเรื่องเล่าต่อ ๆ กันมาว่า  มีครูชายหนุ่มคนหนึ่งกำลังเดินทางกลับบ้านหลังจากเลิกงานตอนค่ำ  ขณะที่เดินอยู่เขาพบว่าที่ข้างถนนมีผู้บริหารสถานศึกษาชายสองคน  แต่งตัวใส่สูทดูท่าทางภูมิฐาน  กำลังก้มหน้าก้มตาขมักเขม้นมองหาอะไรบางอย่างอยู่ที่พื้นใต้แสงไฟริมทางเดินอย่างเอาจริงเอาจัง  ทั้ง ๆ ที่ใต้แสงไฟนั่นเขาก็มองไม่เห็นว่าจะมีอะไร  ด้วยความแปลกใจ ครูชายหนุ่งจึงเดินเข้าไปหาผู้บริหารสถานศึกษาชายทั้งสอง แล้วถามขึ้นด้วยความสงสัยว่า

                พวกท่านกำลังหาอะไรกันหรือ ?”

                เราได้ทำกุญแจรถตกหาย  

                แล้วรถของท่านอยู่ที่ไหนล่ะ?”

                อ๋อ เราจอดรถอยู่ห่างจากถนนนี้ลงไปประมาณ ๕๐ หลา

                แล้วทำไมพวกท่านถึงได้มาหากุญแจแถวนี้ล่ะ?”

                ก็บริเวณที่จอดมันมืดมองอะไรไม่ค่อยเห็น  แต่ที่ตรงนี้มีแสงจากหลอดไฟข้างถนนน่าจะหากุญแจได้ง่ายกว่า

                ครูชายหนุ่มได้ งง  งง    แล้วก็เดินจากไปด้วยความคับข้องใจ

☼☼☼☼

               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

จากนิทาน :

๑.       หากกุญแจคือยุทธศาสตร์ในการนำพาสถานศึกษาสู่เป้าหมาย  เรื่องดังกล่าวได้สะท้อนถึงพฤติกรรมการบริหารจัดการอย่างไรบ้าง  เกี่ยวกับการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารทั้งสอง

แนวคำตอบ

ในระบบของการจัดการศึกษาในปัจจุบัน  เป้าหมายของสถานศึกษา คือ  การจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้มีความรู้ตามมาตรฐานที่กำหนด  คือ  ดี  เก่ง  มีสุข  ได้แก่

มาตรฐานที่  1       ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ 

มาตรฐานที่  2       ผู้เรียนมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม

มาตรฐานที่  3       ผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน  รักการทำงาน  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  และมีเจต

                            คติที่ดีต่ออาชีพสุจริต

มาตรฐานที่  4       ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์  คิดสังเคราะห์  มีวิจารณญาณ มีความคิด

                            สร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์

มาตรฐานที่  5       ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร

มาตรฐานที่  6       ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง  รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่าง

                            ต่อเนื่อง

มาตรฐานที่  7  ผู้เรียนมีสุขนิสัย  สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี

มาตรฐานที่  8   ผู้เรียนมีสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ  ดนตรี  และกีฬา

                สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้บริหารไม่ได้ทำ  เพราะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น  ในการจะทำให้บรรลุผลได้ต้องใช้เวลาเช่น  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์  ซึ่งเมื่อทำก็เกิดผลกับตัวผู้เรียนโดยตรง  แม้ทำไปมากก็ยากในการที่จะมองเห็นภาพ  เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องใช้ระยะเวลานานมากจึงจะเกิดผล 

                แต่สิ่งที่ผู้บริหารในยุคปัจจุบันได้ทำ  คือ  ทำในสิ่งที่ง่ายต่อการมองเห็น หรือเป็นภาพลักษณ์ที่ทำแล้วปรากฏชัดแก่สายตาของคนทั่วไป  คือ  การตกแต่งอาคารสถานที่  การทาสีกำแพงโรงเรียน  การจัดภูมิทัศน์  แม้สิ่งเหล่านี้จะไม่ได้ส่งผลต่อเป้าหมาย  คือคุณภาพผู้เรียนมากนัก ทำสิ่งเหล่านี้มากเท่าไร  ทำนานแค่ไหน  ก็จะไม่เกิดผลแก่ผู้เรียน  เพราะถือว่าผิดที่ ผิดเป้าหมาย

 

 

 

 

 

 

 

๒.     เรื่องสั้นเชิงการบริหารดังกล่าวช่วยให้นักศึกษาเกิดแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศอย่างไรบ้าง 

                การที่ผู้บริหารไม่ได้ทำ  ในสิ่งที่เป็นเป้าหมายเพราะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น  แต่ไปกระทำในสิ่งที่ไม่ใช่เป้าหมาย เพราะมองเห็น   เรื่องนี้สามารถปรับเพิ่มเติมได้คือ  กุญแจ(ยุทธศาสตร์ในการนำพาสถานศึกษาสู่เป้าหมาย)  อยู่ที่ไหน  ต้องมาค้นหาวิธีการในการที่จะหากุญแจให้พบ  ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลคือ กุญแจตกบริเวณไหนชัดเจน  กุญแจมีลักษณะอย่างไร  สามารถทำให้แสงสว่างบริเวณนั้นเพิ่มขึ้นได้มั๊ย  มีใครพอจะช่วยหาเพิ่มได้บ้าง  ฯลฯ  ก่อให้เกิดแนวคิดในการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ  คือ

๑.       สารสนเทศเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา  ตั้งอยู่ ประวัติ  สภาพพื้นที่  ชุมชน 

๒.     ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน ว่า  ลักษณะคุณภาพ ณ  ปัจจุบัน เป็นอย่างไร  มีแนวทางในการพัฒนาได้อย่างไรบ้าง

๓.     ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารวิชาการ  ว่า มีวิธีการไหนที่จะพัฒนาส่งเสริมผู้เรียนให้ก้าวสู่มาตรฐานได้บ้าง

๔.     ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ  มีวิธีการในการนำพาไปสู่เป้าหมายได้ด้วยวิธีการใดบ้าง  มีระบบการทำงานอย่างไร     

               

 

 

หมายเลขบันทึก: 245195เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2009 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท