การจัดการความรู้ การประกันคุณภาพการศึกษา


แนวทางการจัดการความรู้การประกันคุณภาพฆังคะทวีศิลป์

        กรณีศึกษา  จากคำกล่าวที่ว่า  ...การประเมินภายนอกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานแห่งหนึ่ง  พบว่า

มีหลายมาตรฐานและหลายตัวบ่งชี้  ที่อยู่ในเกณฑ์ต่ำ  จากการศึกษาถึงสาเหตุและปัญหาพบว่า  ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากครูและบุคลากรของสถานศึกษา  ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา...

                จากข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปสู่การดำเนินการจัดการความรู้  เรื่อง  การประกันคุณภาพการศึกษา  โดยการดำเนินการดังนี้

ที่

กิจกรรม/ งาน

การดำเนินการ

ผลที่ได้รับ

หมายเหตุ

๑.

บุคลากรมีความตระหนัก  มีความรู้ต่องานประกันคุณภาพการศึกษา

- สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกันต่อระบบประกัน

- ศึกษาและเรียนรู้กลไกของการประกันคุณภาพ

- การมีส่วนร่วมทุกคนในโรงเรียนต่อการประกัน

- บุคลากรมีความตระหนักมีความรู้  ความเข้าใจต่อการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นอย่างดี

 

พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการศึกษา

- ระบบการจัดหาและรวบรวมข้อมูล

- การพัฒนาระบบสารสนเทศ  เพื่อการจัดเก็บและค้นคว้า

- การสร้างสรรค์ระบบสารสนเทศใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับโรงเรียน

- มีข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนต่อการพัฒนา

- ระบบสารสนเทศของโรงเรียนถูกต้องง่ายต่อการค้นคว้า

- มีระบบสารเสนเทศทันสมัยและทันต่อเทคโนโลยี

 

กำหนดบทบาทหน้าที่ตามความรู้ความสามารถและขอบข่ายของงาน

- การมอบหมายงานต่อบุคลากรทุกคน

- กำหนดผู้ทำงาน / ผู้รับผิดชอบ

- บุคลากรรู้บทบาทหน้าที่รับผิดชอบต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา

 

การกำกับ  ติดตาม

- การนิเทศ  ติดตามการทำงาน  การับผิดชอบงานตามบทบาทหน้าที่

- ทราบผลการดำเนินงานรู้ปัญหา  อุปสรรคต่อการทำงานของบุคากรและวิธี  - แนวทางแก้ปัญหา /พัฒนาต่อไป

 

สรุป / รายงาน

- มีการสรุปรายงานผลการดำเนินงานและวิจัยพัฒนาต่อไป

- มีผลการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนที่พร้อมและถูกต้อง

 

ประโยชน์ที่ได้จากการประกันคุณภาพการศึกษา

1.       ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษา

ที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

2.                ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ มีการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส มีความรับผิดชอบที่

ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเน้นคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่องทำให้เป็น ที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

3.       ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำและความรู้ ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบ

และมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของ

ผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

4.                กรรมการสถานศึกษาได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นผู้ที่ทำประโยชน์ 

และมีส่วนพัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพทางการศึกษาให้แก่เยาวชนและชุมชนร่วมกับผู้บริหารและครู สมควรที่ได้รับความไว้วางใจให้มาเป็นกรรมการสถานศึกษา

5.       หน่วยงานที่กำกับดูแล ได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง

 ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับ ดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพของสถานศึกษา

6.       ชุมชนและสังคมประเทศชาติ ได้เยาวชนและคนที่ดี มีคุณภาพและศักยภาพที่จะ

ช่วยพัฒนาองค์กร ชุมชน และสังคมประเทศชาติต่อไป

7.       ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจจากการให้บริการของหน่วยงาน 

ในระดับสถานศึกษาการประกันคุณภาพจะครอบคลุมถึงการสร้างความมั่นใจโดยการใช้ข้อมูล

สารสนเทศและองค์ความรู้และการวางแผนป้องกันปัญหาที่จะเกิดตั้งแต่ในขั้นการออกแบบกระบวนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้ตามหลักสูตร การบริหารหลักสูตร การติดตาม ตรวจสอบและทบทวนเป็นระยะๆ เพื่อให้มีการแก้ไข ปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง การประเมินคุณภาพผลผลิต การจัดทำรายงาน และนำเสนอข้อมูลการประเมินสำหรับ การตัดสินใจในระดับต่างๆ และ สำหรับการวางแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในระยะต่อไป

หลักการสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน

การประกันคุณภาพการศึกษาครอบคลุมถึงมวลกิจกรรมและภารกิจทางวิชาการและทางการบริหารการจัดการที่มี การวางแผนล่วงหน้า และมีการประสานสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะสร้างความมั่นใจทีสมเหตุสมผลว่าผู้เรียน จะมีความรู้ ความสามารถ และ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้

 

 

หมายเลขบันทึก: 245192เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2009 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 05:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท