จากแขกผู้มาเยือน... Prof.Brendan Finucane (ตอนจบ : ของฝากที่มีค่า)


"It’ s the first you must to do....Do this the first.”

ผู้เขียนได้เล่าถึง Prof.Brendan Finucane

ในบันทึกตอนที่1 และในบันทึกตอนที่2 คราวนี้เห็นทีคงต้องนำของฝากจากท่านมาให้ดูซะแล้ว

ใครสนใจงานด้านคุณภาพอยู่คงทราบดีว่าแคนาดาเป็นประเทศที่ให้ความสนใจเรื่องคุณภาพ และเป็นต้นแบบในหลายๆเรื่อง ผู้เขียนสนใจงานคุณภาพมานานด้วยตอนแรกเพราะตกกระไดพลอยโจร ตอนนั้นในหน่วยงานไม่มีใครทำ...  แต่พอนานปี  ผู้เขียนก็ถอนตัวจากงานคุณภาพไม่ขึ้น  รู้ดีว่าแคนาดาเป็นเจ้าพ่อแห่งคุณภาพ

 

Prof.Brendan Finucane มาจากประเทศแคนาดา... จึงเป็นเหตุที่ทำให้ผู้เขียนมีความพยายามจะให้ท่านเล่าเกี่ยวกับคุณภาพจากปากท่าน โดยเฉพาะในสายงานวิสัญญีที่ท่านปฏิบัติงานอยู่เพราะอยากรู้จริงๆเพื่อจะนำมาเป็นแนวทางใช้ในบ้านเราบ้าง

ผู้เขียนพยายามที่จะถามเรื่องของการดูแลคุณภาพทางวิสัญญี... พยายามที่จะพูดเพื่อให้ท่านเข้าใจถึงความต้องการ ท่านเองก็พยายามฟังและสื่อสารกับผู้เขียนจนคิดว่าเราเข้าใจตรงกัน

แต่สุดท้าย... ท่านไม่ยอมบอกเรื่องที่ผู้เขียนอยากรู้ แม้ผู้เขียนจะพยายามด้วยการเดินตาม...

ท่านส่งเอกสารให้ผู้เขียน 1 แผ่นและกล่าวในที่สุดว่า 

It’ s  the  first  you must to do. 

Do this the first.”

 

ท่านเองก็ขยายความเพิ่มเติมถึงความจำเป็น  นี่คือสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราควรทำ... ลองอ่านคร่าวๆ 

Pollution in the operating room (A. Pace-Floridia, 1977.)...

 

ท่านสงสัยว่าทำไมจึงไม่มีระบบ Scavengeing ในห้องผ่าตัดของเรา (ท่านรู้สึกได้ เพราะมันทำให้ท่านอ่อนเพลียผิดปกติ)

 

นี่คืออันตรายต่อบุคลากรที่แอบแฝงอยู่ในห้องผ่าตัด

และนี่คือคุณค่าของของขวัญที่ท่านมอบให้เราชาววิสัญญี มข.ทุกคน

...เราอยู่กันได้อย่างไร  ในสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษอย่างนี้...

จึงมิน่าแปลกใจที่ท่านไม่ยอมเอ่ยถึงคุณภาพเรื่องอื่นให้ฉันฟังเลย  ยกเว้นให้ดูแลคุณภาพชีวิตกันเองก่อน

เรื่องของระบบ Scavengeing System นั้น... เดิมทีเดียวมีระบบนี้ แต่เสีย...  งานคุณภาพของเราเคยทำเรื่องเรียนทางผู้บริหารทราบแล้วเมื่อหลายปีก่อน แต่ไม่ได้รับการแก้ไข...คงต้องพยายามกันอีกรอบ...

 

ขอนำบางส่วนที่สำคัญในบทความมาเล่าเบื้องต้น  เพื่อประโยชน์ต่อเพื่อนๆค่ะ

…In 1972 a 2-year study was initiated by the American Society of Anesthesiologists under the auspices of the National Institute for Occupational Safety and Health (NIOSH)………

…In 1974 detailed analysis of the results of the survey led the investigators "to strongly suggest that working in the operating rooms (and presumably exposure to trace concentrations of anesthetic agents) entails a variety of health hazards for operating-room personnel and their offspring". Briefly, the findings of the NIOSH study were as follows:

     1. The risk of spontaneous abortion is increased for women who are exposed to the operating-room environment during the 1st trimester of pregnancy and who have been exposed during the year preceding pregnancy; the risk is estimated to be 1.3 to 2 times that of unexposed personnel.

     2. There is evidence of an increased risk of congenital abnormalities among the liveborn babies of exposed women, including the wives of exposed male anesthetists (P = 0.04); the latter was unexpected and "a matter for serious concern".

     3. The risk of cancer was increased (approximately 1.3 to 2 times) in exposed female respondents but not in exposed male respondents.

     4. Hepatic disease (even excluding hepatitis) was more frequent in exposed male anesthetists than in male pediatricians (P < 0.01) and in exposed female respondents compared with unexposed controls (P = 0.04, < 0.01, and 0.08 for three comparisons).

     5. Higher rates of renal disease were found in exposed female groups than in other groups.

The investigators cautioned that, because of several factors, "the increased rates for the exposed groups may be due to some undetected bias" and that "there may be an unknown hazard in these locations which is unrelated to anesthetics".......................

 

ต่างประเทศหลายชาติมีหลายสถาบัน/หน่วยงานดูแลเรื่องนี้ รวมถึงประเทศแคนาดา สำหรับประเทศไทยหน่วยงานที่ดูแลด้านนี้ได้แก่  กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม   ขอบเขตการดูแลเป็นเช่นไร คงต้องศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมต่อไปค่ะ

....ขอขอบคุณของขวัญที่มีค่ายิ่งจากท่านค่ะ....

 

หมายเลขบันทึก: 242179เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2009 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

สวัสดีค่ะ

  • คุณภาพมาก่อนเสมอนะคะ
  • ขอเป็นกำลังใจค่ะ

ขอบคุณคุณครูอ้อยค่ะ

  • เป็นของขวัญมีค่า...ที่ทิ้งโจทย์ให้เราต้องนำมาดำเนินการเชิงนโยบาย...ซึ่งไม่ง่ายเลยค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ

สวัสดีค่ะ ครูคิม

  • ต่างประเทศที่เจริญแล้วให้ความสำคัญของบุคลากรมากๆ...บ้านเรายังขาดงบประมาณสนับสนุนด้านนี้อยู่มากค่ะ เพราะเป็นอันตรายที่มองไม่เห็นชัดเจนในทันที  จึงถูกมองป็นประเด็นหลังๆ
  • ขอบคุณนะคะ

ดีใจที่คุณติ๋วเอาเรื่องนี้มานำเสนอนะคะ พี่โอ๋ว่าบ้านเรายังคำนึงถึงสวัสดิภาพและสุขภาวะในที่ทำงานกันน้อยจริงๆ เราตั้งหน้าตั้งตาดูผลของงานกันจนบางทีลืมดูแลบำรุงรักษา "คนทำงาน" ต้องรอจนเกิดเหตุอะไรเสียก่อนแล้วค่อยกลับมาตรวจสอบปรับปรุงโน่นนี่กันทีหลัง (บ่นซะแล้ว....แต่มันเป็นเรื่องจริงๆค่ะ)

คุณภาพที่ดี..คือความภูมิใจของทุกคนนะคะ

สวัสดีค่ะ พี่โอ๋

  • คุณภาพชีวิต "คนทำงาน" บ้านเราขาดการดูแลอย่างแท้จริง  อย่างจริงใจ...เพราะเป็นการลงทุนที่ไม่เห็นผลตัวเงินเป็นกำไร...
  • ...ต้องขอบคุณระบบคุณภาพจริงๆค่ะ ที่นำระบบการประเมินมาใช้ อย่างน้อยก็ทำให้เรามีโอกาสทบทวนตนเอง...
  • ขอบคุณพี่โอ๋มากๆนะคะ

สวัสดีค่ะ คุณadd

  • พยายามจะให้เกิดคุณภาพที่สุดเท่าที่ทรัพยากรบ้านเรามีค่ะ...
  • การลงทุนน้อย ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและได้มาซึ่งคุณภาพ..คือกำไรค่ะ  ...แต่อาจจะไม่สามารถนำมาใช้กับ "คนทำงาน" ได้เพราะวัดคนได้ยาก...
  • คุณภาพที่ดี..คือความภูมิใจของผู้ให้บริการทุกคนค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ
  • การให้ความสำคัญกับสิ่งที่ถูกต้องก็มาถูกทางแล้วจริงๆ ค่ะ
  • คุณภาพชีวิตอาจเป็นเรื่องสำคัญที่สุดที่คนไทยหลายคนเข้าถึงได้ช้ากว่าต่างประเทศ เพราะปากท้อง หรือพื้นฐานการดำรงชีวิตก็ยังไม่ทั่งถึงเพียงพอ  (ปริมาณความต้องการ) ก็เลยนำเรื่องคุณภาพไว้ทีหลัง
  • แต่ตอนนี้ เห็นแล้วว่าคุณภาพชีวิตเราช่วยกันสร้างได้ทุกที่ไม่ต้องรอ และดีใจมากค่ะที่มาอ่านบันทึกนี้ มีผู้เน้นความสำคัญและพยายามทำให้เป็นรูปธรรมค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณSila Phu-Chaya

  • ตอนนี้มีความพยายามอย่างยิ่งยวดค่ะที่จะนำเรื่องนี้เข้ามาพัฒนาให้เป็นรูปธรรมให้ได้...ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว...
  • ...ที่ผ่านมาเห็นชัดเจนเรื่องของการมีบุตรยากในกลุ่มบุคลากรวิสัญญี  หรืออัตราการไม่มีบุตรเลย(หมัน)  ความจริงแล้วลองนำมาเสนอให้เห็นชัดเจนก็น่าจะทำให้ความเพิ่มความสำคัญของปัญหาขึ้นได้เหมือนกัน
  • ...ขอบคุณมากๆนะคะที่ชี้ช่องทางค่ะ

พี่ติ๋วจ๋าคิดถึงจางเลย ไปเยี่ยมหมูม่างจิ่ เพิ่งกลับจากนครวัด เด๋วรีวิวให้ดูจ้า

บันทึกหน้า

http://gotoknow.org/blog/watcharakit/246564

สวัสดีจ้า.... น้องนายหมู

  • ได้เที่ยวและมีรูปสวยๆมาฝากอีกแล้ว...ดีจริง
  • คิดถึงเช่นกันจ้า

 

มาชม

มีสาระน่าสนใจนะครับ

เรียนอาจารย์ umi

  • ขอบคุณอาจารย์ค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท