เส้นทางสุขภาพ…ชาติพันธุ์ไทลื้อ บ้านปางส้าน ตอนที่ 3


               แม้ว่าชาวบ้านปางส้านยังคงมีวิถีชีวิตที่ผูกพันอยู่กับวัฒนธรรมของตน และทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์          แต่ในปัจจุบันกระแสของการผลิตพืชเชิงเดี่ยวเข้ามาในชุมชน ทำให้ระบบการเกษตรของชาวบ้านมีการเปลี่ยนแปลง พึ่งสารเคมีในการผลิตมากขึ้นกว่าแต่ก่อน ดังนั้นในปี พ.ศ. 2551 เมื่อทางชุมชนไทลื้อได้มีโอกาสจัดเวทีเรียนรู้เรื่องของสุขภาวะอีกครั้งหนึ่ง กลุ่มแกนนำจึงได้พยายามที่จะให้ชาวไทลื้อเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยการจัดเวทีเรียนรู้ จำนวน 3 เวทีด้วยกัน

 

เวที เรียนรู้วิถีชีวิตเรื่องการผลิตเพื่อการบริโภคที่ปลอดภัย ระหว่างคน 3 วัย

 

 

                เวทีแรกของกระบวนการเรียนรู้เรื่องของสุขภาพที่บ้านปางส้านนี้ เป็นการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ วิถีการกินการอยู่ และการดูแลสุขภาพของคน 3 วัย(วัยรุ่น วัยแรงงาน วัยสูงอายุ) ซึ่งจากการแลกเปลี่ยนของคน 3 วัย พบว่า วิถีกินในสมัยก่อนหากินตามธรรมชาติ เช่น ป่า ลำห้วย พืชผักก็ปลูกเองตามริมรั้ว ไม่ใช้สารเคมี ในขณะที่ปัจจุบันวิถีกิน วิถีอยู่เปลี่ยนไป คนในชุมชนปลูกพืช และเลี้ยงสัตว์กินเองบ้าง บางชนิดหาซื้อตามท้องตลาด มีการใช้สารเคมีบางชนิดเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน  วิถีอยู่ มีการปรับเปลี่ยนตัวอาคารบ้านเรือนให้มีความทันสมัย สะดวกสบายมากขึ้น ด้านการทำการเกษตร โดยส่วนใหญ่ใช้สารเคมีในระบบการผลิต เช่น ไร่ข้าวโพด นาข้าว  ส่วนการดูแลสุขภาพ  บางโรคพึ่งพิงการรักษาแบบพื้นบ้าน มีการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน ไปหาหมอเมือง มีการทำพิธีกรรมที่ยังเป็นความเชื่อ เช่น เลี้ยงผีเจ้าหลวง  สู่ขวัญ สืบชะตาต่อชีวิต  แต่บางโรคใช้วิธีการรักษาแบบสมัยใหม่ ไปโรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยใกล้บ้าน <p class="MsoNormal" style="text-align: center;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; tab-stops: 36.0pt 166.5pt center 240.95pt;"> </p><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ebebeb;">

 

</td> </tr></tbody></table>                หลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนถึงวิถีชีวิตแล้ว จึงได้หาแนวทางออกร่วมกันในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนปางส้าน โดยได้สรุปแนวทางออกมาเป็นกิจกรรมที่ทางชุมชนจะทำร่วมกันต่อไปคือ สืบสานประเพณีวัฒนธรรมด้านการฟ้อนไทลื้อ  การปลูกผักสวนครัว การทำสวนสมุนไพร การทำน้ำยาเอนกประสงค์ การทำนาข้าวอินทรีย์โดยการใช้จุลินทรีย์ท้องถิ่นบำรุงดินในนาข้าวทดแทนสารเคมี และมีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวเพื่อทำพันธุ์เองในปีต่อไป <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">  </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"></p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"></p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">เวทีเรียนรู้การปฏิบัติ</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                เป็นผลจากการหาแนวทางทำกิจกรรมร่วมกันของชาวบ้านปางส้านในการที่จะดูแลสุขภาพของคนในชุมชนให้ดีขึ้น จึงได้มีการต่อยอดกิจกรรมการฝึกปฏิบัติทำจุลินทรีย์ท้องถิ่น ทำน้ำยาเอนกประสงค์ และคัดเลือกพันธุ์ข้าว โดยมีทีมวิทยากรที่จัดกระบวนการ และให้ความรู้จากศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ เครือข่ายมูลนิธิฮักเมืองน่าน</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ebebeb;">

 

</td> </tr></tbody></table><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ebebeb;">

 

</td> </tr></tbody></table>จุลินทรีย์ท้องถิ่น… <p class="MsoNormal" style="text-align: center;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                                                        จุลินทรีย์ 1 (แบบแห้ง)                                        จุลินทรีย์ 2 (แบบน้ำ)</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                แต่ก่อน บ่เกยใส่อะหยั๋งลงไปในนา ข้าวของเฮาก็งาม กุ้มกิ๋นกันตลอดปี (หมายถึง เมื่อก่อนไม่เคยใส่อะไรลงไปในนา แต่ข้าวก็ยังงาม พอกินกันตลอดปี) เป็นคำพูดของแม่อุ้ยคนหนึ่งที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเปรียบเทียบวิถีชีวิตความเป็นอยู่ระหว่างอดีตกับปัจจุบัน เนื่องจากแม่อุ้ยมีความเห็นว่า สภาพความเป็นอยู่มีการเปลี่ยนแปลงมากจากอดีต คือ มีการใช้สารเคมีในนาข้าว ทั้งปุ๋ยสูตรต่างๆ ที่ใส่เพื่อให้ข้าวงาม ยากำจัดปู หอย และการพ่นยาฆ่าหญ้าตามคันนา </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                จากคำพูดข้างต้นจะเห็นได้ว่า วิถีชีวิตของชุมชนที่ปางส้านบางอย่าง ได้เปลี่ยนไปตามกระแสบริโภคนิยมอยู่ค่อนข้างมาก มีการปรับเปลี่ยนวิถีการผลิต ปรับระบบการเกษตร อิงพืชเชิงเดี่ยวมากขึ้น สารเคมีทั้งปุ๋ยเคมี สารฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า เข้ามามีบทบาทในชีวิตการเกษตรของชาวบ้านมากขึ้น จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนทำให้เกิดแนวทางที่จะช่วยกันลดใช้สารเคมีในแปลงนา โดยได้เสนอการทดลองนำจุลินทรีย์ท้องถิ่นเข้ามาช่วยทดแทนสารเคมี </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                จุลินทรีย์ท้องถิ่น (Indigenous Micro Organisms : IMOs) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ทำหน้าที่ย่อยสลาย ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า ราใบไม้สีขาว จัดอยู่ในกลุ่มราเมือก (Leaf Mold) รากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ ซึ่งต้องการอากาศในการหายใจ กระบวนการย่อยสลายของรากลุ่มนี้จะไม่ทำให้เกิดกลิ่น โดยจะอาศัยอยู่ในดิน ระดับความลึกไม่เกิน 5 เซนติเมตรจากผิวหน้าดินลงไป จะมีการปรับตัวเข้ากับสภาพพื้นที่ ที่อาศัยอยู่นั้นนานนับพันปีเลยทีเดียว ซึ่งแหล่งที่สามารถหาจุลินทรีย์ท้องถิ่นได้ คือ ป่าใกล้บ้าน บริเวณใต้โคนต้นไม้ใหญ่ หรือใต้ต้นไผ่ ซึ่งหน้าดินบริเวณเหล่านี้จะมีจำนวนจุลินทรีย์อยู่เป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีเศษใบไม้ที่ผุพังย่อยสลายแล้ว </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                ดังนั้น จุลินทรีย์ท้องถิ่น จึงไม่ใช่ปุ๋ย แต่ใช้ในการบำรุงดินให้เกิดมีสิ่งชีวิตขึ้นมาในดิน เพื่อช่วยปรับสภาพดินให้ดีขึ้น ช่วยในการย่อยสลายเศษใบไม้ เศษพืชต่างๆ ให้กลายสภาพเป็นธาตุอาหารที่เหมาะสมสำหรับให้พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                การทำจุลินทรีย์มี 2 แบบ คือ จุลินทรีย์ 1 (แบบแห้ง) มีส่วนผสม คือ จุลินทรีย์ที่เก็บจากป่า รำละเอียด ใบไผ่ กากน้ำตาล และน้ำสะอาด คลุกเคล้าตามส่วนผสมเสร็จแล้ว หมักไว้ประมาณ 5-7 วัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น นำไปขยายเชื้อในกองปุ๋ยหมัก และนำไปขยายเป็นจุลินทรีย์ 2 (แบบน้ำ) ส่วนจุลินทรีย์ 2 (แบบน้ำ) นั้น ใช้ส่วนผสม คือ จุลินทรีย์ 1 (แบบแห้ง) น้ำ กากน้ำตาล และรำละเอียด หมักไว้ประมาณ 10 วันก็นำไปใช้ได้ โดยสามารถใช้กับระบบปศุสัตว์ เช่น ราดมูลสัตว์ต่างๆ เพื่อดับกลิ่น ราดบ่อปลา หรือสระน้ำบำบัดน้ำเสีย และผสมน้ำให้หมูกิน ใช้กับระบบพืช เช่น ใช้เพิ่มจุลินทรีย์ในดิน(นำมาผสมน้ำก่อนใช้ตามอัตราส่วนที่กำหนด) นำมาหมักในพืช เพื่อทำน้ำหมักชีวภาพ และช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ในนาข้าวโดยการเทจุลินทรีย์น้ำในช่วงการไถเตรียมแปลง</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                หลังจากที่ได้ทดลองทำกันแล้ว ทางกลุ่มแกนนำซึ่งส่วนใหญ่ที่สนใจจะเป็นกลุ่มผู้ชายมากกว่าผู้หญิงได้มานั่งแลกเปลี่ยนกัน โดยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจเนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการทำจุลินทรีย์ท้องถิ่นหาได้ง่ายตามชุมชน เช่น ซึ่งไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากนัก และยังไม่มีผลเสียต่อสุขภาพ นอกจากนั้นได้มีการนัดหมายกันในการที่จะทำจุลินทรีย์ไว้ใช้ในชุมชนอย่างต่อเนื่องอีกด้วย</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">  </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">น้ำยาเอนกประสงค์</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                </p> <p style="text-align: center;"></p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ebebeb;">

 

</td> </tr></tbody></table>                เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่ชาวบ้านปางส้านใช้ในการเรียนรู้ร่วมกัน โดยมุ่งหวังว่ากิจกรรมนี้จะเป็นคำตอบให้กับการลดการใช้สารเคมีในครัวเรือนของคนในชุมชน เนื่องจากในปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่ใช้ล้างจาน ล้างถ้วย  ทำความสะอาดห้องน้ำ น้ำยาซักผ้า ล้วนแต่มีส่วนผสมที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตัวของผู้ใช้ทั้งนั้น นอกจากความเป็นห่วงด้านสุขภาพแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ตัดสินใจหันมาทวนกระแสด้วยการทำน้ำยาใช้เองก็คือ ราคาของใช้เหล่านี้เริ่มแพงขึ้น  ในแต่ละเดือนชาวบ้านต้องสูญเสียเงินทองไปกับการจับจ่ายซื้อหาของใช้ในจำนวนเงินที่สูง หลังจากที่ได้นัดหมายกันเพื่อฝึกทำน้ำยาเอนกประสงค์กันแล้ว ทางกลุ่มชาวบ้าน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิงได้แบ่งกันเตรียมวัสดุสำหรับใช้ในการทำ ซึ่งวัสดุโดยส่วนใหญ่จะหาได้จากภายในชุมชนเอง เช่น น้ำมะกรูด น้ำด่าง (นำขี้เถ้ามาแช่น้ำตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป) น้ำเกลือ น้ำจุลินทรีย์ท้องถิ่น (ใช้จากน้ำจุลินทรีย์ที่ทำกันเอง) ส่วน N70   <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ebebeb;">

 

</td> </tr></tbody></table>และหัวน้ำหอม (กรณีที่ใส่น้ำยาซักผ้า หรือล้างห้องน้ำ) หาซื้อได้จากร้านค้าในราคาที่ไม่แพงมากนัก เมื่อได้วัสดุในการทำน้ำยาครบแล้ว ก็ได้เริ่มฝึกทำกันตามขั้นตอนที่ทางเจ้าหน้าที่ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ได้นำไปแลกเปลี่ยน <p class="MsoNormal" style="text-align: center;"></p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                สิ่งที่ทางแกนนำได้วางแนวทางต่อ คือจะพยามให้ชาวบ้านได้ทำน้ำยาใช้เองอย่างต่อเนื่อง และนอกจากนั้นยังวางแผนที่จะผลิตให้เป็นสินค้าของชุมชน สำหรับเผยแพร่สู่ชุมชนใกล้เคียงอีกด้วย</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">  </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"></p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"></p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ebebeb;">

 

</td> </tr></tbody></table> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">การคัดพันธุ์ข้าว</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"></p> <p style="text-align: center;"></p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                อีกปัญหาหนึ่งที่ชาวบ้านได้สะท้อนออกมาจากการแลกเปลี่ยนในเวทีคือ การที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อพันธุ์ข้าวทุก 3 ปี เนื่องจากพันธุ์ข้าวที่ปลูกเริ่มกลายพันธุ์จนไม่สามารถนำมาทำพันธุ์ต่อได้ในปีที่ 4 ทั้งที่ซื้อพันธุ์ข้าวมาจากศูนย์วิจัยข้าวที่ทำการคัดพันธุ์มาอย่างดี หลังจากที่ได้แลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่ศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้แล้ว จึงได้ข้อสรุปว่า ชาวบ้านเก็บเมล็ดพันธุ์จากนาของตนเอง โดยที่ไม่ได้ทำการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้มีเมล็ดพันธุ์ข้าวปนกัน เมื่อนำมาใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ปลูกในปีต่อไปจึงเกิดปัญหาต้นข้าวสูงต่ำไม่เท่ากัน เมล็ดแข็ง กินไม่อร่อย </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">  </p><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ebebeb;">

 

</td> </tr></tbody></table>                ก่อนฤดูกาลเก็บเกี่ยว ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายนจึงได้นัดหมายกับกลุ่มชาวนาบ้านปางส้าน เพื่อฝึกการคัดพันธุ์ข้าว โดยส่วนใหญ่ชาวบ้านให้ความสนใจ เนื่องจากข้าวถือว่ามีความสำคัญต่อการบริโภคในครอบครัว <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                วิธีการที่ได้ฝึกคัดกันนั้นมี 2 วิธี คือ การตัดข้าวปน หรือต้นข้าวที่ไม่ต้องการออกจากในนาข้าว และก่อนเก็บเกี่ยว ต้องถอดรวงข้าวที่ต้องการเอาไว้ทำพันธุ์ออกมาก่อน ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่าย สะดวก ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลย อาศัยเพียงแต่ความพิถีพิถัน เอาใจใส่ และอดทนเท่านั้นเอง </p> <p class="MsoNormal" style="text-align: center;"></p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p><table style="width: 100%;" border="0" cellspacing="0" cellpadding="0"><tbody><tr> <td style="background-color: transparent; border: #ebebeb;">

 

</td> </tr></tbody></table>                สิ่งที่ชาวนาต้องทำในปีต่อไปเพื่อให้ได้พันธุ์ข้าวที่บริสุทธิ์ คือ การนำเอาข้าวที่คัดไว้ไปปลูกต่อ โดยการปลูกข้าวเส้นเดียว และแยกแปลงปลูกออกจากแปลงปลูกข้าวปกติ <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                หลังจากที่ได้เรียนรู้วิธีการคัดพันธุ์แล้ว ชาวนาปางส้านได้มีการแลกเปลี่ยนเรื่องการคัดพันธุ์ข้าวว่า สมัยก่อนเคยมีการคัดพันธุ์ข้าวเหมือนกัน โดยมีวิธีการที่คล้ายกันคือ การเลือกรวงข้าวที่ต้องการ แต่ปัจจุบันชาวนาไม่ค่อยละเอียด ไม่พิถีพิถันในการทำนา มักจะคิดถึงแต่ความสะดวกสบาย รวดเร็ว และไม่ยุ่งยาก</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">เวที ถอดบทเรียน</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                หลังจากได้ขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้เรื่องสุขภาวะของชาติพันธุ์ไทลื้อมาระยะหนึ่งแล้ว ผ่านการแลกเปลี่ยนใน 2 เวที และการทดลองทำกิจกรรมของชุมชนเอง จึงได้มีการถอดบทเรียนเพื่อให้เห็นถึงความก้าวหน้าของกระบวนการเรียนรู้ โดยมีประเด็นดังนี้</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">หลักคิด แรงจูงใจ</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                คนในชุมชนเริ่มหันมาสนใจในสุขภาวะของคนในครอบครัว และชุมชนมากขึ้น ทั้งทางด้านสุขภาพที่เกิดผลกระทบมาจากการเกษตรที่ไม่ปลอดภัย การใช้สารเคมีต่างๆ ในครัวเรือน ด้านเศรษฐกิจที่ต้องการลดรายจ่าย ลดต้นทุนในการผลิต ทำให้คนในชุมชนต้องหันกลับมาพึ่งตนเอง โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์มากที่สุด</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">ผลจากการดำเนินงาน หรือทำกิจกรรม</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                ระดับตนเอง และครอบครัว สามารถที่จะนำความรู้ที่ได้ไปปรับประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ เช่น การใช้จุลินทรีย์บำรุงดินในนาข้าวทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ใช้บำรุงดินในแปลงผักสวนครัว ใช้ลดกลิ่นเหม็นในบ่อปลา บ่อกบ และคอกหมู น้ำยาเอนกประสงค์สามารถใช้ทดแทนน้ำยาต่างๆ ได้ดี </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                ระดับชุมชน ทำให้เกิดการรวมกลุ่มในการทำกิจกรรม ทั้งกลุ่มชาวนาข้าวอินทรีย์ และกลุ่มแม่บ้านที่ผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ใช้เอง นอกจากนั้นยังมีแนวทางที่จะทำให้เกิดกองทุนขึ้นมาในชุมชนอีกด้วย</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                ซึ่งผลจากการทำกิจกรรม ในเบื้องต้นที่สามารถเห็นได้ชัดเจน คือ การลดรายจ่ายในด้านต่างๆ เช่น การลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยเคมี การลดต้นทุนในการซื้อเมล็ดพันธุ์ข้าว และการลดค่าใช้จ่ายในการซื้อของใช้ในครัวเรือน ส่วนในระยะยาวชาวบ้านเชื่อแน่ว่า หากได้ทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ลดปัญหาด้านสุขภาพของคนในชุมชนได้อย่างแน่นอน</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">  </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt; text-indent: -18pt;">ปัจจัยที่เอื้อให้กระบวนการตามกิจกรรมนั้นสำเร็จ</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                ระดับตนเองและครอบครัว การปรับความคิดของชาวบ้านที่ต้องการลด ละ เลิกการใช้สารเคมี ชาวบ้านปรับตัวเองให้ขยันมากขึ้น มีแนวคิดที่จะปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา  ทำความเข้าใจ แลกเปลี่ยน ปรับความคิดกับคนในครอบครัว </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                ระดับชุมชน การรวมกลุ่มเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน มีแกนนำที่สามารถผลักดันเกิดการประสานความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรม</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                มีหน่วยงานทั้งใน และนอกพื้นที่เข้ามาร่วมเรียนรู้ด้วย เช่น สถานีอนามัยตำบลยอด และศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ เครือข่ายมูลนิธิฮักเมืองน่าน นอกจากนั้นยังปัจจัยที่สำคัญในการทำให้เกิดความสำเร็จอีกประการหนึ่งคือ กระบวนการเรียนรู้ของทางเครือข่ายสมัชชาสุขภาพ จังหวัดน่านที่เข้าไปเป็นจุดเริ่มต้นผลักดัน ให้เกิดการเรียนรู้ของคนในชุมชน</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt; text-indent: -18pt;">การประยุกต์ใช้ ขยายผลในชุมชน และระหว่างชุมชน</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                ขยายผลการทำน้ำยาเอนกประสงค์ไปทุกครัวเรือนในบ้านปางส้าน โดยอาจจะมีการรวมกลุ่มกันทำ ซึ่งในอนาคตกลุ่มสามารถที่จะผลิตน้ำยาเอนกประสงค์ขายให้กับชุมชนใกล้เคียง และตั้งเป็นกองทุนเพื่อทำกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่อง และจะรวมกลุ่มชาวนาบ้านปางส้าน เพื่อถ่ายทอดความรู้ทักษะ การทำจุลินทรีย์ท้องถิ่น และการคัดพันธุ์ข้าว</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: -2pt;">                 ในส่วนชุมชนอื่นๆ ที่สนใจก็สามารถที่จะเข้ามาร่วมเรียนรู้กับชุมชนปางส้านได้</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt; text-indent: -18pt;">มาตรการของชุมชนต่อประเด็นการผลิต บริโภคปลอดภัยของชุมชน</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: -2pt;">                ทางชุมชนได้ร่วมกันคิดหามาตรการในเบื้องต้นของชุมชน คือ ให้กลุ่มชาวนาในชุมชนทำนาข้าวอินทรีย์ และคนในชุมชนต้องบริโภค และใช้ของที่ปลอดจากสารเคมี โดยเน้นการใช้วัสดุจากธรรมชาติที่หาได้ตามชุมชน รวมไปถึงการรวมกลุ่มเรียนรู้ และทำการคัดพันธุ์ข้าว  ลดการซื้อเมล็ดพันธุ์จากภายนอกด้วย</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt; text-indent: -18pt;">ข้อเสนอต่อองค์กรที่เกี่ยวข้อง</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรให้การสนับสนุนความรู้ด้านปุ๋ยหมักชีวภาพ ทักษะเกี่ยวกับการผลิตของใช้ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ ปลอดสารเคมี สนับสนุนให้เกิดกองทุนในการการทำน้ำยาสะอาด และสนับสนุนงบประมาณด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชนอย่างต่อเนื่อง </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt; text-indent: -18pt;">                หน่วยงานเกษตร และศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ ให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องข้าว นอกจากนั้นทางชุมชนยังได้</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt 18pt; text-indent: -18pt;">เสนอให้เกิดการต่อเนื่องการทำโครงการสมัชชาสุขภาพชาติพันธุ์ต่อไป</p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;">                จะเห็นได้ว่าเส้นทางของสุขภาพคงไม่ได้ใช้ระยะเวลาเพียงแค่สั้นๆ แต่ต้องอาศัยระยะเวลาพอสมควรในการเรียนรู้ อย่างเช่นที่ ชุมชนไทลื้อปางส้าน หลังจากที่ได้ใช้ระยะเวลาเรียนรู้ร่วมกันมา 2 ปี ได้มีแนวทางในการที่ต่อยอดการเรียนรู้ด้านสุขภาพอีก  โดยในปี 2552 ทางกลุ่มแกนนำได้วางแผนในการผลิตนาข้าวอินทรีย์ เป้าหมายมุ่งไปที่การผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อใช้บริโภคในครอบครัว และการคัดพันธุ์ข้าวไว้ใช้เอง โดยทางศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ เครือข่ายมูลนิธิฮักเมืองน่าน เป็นพี่เลี้ยงร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่องข้าวให้กับทางกลุ่มชาวนา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นกระบวนการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนต้องอาศัยหลายปัจจัยที่จะเอื้อให้เกิดมรรค เกิดผลที่แท้จริง และต่อเนื่องยั่งยืน เช่น การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การหนุนเสริมความรู้ทักษะ รวมทั้งงบประมาณในการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะองค์การบริหารส่วนตำบลที่อยู่ในพื้นที่  </p>

ขอขอบคุณ

แกนนำ และพี่น้องชุมชนไทลื้อบ้านปางส้านทุกคน

แป้ง เก่ง และคนึงจิต จากศูนย์การเรียนรู้โจ้โก้ ที่ร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน

พี่จิน พี่เย็น พี่ดม พี่แอ๋ว และพี่ต่อ จากสสจ.น่าน ที่ให้คำปรึกษาตลอดการดำเนินงาน

พี่สุรัตน์ จากสถานีอนามัยเทศบาลตำบลยอด ที่คอยประสาน และอำนวยความสะดวกให้ในชุมชน

โครงการสมัชชาสุขภาพจังหวัดน่าน ที่ให้เอื้อให้เกิดการจัดกระบวนการเรื่องสุขภาพของชาติพันธุ์

หมายเลขบันทึก: 242774เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2009 16:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท