ห้องสมุด...นามนี้มีที่มา


ห้องสมุดเปรียบเสมือนกับขุมทรัพย์อันล้ำค่า

       ห้องสมุดเปรียบเสมือนกับขุมทรัพย์อันล้ำค่า มีทรัพย์สมบัติจากโลกกว้างมากมายที่ให้เราค้นหาและครอบครองทรัพย์สมบัติชิ้นนี้ไว้เป็นของเราโดยไม่มีใครสามารถที่จะมาแย่งชิงมันไปจากเราได้ ทรัพย์สมบัติอันมีค่านี้จะอยู่ติดตัวเราไปจนวันตายไม่มีใครมาพรากมันไปจากเราได้ขุมทรัพย์ล้ำค่าที่เราเรียกว่าห้องสมุดนั้นเต็มไปด้วยหนังสือนานาชนิดมากมายรวบรวมความรู้ไว้ในนั้น แต่ทำไมเขาจึงเรียกห้องนี้ว่าห้องสมุดแทนที่จะเรียกว่าห้องเก็บหนังสือเรามีคำตอบมาให้คุณ

          นักอ่านหลายคนคงสงสัยสิว่าในห้องสมุดนั้นเต็มไปด้วยหนังสือแต่ทำไมเรียกว่าห้องสมุด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวหรือพระมหาธีรราชเจ้ารัชกาลที่ 6 พระมหากษัตริย์นักปราชญ์ของไทยได้ทรงบัญญัติคำว่าห้องสมุดขึ้นมาใช้เพื่อให้ตรงกับคำว่า Library สืบเนื่องจากสมัยโบราณที่ยังไม่มีการพิมพ์หนังสือนั้นคนไทยได้มีการบันทึกเรื่องราวต่าง ๆไม่ว่าจะเป็น ตำรายา พงศาวดารคำประพันธ์ทั้งโคลงฉันท์ กาพย์ กลอนต่าง ๆ ลงในสมุดและสมุดที่ว่านี้มีชื่อเรียกว่า สมุดไทย ทำเป็นกระดาษจากเปลือกข่อยเป็นแผ่นยาว ๆ พับทางขวากลับไปกลับมาคล้ายผ้าจีบลักษณะของสมุดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีทั้งชนิดที่เป็นกระดาษขาวกระดาษดำเมื่อเขียนเต็มเล่มจะเรียกว่า หนึ่งเล่มสมุด และเมื่อนำเล่มสมุดหลาย ๆ เล่มมารวมเก็บไว้ในห้องเดียวกันก็จะเรียกห้องนั้นว่า ห้องสมุดต่อมาเกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการพิมพ์จากตะวันตกความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้จึงนำมาเก็บไว้ในหนังสือแทบทั้งสิ้นแต่คำที่ใช้เรียกก็ยังคงเป็น ห้องสมุด มิได้เปลี่ยนแปลงตามไปด้วยนี่ก็เป็นที่มาของคำว่าห้องสมุดพอคร่าว ๆ หวังว่านักอ่านหนังสือหลายคนคงจะเข้าใจกันบ้างแล้วถึงที่มาของคำว่าห้องสมุด สำหรับห้องสมุดในสมัยนี้บางที่ก็ไม่ได้ใช้คำว่าห้องสมุดแต่ใช้คำอื่นแทนบางที่ก็เรียกหอสมุด ศูนย์ข้อมูลหรือศูนย์สารสนเทศ แต่ส่วนใหญ่จะเรียกว่าห้องสมุดมากกว่า เพราะว่าเรียกกันมานานคำเปรียบเทียบที่ว่าห้องสมุดเปรียบเสมือนขุมทรัพย์ที่มีค่าที่สุดสำหรับนักอ่านหนังสือ แต่ไม่มีค่าสำหรับคนไม่ชอบอ่านหนังสือไม่เคยเห็นคุณค่าที่สะสมความรู้รอบโลกไว้ในนั้น ต่างจากคนชอบอ่านหนังสือโดยสิ้นเชิงเพราะคนพวกนี้เห็นว่าห้องสมุดเป็นขุมทรัพย์อันล้ำค่าชิ้นหนึ่งที่ไม่มีใครหามาให้เราสิ่งเหล่านี้จะอยู่ติดตัวเราไปจนวันตาย แต่จะมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่คิดตรงข้ามจากกลุ่มนี้ คนกลุ่มนี้ไม่เห็นคุณค่าของคำว่าความรู้ ห้องสมุดในปัจจุบันก็มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้นกว่าแต่ก่อนมากมีคอมพิวเตอร์ไว้ให้หาข้อมูลและพิมพ์งานสะดวกสบายและทันสมัยในการรับรู้ข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตมีไว้บริการให้แก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้รับรู้ข่าวสารที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาจนกลายเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ไปแล้วเพื่อให้ผู้ใช้บริการทุกกลุ่มเป้าหมายได้เข้าถึงข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศทั่วถึงกัน แล้วยังทำให้สังคมกลายเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ยั่งยืนและถาวรหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต

ที่มา  108 ซองคำถาม เล่ม 6. (2540). กรุงเทพฯ: สารคดี.

เจริญขวัญ แพรกทอง. (2547). เที่ยวท่องห้องสมุด. กรุงเทพฯ: เวลาดี.

มัลลิกา นาถเสวี. (2529). ความรู้เบื้องต้นทางบรรณารักษศาสตร์.

 กรุงเทพฯ: โอเดี้ยนสโตร์.              

หมายเลขบันทึก: 241441เขียนเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2009 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • กรมบัญชีกลางแก้ไขกฏหมายเกี่ยวกับการรับบำนาญ ม.63 เพื่อให้เอื้อต่อการนับวันทวีคูณ ข้าราชที่ปฏิบัติในพื้นที่เสี่ยงภัย ผ่านสภา วาระที่ 1 อยู้ในห่วงศึกษา วาระที่ 2 ที่ 3 ใช้เวลานานเท่าไรครับ
  • เอามาเผยแพร่เป็นวิทยาทานให้หน่อย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท