ชื่นชมศูนย์วิจัย : RCSD (4) โจทย์วิจัย


น่าจะมีกระบวนการตั้งโจทย์ พัฒนา และฝึกระเบียบวิธีวิจัยใหม่ๆ

ชื่นชมศูนย์วิจัย : RCSD (4) โจทย์วิจัย

  • กิจกรรมวิจัยของ RCSD เกี่ยวกับสังคม – เศรษฐกิจ ของภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในช่วงของการเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่เป็นอยู่ในขณะนี้ มีคุณูปการต่อคนท้องถิ่น อย่างไม่ต้องสงสัย
  • แต่ผมก็อดตั้งคำถามมิได้ (ตามประสาคนขี้สงสัย) ว่ากิจกรรมการวิจัยที่กำลังทำอยู่นี้เป็นประโยขน์ต่อคนท้องถิ่นมากกว่า   หรือเป็นประโยชน์ต่อองค์กร/ธุรกิจ/ประเทศ ต่างชาติ มากกว่า
  • ทำให้ชุมชน/สังคม ท้องถิ่นเข้มแข็งขึ้น เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น   หรือทำให้อำนาจภายนอก เข้ามาแสวงหาประโยชน์ (แบบเอาเปรียบ) จากภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้สะดวกขึ้น
  • จึงเกิดคำถามว่าโจทย์วิจัยแบบไหน ที่จะช่วยให้ ชุมชน/สังคม ท้องถิ่นเข้มแข็งขึ้น   RCSD จะเข้าไปส่งเสริมการวิจัยตามโจทย์แบบนั้น ได้อย่างไร
  • โจทย์วิจัยที่ทำกันอยู่ มีลักษณะ ๒ แบบ คือ (๑) การเข้าไปศึกษาให้เข้าใจสภาพความเป็นจริง   (๒) การเข้าไปศึกษาปัญหา และอาจวิจัยสร้างตัวแบบ (โมเดล) ในการแก้ปัญหา
  • ยังมีแนวทางการวิจัยอีกแบบหนึ่ง ที่ไม่เห็น คือการเข้าไปศึกษาเรื่องราวของความสำเร็จ (success stories) ตามสภาพที่อยากเห็น    รวบรวมปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จ   และส่งเสริมให้มีการขยายผลสำเร็จนั้น   ผมเรียกการวิจัยแบบนี้ว่า การวิจัยแนว KM    เป็น PLAR – Participatory Learning and Action Research

วิจารณ์ พานิช
๑๕ เมย. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 24072เขียนเมื่อ 16 เมษายน 2006 08:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
   ชอบ PLAR ของท่านอาจารย์มาก เคยเห็น PAR ที่ไม่ค่อยมี L แล้วเหนื่อยใจก็หลายครั้ง อยากให้ใช้คำนี้แทน PAR เสียเลย จะได้ตอกย้ำว่า  ต้องไม่ลืมหัวใจสำคัญคือ "Learning" ของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

L นั้น เป็นสิ่งที่สังคมไทยไม่ชอบ หรือเปล่าคะ

ในการทำงานที่ทุกคนรู้โดยไม่ต้องเรียนรู้ และรู้แบบคิดว่าถูกตลอดกาลนะคะ เหนื่อยยยยยย จริงๆ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท