การบริหารยาเคมีบำบัด..ทางเส้นเลือดดำ


การบริหารยาเคมีบำบัด..ทางเส้นเลือดดำ

คู่มือการบริหารยาเคมีบำบัด..ทางเส้นเลือดดำ

1.       ตรวจสอบคำสั่งการรักษา ได้แก่ชนิดของยา ขนาดของยา  วิธีการบริหารยา และยาหรือสารน้ำที่ต้องให้ก่อนยาเคมีบำบัด

2.       เตรียมอุปกรณ์และยา Pre-medication, Pre-hydration  ให้พร้อม

3.       ล้างมือ  ผูก mask สวมถุงมือ disposable

4.       ตรวจสอบยาเคมีบำบัดที่ผสมแล้ว เช่น การตกตะกอน สี 

5.       เลือกเส้นเลือดดำที่จะให้ยาเคมีบำบัด ควรเลือกเส้นเลือดที่มีขนาดใหญ่  เรียบตรง มีความยืดหยุ่นจากบริเวณส่วนปลายแขนไปหาส่วนบน  ไม่ควรให้บริเวณข้อมือ หรือข้อพับ  ไม่ควรเลือกเส้นเลือดจากแขนหรือขาที่มีการอุดตัน (SVC obstruction) หรือด้านที่ได้รับการผ่าตัดเต้านม

6.       การฉีดยาเข้าเส้นเลือดดำโดยตรง (Bolus) กรณีมี Pre-hydration ควรเปิดเส้นเลือดเพื่อหยดสารน้ำนำไว้ก่อน  แล้วฉีดยาเคมีบำบัดช้าๆ เมื่อยาหมดให้ปล่อยสารน้ำเร็วๆสักครู่ หลังจากนั้นให้ปรับหยดตามแผน การรักษา     กรณีไม่มี    Pre-hydration ใช้   2-Syringe technique โดยฉีด  0.9 % NSS 10 CC ก่อนและหลังการให้ยาเคมีบำบัดแต่ละชนิด

7.  การฉีดยาเคมีบำบัด ถ้ามียาเคมีบำบัดหลายชนิด ควรฉีดยา กลุ่ม  Vesicants ก่อน ตามด้วยกลุ่ม Irritantsและ Non- Vesicants ตามลำดับ หรือตามคำสั่งการรักษา ขณะฉีดยาควรทดสอบว่าไม่เกิดการรั่วซึม โดยให้ดูดยากลับทุกๆการฉีดยา 2-3 ซีซี

8.  ขณะให้ยาเคมีบำบัดควรสอบถามอาการผิดปกติและสังเกตบริเวณที่ฉีดยา

9.  หลังการให้ยาเคมีบำบัด ให้คำแนะนำผู้ป่วยให้สังเกตอาการปวด บวมแดง แสบร้อน บริเวณให้ยาเคมีบำบัด

10.วัดสัญญาณชีพหลังให้ยาเคมีบำบัด  1 ชั่วโมง และทุก 4 ชั่วโมงจนครบ 24 ชั่วโมง

11. บันทึกภายหลังการให้ยาเคมีบำบัด ทั้งเวลา ชนิด  ปริมาณ วิธีการบริหารยาและอาการแสดงของผู้ป่วยหลังให้ยา

12. กรณีมียารั่วซึมของยาเคมีบำบัดออกนอกเส้นเลือด (Extravasation) หยุดยาทันทีและดูดยาที่รั่วซึมออกให้มากที่สุด และถอดเข็มออก  รายงานแพทย์ แพทย์อาจสั่งยาทาด้วย 1% Hydrocortisone หรือ Antidote ตามแผนการรักษา  ประคบด้วยกระเป๋าน้ำแข็งบริเวณที่รั่วซึมนานครั้งละ 15-20 นาที ทุก 4 ชั่วโมง ภายใน 24 ชั่วโมงแรก ยกเว้นยาในกลุ่ม Plant alkaloids เช่น Vincristine Vinblastine, Etoposide, Taxol ให้ใช้ประคบร้อนแทน

.................................................................

อุบล จ๋วงพานิช

บันทึก 26 กุมภาพันธ์ 2552

หมายเลขบันทึก: 245052เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ในแต่ละวัน เราจะต้องให้ยาเคมีบำบัดวันละ 20-25 คนต่อวัน

การให้ยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย พยาบาลจะต้องมีสมาธิและช่วยกันตรวจสอบ

1.        พยาบาล 2 คน จะช่วยกันตรวจสอบ (Double check)

2.        พยาบาลจะต้องมีสมาธิ  ระหว่างให้ยา จะต้องไม่มีสิ่งรบกวน เช่น ไม่ควรรับโทรศัพท์ขณะให้ยาเคมี   ถ้ามีโทรศัพท์ให้จดเบอร์ไว้ แล้วติดต่อกลับภายหลัง

3.        พยาบาลไม่ควรฟังเพลงจากหูฟัง ระหว่างให้ยาเคมี

4.        ระหว่างให้ยาเคมีบำบัด  ควรเชิญญาติออกจากบริเวณหอผู้ป่วยก่อน

5.        การ Double check จะต้องทำตามขั้นตอนอย่างเคร่งครัด

 

เตรียมความพร้อมเพื่อให้หาเส้นง่ายก่อนให้เคมี

ารเลือกเส้นเลือด

การให้ยาเคมีบำบัด ที่สำคัญที่สุด ผู้ป่วยจะต้องมีเส้นเลือดที่เห็นเด่นชัด  พยาบาลจะต้องวางแผนการเลือกเส้นเลือดอย่างมีระบบ โดยเราต้องเลือกเส้นจากบริเวณส่วนปลายก่อน (Metacarpal vein) ก่อนเส้นเลือดอื่นๆ  และไม่ควรเลือกเส้นที่เคยให้ยาเคมีในช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ไม่ควรเลือกเส้นเลือดจากแขหรือขาที่มีการอุดตันของต่อมน้ำเหลือง  

การพิจารณาลำดับการฉีดยาเคมีบำบัด

ถ้ามียาเคมีมากกว่า 2 ชนิด  ต้องให้ยาชนิด Vesicant ก่อน (วิธีการจำยาชนิด Vesicant: ชื่อยาที่ลงท้ายด้วย cin เช่น Mytomicin, Bleomycin, Adriamycin และ อื่นๆ เช่น Vincristine,  Vinblastine, Etoposide, Taxol  แล้วตามด้วยกลุ่ม Irritantsและ Non- Vesicants ตามลำดับ หรือตามคำสั่งการรักษา

การเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนให้ยาเคมี

1.        ให้ออกกำลังแขน โดยการกำลูกบอล

2.        ให้ดื่มน้ำอุ่น

3.        ให้ประคบด้วยน้ำอุ่น

Oncology Nursing Secrets

ลำดับการให้ยาเคมีบำบัดมีความสำคัญอย่างไร

regimen

1 Paclitaxel+ 2 Carboplatin+ 3 Cisplatin

เราต้องให้ 2,3,1 เพื่อลดการกดไขกระดูก

1 Paclitaxel+2 Doxorubicin

เราจะต้องให้ยา 2,1 ก่อน เพื่อลด mucositis

1 MTX+ 2 Taxol

ต้องให้ 2,1

1 5-FU+ 2 Taxol

ต้องให้ 1,2

 

แบบรายงานผลงานของหน่วยงาน

เพื่อรับค่าตอบแทนตามข้อ 8

ของประกาศคณะแพทยศาสตร์ ฉบับที่ 60/2551 ปีงบประมาณ 2552

ชื่อหน่วยงาน หอผู้ป่วยเคมีบำบัด 5จ แผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษ

1.  ชื่อเรื่อง:  โครงการ CoP: การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำ  (Chemotherapy administration)

2. รายละเอียดกิจกรรม

                 2.1  การดำเนินงาน  ตามนโยบายคณะแพทยศาสตร์ที่เห็นความสำคัญในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) ดังนั้นหอผู้ป่วยเคมีบำบัดร่วมกับผู้มีประสบการณ์มาตั้งชุมชนนักปฏิบัติ เรื่อง การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำขึ้น  เพื่อสร้างขุมทรัพย์ความรู้ (Knowledge Assets)   

 

2.2 หลักการและเหตุผล     ปัจจุบันหอผู้ป่วย 5  แผนกการพยาบาลบำบัดพิเศษ  งานบริการพยาบาล   ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยมะเร็งทุกชนิดที่มารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดในปี พ..2549 มีสถิติการให้บริการ จำนวน  2,560 ราย  เฉลี่ยประมาณเดือนละ  200 - 250  ราย  มีผู้ป่วยที่นัดมารับยาเคมีบำบัดประมาณ 10 คน ต่อวัน โดยให้บริการแก่ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดเฉลี่ยวันละ 18 -  30 ราย และมีปริมาณการบริหารยาเคมีบำบัดที่ต้องเตรียมเฉลี่ยวันละ  80-100  เข็ม นอกจากนี้ในหอผู้ป่วยอื่นๆในโรงพยาบาลมีการให้ยาเคมีบำบัดด้วยเช่นกัน

ยาเคมีบำบัดเป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ความเสี่ยงอาจเกิดขึ้นได้ในทุกขั้นตอนหรือกระบวนการใช้ยา เริ่มจากความเสี่ยงจากการสั่งใช้ยา การบริหารยา และการกำจัดขยะที่ปนเปื้อนยา ซึ่งการบริหารจัดการความเสี่ยงดังกล่าวต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคลากรที่มีสมรรถนะเพียงพอ  ดังนั้นทางหอผู้ป่วย 5จ และหอผู้ป่วยต่างๆภายในโรงพยาบาลศรีนครินทร์  จึงเล็งเห็นความสำคัญของการให้ยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย และการป้องกันอาการข้างเคียงจากการใช้ยาเคมีบำบัด  เพื่อได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้ป่วยในการรักษา และมีความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงาน  จึงรวมกลุ่มกันเป็น ชุมชนนักปฏิบัติ (CoP): การบริหารยาเคมีบำบัดทางหลอดเลือดดำ  เพื่อพัฒนาระบบการบริหารยาเคมีบำบัด  เป็นการรวบรวมความรู้จากประสบการณ์การทำงานของบุคลากรมาเผยแพร่  ทำให้เกิดความรู้ใหม่ และนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร  รวมทั้งเป็นกลยุทธ์สำคัญในการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ  

 

3.  ผลลัพธ์ที่โดดเด่น   

3.1    ได้ Knowledge asset  7   เรื่อง 

1)  การบริหารยาเคมีบำบัดทางเส้นเลือดดำ http://gotoknow.org/blog/copivchemotherapy/245052

2)  กระบวนส่งใบสั่งยาเคมีบำบัดไปที่ห้องผสมยาเคมีบำบัด 

3) เตรียมความพร้อมเพื่อให้หาเส้นง่ายก่อนให้เคมี   

4)  การให้ยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย พยาบาลต้องมีสมาธิและมีการตรวจสอบ

                5) เทคนิคการตรวจสอบยาเคมีบำบัดทุกขั้นตอน (Double check)            

                 http://gotoknow.org/blog/copivchemotherapy/245057

                6) การ Refer ฉีดยาเคมีบำบัดให้สะดวกและปลอดภัย 

7) ขั้นตอนการส่งและรับยาเคมีบำบัดทั่วไป

 

3.2   ผลงานเผยแพร่ใน Web KMmed,    

      GotoKnow      http://gotoknow.org/blog/copivchemotherapy

 

4.   สนับสนุนดัชนีชี้วัดหลักตามยุทธศาตร์ของคณะหรือ กพร อะไร ได้อย่างไร

สนับสนุนประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ ตัวชี้วัด  ของคณะแพทยศาสตร์ 

 

5. อื่นๆที่นัยสำคัญ 

                 จากการดำเนินโครงการฯ ดังกล่าว  ทำให้หอผู้ป่วยเคมีบำบัดมีคลังความรู้  พยาบาลสามารถใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการให้ยาเคมีบำบัดอย่างปลอดภัย

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท