เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต


เทคโนโลยี ช่วยให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ทุกเวลา ทุกโอกาส ทุกสถานที่ และตลอดชีวิต

รูปแบบเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต

                     ในปัจจุบัน และอนาคต รูปแบบและวิธีการในการจัดการศึกษา จะเป็นไปในรูปแบบการศึกษาตลอดชีวิต เพื่อชีวิต          ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยรูปแบบและวิธีการอย่างหลากหลาย ที่ตนเองถนัดและสนใจ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ในทุกที่ทุกเวลา ตามความถนัด 

                    ระบบเครือข่ายเทคโนโลยีและการสื่อสารจะเข้ามามีบทบาทสำคัญในกระบวนการจัดรูปแบบและวิธีการในการจัดการศึกษา  ตามความต้องการของผู้เรียน

1.              การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

               ลักษณะของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมเป็นการ ถ่ายทอดสดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาต่างๆ ในชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาแพร่ภาพทางโทรทัศน์ เป็นการนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มาช่วยในการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่นักเรียน การติดต่อสื่อสารระหว่างโรงเรียนวังไกลกังวล กับโรงเรียนปลายทาง ในพื้นที่ต่างๆ จะมีลักษณะของการโต้ตอบ หรือเป็นการสื่อสารแบบสองทาง

                มีวัตถุประสงค์     เพื่อเป็นการให้การศึกษาแก่ประชาชนทุกหมู่ทุก   เหล่าโดยไม่มีข้อจำกัดเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความสามารถ นำวิชาความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพเลี้ยงตน ทั้งเพื่อเป็นการสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการจัดการศึกษาให้ครบวงจร เพื่อช่วยทำให้นักเรียนในชนบทที่ห่างไกล มีโอกาสได้รับความรู้ เป็นการส่งเสริมการศึกษาในระบบ นอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย และช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนบุคลากรครูผู้สอนในโรงเรียนชนบทห่างไกล

 2.              ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail : E-mail)

                ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรืออีเมลเป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียว หรือกลุ่มคนโดยที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ทั่วโลก มีความสะดวกรวดเร็ว และสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน   สามารถช่วยขจัดปัญหาในเรื่องของเวลาและระยะเวลาในการเรียน  ผู้เรียนที่ไม่กล้าแสดงออกในชั้นเรียนจะรู้สึกอิสระในการแสดงความคิดเห็น สามารถช่วยเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้เพื่อเปิดโอกาสให้มีการถามข้อข้องใจเป็นการส่วนตัว  ผู้เรียนสามารถติดต่อกันในการแบ่งปันข้อมูลและปรึกษาร่วมกันได้ และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกันโดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง 

3.              ตำราอิเล็กทรอนิกส์(Electronic book : E-book)

                              ตำราอิเล็กทรอนิกส์   แบบเรียนอิเล็กทรอนิกส์หรือหนังสือิเล็กทรอนิกส์  เป็นศูนย์รวมตำราเรียนบนโลกอินเทอร์เน็ตและ CD-ROM ให้ทุกคนที่ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและอ่าน ให้อิสระในการอ่านตำราโดยทุกคนสามารถอ่านตำราเรียนทุกๆ เล่มได้ทุกที่ที่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและ CD-ROM อ่านตำราทุกเล่มโดยไม่ต้องพกพาไปให้ลำบาก

4.                การศึกษาตามอัธยาศัย  หรือไอ อี เซ็นเตอร์ (IE Center)

              ไอ อี เซ็นเตอร์ (IE Center) เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ ศูนย์ส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้บริการความรู้ในรูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัย การศึกษาต้องยึดหลักผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองแลกเปลี่ยน  ประสบการณ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน

5.   M-learning เรียนผ่านทางโทรศัพย์

  เป็นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ทุกรูปแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การเรียนการสอนและอำนวยความสะดวกในการศึกษาหาความรู้ให้แก่นักศึกษา  จัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปทั่วโลกโดยการประยุกต์ใช้ศักยภาพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายการสื่อสาร- การให้บริการการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาระบบการศึกษาของประเทศไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึงและไร้ขีดจำกัด

 6.               การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS ทางการศึกษา

                   นวัตกรรม GIS นั้นเป็นประเภทหนึ่งของเทคโนโลยีสารนิเทศและการสื่อสารที่เป็นการผสมผสานระหว่างฐานข้อมูลต่างๆ เข้ากับข้อมูลเชิงพื้นที่ด้านภูมิศาสตร์ ซึ่งอาจเป็นข้อมูลภาพกราฟิกหรือข้อมูลอรรถาธิบาย  เทคโนโลยี GIS มีผลทำให้วิชาภูมิศาสตร์  ร่วมก้าวสู่สังคมยุคสารนิเทศแตกแขนงเป็นรายวิชาอื่นๆเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาครอบคลุมระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วิชาการทำแผนที่ วิชาว่าด้วยการวัดและการสำรวจพื้นโลก และวิชาว่าด้วยการสำรวจระยะไกล   นวัตกรรม GIS สามารถช่วยรวบรวมข้อมูล  ปรับแต่งข้อมูล  วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับประเด็นต่างๆ  ช่วยทำให้นักศึกษาตอบข้อสงสัยและเข้าใจทางด้านภูมิศาสตร์มากขึ้นและเข้าใจประเด็นปัญหาต่างๆ ด้านสภาพแวดล้อม

 7.              คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

                                คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นการเรียนการสอนแบบรายบุคคลที่นำเอาหลักการเรียนโปรแกรมและเครื่องช่วยสอนมาผสมผสานกัน โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะตอบสนองในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคลของผู้เรียนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเป็นรายบุคคล   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 

                1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนตามเอกัตภาพ

2. ผู้เรียนสามารถเรียนซ้ำได้หลายครั้งตามที่ต้องการ

3. ผู้เรียนมีโอกาสได้ตอบโต้กับคอมพิวเตอร์และสามารถควบคุมการเรียนได้เอง

4. มีภาพ ภาพเคลื่อนไหว สี เสียง ทำให้ผู้เรียนไม่เบื่อหน่ายในการเรียน

5. ตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

6. ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้จากง่ายไปยากตามขั้นตอน

7. ฝึกให้ผู้เรียนคิดอย่างมีเหตุผล

 

บรรณานุกรรม 

นงค์ลักษณ์ โชติวิทยธารินทร์และ ฐิติยา   เนตรวงษ์  "การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี GIS                                           

 ทางการศึกษา"  :  วารสารสวนดุสิต  ฉบับที่ 7  ปีที่ 2  ตุลาคม-ธันวาคม  2548

 "การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม" .  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก  : http://www.nectec.or.th/coursewere/cai/0017.html

 "การศึกษาตามอัธยาศัย  หรือไอ อี เซ็นเตอร์" . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก http://www.iecenternfe.com/iecenter.htm

"คอมพิวเตอร์ช่วยสอน" . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http//:senarak.tripod.com/cai.htm Webmaster:utai

senarak,contact:[email protected]

"ตำราอิเล็กทรอนิกส์" . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://ebook.ram.edu/ebook/indexstart.htm

"ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์" . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก  : http://www.srithai.com

"M-learning เรียนผ่านทางโทรศัพท์" . [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http://www.ru.ac.th

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 243474เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009 14:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2012 08:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท