ลูกนางฟ้าบูรณาการหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการเรียนการสอน


บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการเรียนการสอน

 

 

 

                                                       20090224123409_169

 

 

 

 

หนังสือเศรษฐกิจพอเพียงเล่มเล็กๆๆออกมาเป็นชุดๆๆ..ถอดบทเรียนจากโรงเรียนตัวอย่างเศรษฐกิจพอเพียง 4 ภาค โดยทีมงาน สรส.ด้วยความสนับสนุนจาก มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ ที่จะขอนำมาถ่ายทอดสรุปเป็นรายโรงเรียนที่หลายหลากเรื่องราว ให้ได้ เรียนรู้สู่กันจดจำ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ตามภูมิสังคมของตนตามความเหมาะสม... ได้ผลก้าวหน้าต่อไปประการใด...ก็กลับมาเติมเต็มกันได้อีก ...

     เล่มแรกนี้ โรงเรียนกัลยาณวัตร จ.ขอนแก่น คณะครูขอนำประสบการณ์การบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการเรียนการสอนมาเล่าให้ได้ทราบทั่วกัน...

 

      *จุดเริ่มต้น มาจาก ครู ๕ คน ได้ไปร่วมประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เป็นตัวอย่าง เพื่อให้ครูนำไปเขียนแผน แล้วเอาลงสู่เด็ก การจัดประชุมครั้งนี้ที่บางละมุง จ.ชลบุรี โดยโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และสำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้จับมือกันสนับสนุนการดำเนินการ

 

        หลังจากที่ครูทั้ง ๕ คนนี้กลับมาแล้ว ได้ขยายผลให้กับคณะครูอื่นๆในโรงเรียน โดยการจัดอบรมให้ครูมีความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้การทำโครงงานซึ่งสามารถบูรณาการได้ทั้งหมด ๘ กลุ่มสาระ อย่างเป็นขั้นตอน เช่น

 

                 - เขียนแผนการเรียนการสอนในแต่ละสาระวิชา

 

                 - ทำการอบรมขยายผล เดินไปด้วยกันทั้งระบบ ไม่ใช่เพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยนำลงสู่นักเรียนทำเป็นโครงงาน เพื่อสะท้อนความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำมากขึ้นเป็นลำดับ

 

                 - สร้าง ตัวชี้วัด คือ

 

                     กรณีที่ ๑ นักเรียนสามารถบูรณาการการทำโครงงานครบทั้ง ๘ กลุ่มสาระวิชาแล้ว ย่อมถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง

 

                     กรณีที่ ๒ ครูผู้สอนต้องสามารถออกแบบบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียงได้ด้วย โดยเอาไปลงบูรณาการสู่กิจกรรมที่ไม่ใช่การเรียนการสอนปกติด้วย แต่เน้นการปฏิบัติให้เห็นเช่น นักเรียนใช้สิ่งของอย่างคุ้มค่า ใช้อย่างพอเพียง เช่น ในการทำรายงานของเด็กก็จะเน้นการใช้กระดาษสองหน้าอย่างคุ้มค่าที่สุด รูปเล่มของรายงาน ไม่จำเป็นต้องไปเข้าปกเข้าเล่ม ทำสันใช้ห่วงที่มีราคาแพงมาส่งครู เพราะเราตรวจเนื้องานเป็นหลัก ไม่ใช่รูปเล่ม นอกจากนั้นอาจนำสมุดเก่ามาใช้ได้อีก ทำบันทึกรักการอ่าน เอาเย็บเล่มให้เด็กสามารถจดบันทึกได้ เป็นการใช้งานอย่างคุ้มค่า

 

      * จุดที่สอง การตั้งคำถาม สร้างสถานการณ์ รูปแบบการเรียนรู้ที่สร้างกระบวนการคิด เป็นการดึงเอาแรงบันดาลใจจากวิถีชีวิตจริงที่อยู่รอบตัว มาสู่ความรู้ความเข้าใจของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการตั้งคำถาม "ทำไม" แก่นักเรียน เพื่อให้เด็กรู้จักคิดตามหลักเหตุหลักผล เช่น ทำไมชาวไร่มีที่ทำกินแค่นี้ จึงเลี้ยงวัว เลี้ยงปลา ...หรือ ทำไมจึงมีการประกอบอาชีพเสริมอื่นๆ เช่นงานทอผ้าไหม..ครูจึงไม่จำเป็นต้องสร้างหลักสูตรเอง แต่พานักเรียนไปเรียนรู้ยังสถานการณ์จริงซึ่งเป็นแหล่งการงานเหล่านั้นด้วยตนเอง เพื่อได้องค์ความรู้ในการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตต่อไป ...

 

       * จุดที่สาม การขยายผลสู่โรงเรียนที่เป็นเครือข่าย เช่น เรามีชมรมอนุรักษ์พลังงาน โดยดำเนินกิจกรรมที่ให้นักเรียนเป็นผู้วางแผน ซึ่งรุ่นพี่ที่เคยผ่านการอบรมได้มาสอนน้อง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ นักเรียนของเราได้รับเลือกให้เป็นรองทูตอนุรักษ์พลังงานของกระทรวงพลังงาน เป็น ๑ ใน ๘ คนของผู้ได้รับเลือกทั้งประเทศ ขมรมของเราได้จัดค่ายในหัวข้อ " Angle Energy : ลูกนางฟ้าอนุรักษ์พลังงาน ต้านภาวะโลกร้อน " ทำให้มีเครือข่ายโรงเรียนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเห็นว่าเป็นกิจกรรมที่ดี จึงขอสนับสนุนร่วมงานด้วย ต่อจากนั้น นักเรียนได้นำโครงงานไปเผยแพร่ในงานวันเด็กแห่งชาติเพื่อสร้างเครือข่ายขยายต่อไปอีก ซึ่งได้รับความสนับสนุนด้านการเงินจากศูนย์คุณธรรม มีโรงเรียนในเครือข่ายเพิ่มอีก ๘ โรงเรียน นักเรียนรวม ๑๔๓ คนจากหลายอำเภอในจ.มหาสารคาม

 

        สิ่งที่เรียนรู้จากการบูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนได้เรียนรู้หลายอย่าง เช่น

 

           - คุณค่าของการทำงานร่วมกัน

 

           - การปรับปรุงกระบวนการทำงานที่ต้องผ่านการวางแผนที่รอบคอบ

 

           - คุณธรรมในการทำงานให้สำเร็จด้วยความเพียรและความซื่อสัตย์

 

      น้องๆได้ช่วยกันเล่าว่า..เมื่อเรียนรู้แล้ว..เกิดความตระหนัก..จึงมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้...

 

         น้องนุ่มนิ่ม : เมื่อก่อนชอบซื้อเสื้อผ้ามาก แต่เดี๋ยวนี้ต้องคิดว่ามีความจำเป็นหรือไม่ ? เรามีเงินเหลือพอหรือไม่ ? การได้ทำโครงงานเป็นกลุ่ม ต้องร่วมมือร่วมใจกัน ได้ช่วยเหลือเห็นใจกัน เกิดเป็นความรักความสามัคคี...

 

         น้องชมพู่ : ได้นำไปขยายผลกับพ่อแม่ซึ่งแต่ก่อนชอบซื้อของเข้าบ้านมากเกินความจำเป็น ใช้ไม่คุ้มค่า จึงเป็นฝ่ายเตือนพ่อแม่เสมอ...

 

         น้องเบสท์ : ส่วนใหญ่ที่เอาไปขยายผลกับคนรอบข้าง จะเป็นเรื่องคุณธรรม เมื่อก่อนที่ยังไม่ได้ทำโครงงาน จะไม่สนใจเพื่อน รีบกลับบ้านก่อนเสมอ แต่หลังร่วมทำโครงงาน เกิดความรักสามัคคีมากยิ่งขึ้น เมื่อก่อนหากเกิดปัญหาจะทะเลาะกัน ไม่คุยไม่สนใจกันเลย แต่เดี๋ยวนี้ เราจะต้องคุยกันว่า ปัญหาจะแก้ไขกันอย่างไร ซึ่งในเรื่องความสามัคคีนี้ เราสามารถนำไปสอนน้องๆรุ่นต่อไปได้ด้วย...

 

        ความพอเพียง ในความหมายนักปฏิบัติลูกนางฟ้า :

 

          น้องหนิง : อย่าคิดว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องไกลตัว อยากให้นำไปใช้มากๆ อย่างที่ได้เห็นตัวอย่างในโรงเรียน แต่ก่อนเดินไปทางไหน เห็นกองขยะเต็มไปหมด แต่เดี๋ยวนี้แทบไม่เห็นเลย เพราะกินอาหารหมดจานไม่เหลือทิ้ง เป็นต้น เศรษฐกิจพอเพียงจึงไม่ใช่เป็นแต่เรื่องเงิน หรือ เรื่องประหยัด อย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นทุกเรื่องของชีวิต...

 

          น้องเบสท์ : เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเรื่องของการลงมือปฏิบัติจริง จึงจะเห็นผล ไม่ใช่เรื่องของทฤษฏีตามตัวอักษร

 

          น้องชมพู่ : ความพอเพียงคือ เราจะใช้ชีวิตอย่างไรให้มีความสุข ไม่เดือดร้อนใคร เป็นการใช้ชีวิตอย่างมีเหตุมีผล..

โปรดอ่านรายละเอียดได้ที่ :

http://www.scbfoundation.com/news_publish_detail.php?cat_id=6&nid=324

 

                                 ....................................

 

          

หมายเลขบันทึก: 244382เขียนเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2009 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • น้องคิดว่า
  • สำคัญเป้นเรื่องกระบวนการคิดถ้าเป็นเรื่องโครงงาน
  • แต่ดีใจที่เด็กๆๆบูรณาการช่วยกันทำโครงงานได้เป็นอย่างดี
  • พี่ใหญ่สบายดีไหมครับ

*กระบวนคิด และการสังเคราะห์ เป็นผลทางจิตสำนึกที่เราคาดหวังมากตามที่ อ.ขจิต บอกมาค่ะ

*โครงงานเป็นรูปธรรมเริ่มต้นที่น้องๆเขามาเรียนรู้ร่วมกัน

พี่ใหญ่กำลังจะเผยแพร่อีกหลายโรงเรียน..ดีใจที่ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของน้องๆในท้องถิ่นที่เราไม่เคยไปมาก่อน..

                                 nongnarts

สวัสดีค่ะ

เทียนน้อยกำลังทำวิทยานิพนธ์ บูรณาการหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ในวิชาคณิตศาสตร์ค่ะ ใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฎีคอนสรัคติวิสต์

ที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์จากสถานการณ์ปัญหาที่กำหนดให้

ขอบคุณค่ะ

พี่จะคอยอ่านนะคะ..ขอให้ประสบความสำเร็จในการทำวิทยานิพนธ์นี้ค่ะ...

                               nongnarts

ท่าน นาง นงนาท สนธิสุวรรณ ครับ ชื่นชมท่านที่เขียนเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ผมอ่านดูแล้วชอบงานเขียน บางครั้งวิถีชีวิตจริงนั้นอาจจะไม่เป็นกรอบที่เขียนก็ตาม ผมเคยเลี้ยงสุกรขุน 20 ตัว ทำบัญชีการใช้จ่าย ขายสุกร ขาดทุน 4,000 บาท ทบทวนตามที่จดบัญชีใช้จ่ายทุกอย่างไม่สามารถบูรณาการได้ สอบถามเนื้อสุกรที่ตลาดยัง 100 บาท ตัดสินใจเลี้ยงใหม่เปิดตลาดขายในชุมชน ต้นทุน 4,300 บาท จ้างคนทำสุกรขายเองได้ตัวละ 7,300 บาท ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงประยุกต์ เดือน 1 มีรายลายได้ 7,000 -8,000 บาท ชุมชนเห็นว่าได้กำไรก็ทำตามผม ตอนนี้เลิกผ่อนรถหมด รู้ความพอเพียง

ยินดีด้วยที่คุณเหรียญชัย ประสบความสำเร็จในชีวิตจากวิถีเศรษฐกิจพอเพียงนะคะ...

                                   nongnarts

ขอบคุณ อ.ขจิตสำหรับ weblink ที่น่าสนใจ...จะคอยติดตามอ่านอีกค่ะ...

                              nongnarts

                              

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท