เทียนขาว
นาง เพ็ญทิวา เพ็ญทิวา สารบุตร

กระบวนการ AIC


กระบวนการ AIC

          กระบวนการ A-I-C บอกตามตรงว่าเดิมทีไม่ค่อยได้สนใจที่จะเรียนรู้ความหมายของคำนี้สักเท่าไหร่หรอกนะคะ  ทั้งๆที่ได้ยินเพื่อนพูดถึงคำนี้  บ่อยๆ  รู้แต่ว่ากระบวนการนี้  มีความมุ่งหวังเพื่อแสวงหาการมีส่วนร่วมขององค์รต่างๆในชุมชน ทุกคนในชุมชนทั้งที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องต้องร่วมเรียนรู้และรับทราบว่า อะไรจะเกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง  มีการระดมสมองเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน  โดยเฉพาะองค์กรต่างๆ ที่มีบทบาทด้านการสนับสนุนงบประมาณ( อบต.) เป็นต้น

  ส่วนความหมายที่แท้จริงคงต้องอ้างถึง

1. ขั้นตอนการสร้างความรู้ (Appreciation : A)
            คือขั้นตอนการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ขั้นตอนนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน แสดงความ คิดเห็น รับฟังและหาข้อสรุปร่วมกันอย่างสร้างสรรค์เป็นประชาธิปไตย ยอมรับในความคิดของเพื่อนสมาชิก โดยใช้การ วาดรูปเป็นสื่อในการแสดงความคิดเห็น และแบ่งเป็น 2 ส่วน
                A1 : การวิเคราะห์สภาพการของหมู่บ้าน ชุมชน ตำบล ในปัจจุบัน
                A2 : การกำหนดอนาคตหรือวิสัยทัศน์ อันเป็นภาพพึงประสงค์ในการพัฒนาว่าต้องการอย่างไร
2 ขั้นตอนการสร้างแนวทางการพัฒนา (Influence : I)
            คือขั้นตอนการหาวิธีการและเสนอทางเลือกในการพัฒนา ตามที่ได้สร้างภาพพึงประสงค์ หรือที่ได้ช่วยกันกำหนด วิสัยทัศน์ (A2) เป็นขั้นตอนที่จะต้องช่วยกันหามาตรการ วิธีการ และค้นหาเหตุผลเพื่อกำหนดทางเลือกในการพัฒนา กำหนดเป้าหมาย กำหนดกิจกรรม และจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม โครงการโดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
                I1 : การคิดเกี่ยวกับกิจกรรมโครงการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ ตามภาพพึงประสงค์
                I2 : การจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรม โครงการ โดย
(1) กิจกรรม หรือโครงการที่หมู่บ้าน ชุมชน ท้องถิ่นทำเองได้เลย
(2) กิจกรรมหรือโครงการที่บางส่วนต้องการความร่วมมือ หรือการสนับสนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานที่ร่วมทำงานสนับสนันอยู่
(3) กิจกรรมที่หมู่บ้าน ชุมชน ตำบล ไม่สามารถดำเนินการได้เอง ต้องขอความร่วมมือ เช่น ดำเนินการจากแหล่งอื่น ทั้งภาครัฐและเอกชน และ

3. ขั้นตอนการสร้างแนวทางปฏิบัติ (Control : C)
            คือยอมรับและทำงานร่วมกันโดยนำเอาโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ มาสู่การปฏิบัติ และจัดกลุ่มผู้ดำเนินการ ซึ่งจะรับผิดชอบโครงการ โดยขั้นตอนกิจกรรมประกอบด้วย
            C1 : การแบ่งความรับผิดชอบ
            C2 : การตกลงใจในรายละเอียดของการดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติ
            นอกจากนี้ผลลัพธ์ที่ได้จากการประชุมคือ
(1) รายชื่อกิจกรรม หรือโครงการที่กลุ่ม องค์กรชุมชนดำเนินการได้เอง ภายใต้ความรับผิดชอบ และเป็นแผนปฏิบัติการ ของหมู่บ้าน ชุมชน
(2) กิจกรรม โครงการที่ชุมชน หรือองค์กรชุมชน เสนอขอรับการส่งเสริม สนับสนุนจากองค์กรปกครองท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐที่ทำงาน หรือสนับสนุนชุมชน
(3) รายชื่อกิจกรรม โครงการที่ชาวบ้านต้องแสวงหาทรัพยากร และประสานงานความร่วมมือจากภาคีความร่วมมือต่างๆ ทั้งจากภาครัฐหรือองค์กรพัฒนาเอกชน เป็นต้น
คงเป็นความหมายที่แท้จริง  ของคนทำงานที่เลือกใช้กระบวนการ A-I-C มาแสวงหาความร่วมมือร่วมใจจากชุมชน  หากทุกๆกิจกรรมใช้กระบวนการนี้ในการนำมาซึ่งการทำงานโครงการ/กิจกรรมใดๆ ในชุมชนน่าจะส่งผลดีนะคะ  อาจจะดีกว่าการประชาคมในปัจจุบันหรือเปล่า ก็ต้องลองนำไปคิดดู เพราะเท่าที่เห็นกระบวนการประชาคมของบางพื้นที่บางหมู่บ้าน  ไม่ได้ออกมาจากความต้องการของคนในชุมชนอย่างแท้จริง  แต่มาจากคนบางกลุ่มเพราะสุดท้ายก็ต้องยกมือลงมติ เสียงข้างมากชนะเสียงข้างน้อย

คำสำคัญ (Tags): #กระบวนการ a-i-c
หมายเลขบันทึก: 244727เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009 20:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท