แผนการจัดกิจกรรมแนะแนว การรู้จักและเข้าใจตนเอง


การฝึกความจำ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้

 

แผนการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมแนะแนว                                           ช่วงชั้นที่ 4 (ม.5)                                                      ภาคเรียนที่ 1

ชื่อกิจกรรม           การเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ                          

หน่วยการพัฒนาที่   1        เรื่อง     การฝึกความจำ                                                                   เวลา 1 ชั่วโมง  
มาตรฐานที่  4  มีความสามารถปรับตัวและดำรงชีวิตอย่างมีความสุข    

สาระสำคัญ          

                ความจำเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อสัมฤทธิผลทางการเรียน 

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                นักเรียนมีวิธีฝึกความจำ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียน

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.    เพื่อให้นักเรียนทุกคนสามารถจำชื่อกันได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว

2.    เพื่อให้ได้ทราบลักษณะเด่นหรืออุปนิสัยส่วนตัวที่เพื่อนเปิดเผยได้

3.    เพื่อสร้างบรรยากาศความตื่นเต้นสนุกสนานในการฝึกความจำ

4.    เพื่อให้นักเรียนประเมินความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการ 

จัดกิจกรรมในคาบแนะแนว

กระบวนการจัดกิจกรรม

              ขั้นนำ     

             1.    ครูทบทวนชื่อนักเรียนในห้องเรียน 3-5 ชื่อ และสรุปถึงความจำเป็นในการจดจำชื่อ

             2.    ครูอธิบายจุดประสงค์ของกิจกรรม  ไล่ทวนชื่อเพื่อน โดยเน้นว่าทุกคนจะ  

สามารถจำชื่อกันเองได้ทั้งหมดหลังจากจบการทำกิจกรรมนี้แล้ว

3.    ครูสาธิตวิธีการ ไล่ทวนชื่อเพื่อน  โดยครูเป็นเริ่มแนะนำตนเอง 2 ข้อ

                       คือ   1.ชื่อ ....... 2.ลักษณะเด่นหรือนิสัยของตนเองหรือความสามารถพิเศษ ควรเป็น            ลักษณะที่ดี จะได้สร้างความภาคภูมิใจ สบายใจให้เจ้าตัวด้วย เพราะเมื่อคนที่ 1 แนะนำ               เสร็จ คนที่ 2 ต้องทวนสิ่งที่คนแรกแนะนำ แล้วจึงแนะนำตนเองต่อไป คนที่ 3 ก็จะต้อง         ทวนตั้งแต่คนที่ 1 คนที่ 2 แล้วจึงแนะนำตนเองไล่ไปเรื่อยๆ  จนกระทั่งถึงคนสุดท้ายที่                      ต้องทวนชื่อของทุกคนในห้องก่อนแล้วจึงแนะนำตนเอง ขณะแนะนำใครก็ตามขอให้             มองหน้าผู้นั้นด้วย  โดยห้ามจดให้ใช้ความจำเพียงอย่างเดียว 

เช่น        คนที่ 1  ครูสุนันท์  ยิ้มเก่ง

                                                คนที่ 2  ครูสุนันท์  ยิ้มเก่ง  ดิฉัน   นัชชา ชอบร้องเพลง

                                                คนที่ 3  ครูสุนันท์ยิ้มเก่ง นัชชาชอบร้องเพลง ผมเดชา มีไฝข้างคิ้ว 

                       ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆ  จนถึงคนสุดท้าย ก็ให้ทุกคนปรบมือ และสุ่มถามความรู้สึกของ             นักเรียน

                ขั้นดำเนินกิจกรรม

4.    ครูแจกใบงานที่ 1 บันทึกของฉัน เพื่อให้นักเรียนสำรวจปฏิกิริยาของตนเอง(ความรู้สึก,                    ความคิดเห็น,พฤติกรรม) ที่มีต่อการจัดกิจกรรม ไล่ทวนชื่อเพื่อน   โดยการให้                          นักเรียนวาดวงกลม 1 วง แบ่งวงกลมออกเป็น 4 ส่วน        แล้วเขียนคำที่มีความ                             หมายถึงความรู้สึกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ของนักเรียน  (ความสุข, ความทุกข์, เสียใจ,                                 เหนื่อย, สับสนใจ, กังวลใจ, สบายๆ, โกรธ,  ความรัก, โง่เง่า, ภาคภูมิใจ  ฯลฯ) ลงใน                   ช่องว่างในวงกลม  ช่องว่างละ 1  ความรู้สึก 

5.   ให้นักเรียนเลือกคำ 1 ใน 4 คำที่เขียนไว้ มาแต่งเป็นประโยค 2 ประโยค เช่น ฉันรู้สึกมี                       ความสุขเพราะว่าแดงเลือกฉันเป็นเพื่อนสนิท ฉันไม่เคยรู้เลยว่าเธอชอบฉัน)  เพื่อ                                     รายงานหน้าชั้นเรียน (กรณีเวลาไม่พอให้บอกเพื่อนที่นั่งด้วยกัน)

ขั้นสรุป

6.   ครูสุ่มนักเรียน 2-3 คน เพื่อถามความรู้สึกหรือความคิดเห็นของนักเรียนที่เกิดขึ้นใน          ระหว่างดำเนินกิจกรรม  และสรุปสาระสำคัญจากกิจกรรมนี้

7.  ครูให้นักเรียนบันทึกหลังเรียน โดยการประเมินความรู้สึก ความคิดเห็น หรือพฤติกรรม                    ที่เกิดขึ้น และบรรยายว่านักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองอย่างไรในส่วนบันทึกหลัง          เรียน

การประเมินผล

วิธีการ

เครื่องมือ

เกณฑ์การประเมิน

ตรวจบันทึกหลังเรียน

บันทึกหลังเรียน ในใบงานที่ 1

บันทึกของฉัน

-นักเรียนสามารถบรรยายได้ว่าตนเองได้เรียนรู้เกี่ยวกับตนเองอย่างไร

นวัตกรรม/สื่อการเรียนรู้  

1.       ใบงานที่ 1 บันทึกของฉัน

2.       กิจกรรม ไล่ทวนชื่อเพื่อน

บันทึกผลหลังเรียน

                นักเรียนรู้สึกตื่นเต้นในการทำกิจกรรม ไล่ทวนชื่อเพื่อน พยายามตั้งใจ และจดจ่อกับการฟังการแนะนำตัวของเพื่อน  ทำให้บรรยากาศในห้องเงียบสงบ และเกิดเสียงหัวเราะเมื่อมีนักเรียนคนอื่นบอกลักษณะเด่นที่ทำให้เพื่อนต้องขบขำ  การเปิดเผยความคิด ความรู้สึก และความเป็นตัวตน เป็นกระบวนการหนึ่งที่สามารถพัฒนาการรู้จัก เข้าใจและเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น

 

หมายเลขบันทึก: 244927เขียนเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2009 13:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นการเผยแพร่แก่บุคลากรและโรงเรียนที่ยังขาดครูแนะแนวที่ชำนาญการ ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท