ประสบการณ์การประกันคุณภาพการศึกษา@it.kmitl.ac.th


การทำงานที่ดีต้องมีการวางแผนล่วงหน้า และสามารถปฏิบัติตามแผนได้ ติดตามและประเมินผลได้

ประสบการณ์จากการปฏิบัติงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ดำเนินการทำประกันคุณภาพการศึกษา ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2544  จนปัจจุบัน

โดยมีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้

1.               แต่งตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาประจำคณะ  เพื่อกำหนดนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะ วางแผนและควบคุมการประกันคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

2.               แต่งตั้งคณะอนุกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาประจำคณะ เพื่อนำนโยบายลงสู่ภาคปฏิบัติ และประชาสัมพันธ์เรื่องการประกันคุณภาพให้บุคลากรเข้าใจและให้ความร่วมมือ

3.               ประกาศ นโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะให้ประชาคมทราบ

4.               จัดทำคู่มือการประกันคุณภาพ

5.               จัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) ตามดัชนีชี้วัดและเกณฑ์การประเมินตามที่สถาบันฯ กำหนด โดยคณะฯ สามารถกำหนดเกณฑ์ประเมินเพื่อให้สอดคล้องกับศักยภาพของคณะได้ ต่อมาสถาบันได้ใช้ดัชนีชี้วัดและเกณฑ์ประเมินของ สมศ. และ ก.พ.ร.  ปัจจุบันสถาบันฯ ใช้ตามที่  สกอ. กำหนด

6.               รับการตรวจและประเมินโดยคณะกรรมการตรวจและประเมินคุณภาพภายในคณะ และ คณะกรรมการตรวจและประเมินคุณภาพภายในสถาบัน  และโดยคณะกรรมการตรวจและประเมินคุณภาพภายนอก ทุก 5 ปี

7.               แจ้งผลการประเมินให้ประชาคมทราบ

8.               ปัจจุบันได้เพิ่ม  การควบคุมและยกระดับคุณภาพการศึกษา

ขั้นตอนการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ที่ดำเนินการโดยงานประกันคุณภาพการศึกษประจำคณะฯ มีดังนี้

                1. เสนอ ( ร่าง ) แผนการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปี ต่อคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาประจำคณะฯ เพื่อพิจารณา แล้วประกาศให้ประชาคมทราบ

2. เสนอ (ร่าง) SAR โดยรวบรวมผลการดำเนินงานในแต่ละดัชนีบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินจากบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เสนอต่อคณะคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาประจำคณะฯ เพื่อพิจารณา

3. รวบรวมข้อมูล เอกสารหลักฐาน ที่สอดคล้องกับผลการดำเนินงานในแต่ละดัชนีบ่งชี้และเกณฑ์การประเมิน เพื่อเตรียมรับการตรวจและประเมิน

                4. เสนอขอแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจและประเมินผลการประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะฯต่อคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาประจำคณะฯ

                5. รับรองการตรวจและประเมิน โดยคณะกรรมการตรวจและประเมินภายในคณะฯ คณะกรรมการตรวจและประเมินผลภายในสถาบันฯ และคณะกรรมการตรวจและประเมินภายนอก

6. สรุปผลการตรวจและประเมิน เสนอต่อคณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาประจำคณะและคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาต่อไป

                7. แจ้งผลการประเมินให้ประชาคมทราบ

                หมายเหตุ   การประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา โดยการติดประกาศที่บอร์ดประกันคุณภาพการศึกษา เวไซด์คณะ และการส่งอีเมล์ให้กับบุคลากร ทราบ

หมายเลขบันทึก: 243310เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2009 19:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 11:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท