ฮีต 12 : ฮีตเดือนสาม


บุญข้าวจี่

ความเดิม   http://gotoknow.org/blog/mikau/233317

 

            เดือนสามค้อย   ลมวอย ๆ บุญข้าวจี่

บุญเดือนสาม  : บุญข้าวจี่

 

เมื่อถึงเดือนสาม   ชาวอีสานจะมีประเพณีบุญข้าวจี่   ชาวบ้านจะถวายข้าวจี่  ข้าวโป่ง  

ข้าวเขียบแด่พระสงฆ์  และนำบางส่วนใส่กระทงใบตองเอาไปวางที่หน้าธาตุบรรจุกระดูกของญาติตนเองนัยว่าให้เขาเหล่านั้นได้กินข้าวจี่

            ในเดือนสามนี่จะมีบุญพิธีซ้อนกันอยู่  3  บุญ  คือ

                        1. บุญข้าวจี่   เป็นแสดงถึงความเคารพแด่พระสงฆ์ด้วยการบูชาข้าวจี่  เพราะสมัยก่อนนั้นไม่มีขนมขบเคี้ยวดังเช่นทุกวันนี้  ข้าวจี่  ข้าวโป่ง  ข้าวเขียบ  เป็นของขบเคี้ยวที่กินได้นานวัน  ทั้งยังเป็นการบูชาข้าวตาม คลอง 14 ที่ว่าด้วยการกินข้าวของชาวอีสานว่าต้องทำบุญก่อนปลูกข้าว   ทำบุญตอนปักดำ   ทำบุญตอนข้าวตั้งท้อง    ทำบุญตอนเก็บเกี่ยวเสร็จ  ทำบุญขนขึ้นเล้า   ทำบุญก่อนปิดเล้า   ทำบุญก่อนเปิดเล้า

เห็นได้ว่าพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าวดังกล่าว  เป็นกุศโลบายที่ขัดเกลาให้

ชาวนาเคารพข้าวและเห็นคุณค่าของข้าวเป็นอย่างยิ่ง   ก่อนเปิดเล้าข้าวจึงต้องนำเอาข้าวที่คัดไว้สำหรับบริโภคนั้นมาทำข้าวจี่  ข้าวโป่ง  ข้าวเขียบบูชาพระก่อน

                        2. บุญเบิกฟ้า  เป็นพิธีทำนายและต้อนรับฝน  กล่าวคือเมื่อถึงเดือน 3  ขึ้น  3 ค่ำ  เวลาเที่ยงคืน  จะมีปรากฏการณ์ธรรมชาติ  คือ  ฟ้าแลบฟ้าร้อง  ชาวบ้านจะสังเกตว่าฟ้าร้องในทิศใดจะมีคำทำนายถึงฟ้าฝนว่าปีนี้จะเป็นอย่างไรเรียกว่า ฟ้าไขประตูน้ำ  นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งเครื่องบูชาพระแม่โพสพแล้วทำนายที่กระดูกคางไก่ด้วยว่าข้าวในนาจะเป็นเช่นไร

                                    เห็นได้ว่าพิธีกรรมนี้เป็นการเตือนสติให้ชาวนาเตรียมพร้อมในการทำนาเมื่อถึงฤดูกาล  ระหว่างนี้ต้องซ่อมแซมบำรุงรักษาเครื่องใช้ให้สามารถใช้ได้ดีเสมอ

                        3. พิธีเปิดเล้า   หลังจากนวดข้าวเป็นสาวเปลือกแล้วชาวนาจะแบ่งข้าวไว้สองส่วน  ส่วนที่หนึ่ง (จำนวนมาก) จะนำไปไว้ในเล้า   ส่วนที่สองจะเอาไว้บริโภค(จำนวนน้อย)

ก่อนจะปิดเล้าจะต้องหาหมอธรรมมาทำพิธีขอขมาข้าวแล้วฝากข้าวไว้กับเทวดาไม่ให้ข้าวบินหนีไปไหน   จากนั้นจะปิดแน่นไม่เปิดอีกเลยจนถึงเดือนสาม  จึงให้หมอธรรมมาทำพิธีเปิดเล้าอีกครั้งเพื่อขออนุญาตข้าวและเทวดารักษาข้าวว่าจะนำข้าวมาเพื่อบริโภค

                                    เห็นได้ว่าพิธีกรรมดังกล่าวสะท้อนถึงความออดออมในการบริโภคอาหาร  การมัธยัดโดยใช้ความเชื่อและพิธีกรรมควบคุมจิตใจเพื่อให้เหลือข้าวไว้กินตลอดปี  กุศโลบายเช่นนี้ถูกทลายหายไปในชุมชนอีสาน  ชาวนาจึงไม่เหลือข้าวกินทั้งปีอีกแล้ว

คำสำคัญ (Tags): #ฮีต 12
หมายเลขบันทึก: 241204เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2009 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท