ยุทธศาสตร์การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก


ยุทธศาสตร์โรงเรียนขนาดเล็ก

สรุปการประชุมเสวนายุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็ก

วันที่  1  กุมภาพันธ์  2549    วังธารา แอนด์รีสอร์ท  จ.ฉะเชิงเทรา

ถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์สีช่อง 11 เวลา 10.00 11.00 น.

**********************

รมว.ศธ.กล่าวในพิธีเปิดการเสวนาว่า ศธ.ได้ประกาศให้ปี ๒๕๔๙ เป็นปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนพัฒนาครู การที่จะปฏิรูปการเรียนการสอนมีหลายอย่างต้องทำและแก้ไข ซึ่ง ศธ.ต้องเร่งดูแลในหลายๆ เรื่อง เรื่องหนึ่งที่ ศธ.ให้ความสนใจเป็นการเฉพาะ คือ โรงเรียนขนาดเล็ก การศึกษาขั้นพื้นฐานมีโรงเรียนในสังกัด ๓๒,๗๓๑ แห่ง มีโรงเรียนหลายขนาด โรงเรียนขนาดเล็กคือโรงเรียนที่มีนักเรียนต่ำกว่า ๑๒๐ คน ซึ่งมีอยู่ ๑๑,๗๒๐ แห่ง คิดเป็นร้อยละ ๓๕.๘๑

โรงเรียนขนาดเล็กนี้มีปัญหาสำคัญร่วมกัน คือ ครูไม่ครบชั้นเรียน ขาดแคลนสื่อการเรียนการสอน วัสดุอุปกรณ์ และอาคารเรียน ปัญหาทั้งหมดคือความขาดแคลน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจึงค่อนข้างต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กจึงถือเป็นปัญหาของคนยากจน หากเราเร่งแก้ปัญหาดังกล่าว จะช่วยแก้ปัญหาความยากจนได้อย่างยั่งยืน สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล โดย ศธ.ได้รวบรวมและวิเคราะห์ปัญหาว่าการศึกษาจะแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างไร และการศึกษาสำหรับความยากจนจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้มีความเหมาะสมกับคนเหล่านี้ ซึ่ง ศธ.ได้แถลงนโยบายต่อสภาฯ แล้ว และจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบาย ในความขาดแคลนจะสามารถช่วยได้ในบางส่วน เช่น การจัดหาคอมพิวเตอร์และติดตั้งอินเทอร์เน็ตในโรงเรียน ๘๐๐,๐๐๐ เครื่อง เป็นต้น

นอกจากนี้ ปัญหาการขาดแคลนครูซึ่ง สพฐ.ขาดอยู่ประมาณ ๙๐,๐๐๐ อัตรา ก็เป็นปัญหาใหญ่ที่ ศธ.ยังไม่สามารถชี้แจงให้หน่วยงานที่กำหนดบุคลากรเข้าใจได้ เพราะในการคำนวณมักจะนำภาพรวมของครูทั้งประเทศมาหารกับนักเรียนทั้งประเทศ โดยไม่ดูข้อมูลเป็นรายโรงเรียน เช่น โรงเรียนขนาดเล็กบางโรงมีครู ๒ คนต่อนักเรียน ๔๐ คน คิดเป็นสัดส่วน ๑ ต่อ ๒๐ ซึ่งเท่ากับสัดส่วนของประเทศออสเตรเลีย แต่ไม่ได้ดูลึกลงไปว่าครู ๒ คนนั้นจะต้องสอนนักเรียน ๘ ชั้นเรียน จึงตั้งคำถามไปถึงพ่อแม่ และผู้ที่มีส่วนในการคิดนโยบายว่า หากคิดว่าสัดส่วนดังกล่าวเหมาะสมแล้ว จะให้ลูกหลานของตนเองไปเรียนในโรงเรียนดังกล่าวได้ไหม

ส่วนปัญหาอื่นๆ เช่น ค่าสาธารณูปโภค เมื่อรัฐบาลจัดสรรคอมพิวเตอร์ไปให้แล้ว และต้องการเพิ่มเวลาการใช้คอมพิวเตอร์ให้คุ้มค่าก็ปรากฏว่าไม่สามารถทำได้ เนื่องจากทางจังหวัดมีนโยบายลดค่าใช้จ่ายทางด้านสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟลง จึงขอฝากให้ผู้บริหารโรงเรียนขนาดเล็กวางแผนนำสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กอย่างเร่งด่วน และจะต้องมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพราะวันนี้เรายังคงมีวัฒนธรรมการทำงานแบบต่างคนต่างทำอยู่

รมว.ศธ.กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ศธ.ได้แบ่งโรงเรียนขนาดเล็กเป็น ๕ กลุ่ม คือ ๑) กลุ่มที่มีความพร้อมที่จะพัฒนาเป็นโรงเรียนแกนนำ หรือเป็นศูนย์วิชาการ ๒) กลุ่มที่มีความพร้อมที่จะแก้ปัญหาเฉพาะของโรงเรียน ๓) โรงเรียนที่ไม่มีความพร้อมด้านบุคลากร สื่อการเรียนการสอน โรงเรียนที่ไม่มีความพร้อมและไม่สามารถยุบเลิกได้  โดยได้ศึกษาวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาโดยแบ่งเป็น ๖ รูปแบบ คือ ๑) โรงเรียนที่ตั้งศูนย์ ๒) โรงเรียนเฉพาะช่วงชั้น ๓)โรงเรียนหลักที่โรงเรียนย่อยๆ มายุบรวมกัน ๔) โรงเรียนขนาดเล็กที่จำเป็นต้องคงอยู่ ๕) โรงเรียนเคลื่อนที่ หมายถึงครูตระเวนสอนในกลุ่มโรงเรียน ๖) เป็นรูปแบบอื่นๆ ที่จะได้จากแนวคิดวิเคราะห์ในวันนี้ เช่น การสอนแบบคละชั้นและการรวมชั้นและการรวมชั้นของโรงเรียนในกลุ่มเดียวกัน ซึ่งต้องเร่งแก้ไขการบริหารจัดการที่เหมาะสมไปพร้อมกัน

                วิเคราะห์คัดแยกโรงเรียนขนาดเล็กตามความเป็นจริง  จำแนกออกเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้

                กลุ่มที่  1  มีความพร้อมที่จะพัฒนาเพื่อเป็นแกนนำในกลุ่มโรงเรียนหรือศูนย์วิชาการ

(มีความพร้อมด้านบุคลากร หรือ วัสดุอุปกรณ์)

                กลุ่มที่  2  มีความพร้อมในระดับที่จะแก้ไขปัญหาเฉพาะของโรงเรียน

                (แต่ไม่สามารถเป็นแกนนำ หรือ เป็นศูนย์วิชาการได้)

                กลุ่มที่  3  ไม่มีความพร้อมด้านบุคลากร ขาดสื่อและวัสดุอุปกรณ์ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ แต่ไม่สามารถยุบเลิก)

                กลุ่มที่  4  เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่ควรยุบเลิก

                กลุ่มที่  5 Stand alone  เป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่พิเศษ(ทุรกันดาร, เสียงภัย,ชายแดน, เกาะ ฯลฯ) ที่ยุบเลิกไม่ได้ ซึ่งต้องพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาเป็นการเฉพาะ

              วิเคราะห์และจัดรูปแบบโรงเรียนขนาดเล็กในรูปแบบ MODEL 6 รูปแบบ คือ

                MODEL A : โรงเรียนที่ตั้งศูนย์

                MODEL B :  โรงเรียนเฉพาะช่วงชั้น

                MODEL C :  โรงเรียนหลักที่โรงเรียนย่อย ๆ มายุบรวมกัน

MODEL D :  โรงเรียนขนาดเล็กที่จำเป็นต้องคงอยู่เป็นเอกเทศ และ

MODEL E :  MOBILE TEACHER

MODEL F :  ซึ่งเป็นรูปแบบ อื่น ๆ

หมายเลขบันทึก: 240587เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2009 15:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท