การแย่งชิงทรัพยากร ภาค 2


การจัดการศึกษาภาคบังคับมีกฎหมายรองรับ โรงเรียนที่ไม่รับเด็กในเกณฑ์เข้าเรียนภาคบังคับถือว่าทำผิดกฎหมาย

ฤดูกาลนี้เป็นฤดูการรับนักเรียน  โรงเรียนเทศบาลเชิงทะเลฯ กำหนดรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล และ ป.1 ประจำปี 2552  วันที่ 16-22  กุมภาพันธ์ 2552  ซึ่งความจริงแล้ว ป. 1 เราไม่ต้องเปิดรับสมัครก็มีนักเรียนเต็มแล้ว  เพราะเราผลิตนักเรียนอนุบาลเอง   แต่เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนอนุบาลจากที่อื่นได้มีสิทธิเข้าเรียนด้วยจึงเปิดรับสมัครอีก

แต่เรื่องตลกก็เกิดขึ้นจนได้  เมื่อโรงเรียนบ้านเชิงทะเล ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัด สพท.ที่อยูบริเวณเดียวกัน  กำหนดเปิดรับสมัครและมอบตัวก่อน  แถมสำทับว่าถ้ามอบตัวที่โรงเรียนนี้แล้วจะไปสมัคร  EP โรงเรียนเทศบาลไม่ได้แล้ว  หรือถ้าสอบ EP ไม่ได้ โรงเรียนนี้จะไม่รับ  ดังนั้นต้องเลือกทางใดทางหนึ่ง 

ผู้ปกครองเครียดหนัก  ในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ไม่อยากให้บุตรหลานต้องไปเรียนในเมือง และกลับเข้าสู่วงจรเดิม ๆ อีก  ที่เรียกเด็กคืนถิ่นได้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ   ผู้เขียนจึงบอกไปว่าใจเย็น ๆ กันไว้  การจัดการศึกษาภาคบังคับมีกฎหมายรองรับ  โรงเรียนที่ไม่รับเด็กในเกณฑ์เข้าเรียนภาคบังคับถือว่าทำผิดกฎหมาย  ดังนั้น มีที่เรียนแน่นอนขอให้ผู้ปกครองมั่นใจ  ในขณะที่ท่านมีทางเลือกท่านต้องให้โอกาสเด็ก ๆ ได้เลือกก่อน  ว่ามีความสามารถที่จะเรียน EP ได้หรือไม่  ถ้าไม่ได้เทศบาลจะรับผิดชอบลูกท่านทุกคน

จึงเป็นที่มาของผู้ปกครองในการเรียกร้องให้เทศบาลเปิดเรียนภาคปกติเพื่อรองรับนักเรียนที่เข้า EP ไม่ได้

คำสำคัญ (Tags): #education
หมายเลขบันทึก: 243416เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2009 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ถึง คุณจิตนา

ผู้ปกครองเครียดหนักจริงๆค่ะ เพราะเข้าเทศบาลต้องจ่ายตังค์เยอะเป็นว่าเล่น ไหนค่าครูสอนว่ายน้ำ ค่าครูภาษาอังกฤษ ค่าโน้น ค่านี่

ในภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ น่าสงสารผู้ปกครองจริงๆค่ะ

เคยมีคนเข้าไปถามกูรู ในGoogle ในประเด็นคำถามที่ว่า>>>เทศบาลสามารถเข้ามาก่อสร้างโรงเรียนบนพื้นที่ของโรงเรียนของ สพฐ. ได้หรือไม่? >>>>คำตอบที่ได้รับคือ>>>>

คำตอบที่1 >>>ตามกฎหมายไม่ว่าใครหรือหน่วยงานราชการใดก็ไม่สามารถใช้พื้นที่ของผู้อื่นได้หากไม่ได้รับอนุญาติ(เป็นลายลักษณ์อักษร) คำถามที่ถามว่าเทศบาลสามารถเข้ามาก่อสร้างโรงเรียนบนพื้นที่ของโรงเรียนสพฐ. จึงตอบว่าไม่ได้ เพราะเทศบาล กับสพฐ.เป็นคนละหน่วยงานกัน ยกเว้นว่าสพฐ.ยินยอมเท่านั้น

คำตอบที่ 2 >>>ได้ครับ ถ้าหากเป็นการช่วยสร้าง และโอนโรงเรียนและทรัพย์สินเป็นของ สพฐ.

คำตอบที่ 3 >>>ไม่มีสิทธิ์แม้แต่ตารางนิ้วเดียวครับ นี่ประเทศไทยนะครับ ถ้าไม่ทำตามกฎหมายไทยก็วุ่นเลย แต่ต้องขออภัยที่จะต้องกล่าวถึงผู้บริหารของเรายอมให้เกิดอะไรที่บานปลายขนาดนี้ได้อย่างไร ทั้งท่านผู้อำนวยการโรงเรียนและท่านผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา และท่านนิติกรทั้งหลายด้วยทำไมไม่ช่วยกันดูแล ไม่สงสารประเทศไทยก็น่าจะสงสารเด็ก สพฐ. เหล่านั้นบ้าง

ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนของเราต้องเป็นโจทก์นะครับ ปรึกษากันแล้วดำเนินการนะครับ

>>>>>>>>>น่าคิดนะ คุณ จินตนา คงเหมือนเพชร นักวิชาการ?!

ทำไมไม่ดำเนินการขอคืนพื้นที่..ถ้าเทศบาลทำไม่ถูกทำให้เด็ก เยาวชน และประชาชนของเชิงทะเลเดือดร้อน ไม่ได้รับประโยชน์จากการสร้างโรงเรียนให้คนในพื้นที่ได้เรียนโรงเรียนใกล้บ้านอย่างมีคุณภาพ สพฐ.ดำเนินการได้ค่ะ แต่นี่เขาสร้างความเจริญ ทางเลือกทางการศึกษาให้เด็กในท้องถิ่น ถ้าเขาผิดก็ดำเนินการไปเลยค่ะ

เราชาวการศึกษาน่าจะดูที่ประโยชน์ของเด็กและประชาชนเป็นหลัก อย่าดูว่าทรัพย์สินเป็นของใครหน่วยงานใด เพราะท้ายที่สุดคือทรัพย์สินของแผ่นดินทั้งนั้น แล้วใยต้องแย่งชิงกัน ใยไม่ใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

แต่ก็แฝงไปด้วยผลประโยชน์.....อย่างน่าเชื่อจริงๆเลย!

ในความเป็นจริง....คนเรา ถ้าอยากที่จะพัฒนาจริงๆ มีใจที่บริสุทธิ์ที่จะส่งเสริมการศึกษา หน่วยงานอื่นก็สามารถมาส่งเสริม โรงเรียนที่มีอยู่เดิมแล้วให้มีความพร้อมสมบูรณ์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปสร้างโรงเรียนใหม่ในพื้นที่เดียวกันอีก แต่น่าแปลกที่มีเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นด้วย เพียงเพราะความคิดของคนบางคน...แค่นั้นเอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท